SCGP Newsroom

ประกาศผล 10 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย SCGP Packaging Speak Out 2023

SCGP ได้จัดเวทีประกวดออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับคนรุ่นใหม่ “SCGP Packaging Speak Out 2023” โดยเปิดโอกาสให้เหล่า Gen Z นิสิต นักศึกษาที่เต็มไปด้วยพลังสร้างสรรค์ ได้มาออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ภายใต้โจทย์การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อผู้สูงวัย (Packaging for Seniors) เพื่อให้ได้บรรจุภัณฑ์ทีตอบโจทย์กับคนรุ่นใหญ่มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และเป็นมิตรกับโลก โดยได้มีผู้เข้าแข่งขันรุ่นใหม่ทุ่มเทออกแบบจนสามารถผ่านเข้าไประเบิดความสร้างสรรค์ในรอบสุดท้ายจำนวนทั้งสิ้น 10 ทีมด้วยกัน 
 
รายชื่อ 10 ทีม และผลงานที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ในโครงการ “SCGP Packaging Speak Out 2023” 
1. ทีม 123 หน่อ กับผลงาน “แพคเกจจิ้งผ้าอ้อมผู้ใหญ่ตรา Comfee” 

2. ทีม 60’s kids กับผลงาน “ศรีษะ” 

3. ทีม CHAMALA กับผลงาน “ชามาลา” 

4. ทีม Dec Product กับผลงาน “ชุดผลิดภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ทำความสะอาดตาสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าต้อกระจก” 

5. ทีม oabaom กับผลงาน “พลีส แอนด์ พิลส์” 

6. ทีม Pin กับผลงาน “ฟิตฟุต” 

7. ทีม POOKKWAN กับผลงาน “ผูกขวัญ” 

8. ทีม ppm กับผลงาน “ยาดมสมุนไพร” 

9. ทีม tian กับผลงาน “คลายเส้น” 

10. ทีม woof woof team กับผลงาน “เฟลอร์” 

*รายชื่อเรียงตามลำดับตัวอักษร 

 

มาร่วมลุ้น ร่วมเชียร์ ว่าทีมไหนจะสามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ ถูกใจคนรุ่นใหญ่ และเอาชนะใจกรรมการได้มากที่สุดบนเวทีการประกวดปีนี้ 

 

Reo’s Deli จะทำเพื่อโลก ต้องเสียสละ

นอกจากการผลิตสินค้ารสชาติอร่อยถูกปากแล้ว Reo’s Deli (รีโอส์ เดลิ) ยังให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ด้วยความที่เชื่อว่า การเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ของแบรนด์จะช่วยเปลี่ยนโลกที่เราอยู่ให้ดีขึ้นในโอกาสนี้ คุณชณา วสุวัต หรือคุณเรียว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแวลู ซอร์สซิ่ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารพร้อมทาน (Ready-to-eat) แบรนด์ Reo’s Deli จะมาแซร์เรื่องราวของบรรจุภัณฑ์ถาดอาหารแช่เย็นพร้อมทาน Redi Pak ที่มาจาก Mindset ที่พร้อมเผชิญความท้าทาย เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์แห่งอนาคตที่เสิร์ฟความอร่อยให้กับทุกคน

 

