SCGP Newsroom

บริษัทกลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด โรงงานราชบุรี รับรางวัล “The Prime Minister Industry Award 2024” ประจำปี 2567

ข่าว

บริษัทกลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด โรงงานราชบุรี รับรางวัล “The Prime Minister Industry Award 2024” ประจำปี 2567

TCRB_SCGP
Loading Data...
TCRB_SCGP
TCRB_SCGP
บริษัทกลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด โรงงานราชบุรี โดย นายโชติชัย จันทร์วัฒรังกูล Manufacturing Director รับรางวัล “The Prime Minister Industry Award 2024” รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ด้านการเพิ่มผลผลิต ประจำปี 2567 จากกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้มอบถ้วยรางวัลให้ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีความคิดริเริ่ม และมีความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศให้ก้าวหน้า ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะดวก สะอาด โปร่งใส” โดยพิธีมอบรางวัลจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...

SCGP เปิดบ้านพาสื่อมวลชนและ ESG Ambassador ชมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบจัดการขยะอย่างยั่งยืน และฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ตามแนวทาง Inclusive Green Growth

ข่าว

SCGP เปิดบ้านพาสื่อมวลชนและ ESG Ambassador
ชมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบจัดการขยะอย่างยั่งยืน
และฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
ตามแนวทาง Inclusive Green Growth

Loading Data...

SCGP นำ ESG Ambassador จากโครงการ Sharing The Dream และสื่อมวลชน จาก 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม และประเทศลาว ศึกษาและเรียนรู้การจัดการขยะในชุมชนและการเปลี่ยนขยะสู่ของใช้ที่เป็นประโยชน์ ใน “ชุมชนบ้านหนองไม้เฝ้า” อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นชุมชนภายใต้โครงการ “ SCGP ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” ที่ได้รับรางวัลพระราชทานชนะเลิศระดับประเทศ “ชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste)” ปี 2565 พร้อมเยี่ยมชมบริษัทกลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด (โรงงานราชบุรี) และ SCGP – Inspired Solutions Studio เผยกระบวนการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม มุ่งเติบโตตามแนวทาง Inclusive Green Growth อย่างยั่งยืน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...

ประกาศผล SCGP Packaging Speak Out 2024 ครั้งที่ 9 สุดยอดนักออกแบบและนักการตลาดรุ่นใหม่

ข่าว

ประกาศผล SCGP Packaging Speak Out 2024 ครั้งที่ 9
สุดยอดนักออกแบบและนักการตลาดรุ่นใหม่

Loading Data...

บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ร่วมกับ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิยุทธสาร ณ นคร จัดการแข่งขัน “SCGP Packaging Speak Out 2024” ครั้งที่ 9 รอบชิงชนะเลิศ เพื่อเฟ้นหาผู้มีความสามารถด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์และการสร้างแบรนด์ รับเงินรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท พร้อมโอกาสฝึกงานกับ SCGP เพื่อเป็นบันไดก้าวแรกสู่การเป็นนักออกแบบและนักการตลาดรุ่นใหม่ ซึ่งครั้งนี้มีนิสิตนักศึกษาสนใจร่วมตบเท้าเข้าสู่สนามแข่งขันกว่า 278 ทีม จนคัดเลือกเหลือ 15 ทีมสุดท้าย

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า ในฐานะที่บริษัทดำเนินธุรกิจโดยมุ่งเน้นใส่ใจต่อความรับผิดชอบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง บริษัทจึงให้ความสำคัญอย่างมากต่อการคิดค้นพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าใหม่ ๆ  เพื่อมีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คนในสังคม จนเป็นที่มาของการจับมือร่วมกับสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิยุทธสาร ณ นคร เพื่อจัดการแข่งขัน “SCGP Packaging Speak Out 2024”  

