SCGP Newsroom

SCGP รับรางวัลชนะเลิศ Outstanding in Corporate Governance Award จากหอการค้าเนเธอร์แลนด์-ไทย สะท้อนการดำเนินงานด้าน ESG

SCGP ได้รับรางวัลชนะเลิศ Outstanding in Corporate Governance Award จากหอการค้าเนเธอร์แลนด์-ไทย (Netherlands-Thai Chamber of Commerce : NTCC) จากการดำเนินงานด้านบรรษัทภิบาล (Corporate Governance) ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาที่สำคัญของ ESG อย่างดีเยี่ยม สามารถสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ สร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต โดยรางวัลดังกล่าวได้มาจากการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของหอการค้าฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนจากสถาบันการศึกษา รวมถึงการโหวตจากสถาบันและผู้เข้าร่วมกิจกรรมของ NTCC อันสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานด้าน ESG จนเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับจากองค์กรระดับนานาชาติ

นอกจากนี้ SCGP ยังได้รับรางวัล Appreciation Award: Thai Investor in the Netherlands ในฐานะเป็นองค์กรที่มีการส่งเสริมการค้า-การลงทุนระหว่างประเทศไทยและประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นอย่างดี รวมถึงมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับสมาชิกของ NTCC อย่างต่อเนื่อง 

“SCGP พัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยและยั่งยืนสู่ตลาด เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่แท้จริง และยังมีเป้าหมาย Net Zero สำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2050 นี้ โดยได้ดำเนินการด้าน ESG ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ด้วยการมุ่งมั่นปฏิบัติตาม SCGP Code of Conduct และส่งเสริมให้คู่ธุรกิจปฏิบัติตามด้วย นอกจากนี้มีการลงทุนใน Puete ผู้นำธุรกิจ Recycling Business ในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งสามารถเพิ่มความยั่งยืนให้ระบบห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด ทำให้สามารถสร้างการเติบโตในธุรกิจไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน” คุณดนัยเดช เกตุสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงิน บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าว

พิธีมอบจัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ในงาน Road to Net-Positive จัดโดย Netherlands-Thai Chamber of Commerce (NTCC) ณ โรงแรม Siam Kempinski Hotel Bangkok
 

SCGP ประกาศผลงานออกแบบบรรจุภัณฑ์โครงการ ‘SCGP Packaging Speak Out 2023’ รับสังคมสูงวัย โดย “พลังรุ่นใหม่” เพื่อรุ่นใหญ่

SCGP ชูพลังรุ่นใหม่เพื่อรุ่นใหญ่ ประกวดออกแบบผ่านโครงการ ‘SCGP Packaging Speak Out 2023’ ในโจทย์ “แพคเกจจิ้งเพื่อผู้สูงวัย” รอบตัดเชือก 10 ทีมสุดท้าย จากผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด 288 ผลงาน โดยทีม 60s Kids คว้ารางวัลชนะเลิศ จากผลงาน “ศีรษะ” ออกแบบแพคเกจจิ้งแชมพูและครีมนวดผมเพื่อแก้ปัญหาผู้สูงวัยลื่นล้มในห้องน้ำ

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า หนึ่งในวิสัยทัศน์การพัฒนาธุรกิจ SCGP คือการดำเนินธุรกิจที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยการพัฒนา “คุณภาพชีวิตที่ดี” ของผู้คนผ่านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ จึงเป็นที่มาของการจัดการประกวด SCGP Packaging Speak Out ส่งเสียง เปลี่ยนโลก ด้วยแพคเกจจิ้ง  ซึ่งจัดมาต่อเนื่อง โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 8 กับการออกแบบคุณภาพชีวิตที่ดีผ่านการสร้างสรรค์ “แพคเกจจิ้งเพื่อผู้สูงวัย” พลังรุ่นใหม่ เพื่อรุ่นใหญ่ ภายใต้แนวคิด Possibilities for the Betterment รับเทรนด์สังคมสูงวัยในไทย และอีกหลายประเทศในโลก (Aging Society) ซึ่งมองเป็นโอกาสของธุรกิจแพคเกจจิ้งในอนาคต 

 

“SCGP ยินดีที่ได้จัดกิจกรรมนี้ นอกเหนือจากการประกวดที่ต้องมีผู้ชนะและผู้แพ้ สิ่งสำคัญกว่านั้นคือน้อง ๆ ได้มีโอกาสในการได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์ที่จะติดตัวไปในการดำเนินชีวิตและการทำงานในอนาคต โดยในแง่ของการออกแบบแพคเกจจิ้ง จุดแข็งหนึ่งคือการมีงานวิจัย มีข้อมูลที่เป็นความจริงรองรับ ซึ่งจะสะท้อนความเป็นไปได้ในการนำแพคเกจจิ้งนั้นไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCGP กล่าว

 
สำหรับการประกวด SCGP Packaging Speak Out 2023 ในครั้งนี้มีผลงานที่ Gen Z ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 288 ผลงาน คัดผู้เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย เพื่อนำเสนอผลงานชิงเงินรางวัลรวม 200,000 บาท ภายใต้เกณฑ์ความคิดสร้างสรรค์และแนวคิดการออกแบบตามโจทย์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงวัยและเพื่อโลกที่ยั่งยืน การออกแบบโครงสร้างแพคเกจจิ้ง การออกแบบกราฟิกให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย และความเป็นได้ในพัฒนาต่อยอดเชิงธุรกิจ 

โดยทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ (The Best of Challenge)  ได้รับเงินรางวัล 70,000 บาท ได้แก่ ทีม 60s Kids นางสาวฎีการัช ธรรมรัตนกุล และนายกรณ์ชัช ติยวุฒิโรจนกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับผลงาน “ศีรษะ” โดยนำปัญหาของผู้สูงวัยจากงานวิจัยที่พบว่า ปัญหาการล้มในผู้สูงวัย มากกว่า 50%  เกิดในห้องน้ำ มาออกแบบแพคเกจจิ้งผลิตภัณฑ์บำรุงผมที่เอื้อต่อการใช้งานของผู้สูงวัยในห้องน้ำ  ได้แก่  ฝากดแบบมือเดียว ง่ายต่อการใช้งาน  มีแผ่นซิลิโคนกันลื่นที่บริเวณกด มีพื้นผิวนูนด้านข้างขวดช่วยเพิ่มแรงเสียดทาน ลดการลื่น มีตัวอักษรขนาดใหญ่อ่านชัด ไม่ใส่ข้อมูลมากเกินไป ใช้สีและขนาดดึงดูดสายตา ใช้รูปภาพสัญลักษณ์เพื่อช่วยการอธิบาย และเลือกใช้วัสดุ Mono-layer plastic : PE พลาสติกที่สร้างจากพลาสติกชนิดเดียว เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปรีไซเคิล สะท้อนความใส่ใจสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 
รางวัลรองชนะเลิศ (Runner-Up) ได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท ได้แก่ ทีม Dec Product นางสาวอัญชิสา อมรธนภัทร และนางสาวพรรษชล ไตรวิทยากร คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กับผลงาน “เนตรา” ชุดผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ทำความสะอาดตาสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าต้อกระจก โดยออกแบบแพคเกจจิ้งให้สามารถใช้งานได้ง่ายด้วยมือเดียว ขนาดแพคเกจจิ้งไม่เล็กมากทำให้มองเห็นจากระยะไกลได้ชัดขึ้น จับถนัดมือ น้ำยาไม่หกขณะปิด สีสะดุดตา มีตัวหนังสือขนาดใหญ่  เป็นต้น

 
รางวัล  Honorable Mentions  ได้รับเงินรางวัลทีมละ 20,000 บาท ได้แก่ 

ทีม 123 หน่อ นายวิริทธิ์พล จันทรศิริจัน นายยุวรัตน์ บุญมาศ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และนางสาวธัญณิชา วันทยะกุล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จากผลงาน แพคเกจจิ้งผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ตรา Comfee แพคเกจจิ้งทรงสี่เหลี่ยมเพื่อความสะอาดในการจัดเก็บและวางต่อกันบนชั้นวางของร้านค้า มีหูหิ้วข้างกล่องเพื่อความสะดวกในการขนย้าย

ทีม Woof  Woof  นางสาวลภัสรดา สฤษฎ์ผล และนางสาวสุนทรีลักษณ์ เอี๋ยตระกูล คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากผลงาน เฟลอร์ บรรจุภัณฑ์ขวดใส่ปุ๋ยแบบน้ำเพื่อผู้สูงอายุ ถูกออกแบบเพื่อช่วยแก้ปัญหาการเปิดขวดยาก เป็นบรรจุภัณฑ์แบบขวดที่มีฝาขวดเป็นรูปทรงดอกไม้

ทีม Pin นางสาวชัญญารัสมิ์ ปิ่นแก้ว คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลงาน ฟิตฟุต กล่องรองเท้าเพื่อสุขภาพ ช่วยแก้ปัญหาสุขภาพร่างกายที่ผู้สูงอายุในครอบครัวเราพบเจออยู่เป็นประจำ โดยออกแบบให้กล่องรองเท้าสามารถสร้างคุณค่าต่อด้วยการเพิ่มอุปกรณ์ที่ใช้บริหารฝ่าเท้าได้
 

และทีม ppm นางสาวปาริตา ยิ่งยงอุดมผล นางสาวพรสินี น้อยประชา และนางสาวอนันตชา จั่นอยู่ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลงาน ยาดมสมุนไพร ดีไซน์บรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มฟังก์ชันแบบปุ่มนวด เพื่อให้ผู้สูงวัยได้บริหารมือในขณะใช้งาน

ทุกผลงานล้วนเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์กับคนรุ่นใหญ่ พร้อมทั้งคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และเป็นมิตรกับโลก ที่น้อง ๆ รุ่นใหม่ทุ่มเทออกแบบและระเบิดความสร้างสรรค์ได้อย่างน่าสนใจ เปิดความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้ชาวสูงวัยได้แฮปปี้ เพื่อร่วมเปลี่ยนสังคมและโลกให้น่าอยู่และยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ผู้ที่สนใจติดตามรายละเอียดผลการแข่งขันเพิ่มเติมได้ที่ https://thechallenge.scgpackaging.com/en/ideaTank-th

มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับ SCGP คว้ารางวัลชนะเลิศ นวัตกรรมเตียงกระดาษ ออกแบบโดย SCGP สำหรับออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ตอกย้ำแนวคิดสร้างสรรค์ เน้นตอบโจทย์การใช้งาน ลดเหลื่อมล้ำในสังคม

มูลนิธิเอสซีจี ผนึกกำลัง นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (ปธพ.) โดยมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ และแพทยสภา และ SCGP เดินหน้าสร้างประโยชน์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้สังคมอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติประจำปี 2566 ในสาขาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม องค์กรเพื่อสังคมและชุมชน จากผลงาน “นวัตกรรมเตียงกระดาษ สำหรับออกหน่วยเเพทย์เคลื่อนที่” ที่ร่วมกันสร้างสรรค์โดยทีมนักออกแบบ SCGP มูลนิธิเอสซีจี และ ปธพ. โดยต่อยอดจากเตียงสนามกระดาษที่เคยรองรับผู้ป่วยโควิด 19 ให้สามารถตอบโจทย์การใช้สำหรับการปฏิบัติงานของแพทย์และการใช้บริการของผู้ป่วยในหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย และเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก 

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ จัดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติแก่คนไทย ที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีความโดดเด่นและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศอย่างชัดเจน โดยในการประกวดครั้งนี้ มีองค์กรต่าง ๆ ร่วมส่งประกวดกว่า 300 องค์กร