อร่อย ไม่แพง เข้าถึงได้

“เรามีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นมีความสุข จุดเริ่มต้นคือ อาหารของเราอร่อย ลูกค้ากินแล้วชอบ ราคาไม่แพง เราจึงพัฒนาเป็นอาหารอิตาเลียนพร้อมทาน สินค้าที่เด่นคือ ผักโขมอบชีสและมะกะโรนีชีสเบคอน
ขายผ่านร้าน 7-11 ในราคาเพียง 37 บาท พอธุรกิจเริ่มไปได้ เรามองว่ายิ่งขายดี ยิ่งต้องเพิ่มคุณภาพ และเพิ่มความใส่ใจเข้าไปอีกขั้น” 
คุณเรียวเล่าต่อว่า ความพยายามในการจำหน่ายผ่านร้าน 7-11 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะการกระจายสินค้าไปทั่วประเทศมีโจทย์ทั้งเรื่องการขนส่งและอายุการเก็บรักษา (Shelf Life)
“เราเป็นประเภทชอบความท้าทาย เมื่อมีปัญหา เราก็ยิ่งไม่หยุดพัฒนาเมื่อเราพบว่าการขยายช่องทางจำหน่ายผ่านร้าน 7-11 มีความท้าทายคือ ขนส่งยาก เพราะเราใช้ถาดอะลูมิเนียมฟอยล์ ทำให้บุบง่าย เราจึงพัฒนานวัตกรรม No-Bake Process  เพื่อบรรจุอาหารลงในถาดพลาสติกและขยายตลาดไปทั่วประเทศ ทำให้เราเติบโตแบบก้าวกระโดด อีกความท้าทายหนึ่งคือ อายุการเก็บรักษา เราได้คำแนะนำจากสถาบันอาหารในเรื่อง Sanitization และ Hygiene พัฒนากระบวนการผลิตและทำโรงงานให้สะอาด เพื่อให้อาหารเก็บได้นานขึ้น จนเราสามารถเพิ่มอายุการเก็บรักษาได้ถึง 10 วัน”

 

รักษ์โลก… ต้องเสียสละ

“เราตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมกันมาก่อนแล้ว จนช่วงโควิด 19 ที่มีการใช้พลาสติกค่อนข้างมาก เราจึงประชุมกับผู้ถือหุ้น เพราะการทำเรื่องนี้ต้องแลกมาด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและความยากลำบากหลายอย่าง
แต่เมื่อถามว่า Do we want to do this? ทุกคนตอบว่า ใช่ ถึงแม้จะต้องเพิ่มต้นทุน แต่เพื่อสิ่งที่ดีกว่าเราพร้อมที่จะลุยและเดินไปข้างหน้าจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนานี้
“บริษัทเราพอมีรายได้บ้างแล้ว เราก็มองถึงวัตถุประสงค์ของบริษัทว่า นอกจากทำให้ตัวเองแล้ว เราทำอะไรเพื่อคนอื่นได้บ้าง ถือเป็นการสร้างคุณค่าเพื่อคนอื่น อีก 10 ปีข้างหน้า เราเห็นชัดเจนว่าบริษัทเราจะไปอยู่ตรงไหน เราต้องทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ตั้งแต่มันยังเล็ก ทำสิ่งที่คิดว่ายากตั้งแต่มันยังง่าย
“ความท้าทายที่สุดคือ Mindset ของเราเอง เมื่อเราจัดระบบความคิดได้เราก็จะหาวิธีการจนได้ เราใส่ใจในชีวิตความเป็นอยู่ของคน มิติหนึ่งในนั้นคือ เรื่องสิ่งแวดล้อม เหมือนจะไกลตัวแต่ใกล้ตัว และถ้าไม่เริ่มทำวันนี้ มันจะเกิดได้เมื่อไร มันคือ Commitment ของพวกเราทั้งบริษัทเพราะฉะนั้นเราเลยมาหาวิธีกันว่าจะทำอย่างไร
“แนวคิดหลักคือเรื่อง Begin with the end คือ เอาความสำเร็จเป็นที่ตั้งถ้าเรามองเห็นปลายทาง ก็มาคิดว่าต้นทางจะเริ่มทำอะไรบ้างเพื่อไปสู่ความสำเร็จ การเปลี่ยนมาใช้ถาดอาหารแช่เย็นพร้อมทาน Redi Pakค่าใช้จ่ายเราเพิ่มขึ้น 22.7% เมื่อเทียบกับถาดพลาสติก ซึ่งถือว่าสูงแต่เราก็ต้องหาวิธีปรับเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกให้ได้ และสิ่งนี้คือ ความภาคภูมิใจของเรา เพราะเราสามารถใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติได้สูงถึง 90% ถือว่าเป็นการจุดประกายเล็ก ๆ เพื่อให้เกิดผลในภาพใหญ่เรามองว่า Reo’s Deli เป็นบริษัทที่ Small but beautiful ครับ”คุณเรียวเสริม

 