การแข่งขันครั้งนี้เปิดรับนิสิตนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศมาร่วมสร้างและพัฒนาแบรนด์เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ผ่านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในโจทย์ Reduce-Reuse-Recycle ภายใต้แนวคิด “Packaging For A Brighter Tomorrow” เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมการแข่งขันรวมทั้งสิ้น 278 ทีม โดยทีมที่สามารถผ่านการคัดเลือกในรอบแรกจำนวน 15 ทีม ได้รับโอกาสพัฒนาผลงานผ่านการเวิร์คช็อป พร้อมรับคำปรึกษาแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ก่อนที่จะนำผลงานมาเสนอต่อในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งทางคณะกรรมการต่างให้การยอมรับว่า เป็น 15 ทีมที่มีความโดดเด่นทั้งด้านการสร้างแบรนด์ ความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ และการวางกลยุทธ์ทางการตลาดของแบรนด์

ในการตัดสินรอบสุดท้าย แต่ละทีมต้องพัฒนาชิ้นงานออกแบบ และนำเสนอแผนการสร้างแบรนด์ต่อคณะกรรมการ ซึ่งทีมที่ชนะเลิศรางวัล THE BEST OF CHALLENGE ได้รับเงินรางวัล 70,000 บาท พร้อมสิทธิ์ในการฝึกงานกับ SCGP ได้แก่ ทีม Honey Queen  โดยนางสาวนริศรา จันดาลี และนางสาวเพทาย เทพเนาว์ จากคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในผลงาน “ฝากรักจากใจ ส้มสายน้ำผึ้ง” ของฝากส้มสายน้ำผึ้งฝางเกรดพรีเมียม ที่ช่วยกระตุ้นการบริโภคสินค้า GI (Geographical Indication) ส่งเสริมรายได้ให้กับเกษตรกร และส่งเสริมการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

“ส่วนตัวเรียนด้านแพคเกจจิ้ง ไม่มีความรู้ด้านการตลาดเลย กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ต้องผ่านการรับคำปรึกษาจากพี่ๆ ผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านการออกแบบและการตลาดอย่างลึกซึ้งมาก” นางสาวเพทาย กล่าว
“ต้องขอบคุณ SCGP ที่จัดโครงการดีๆ แบบนี้ขึ้น ในโอกาสหน้าก็อยากเชิญชวนน้องๆ มาเข้าร่วมโครงการ รับรองว่าได้ความรู้เพิ่มเติมมากยิ่งขึ้นแน่นอน” นางสาวนริศรา กล่าว

ผู้ได้รับรางวัล SILVER STAR AWARD พร้อมกับเงินรางวัล 30,000 บาท  คือ ทีม AnyWhareWithMe โดยนางสาวเบญจภรณ์ เอกพจน์ นางสาวสรวีย์ ญาธนิญกรณ์ และนางสาวฐิติวรดา โชควัชระไพศาล  จากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในผลงาน “AnyWhereWithMe” ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย ที่ออกแบบให้บรรจุภัณฑ์สามารถประกอบเข้าด้วยกันและถอดออกได้ เพื่อความสะดวกในการพกพา