CPF x SCGP x SCGC จับมือพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดูแลโลกยั่งยืน

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับพันธมิตร 2 บริษัทในกลุ่ม SCG ที่มุ่งเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับการสร้างความยั่งยืน ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ด้านนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์จากเยื่อกระดาษและพอลิเมอร์ กับบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP และ ด้านนวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Polymer) กับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC โดยร่วมกันศึกษาพัฒนาโซลูชันบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารในเครือซีพีเอฟ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อีกทั้งสะอาดและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค พร้อมเปิดโอกาสพัฒนานวัตกรรมร่วมกับพันธมิตรทั้งในห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ที่มีเป้าหมายความยั่งยืนร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมตามแนวทางดำเนินธุรกิจ ESG (Environmental, Social and Governance) และรองรับความต้องการของตลาดบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  
 
พิธีลงนาม MoU มีนายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ ลงนามร่วมกับ นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCGP และนายสุรชา อุดมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ SCGC พร้อมด้วยนางกอบบุญ ศรีชัย ผู้บริหารสูงสุดสายงานกิจการองค์กรและลงทุนสัมพันธ์ นางสาวธิดารัตน์ เดชายนต์บัญชา ผู้บริหารสูงสุดสายงานจัดซื้อกลาง และนายกิตติ หวังวิวัฒน์ศิลป์ ผู้อำนวยการ สายงานวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ซีพีเอฟ ร่วมในพิธี ณ ห้องบอร์ดรูม ชั้น 30 อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ สีลม    
 
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า “ซีพีเอฟมีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจทุกมิติบนพื้นฐานของความยั่งยืน เติบโตและช่วยกันดูแลโลก ดูแลสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ความร่วมมือในวันนี้ เป็นการผนึกกำลังของ 3 บริษัท ที่จะช่วยกันพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน เป็นความตั้งใจของซีพีเอฟในการผลิตอาหารที่ดีต่อกาย ดีต่อใจ และดีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้ง 3 บริษัทมีเป้าหมายด้านของความยั่งยืนเหมือนกัน และมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมทำธุรกิจแล้วมีส่วนรักษ์โลก มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ในปี 2050 ซึ่งบรรจุภัณฑ์เป็นเรื่องที่
ซีพีเอฟให้ความสำคัญ โดยปัจจุบัน บรรจุภัณฑ์ของซีพีเอฟ 99.9% สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Reusable) หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ (Recycle) หรือย่อยสลายได้ (Compostable) และหวังว่าการร่วมมือกันในครั้งนี้จะทำให้ในอนาคตบรรจุภัณฑ์ของ
ซีพีเอฟจะมีส่วนช่วยรักษ์โลกมากยิ่งขึ้น  ช่วยให้กระบวนการใช้บรรจุภัณฑ์ของประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”      
 
นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “SCGP ให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ผ่านการพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นความปลอดภัยของสินค้าและบริการ เพิ่มสัดส่วนการนำกระดาษที่ใช้งานแล้วจากผู้บริโภคนำกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิตและเพิ่มสัดส่วนบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ตามเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 และพร้อมผนึกความร่วมมือกับพันธมิตรในการส่งเสริมแนวทางที่ยั่งยืนไปสู่ผู้บริโภค ความร่วมมือกับซีพีเอฟในครั้งนี้ โดย SCGP จะนำความรู้ ความชำนาญ และเทคโนโลยีมาใช้ในการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ทั้งบรรจุภัณฑ์จากเยื่อกระดาษ บรรจุภัณฑ์จากพอลิเมอร์ที่มีความยั่งยืน เหมาะสมกับกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ของ
ซีพีเอฟเพื่อสร้างความยั่งยืนไปด้วยกัน”    
    
นายสุรชา อุดมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC กล่าวว่า “ประเทศไทยส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารค่อนข้างสูง และมีโอกาสที่จะเป็นผู้นำด้านอาหารของโลก การบริโภคอาหารที่มีคุณภาพเยี่ยมภายใต้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะช่วยตอบโจทย์ทั้งในเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร (Food Security) ควบคู่ไปกับการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)  ซึ่ง SCGC พร้อมนำความเชี่ยวชาญด้าน Green Innovation มายกระดับบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับอาหารให้มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย บนมาตรฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยนวัตกรรมพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายใต้แบรนด์ SCGC GREEN POLYMERTM สามารถตอบโจทย์ Low Waste และ Low Carbon พร้อมส่งมอบโซลูชันครอบคลุม 4 ด้านหลัก ได้แก่ การลดใช้ทรัพยากร (Reduce) การออกแบบเพื่อให้รีไซเคิลได้ (Recyclable) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน (Renewable)”

 

SCGP มอบรางวัลประกาศเกียรติคุณให้กับพันธมิตรทางธุรกิจที่ร่วมพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน

SCGP จัดงานสัมมนา SCGP Circularity in Action : Pursuit of Packaging Sustainability เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ร่วมกันกับลูกค้าในด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีพันธมิตรทั้งในไทยและต่างประเทศร่วมงานกว่า 40 บริษัท ณ เอสซีจี สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566

ภายในงาน คุณกรัณย์ เตชะเสน ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กิจการบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูง SCGP 
ได้มอบรางวัลประกาศเกียรติคุณเพื่อแสดงความขอบคุณพันธมิตรทางธุรกิจที่ร่วมพัฒนาสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างกันในอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนไปสู่ผู้บริโภค ในกลุ่มสินค้าประเภทต่าง ๆ ดังนี้

พันธมิตรทางธุรกิจในกลุ่มสินค้า R1 (Recyclable mono-material laminated)
•    Betagro / B. Foods Product International Co., Ltd.
•    Jei Lee USA Corporation
•    Kimberly-Clack Thailand Co., Ltd.
•    C.P. Intertrade Co.,Ltd. และ Khao C.P. Co., Ltd.
•    KF Foods Limited
•    Lucky Union Foods Co., Ltd.
•    Marine Gold Products Ltd.
•    Masan Consumer Corporation
•    Mars Petcare (Thailand) Co., Ltd.
•    Okeanos Food Co., Ltd.
•    Pacific Fish Processing Co., Ltd.
•    Thaveevong Industry Co., Ltd.