พาร์ตเนอร์ที่มีเป้าหมายเดียวกัน

สิ่งสำคัญที่ทำให้ Reo’s Deli และ Fest by SCGP สามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกันได้คือ การมีจุดหมายปลายทางร่วมกันในเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน เพื่อตอบโจทย์ในแง่ของFunction,Convenience และ Sustainability ถ้าขาดความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ ก็คงจะทำไม่ได้
การร่วมมือกันยังทำให้เราได้เรียนรู้ Commitment ในการทำสิ่งใหม่และความเป็นมืออาชีพของทีม Fest by SCGP ที่มีการทำงานอย่างมีแบบแผน จนได้บรรจุภัณฑ์ที่ทั้งรักษ์โลกและสามารถรักษาคุณสมบัติของอาหารไว้ได้ ซึ่งถาดอาหารแซ่เย็นพร้อมทาน Redi Pak มีคุณสมบัติเด่นคือ เมื่ออุ่นด้วยไมโครเวฟแล้ว ตัวถาดจะแห้งขึ้น มีความแข็งแรง ดีไซน์ถาดสวยงาม ใช้สะดวก  ถือได้ไม่ร้อนมือ ปลอดภัยต่อผู้บริโภคตัวถาดอาหารแช่เย็นพร้อมทาน Redi Pak ใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติสามารถย่อยสลายได้ภายใน 60 วัน และตัวฟิล์มยังสามารถลอกออกเพื่อนำไปรีไซเคิลได้

“แผนในระยะสั้น 1 – 2 ปีนี้ เราเตรียมขยายกลุ่มอาหารรองท้อง อาหารว่างเพิ่มขึ้นเป็น 5 รายการ อีกส่วนคือ การสร้างแบรนด์ใหม่ที่จับตลาด B2B กลุ่ม Food Service ดูแลโรงแรม ร้านอาหาร ร้านเบเกอรี่ เราวาง Positioning  เป็นครัวกลางให้กับร้านอาหาร และจะพัฒนาอีกแบรนด์ที่เน้นเรื่องการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผักโขมในประเทศไทย มีชื่อแบรนด์ว่าผักสร้างสุข เพื่อลดการนำเข้าและส่งเสริมให้เกิดรายได้ในประเทศโครงการดังกล่าวกำลังอยู่ระหว่างการทดลองปลูกและเพาะเมล็ดพันธุ์ร่วมกับหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (กำแพงแสน) ซึ่งทำมา 4 ปีกว่าแล้วเราต้องทำให้เกษตรกรเห็นว่าทำแล้วได้ผลจริง
“แม้ว่าพลาสติกยังเป็นส่วนสำคัญในการถนอมอาหารอยู่ แต่เราพยายามใช้ให้น้อยที่สุด เราจะเป็นเฟืองจักรเล็ก ๆ ที่จุดประกายเพื่อขับเคลื่อนการดูแลสิ่งแวดล้อมให้เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นและรวดเร็วมากขึ้น ให้เป็นNew norm ในอนาคต
“กระบวนการผลิตถาดอาหารแช่เย็นพร้อมทาน Redi Pak แบบ Mass Production เป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่ต้องร่วมมือกับ Fest by SCGP เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด พร้อมเป็นองค์กรที่สร้างความสุขและส่งต่อMindset ดี ๆ ให้กับลูกค้าและโลกใบนี้” คุณเรียวกล่าวทิ้งท้าย

 

หาคุณค่าจากงานที่ทำ สร้าง Passion ที่ดีได้ทุกวัน

“งานปัจจุบันของหญิงคือ Product Innovation ที่ดูแลตั้งแต่การขาย การนำเสนอและพัฒนาสินค้าที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งมักจะเป็นสิ่งใหม่ที่ SCGP ยังไม่เคยมีมาก่อน งานเราจึงไม่ใช่เอาของที่มีอยู่แล้วไปขายเท่านั้น แต่เป็นการนำเสนอโซลูซันที่เหมาะสมกับธุรกิจของลูกค้า