รางวัล BRONZE STAR AWARD มีจำนวน 3 ทีม ได้รับเงินรางวัลทีมละ 20,000 บาท ได้แก่ 1) ทีม Brix ในผลงาน “บริกศ์” โดยนายปภังกร โล่ห์เพชรัตน์ นายภวิศ ติยะวัชรพงศ์ จาก School of Integrated Innovation จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนางสาวปราณปริยา ธรรมประทานกุล จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) ทีม GRAND the one and only ในผลงาน “ชโลม”  โดยนางสาวรัชดาภรณ์ กมลช่วง นางสาววิจิตรา บรรณารักษ์ และ นางสาวปวีณา จันสว่าง จากคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3) ทีม Rocket WBD ในงานผล “บีบเบิ้ล”  โดยนายชนทัต บัวเพชร นางสาวพรปรียา อมรประภาธีรกุล และนายยุทธพิชัย โฉลกดี จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รางวัล HONORABLE MENTIONS จำนวน 4 ทีม ได้รับเงินรางวัลทีมละ 10,000 บาท ได้แก่ 1) ทีม SaiJai ในผลงาน “SaiJai” โดยนางสาวธัชปภา เมธากิตติภพ นางสาววาดฝัน จินต์วุฒิ และนางสาวสรรญสรส บุญวรรณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) ทีม Selakhun ในผลงาน “3 ALL Packaging จากแบรนด์ SASU” โดยนางสาวศรุตา เสลาคุณ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 3) ทีม Star stuff02 ในผลงาน “ชาชง”  โดยนางสาวขวัญแก้ว อยู่ชมวงษ์ นางสาวอภัสรา คล้ายรักษ์ และนางสาวสุธาสินี สวัสดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และ 4) ทีม tims ในผลงาน “Smit”  โดยนางสาวภาสินี เกียรติเสริมสกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ นางสาวปารย์ฝัน เทียนบุญ และนางสาวปุณิกา อจละนันท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายวิชาญ กล่าวเสริมว่า “ขอบคุณนิสิตนักศึกษาทุกทีมที่ส่งผลงานเข้าประกวดในปีนี้ ซึ่งเป็นปีที่ 9 ของ SCGP Packaging Speak Out ซึ่งเป็นการที่สนับสนุนให้คนเจนเนอเรชันใหม่เป็นบุคคลากรที่มีคุณค่าต่อสังคมในอนาคต เพื่อให้ประเทศชาติเติบโตไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน และในระหว่างการประกวดยังได้รับคำปรึกษาจากผู้มีประสบการณ์เสมือนกับทำงานจริง ซึ่งเป็นโอกาสที่ดียิ่งในการพัฒนาความรู้ต่อไป” พร้อมทิ้งท้ายให้เตรียมพบกับโครงการ SCGP Packaging Speak Out ในปีที่ 10

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...

SCGP รับรางวัล Best Innovative Company Awards ในงาน SET Awards 2024

ข่าว

Duy Tan Plastics Manufacturing Corporation
(Duy Tan), member of SCGP ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกคงรูป และเครื่องใช้ภายในบ้านรายใหญ่ในประเทศเวียดนาม

Loading Data...

บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP โดย นายเถลิงศักดิ์ ราชบุรี (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กิจการเยื่อและกระดาษ รับรางวัล “Best Innovative Company Awards”

ในประเภทรางวัล SET Awards of Honor ภายในงาน SET Awards 2024 ที่จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยร่วมกับวารสารการเงินธนาคาร สะท้อนถึงความยอดเยี่ยมด้านการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมที่มีคุณค่าช่วยส่งเสริมภาพรวมอุตสาหกรรมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2022-2024 โดย SCGP ได้วิจัยและพัฒนา “ยูคาลิปตัสไฮบริดสายพันธุ์ใหม่เพื่อความยั่งยืน” จากการผสมเกสรต่างสายพันธุ์ร่วมกับการพัฒนาเทคนิคชีวโมเลกุลระดับสูงและเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้ได้ยูคาลิปตัสสายพันธุ์ใหม่ที่มีการเติบโต และให้ผลผลิตที่สูงขึ้น 40% สามารถทนโรค ทนแมลง และเหมาะกับพื้นที่ในการปลูกในพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยและปริมาณน้ำฝนปกติ สามารถช่วยเสริมมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า พิธีมอบจัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...

Duy Tan Plastics ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้าน ESG คว้ารางวัล Top 50 Corporate Sustainability Awards 2024

ข่าว

Duy Tan Plastics ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้าน ESG คว้ารางวัล Top 50 Corporate Sustainability Awards 2024

Loading Data...