พันธมิตรทางธุรกิจในกลุ่มสินค้า R1+ (Recyclable mono-material laminated with barrier)
•    Mondelez Kinh Do JSC

พันธมิตรทางธุรกิจในกลุ่มสินค้า Recyclable mono-material packaging with recycled content
•    Uni-charm (Thailand) Co., Ltd.

พันธมิตรทางธุรกิจในกลุ่มสินค้า Rigid plastic with 100% PCR
•    The Shell Company of Thailand Limited

พันธมิตรทางธุรกิจในกลุ่มสินค้า Rigid plastic with PCR
•    Colgate-Palmolive (Thailand) Limited
•    Equator Pure Nature Co., Ltd.
•    S&J International Enterprises Public Company

พันธมิตรทางธุรกิจในกลุ่มสินค้า Rigid plastic with label-less bottle
•    M. Water Co., Ltd.

พันธมิตรทางธุรกิจในกลุ่มสินค้า Retort-able recyclable and lightest weight food cup and jar
•    Dole Thailand Ltd.

พันธมิตรทางธุรกิจในกลุ่มสินค้า Retort-able recyclable food cup with PCR
•    Del Monte Foods, Inc.

 

SCGP ดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้า บริการ และโซลูชันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน และตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) พร้อมมุ่งสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจและผู้ประกอบการในอุตสากรรมเพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกอย่างต่อเนื่อง 
 

Fest by SCGP เปิดบ้านโชว์นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ตลาดอาหารพร้อมทาน-เนื้อสดแช่เย็น และตู้อัตโนมัติ ด้วยฐานการผลิตศักยภาพสูง รองรับดีมานด์บรรจุภัณฑ์ยั่งยืนโตต่อเนื่อง

Fest by SCGP (เฟสท์) พาสื่อมวลชนเยี่ยมชมนวัตกรรมและนำเสนอโซลูชันบรรจุภัณฑ์อาหารเพื่อสิ่งแวดล้อม โชว์ความพร้อมเข้าสู่ตลาดอาหารพร้อมทาน-เนื้อสดแช่เย็น และตู้อัตโนมัติ ชูศักยภาพการผลิตและทีมงานคุณภาพ พร้อมรองรับความต้องการบรรจุภัณฑ์อาหารยั่งยืนที่มีการเติบโตสูง

 

นายกิตชัย ทัศนวิญญู Foodservice Packaging Solutions Manager บริษัทผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด ใน SCGP เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดอาหารแปรรูปมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มอาหารพร้อมทาน-เนื้อสดแช่เย็น จากไลฟ์สไตล์ที่ต้องการความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น รวมถึงการบริโภคอาหารพร้อมรับประทาน (Ready Meal) และมองหาบรรจุภัณฑ์ทางเลือกเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยต้องรักษาคุณสมบัติของสินค้าไว้ให้ได้ และต้องไม่กระทบกับกระบวนการผลิต ซึ่งจากข้อมูล Euromonitor คาดการณ์ในปี 2566 อุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหารแปรรูปในกลุ่มอาหารพร้อมทานและผลิตภัณฑ์เนื้อสด มีมูลค่าตลาดบรรจุภัณฑ์เท่ากับ 2,729 ล้านบาทต่อปี

 

บรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัย “Fest by SCGP” ได้ขยายเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหารพร้อมทาน-เนื้อสดแช่เย็น ผ่านความร่วมมือกับลูกค้าแต่ละรายในทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคได้อย่างครบถ้วน ล่าสุด ได้พัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ ถาดกระดาษเนื้อสดแช่เย็น (Fest Fresh Pak) ที่เก็บรักษาความสดของเนื้อได้ตามมาตรฐาน แข็งแรงและคงสภาพแม้อยู่ในสภาวะเปียกชื้น ใช้วัตถุดิบหมุนเวียนที่สามารถปลูกใหม่ทดแทนได้ (Renewable Material) ไม่น้อยกว่า 80% ได้รับการรับรองจากฉลาก SCG Green Choice ถาดอาหารแช่เย็นพร้อมทาน (Fest Redi Pak) Fest by SCGP ได้ร่วมกับ Reo’s Deli (รีโอส์ เดลิ) พัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยรักษาความสดและรสชาติของอาหาร สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้เลยโดยไม่ต้องถอดปลอกออก สามารถเก็บความร้อนได้ดี จึงช่วยลดเวลาและประหยัดพลังงานที่ใช้ในการอุ่นอาหารลง ทั้งนี้ Fest by SCGP ตั้งเป้าจะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารพร้อมทาน-เนื้อสดแช่เย็นเป็น 10% ภายในปี 2571

 

นอกจากนี้ Fest by SCGP มีบริการให้คำปรึกษาและโซลูชัน เพื่อเป็นไอเดียให้แก่ผู้ผลิตอาหาร สามารถเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตและระบบอัตโนมัติที่ได้รับความนิยมสูง โดยได้จับมือกับ “เต่าบิน” พัฒนา แก้วกระดาษสำหรับเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (Fest Vending Pak) ที่ผลิตด้วยกระดาษ ทนทาน ไม่เสียรูปทรง พร้อมพิมพ์ลายสวยงาม คมชัด ช่วยให้ลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนลวดลายได้ตามแผนการตลาดตามเทศกาล (Seasonal Marketing) ช่วยลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสินค้าให้เกิดความคล่องตัว และลดพื้นที่การจัดเก็บสินค้าคงคลัง 