“เนื้องานด้านเทคนิคหรือ Technical Sale เป็นงานที่ใกล้ชิดกับลูกค้า เวลาต้องคิดค้นอะไรใหม่ ๆ ให้ตอบโจทย์ความต้องการ เราต้องไปดูกระบวนการของลูกค้าว่าสินค้าเราจะไปผ่านกระบวนการอะไรบ้าง มองไปให้ถึงปลายทางด้วยว่า ผู้บริโภคใช้งานแล้วเป็นอย่างไร เจอความไม่สะดวกจุดใดหรือไม่ เพราะเราอาจมองเห็นโอกาส และช่วยเขาได้มากกว่าที่เขาคาดหวัง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกค้ามีความรู้สึกที่ดีกับบริษัทมากขึ้น

“ตอนที่หญิงเปลี่ยนเนื้องาน และมีความรับผิดชอบหน้างานที่เพิ่มมากขึ้น สิ่งที่หญิงทำคือ ปรับ Mindset ก่อนเลยว่า ทำงานให้สนุก ถ้าเราคิดว่างานเยอะไม่อยากทำ มันจะหดหู่ และคิดอะไรไม่ออก เราต้อง Challenge ตัวเองมากขึ้นในทุกวัน ทั้งในแง่การทำงานและ Mindset 

“การได้ทำงานใหม่ ๆ ทำให้หญิงได้ฝึกการคุยกับลูกค้า มีการสื่อสารที่ดีขึ้น ได้เรียนรู้ทักษะการขาย ปรับเปลี่ยนบุคลิก เพิ่มไหวพริบ ลองทำสิ่งที่ไม่เคยทำ ทำให้เรามีทักษะที่ครบเครื่องมากขึ้น และสามารถเอามาปรับใช้ได้ในอนาคต สุดท้ายต้องขอบคุณที่เรามีทีมที่ดีด้วย ทำให้เราทำงานอย่างมีความสุขแล้วก็สนุกได้ในทุกวันจริง ๆ  ค่ะ

“วิถีการทำงานและ Mindset ของเรา หล่อหลอมมาจากวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งทุกคนมีอยู่ในตัวเอง และเราก็แสดงออกมาโดยธรรมชาติ เวลาเรามีโอกาส ไปเจอคนภายนอก หรือการเป็น MC มันคือโอกาสที่จะได้สื่อสารเรื่องราว และส่งต่อสิ่งดี ๆ ของ SCGP ออกไป และเราทุกคนคือ SCGP Brand Ambassador”

 

ปวีณา วรรณศิริมงคล (หญิง) Paweena Wannasirimongkol – Product Innovation Officer, Thai Paper

 

 

“หน้าที่ของผมคือ ดูแลเรื่องการใช้งานสินค้าในทุกขั้นตอนให้กับลูกค้า ให้เขานำสินค้าไปใช้ได้อย่างถูกต้อง หากเกิดปัญหาระหว่างการใช้งาน หรือต้องการความช่วยเหลือ เราต้องซัปพอร์ตข้อมูลส่วนนั้น ๆ ได้ คอยแนะนำการใช้งานให้ลูกค้า เพื่อไม่ให้เจอปัญหาซ้ำอีก นอกเหนือจากความรับผิดชอบหลักก็ได้มีโอกาสช่วยเข้าไปให้ความรู้แก่องค์กรของลูกค้า หรือไปแซร์ประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยที่มีสาขาเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่เราทำ
“สิ่งสำคัญที่สุดคือ รักษาผลประโยชน์ทั้งของบริษัทและลูกค้า ด้วยเนื้องานหลักเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ จะเป็นการรับข้อร้องเรียนของลูกค้า Mindset ของผมคือ ต้องเข้าใจว่า ลูกค้ากำลังเจอปัญหาการใช้งานบางอย่าง แล้วเรามีหน้าที่ช่วยให้เขาผ่านปัญหาไปได้ด้วยดี คิดว่าถ้าเขาใช้งานได้ ขายของได้ เขาก็กลับมาซื้อของเรา เราก็จะโตไปด้วยกัน