Duy Tan Plastics Manufacturing Corporation (Duy Tan), member of SCGP ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกคงรูป และเครื่องใช้ภายในบ้านรายใหญ่ในประเทศเวียดนาม

ได้รับรางวัล Top 50 Corporate Sustainability Awards 2024 จาก นิตยสาร Nhip cau dau tu ในประเภท Optimize the Use of Sustainable Materials จากการดําเนินงานอย่างยั่ งยืน ในด้าน ต่าง ๆ ได้แก่ การปรับปรุง การออกแบบ การใช้วัสดุที่ปลอดภัย การลดใช้เม็ดพลาสติกใหม่ การนํากลับมาใช้ใหม่ การผลิตสินค้า เพื่อความยังยืน การวิจัยพัฒนาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น นับเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกรายเดียวในปีนี้ที่สามารถ คว้ารางวัลนี้ได้ รางวัล Top 50 Corporate Sustainability Awards 2024 นี้ พิจารณาจากปัจจัยสําคัญ ได้แก่ การปกป้องสิ่ งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และการกํากับดูแลกิจการ โดยคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยผู้นําจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจหมุนเวียน สื่อ บริษัทการเงิน ธนาคาร และบริษัทเทคโนโลยีประเมินผลร่วมกัน ซึ่งรางวัลนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่ นและการยอมรับใน การดําเนินงานที่ใส่ใจด้าน ESG มาโดยตลอด

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...

SCGP แถลงผลดำเนินงาน 9 เดือนแรกของปี 2567 เดินหน้าผลักดันยอดขาย เพิ่มสัดส่วนบรรจุภัณฑ์ที่เชื่อมโยงกับผู้บริโภค พร้อมกลยุทธ์บริหารต้นทุนต่อเนื่อง

ข่าว

SCGP แถลงผลดำเนินงาน 9 เดือนแรกของปี 2567 เดินหน้าผลักดันยอดขาย เพิ่มสัดส่วนบรรจุภัณฑ์ที่เชื่อมโยงกับผู้บริโภค พร้อมกลยุทธ์บริหารต้นทุนต่อเนื่อง

Loading Data...

SCGP เผยผลการดำเนินงาน 9 เดือนแรกของปี 2567 มีรายได้จากการขาย 101,553 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปริมาณขายของสายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรและสายธุรกิจเยื่อและกระดาษที่เพิ่มขึ้น กำไรสำหรับงวด 3,756 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จึงเน้นการปรับพอร์ตเพิ่มสัดส่วนบรรจุภัณฑ์ที่เชื่อมโยงกับผู้บริโภค (Consumer Packaging) รุกขยายโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่มีศักยภาพเติบโตสูง และการบริหารต้นทุนให้สอดคล้อง เพื่อส่งมอบคุณค่าที่ยั่งยืนตามกรอบ ESG มองแนวโน้มอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไตรมาสสุดท้ายของปีเติบโตจากการผลิตสินค้าเพื่อสต๊อกในช่วงเทศกาล การฟื้นตัวของการส่งออกและการท่องเที่ยว

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ภูมิภาคอาเซียนฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการบริโภคภายในประเทศ และการท่องเที่ยว ส่งผลให้ความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้น เช่น บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการส่งออกที่ขยายตัว เช่น อาหารแปรรูป สินค้าเกษตร ไปยังสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป ทั้งนี้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ภาพรวมเศรษฐกิจมีความท้าทายเพิ่มขึ้นจากการแข็งค่าของเงินบาทและสกุลเงินอื่น ๆ ในอาเซียน การเกิดอุทกภัยในไทยและเวียดนามที่ส่งผลต่อศักยภาพการส่งออกและการจัดเตรียมสต๊อกสินค้า และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ เป็นผลให้การส่งออกและความต้องการกระดาษบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคปรับลดลง รวมถึงต้นทุนกระดาษบรรจุภัณฑ์จากราคากระดาษรีไซเคิลเพิ่มขึ้น

 