 

ด้วยศักยภาพด้านการผลิตจากฐานการผลิต และความเชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร Fest by SCGP พร้อมเดินหน้าเพิ่มความร่วมมือกับผู้ผลิตอาหาร ให้ลูกค้ามั่นใจได้ในความสะอาด ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจไปพร้อมกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น และร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน
 

HOLIS by SCGP รับรางวัลจาก DKSH ในการพัฒนาต่อยอดโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกของ Morinaga

นายเอกราช นิโรจน์ Enterprise Marketing DirectorSCGP รับรางวัล Holistic Innovation Award จาก บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด ในงาน Food Ingredients Asia 2023 (FI Asia 2023) ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับคู่ค้าที่พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ด้วยการใช้เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกจากแบรนด์ Morinaga ประเทศญี่ปุ่น มาเป็นส่วนประกอบหนึ่งสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “HOLIS by SCGP PROBIO ACTIVE PLUS โดยพิธีมอบจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ

 

นายเอกราช กล่าวว่า “SCGP รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัล Holistic Innovation Award จาก DKSH ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นรางวัลที่สะท้อนถึงการยอมรับจากพันธมิตรทางธุรกิจ ในการพัฒนานวัตกรรมทางด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาหารฟังก์ชัน (Functional Food) ของ SCGP และเป็นแรงสนับสนุนให้ HOLIS by SCGP มุ่งมั่นพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาหารฟังก์ชัน ที่มีรูปแบบโดดเด่น ทานง่าย ได้ประโยชน์ เพื่อตอบโจทย์สุขภาพแบบองค์รวมของคนไทย

 

“HOLIS by SCGP PROBIO ACTIVE PLUS เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยปรับสมดุลการทำงานของลำไส้ และระบบขับถ่าย ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบด้วย Prebiotics 2 ชนิด มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล มีใยอาหาร และช่วยกระตุ้นการขับถ่าย, Probiotics 9 สายพันธุ์ ช่วยปรับสมดุลทางเดินอาหารและระบบขับถ่าย ช่วยลดการสะสมของไขมันพอกตับ และ Postbiotic 1 ชนิด ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ และช่วยให้สบายท้อง มี 2 รสชาติ ได้แก่ กลิ่นส้มโยเกิร์ต และกลิ่นแอปเปิ้ลโยเกิร์ต มาในรูปแบบผง บรรจุซอง พร้อมรับประทานได้ทันที

 

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร HOLIS by SCGP PROBIO ACTIVE PLUS วางจำหน่ายแล้ววันนี้ ที่  ร้าน Watsons ทุกสาขา และช่องทางอี-มาร์เก็ตเพลสชั้นนำร้าน SCGP Healthcare ใน Shopee, Lazada, Line OA @SCGPHealthcare , www.doozyonline  โดยสามารถติดตามข้อมูลสินค้าและกิจกรรมที่น่าสนใจได้ที่ www.holisbyscgp.com และ Facebook : HOLIS by SCGP

 

 

SCGP ส่งเสริมบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน ชวนพันธมิตรกว่า 40 บริษัท ยกระดับบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอดทั้งกระบวนการ

SCGP มุ่งสร้างความร่วมมือและส่งเสริมการพัฒนา “บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน” ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ชวนพันธมิตรทั้งในไทยและต่างประเทศกว่า 40 บริษัท ร่วมยกระดับบรรจุภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การพัฒนาวัตถุดิบ การออกแบบ การพัฒนาเทคโลยีและกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล จนถึงการส่งมอบถึงผู้บริโภค ในงานสัมมนา “SCGP Circularity in Action : Pursuit of Packaging Sustainability” ด้วยการแชร์แนวคิดและประสบการณ์ดำเนินงานบนฐานความยั่งยืนจากพันธมิตรชั้นนำ 

 

นายกรัณย์ เตชะเสน ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กิจการบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูง บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า SCGP ดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน และหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยครอบคลุมทั้งกระบวนการออกแบบสินค้าและบริการ รวมถึงกระบวนการผลิต โดยเน้นการออกแบบและผลิตเพื่อให้เจ้าของสินค้า (Brand Owner) รวมถึงผู้บริโภคได้รับความสะดวกสบาย ใช้งานได้ง่าย ใช้ทรัพยากรในปริมาณน้อย แต่ยังคงได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความแข็งแรงทนทาน สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำหรือรีไซเคิลได้ พร้อมผนึกความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ในการส่งเสริมแนวทางที่ยั่งยืนไปสู่ผู้บริโภค เพื่อสร้างสรรค์โลกที่สะอาดและยั่งยืน

 

เมื่อเร็ว ๆ นี้ SCGP จึงได้จัดงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ “SCGP Circularity in Action : Pursuit of Packaging Sustainability” เพื่อแสดงความขอบคุณพันธมิตรทางธุรกิจในการสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นตลอดทั้งกระบวนการผลิตจนถึงการส่งมอบถึงมือผู้บริโภค พร้อมกับการขยายการรับรู้และส่งเสริมแนวทางการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการแชร์ประสบการณ์ โดยได้เชิญ 3 พันธมิตรชั้นนำที่ SCGP เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน มาร่วมแบ่งปันแนวคิดในครั้งนี้

 