“ทุกครั้งที่เราช่วยเหลือ หรือแก้ปัญหาให้ลูกค้าข้ามผ่านไปได้ มันคือความภูมิใจ ผมรู้สึกว่างานที่ทำอยู่มีคุณค่า ได้สร้างคุณค่าให้กับคนอื่น และยังสร้างคุณค่าให้ตัวเองด้วย ช่วงที่ต้องทำงานที่ไม่ถนัด ก็ต้อง Challenge ตัวเองว่า จะสร้างคุณค่าให้ตัวเองจากงานนั้นอย่างไรได้บ้าง ต้องมองหาคุณค่าในงานที่เราได้รับมอบหมายให้เจอ

“เวลาที่ต้องออกไปคุยกับลูกค้าหรือคนภายนอก รวมถึงเป็น MC ผมรู้สึกเหมือนมีสปอตไลต์ Follow มาที่เรา เราคือ ตัวแทนขององค์กรในเวลานั้นทุกคนจะมองว่า เราเป็นอย่างไร องค์กรจะเป็นแบบนั้น สิ่งที่เราทำได้คือ คิดบวกกับทุก ๆ เรื่อง สะท้อนภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรออกไปให้คนได้เห็นมากขึ้นทำให้เขารู้ว่า จริง ๆ แล้วเราไม่ได้แค่ทำงานเป็น แต่ยังรับผิดชอบต่อทุกด้านไม่ว่าจะชุมชน สังคม หรือโลก ภาพเหล่านี้ถูกส่งออกไปผ่านตัวเรา ผมคิดว่าทุกคนใน SCGP เป็น Brand Ambassador ขององค์กรที่จะสื่อสารออกไปว่าพวกเรามี DNA แบบไหน สิ่งที่ผมทำคือ คิดดี พูดดี ทำดีครับ”

ธนริศย์ ตันติศรัญรัตน์ (ฮุย) Thanaris Tantisarunrat – Technical Solutions Officer, Thai Paper

 

 

เปลี่ยนเทปกระดาษเป็นงานจักสานร่วมสมัย

SCGP ชวนชุมชนเปลี่ยนเส้นเทปกระดาษ (Paper Band) ของเหลือใช้จากอุตสาหกรรมที่หากนำมาขายจะได้ราคาเพียงกิโลกรัมละ 2-3 บาทสู่สินค้าจักสานราคาหลักร้อยที่คนซื้อไปใช้บอกว่าชอบมาก!
ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ SCGP ให้ความสำคัญสู่โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน SCGP สร้างมูลค่าเพิ่มให้เส้นเทปกระดาษ (Paper Band) เป็นผลิตภัณฑ์จักสานสร้างรายได้ให้คนในชุมชน เริ่มโครงการโดยศึกษาร่วมกันกับชุมชน ครู วิทยากร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี เพื่อเพิ่มมูลค่าเส้นเทปกระดาษที่มีลักษณะเหนียว คงทน ไม่ขึ้นรา ให้เป็นผลิตภัณฑ์จักสานด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์ และนำความรู้นั้นมาอบรมอาชีพให้แก่ชุมชนรอบโรงงาน 

งานจักสานจากเส้นเทปกระดาษ
•    ตะกร้า 
•    ถาด 
•    ที่รองแก้ว 
•    ที่ดึงนิ้วล็อก 
•    การบูรหอม 
•    กระเป๋าถือ 
•    กระเป๋าสะพาย 
•    ถุงตาข่าย 
•    กระเช้าดอกไม้ 
•    กล่องของขวัญ

ชุมชนได้ประโยชน์
•    เพิ่มศักยภาพให้แก่ชุมชนรอบโรงงาน 
•    ใช้เวลาว่างอย่างมีประโยชน์ 
•    เป็นอาชีพสร้างรายได้ 
•    ต่อยอดสู่การสร้างศูนย์เรียนรู้ในชุมชน 

นอกจากนี้ SCGP ยังต่อยอดหลักสูตรเกี่ยวกับการออกแบบ พัฒนาอัตลักษณ์ชุมชน การย้อมสี การตลาด และการสร้างแบรนด์สินค้าให้กับชุมชน เพื่อสร้างความแตกต่างและความสามารถในการแข่งขันในจังหวัดราชบุรีและปราจีนบุรี