SCGP ได้ดำเนินกลยุทธ์เพื่อรับมือกับความท้าทายด้วยการปรับพอร์ตสินค้าเพิ่มสัดส่วนกลุ่มบรรจุภัณฑ์ที่เชื่อมโยงกับผู้บริโภค นำเสนอนวัตกรรมและโซลูชันบรรจุภัณฑ์เพื่อรักษาความสามารถในการทำกำไร รวมถึงปรับกลยุทธ์การส่งออกกระดาษบรรจุภัณฑ์ของอินโดนีเซียไปยังเวียดนามในช่วงที่ตลาดจีนยังอยู่ในช่วงฟื้นตัว และบริหารจัดการต้นทุนพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการนำเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) มาใช้ในกระบวนการผลิตและขยายไปยังโรงงานอื่น ๆ ในอาเซียน รวมถึงเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทางเลือก ส่งผลให้ผลการดำเนินงานในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 มีรายได้จากการขายเท่ากับ 101,553 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเติบโตของทุกสายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง การขยายตัวของภาคการส่งออก และการฟื้นตัวของกลุ่มสินค้าคงทน มี EBITDA เท่ากับ 13,282 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กำไรสำหรับงวดเท่ากับ 3,756 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 มีรายได้จากการขาย 33,371 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปริมาณการขายบรรจุภัณฑ์กระดาษและบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เพิ่มขึ้น และรายได้จากการขายเยื่อเคมีละลายได้ (Dissolving Pulp) ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา จากปริมาณการส่งออกของกระดาษบรรจุภัณฑ์ที่ลดลง EBITDA เท่ากับ 3,496 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงร้อยละ 25 จากไตรมาสก่อนหน้า สำหรับกำไรสำหรับงวด 578 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 56 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา จากต้นทุนวัตถุดิบกระดาษรีไซเคิล และความผันผวนของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจึงส่งผลต่อสินค้าส่งออก เช่น บรรจุภัณฑ์อาหารและเยื่อเคมีละลายได้ (Dissolving Pulp)

 

นายวิชาญ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้มีแนวโน้มเติบโต เนื่องจากเป็นช่วงที่ภาคอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคจะเพิ่มการสต๊อกสินค้าเพื่อรองรับการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ภาคการบริการและการท่องเที่ยวมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง รวมถึงการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และความต้องการสินค้าคงทนจะเพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมรับเทศกาล ขณะที่เศรษฐกิจของจีนคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่วนราคากระดาษรีไซเคิลมีแนวโน้มลดลงจากราคาที่ปรับย่อลงในช่วงไตรมาสก่อน SCGP จึงยังคงมุ่งขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์และโซลูชันที่เชื่อมโยงกับผู้บริโภค เช่น บรรจุภัณฑ์อาหาร และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ซึ่งมีศักยภาพเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ร่วมมือกับ Once Medical Company Limited พัฒนาโซลูชันเข็มฉีดยา และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์คุณภาพสูงอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมศักยภาพการผลิตของ VEM Thailand และขยายเครือข่ายลูกค้าให้แข็งแกร่งและครอบคลุมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมุ่งบริหารต้นทุนและเพิ่มความสามารถทำกำไรด้วยการปรับพอร์ตเพิ่มยอดขายสินค้าที่มีมูลค่าสูง เพิ่มสัดส่วนการส่งออกกระดาษบรรจุภัณฑ์ไปประเทศที่มีความต้องการ เพิ่มการใช้กระดาษรีไซเคิลภายในประเทศและขยายเครือข่ายการจัดหากระดาษรีไซเคิลเพิ่มขึ้น รวมถึงมุ่งปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนพลังงานอย่างต่อเนื่อง

 