นายกฤตวิทย์ เลาหธนาพร กรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม. วอเตอร์ จำกัด ผู้ผลิตน้ำดื่ม “สปริงเกิล” กล่าวว่า บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน จึงร่วมกับ SCGP ในการออกแบบและพัฒนาขวดน้ำดื่ม “สปริงเคิล” แบบใหม่ที่รีไซเคิลได้ง่ายและไม่มีฉลากเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เตรียมวางตลาดในเดือนตุลาคมนี้ โดยบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจจากภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงและแนวคิดการออกแบบให้เหลือเฉพาะสิ่งที่จำเป็น จึงนำรูปทรงการละลายของธารน้ำแข็งขั้วโลกมาใช้ออกแบบขวดน้ำดื่มเพื่อสร้างความแตกต่าง นอกจากนี้ได้ลดการใช้ฉลาก โดยนำเทคโนโลยีพิมพ์ข้อความแบบอิงก์เจ็ตลงบนพื้นผิวขวดน้ำดื่มที่มาจากองค์ความรู้และพัฒนาขึ้นเองด้วยระยะเวลาเกือบ 2 ปี สามารถล้างหมึกพิมพ์ด้วยกระบวนการรีไซเคิลทั่วไปได้และไม่มีสารอันตรายปนเปื้อนในน้ำ เป็นการลดพลาสติกลงไปอีกชิ้นจากการไม่มีฉลาก และทำให้ขวดน้ำนี้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่ายที่สุด

 

นางสาวศิริลักษณ์ ณรงค์ตะณุพล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมและกรรมการผู้จัดการ บริษัท อิเควเตอร์ เพียวเนเจอร์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากธรรมชาติแบรนด์ “PiPPER STANDARD” (พิพเพอร์ สแตนดาร์ด) กล่าวว่า ได้ร่วมกับ SCGP เพื่อพัฒนาแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดของบริษัทฯ ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ 100% รวมถึงได้ร่วมกันจัดโครงการ “ข.ขวด พิพเพอร์ มารีไซเคิล” ในการนำขวดพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้ว มาคัดแยกประเภท ผ่านกระบวนการทำความสะอาด ปรับปรุงคุณสมบัติด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อส่งไปผลิตเป็นเม็ดพลาสติก Post-Consumer Recycled Resin (PCR) ก่อนนำไปขึ้นรูปเป็นขวดใหม่ นับเป็นการเดินตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อย่างครบวงจร

 

นายสุพจน์ เกตุโตประการ รองประธานบริหารฝ่ายธุรกิจและพัฒนาธุรกิจคาร์บอนต่ำ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) กล่าวว่า “กลุ่มบริษัทดาว ประเทศไทย ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกในด้านวัสดุศาสตร์ เล็งเห็นว่าการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกชนิดเดียว หรือ Mono-material ซึ่งยังคงคุณสมบัติที่ดีของแพคเกจจิ้ง แต่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ง่าย เป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมวงจรรีไซเคิล จึงได้มีการพัฒนาโซลูชันในด้านนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเรามีแนวคิดด้านความยั่งยืนที่ตรงกันกับ SCGP และได้มีความร่วมมือกันในหลาย ๆ โครงการ เช่น การพัฒนาถุงข้าวตราฉัตรให้รีไซเคิลได้ง่าย และยังบางลงแต่แข็งแรงขึ้น ตอบโจทย์ทั้งการลดขยะและลดคาร์บอน สอดคล้องกับเจตนารมย์ของ Dow ที่มุ่งมั่นจะช่วยให้ลูกค้าของเรามุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนได้สำเร็จเตามที่ตั้งใจ

 

“SCGP เชื่อมั่นว่า ความร่วมมือจากพันธมิตรเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การสร้างบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นได้ เนื่องจากในการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนต้องอาศัยความเชี่ยวชาญหลากหลายด้าน ทั้งเทคโนโลยี การออกแบบ การทดลอง เพื่อให้ได้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มีคุณสมบัติที่ดียิ่งขึ้นกว่าในอดีต งานสัมมนาจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการรวมพันธมิตรเพื่อร่วมกันหาโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีการใช้งานที่หลากหลาย ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่ง SCGP มีแผนที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์แบบคงรูป (Rigid Packaging) หรือบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว (Flexible Packaging) และยังมุ่งส่งเสริมให้ผู้ผลิตสินค้าร่วมมือกับ SCGP ในการทำให้บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้ เพื่อให้ SCGP เติบโตอย่างมีคุณภาพ ก้าวสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 และที่สำคัญที่สุดคือการส่งเสริมสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน” คุณกรัณย์กล่าวเพิ่มเติม
 

SCGP นำเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลขับเคลื่อนความยั่งยืน

เพราะความสำเร็จไม่ได้เกิดจากการต่อจิ๊กซอว์เพียงตัวเดียว หากแต่เกิดจากจิ๊กซอว์นับสิบนับร้อย บางเรื่องที่ต้องอดทนและใช้เวลา อาจต้องต่อจิ๊กซอว์นับพันนับหมื่นชิ้น เพื่อประกอบภาพร่างให้สมบูรณ์แบบ

 

วันนี้ ผู้ดูแลงานพัฒนานวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร “คุณสุรศักดิ์ อัมมวรรธน์” Technology and Digital Platform Director ของบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ได้เล่าถึงการดำเนินงานของ SCGP ที่มุ่งเน้นด้านรีไซเคิล เพื่อสร้างมูลค่าตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในงาน ASEAN Paper เมื่อเร็ว ๆ นี้

 

น่าสนใจว่าเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลนอกจากจะช่วยสร้างการแข่งขันทางธุรกิจได้ ยังเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่หนุนหลังให้พันธกิจองค์กรในด้าน ESG กับ Net Zero ที่ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

 

@เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลกับการดำเนินธุรกิจ

SCGP มีการดำเนินธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำด้านโซลูชันบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาค ด้วยนวัตกรรมสินค้าและบริการที่หลากหลาย ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมีการพัฒนานวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรในด้านต่าง ๆ

 