ขณะเดียวกัน SCGP ได้ดำเนินธุรกิจตามแนวคิด ESG และมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก โดยเดินหน้าเพิ่มรายการสินค้าที่ได้รับรอง Carbon Footprint of Products (CFP) ครอบคลุมกลุ่มสินค้า ได้แก่ เยื่อกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์พลาสติก รวม 126 ผลิตภัณฑ์ กระบวนการพิมพ์และการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์กระดาษรวม 16 กระบวนการ และกลุ่มสินค้ากระดาษถ่ายเอกสารและบรรจุภัณฑ์อาหาร (Fest) รวม 19 ผลิตภัณฑ์ และล่าสุด SCGP ได้รับการปรับอันดับ ESG ratings เป็น ‘A’ จาก MSCI และยังได้รับรางวัล “องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ระดับยอดเยี่ยม สาขาสินค้าอุตสาหกรรม ประจำปี 2567” หรือ Climate Action Leading Organization (CALO) – Excellence level จากเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย หรือ TCNN เป็นปีที่สองติดต่อกัน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...

ภาคธุรกิจร่วมระดมไอเดียหาแนวทางเร่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ในงาน CEO Forum: SCG ESG Symposium 2024

ข่าว

ภาคธุรกิจร่วมระดมไอเดียหาแนวทาง
เร่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
ในงาน CEO Forum: SCG ESG Symposium 2024

Loading Data...

47 องค์กรเอกชนจากธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจค้าส่ง ธุรกิจอสังหาฯ ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ธุรกิจน้ำตาล ผู้ผลิตปูนซีเมนต์ ผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง นิคมอุตสาหกรรม และประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ผนึกพลังในงาน CEO Forum : SCG ESG Symposium 2024

ร่วมระดมสมองเฟ้น 6 แนวทาง ได้แก่ 1. การส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน 2. มุ่งขับเคลื่อนจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ 3. การออกแบบอาคารที่คำนึงถึงการลดก๊าซเรือนกระจก 4. การลดก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมก่อสร้าง 5. การส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และ 6. การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด และการใช้ ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ เป็นพื้นที่ทดลอง เพื่อเสนอรัฐบาลผลักดันประเทศไทยเดินหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และเพิ่มความสามารถการแข่งขันให้กับประเทศ
คุณธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCG กล่าวว่า เพื่อการผลักดันแผนการเปลี่ยนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ SCG ได้ชวนตัวแทนภาคธุรกิจเข้าร่วมให้ข้อเสนอแนะ และหาแนวทางความร่วมมือ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Net Zero ตลอดจนสร้างโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยผลการระดมสมองใน 6 หัวข้อ ดังนี้

1. มุ่งขับเคลื่อนการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ (Waste Management) การนำของเหลือใช้มารีไซเคิลให้เกิดมูลค่าสูงสุดเป็นวิธีจัดการที่ดีที่สุด โดยปัจจุบันพบว่าเศษวัสดุเหลือใช้ในประเทศไทยถูกนำไปรีไซเคิลน้อยกว่าร้อยละ 20 จึงเสนอ 2 ทางออก คือ บริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ตั้งแต่ต้นทางผ่านการคัดแยกเพื่อให้รีไซเคิลง่ายขึ้น โดยเริ่มจากการขอความร่วมมือจากภาคเอกชนภายในพื้นที่หรืออาคารต่าง ๆ นอกจากนี้ ภาครัฐควรออกกฎข้อบังคับ โดยเริ่มจากตลาดค้าส่งเป็นต้นแบบ จากนั้นจึงขยายไปยังภาคส่วนอื่น ๆ ก่อนออกกฎหมายบังคับการคัดแยก และการเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งหน่วยงานในการบริหารการจัดเก็บภาษี Extended Producer Responsibility (EPR) ด้วยวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการนำภาษีที่ได้ไปบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและโปร่งใส

2. การส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน (Sustainable Packaging) การใช้บรรจุภัณฑ์จากวัสดุรีไซเคิล คือทางออกที่ยังคงมีข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหาร ที่บรรจุภัณฑ์ยังไม่สามารถคงความยาวนานของอายุสินค้า ดังนั้น ภาครัฐบาลจึงควรมีนโยบายสนับสนุนผู้ประกอบการ เช่น ด้านภาษี หรือด้านการลงทุนการทำวิจัยให้ภาคเอกชน เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์จากวัสดุรีไซเคิลที่ใช้ได้จริงในราคาเข้าถึงได้ นอกจากนี้ รัฐบาลควรเน้นสร้างการรับรู้ของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน เช่น การออกแบบหลักสูตรการศึกษาที่ปลูกฝังเยาวชนคนรุ่นใหม่เห็นถึงความสำคัญของการร่วมกันดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์จากวัสดุรีไซเคิลในระยะยาว

3. การส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก (How to Raise Awareness and Support SMEs Towards Green Transition SMEs) จากผลวิจัยพบว่า SMEs มีข้อจำกัดเรื่องทรัพยากรบุคคลและเงินทุน จึงแนะนำให้ SMEs มองว่า ESG คือโอกาสในการทำธุรกิจ และมองหาตลาดและผู้บริโภคกลุ่มใหม่ ๆ ที่มีความต้องการสินค้ารักษ์โลก  อีกทั้งหากผู้ประกอบการเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด   ก็จะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าอีกด้วย ขณะเดียวกันภาครัฐเองควรสนับสนุนให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อ และให้ Green Priority เพื่อช่วย SMEs เร่งปรับตัวให้ทัน เพื่อไม่สูญเสียโอกาสทางธุรกิจในอนาคต

4. การออกแบบอาคารที่คำนึงถึงการลดก๊าซเรือนกระจก (GHG and Waste Reduction in Construction Design)เสนอการจัดการ 3 ช่วง ตั้งแต่ (1) ต้นน้ำ โดยกระตุ้นให้ผู้ออกแบบอาคารคำนึงถึงการลดก๊าซเรือนกระจกทั้ง Embodied carbon ที่เกิดจาการใช้วัสดุก่อสร้าง และ Operational carbon ที่เกิดจากการใช้พลังงานในช่วงการบริหารใช้งานอาคาร       (2) กลางน้ำ ให้รัฐบาลมอบสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี หรือสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำระหว่างการก่อสร้างอาคารคาร์บอนต่ำ หรือมีการให้ค่า Floor to Area Ratio (FAR) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 สำหรับอาคารที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียว (LEED) และ (3) ปลายน้ำ การจัดการวัสดุก่อสร้างเหลือใช้ให้สามารถนำกลับเข้ากระบวนการรีไซเคิลให้ได้มากที่สุด

5. การลดก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมก่อสร้าง (GHG and Waste Reduction in Construction Value Chain) อาคารทุกหลังมี Carbon Footprint of Products ที่สูง ใช้พลังงานมาก และปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่การก่อสร้าง จนถึงการบริหารอาคาร ดังนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน โดยภาคเอกชนผู้ก่อสร้างควรใช้วัสดุก่อสร้างคาร์บอนต่ำ และถ่ายทอดองค์ความรู้และความสำคัญของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปยังผู้รับเหมา เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ในขณะที่ภาครัฐควรมีแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับอาคารที่ใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อให้สามารถนำคาร์บอนเครดิตไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น หรือเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเจ้าของอาคารต่อได้  

6. การใช้ ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ เป็นพื้นที่ทดลองสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ (Energy Transition & Saraburi Sandbox) จังหวัดสระบุรี เป็นพื้นที่ผลิตปูนซีเมนต์ปริมาณมาก จึงจำเป็นต้องมุ่งเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาดทั้งในกระบวนการผลิต และการขนส่ง ซึ่งภาคเอกชนต้องร่วมมือกัน เช่น ผู้ผลิตรถไฟฟ้าร่วมมือกับผู้ติดตั้งหัวชาร์จรถไฟฟ้า เป็นต้น ขณะที่ภาครัฐต้องเข้ามามีบทบาทในการจัดหา และส่งมอบพลังงานสะอาดแก่ภาคเอกชน เพื่อสร้างระบบนิเวศ “Green Infrastructure” รวมถึงการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้อย่างยั่งยืนในพื้นที่ด้วยแนวทาง Waste to Material ด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วยให้วัสดุเหลือใช้เกิดมูลค่าสูงสุด และเกิดการขยายผลของสระบุรีแซนด์บ็อกส์ไปสู่จังหวัดอื่น ๆ  เช่น อยุธยา