ทั้งในด้านการผลิตที่มุ่งเน้น Operational Excellence ทำให้ซัพพลายเชนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำระบบออโตเมชันต่าง ๆ มาใช้เพิ่มผลผลิต SCGP ได้นำเดต้าต่าง ๆ เข้ามาใช้ในองค์กรเพื่อให้ลูกค้าได้ประโยชน์ อาทิ ระบบการติดต่อ การสั่งซื้อ การส่งมอบสินค้า ลูกค้าสามารถตรวจสอบข้อมูลการสั่งซื้อได้ด้วยตัวเอง หลังจากมีการนำเดต้ามาใช้ในองค์กรทั่วถึง พนักงานขายสามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าสนใจ และตอบข้อมูลให้ลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น ทำให้ลูกค้าสะดวกขึ้นซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก ขณะเดียวกันข้อมูลบนออนไลน์แบบทั่วถึง ทำให้ระบบการทำงานภายในองค์กรไหลลื่น ทำให้สามารถบริหารจัดการวัตถุดิบ ข้อมูลคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยทำให้ต้นทุนการผลิต ทำให้เกิดการบริหารจัดการต้นทุนอย่างเหมาะสม เป็นประโยชน์กับทั้งซัพพลายเชน

 

“หลักการคือเราต้องการให้ข้อมูลต่าง ๆ เป็น single source of truth แปลว่าทุกคนในซัพพลายเชน เห็นตัวเลขบนข้อมูลเดียวกัน ทำให้ไม่เกิดความซับซ้อน ไม่เป็นช่องว่างในการบริหารจัดการทั้งกระบวนการ ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลเพิ่งเป็นแค่จุดเริ่มต้น เมื่อเราได้มีการนำมาใช้แล้ว สามารถต่อยอดเป็นประโยชน์อย่างอื่นได้อีก”

 

@เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลสู่บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน

จากแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจของ SCGP ตามกรอบแนวคิด ESG ซึ่งมีแผนงานชัดเจนที่จะเพิ่มสัดส่วนบรรจุภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในปี 2025 ที่จะไปสู่เป้าหมายใช้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิลและย่อยสลายได้ 100% และในปี 2050 ประกาศเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ SCGP ได้พัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างต่อเนื่องเพื่อขับเคลื่อนให้ถึงเป้าหมายความยั่งยืน

 

“การเพิ่มอัตราบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล”

SCGP เดินหน้าสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด แบ่งเป็นการเพิ่มพันธมิตรรีไซเคิล จาก 8 รายเป็น 22 ราย การเพิ่มเครือข่ายระบบการจัดเก็บบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล หรือ recycling station เพื่อนำบรรจุภัณฑ์เหลือใช้กลับคืนมาที่โรงงาน ซึ่งมีการเพิ่มจากจำนวน 90 แห่งในปี 2563 เพิ่มเป็น 133 แห่งในปี 2566

SCGP ได้ลงทุนทำให้กระดาษรีไซเคิลมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ด้วยการลงทุนติดตั้งเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต (Operational Excellence) มีการติดตั้งจุดตรวจวัดประสิทธิภาพในทุกกระบวนการ ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้เป็นที่น่าพอใจ โดยคุณภาพของกระดาษที่ได้กลับมานั้น เพิ่มจากเดิมในอัตรา 80% เป็น 88-92% เทียบกับการประหยัดทรัพยากรได้ 20,000 ตันต่อปี

 

นอกจากนี้ SCGP ได้ศึกษาและพัฒนานวัตกรรม “เส้นใยนาโนเซลลูโลส” จากวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อน้ำไปใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ ซึ่งได้มีการจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

“ต่อยอด Waste ให้เป็นเม็ดพลาสติก”

เมื่อนึกถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล มักจะมีเศษวัสดุอื่น ๆ ปนมาด้วย เช่น เทปกาว หรือฟิล์ม ที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ และจะถูกเผาเพื่อเป็นพลังงาน SCGP จึงพัฒนาคิดต่อยอดจาก waste เหล่านี้ ซึ่งเราเรียกว่า waste of waste ให้มีมูลค่ามากขึ้น ด้วยการลงทุนในเทคโนโลยีนำ waste เหล่านี้มาผลิตเป็นเม็ดพลาสติก และได้ขยายโรงงาน waste of waste แล้วถึง 3 โรงงาน ในประเทศไทย 1 แห่ง และโรงงานในอินโดนีเซียอีก 2 แห่ง

 

“พอเป็นเม็ดพลาสติก เราสามารถนำไปผสมกับเม็ดพลาสติกใหม่ เพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคใช้ทั่วไปได้ เช่นกระบะพลาสติกใช้ในการขนส่งสินค้า ถังต่าง ๆ เพื่อต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภคสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก แม้ว่าเรื่องนี้ยังไม่ได้ให้ผลตอบแทนการลงทุน แต่ช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการใช้ waste อย่างคุ้มค่าจริง ๆ ”

 

การพัฒนาทั้งหมดนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของการผลิตบรรจุภัณฑ์ ทั้งลดการใช้ทรัพยากรใหม่ เพิ่มการรีไซเคิลทรัพยากรเดิมให้มีประสิทธิภาพ ล้วนช่วยเสริมสร้าง Infinite Recycling ให้เกิดขึ้นได้จริง รวมถึงการนำมาใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย Upcycling ซึ่งตอบโจทย์การดำเนินงานบนฐานของความยั่งยืนอย่างแท้จริง

ส่งมอบความปรารถนาดีผ่านบรรจุภัณฑ์ขนมไหว้พระจันทร์จาก SCGP

ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับอีกหนึ่งเทศกาลสำคัญของทั้งชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนอย่างเทศกาลไหว้พระจันทร์ ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของทุกปี สิ่งที่ผู้คนมักนิยมมอบให้แทนความรู้สึกดี ๆ ที่มีให้ต่อกัน คงหนีไม่พ้นขนมไหว้พระจันทร์ที่สื่อถึงความพรั่งพร้อม สมบูรณ์ และความสมหวัง