นับเป็นปรากฎการณ์ครั้งสำคัญที่องค์กรเอกชนชั้นนำของไทย ที่มีผลประกอบการรวมกันคิดเป็นมูลค่ากว่า 1.25 ล้านล้านบาท ร่วมผนึกกำลัง หาทางออก เพื่อเร่งเปลี่ยนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้นได้จริง สร้างโอกาสและเพิ่มความสามารถการแข่งขัน เพื่อเศรษฐกิจไทยที่เติบโตยั่งยืน  เพราะ “ยิ่งเร่งเปลี่ยน ยิ่งเพิ่มโอกาส” คุณธรรมศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติม

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...

SCGP รับ 2 รางวัลจากงาน Business Partner Award 2024 รับรองความเป็นพันธมิตรที่มุ่งเน้นความยั่งยืน

ข่าว

SCGP รับ 2 รางวัลจากงาน Business Partner Award 2024 รับรองความเป็นพันธมิตรที่มุ่งเน้นความยั่งยืน

Loading Data...

SCGP รับมอบรางวัล Business Partner Award ประจำปี 2024 ระดับ Silver Award และ Sustainability Award จาก บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

ซึ่งเป็นรางวัลประกาศเกียรติคุณสำหรับคู่ค้าของบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่มีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยมและมีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการด้านความยั่งยืน ประจำปี 2566-2567 โดยมีพี่เอกราช นิโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการตลาด SCGP เป็นตัวแทนรับ พิธีมอบจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2567 ในงาน SX Partnerships for the Goals: TSCN Business Partner Conference 2024 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ความร่วมมือนี้นับว่าเป็นเครื่องหมายยืนยันการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่ดีของทั้ง 2 บริษัท เพื่อร่วมกันส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้บริโภคและยกระดับอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืนไปด้วยกัน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...

ทีม Healthcare Supplies ร่วมโชว์ในงาน Thailand Lab 2024 ชูศักยภาพและความเชี่ยวชาญด้านวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์

ข่าว

ทีม Healthcare Supplies
ร่วมโชว์ในงาน Thailand Lab 2024
ชูศักยภาพและความเชี่ยวชาญ
ด้านวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์

Loading Data...

Healthcare Supplies Business ผนึกกำลัง โชว์สินค้าและโซลูชันในงาน Thailand Lab 2024 ณ ไบเทค บางนา

ร่วมนำเสนอความเชี่ยวชาญด้านวัสดุอุปกรณ์การทดสอบทางการแพทย์จาก Deltalab S.L., Member of SCGP เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม โดยนำสินค้าไฮไลท์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Deltaklean (Swabs set for microbiological detection) ชุดทดสอบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์บนพื้นผิวเรียบ, RT-PCR Test kits, ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการ (Labware) นอกจากนี้ยังมีโซลูชันการบริการจากห้องปฏิบัติการทดสอบอาร์แอลเอส (Research Laboratory Services) และนวัตกรรม D.O.M (Direct Odor Monitoring) การตรวจวิเคราะห์ และเฝ้าระวังกลิ่น งาน Thailand Lab 2024 เป็นงานที่รวมผู้ประกอบการชั้นนำจากทั่วโลกกว่า 300+ ราย และมากกว่า 500+ แบรนด์ มาจัดแสดงพร้อมนำเสนอเทคโนโลยีล้ำสมัย ผลงานวิจัย และนวัตกรรมต่างๆ ที่พร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม สอดคล้องกับเทรนด์การดูแลสุขภาพที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...