ทว่าเมื่อผู้รับได้ลิ้มรสขนมไหว้พระจันทร์เป็นที่เรียบร้อย สิ่งต่อไปที่พวกเขาจะทำคือการทิ้งบรรจุภัณฑ์ลงถังขยะทันที เพราะไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปได้ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถ้าหากคุณได้รู้จักกับ “Moon Cake” หรือ “กล่องมองผ่านจันทร์” อีกระดับของกล่องใส่ขนมไหว้พระจันทร์ บรรจุภัณฑ์แทนความหวังดีจาก SCGP

จุดเริ่มต้นของ “บรรจุภัณฑ์ Moon Cake”

ทุก ๆ ปีที่ผ่านมาในช่วงใกล้เทศกาลไหว้พระจันทร์  จะมีกล่องใส่ขนมไหว้พระจันทร์มากมายหลายรูปแบบวางจำหน่ายตามท้องตลาดให้ผู้ซื้อได้เลือกตามความพึงพอใจ

SCGP ที่เน้นการสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน นำโดย นางสาวศิขิน อมรกิจเจริญ นักออกแบบ พร้อมด้วย นายวันชนะ ศรีไตรรัตนะ และ นายภาณุพงศ์ ช่อผูก จึงมีไอเดียในการออกแบบที่ว่า กล่องใส่ขนมไหว้พระจันทร์ของพวกเขาต้องมีความพิเศษแหวกแนวกว่าปีก่อน ๆ

โดยตอนแรกวางคอนเซปต์ไว้เป็นกล่องใส่ขนมไหว้พระจันทร์ในรูปทรงปิ่นโต แต่ทว่าหลังจากลองคำนวณถึงต้นทุนและความเป็นไปได้ให้ด้านโครงสร้างสัมพันธ์กับงานดีไซน์ จึงได้ข้อสรุปว่า จะใช้รูปทรงยอดฮิตตลอดกาลอย่างสี่เหลี่ยมจตุรัส

ความไม่ธรรมดาของกล่องใส่ขนมไหว้พระจันทร์เซ็ต 4 ชิ้นจาก SCGP คือ ลูกเล่นและลวดลายที่จะมอบประสบการณ์สุดแปลกใหม่ให้แก่ผู้รับ และยังสามารถนำกลับมาใช้ประโยน์ต่อได้อีกด้วย

มากกว่ากล่องใส่ขนม

ขั้นตอนแรกหลังจากตกลงเลือกรูปทรงกล่องได้แล้ว ต่อไปคือการเลือกสีให้แตกต่างจากกล่องขนมไหว้พระจันทร์เดิม ๆ ไม่ว่าจะสีแดงหรือสีเขียว

ด้วยความอยากให้กล่องขนมไหว้พระจันทร์จาก SCGP ดูหรูหรา ทางทีมผู้ออกแบบได้ตัดสินใจเลือกใช้สีม่วงเป็นแกนหลักในการออกแบบ “Moon Cake” หรือ “กล่องมองผ่านจันทร์”

เพราะตามประวัติศาสตร์แล้วสีม่วงเป็นสีที่ผสมขึ้นมาได้ยากมิหนำซ้ำยังราคาแพง ถึงขนาดมีเพียงจักรพรรดิเท่านั้นที่จะได้สวมเครื่องแต่งกายสีม่วง

ส่วนฝากล่องไม่ได้มีเพียงลวดลายสวยงาม โดยทำการเพิ่มลูกเล่นเป็น Rotation Plate แต่ยัง สามารถหมุนสลับสับเปลี่ยนท้องฟ้ายามราตรีได้ตามใจชอบ จากคืนเดือนแรมไปสู่คืนพระจันทร์เต็มดวงที่สื่อถึงความสามัคคีกลมเกลียวกันและการได้ใช้เวลาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัวหรือคนที่คุณรัก

เสริมด้วยตัวอักษรมงคลของจีนที่จะนำมาซึ่งความโชคดี และมีกระต่ายสองตัวยืนชมจันทร์ร่วมกันเป็นองค์ประกอบ ให้ความรู้สึกคล้ายมองผ่านหน้าต่างไปยังสวนหย่อมพลางทานขนมไหว้พระจันทร์ร่วมกันกับญาติสนิทมิตรสหาย

พิมพ์ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ระบบ Offset ที่เคลือบทั่วบรรจุภัณฑ์ให้เป็นผิวด้าน และใช้วิธีการเคลือบเงาเฉพาะจุด หรือ spot UV พร้อมกับประทับ Gold stamp เพื่อเพิ่มความพิเศษ สวยสะดุดตาและดูพรีเมี่ยมควรคู่กับผู้ที่ได้รับบรรจุภัณฑ์นี้

 

ได้ประโยชน์สองต่อ

วัสดุที่ใช้สำหรับการผลิต “Moon Cake” หรือ “กล่องมองผ่านจันทร์” มั่นใจได้เลยว่าสามารถนำมาใช้ซ้ำเป็นที่เก็บของอื่น ๆ ได้ เนื่องจากกล่องจั่วปังจาก SCGP มีคุณสมบัติคงทน ไม่ยับหรือพังง่ายจนเกินไป

แม้ “Moon Cake” หรือ “กล่องมองผ่านจันทร์” จะเป็นผลงานกล่องขนมไหว้พรจันทร์ชิ้นแรกจากนางสาวศิขิน อมรกิจเจริญ, นายวันชนะ ศรีไตรรัตนะ และ นายภาณุพงศ์ ช่อผูก 

แต่คุณภาพสามารถการันตีด้วยรางวัลประเภท Luxury Package จากงานประกวดบรรจุภัณฑ์ระดับโลกอย่าง WORLD STAR AWARDS 2023 ที่จัดโดย World Packaging Organization (WPO) ซึ่งมีผลงานส่งเข้าประกวดในปีนี้ รวม 440 ผลงาน ใน 16 ประเภท จาก 37 ประเทศทั่วโลก