เส้นเทปกระดาษหรือ Paper Band วัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตของ SCGP
= วัตถุดิบในการทำหัตถกรรมจักสานสร้างรายได้ให้ชุมชน

 

การันตีความสำเร็จด้วยรางวัล
“วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์เกษตรกรบ้านอ้ออีเขียว” จังหวัดราชบุรี และ” ชุมชนหัตถกรรมจักสานบ้านท่าตะคร้อ” จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศในการเข้าประกวด แบบจำลองธุรกิจ “พลอยได้ พาสุข” ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้อุตสาหกรรม จัดโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม นับเป็นความสำเร็จของ SCGP ที่พัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

 

รายชื่อวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมจักสานเส้นเทปกระดาษ (Paper Band)
•    วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมจักสานบ้านท่าตะคร้อ
เลขที่ 59 หมู่ 1 ตำบลท่าตะคร้อ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71130
ติดต่อ: วิสาหกิจชุมชนฯ เบอร์โทรศัพท์: 09-8914-9245  08-7033-9616 และ 09-7958-6592 
•    วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์เกษตรกรบ้านอ้ออีเขียว
เลขที่ 90 หมู่ 2 ตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี รหัสไปรษณีย์ 70190
ติดต่อ: คุณลอง เบอร์โทรศัพท์: 08-1736-1130 และ 09-2495-6454
•    กลุ่มอาชีพบ้านหนองจรเข้ 
เลขที่ 62 หมู่ 9 ตำบลบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี รหัสไปรษณีย์ 25110
ติดต่อ: คุณสุจีน (กิ่น) เบอร์โทรศัพท์: 06-3103-8739
•    วิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียงจักสานและอาหารแปรรูปบ้านกุดปลาหวี
เลขที่ 42/2 หมู่ 4 ตำบลบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี รหัสไปรษณีย์ 25110
ติดต่อ: คุณบัวแพง เบอร์โทรศัพท์: 08-7618-8298

SCGP เจาะลึกพฤติกรรมและการตลาดสำหรับผู้สูงวัย กระตุกไอเดียแพคเกจจิ้งแบบไหนที่ตรงใจคนรุ่นใหญ่

SCGP จัดงานเสวนาแบ่งปันอินไซต์ของคนรุ่นใหญ่เพื่อคนรุ่นใหม่ เพื่อต่อยอดเป็นไอเดียการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เข้ากับพฤติกรรมและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามวัยของผู้สูงอายุ สร้างสรรค์เป็นบรรจุภัณฑ์ที่คิดมาดีทั้งการใช้งานและการตลาดที่ตรงใจคนรุ่นใหญ่ และยังส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับทุกคน
ผ่านไปแล้วกับงานเสวนา ‘Packaging For Seniors พลังรุ่นใหม่ เพื่อรุ่นใหญ่ ออกแบบแพคเกจจิ้งอย่างไร ให้ผู้สูงวัยมีความสุข’ ที่ทาง SCGP ร่วมกับเพจมนุษย์ต่างวัย จัดขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมคนรุ่นใหม่และผู้ประกอบการทราบถึงเคล็ดลับการออกแบบบรรจุภัณฑ์และการทำการตลาดของแบรนด์ให้ตรงใจคนรุ่นใหญ่ ตอบรับเทรนด์การเข้าสู่สังคมสูงวัยของประเทศไทย 

เปิดมุมมองใหม่ เข้าถึงใจผู้สูงอายุ
ในงานเริ่มต้นด้วยหัวข้อแรก ‘เจาะ insight ให้ลึกถึงใจ แพคเกจจิ้งแบบไหนที่ผู้สูงวัยต้องการ’ โดยได้ 3 วิทยากรตัวจริงมาบอกเล่าอินไซต์ เริ่มจากมุมมองทางด้านสุขภาพร่างกาย ผศ.พญ.ฐิติมา ว่องวิริยะวงศ์ จากสาขาอายุรศาสตร์ปัจฉิมวัย ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช ได้เล่าถึงความเสื่อมสภาพของร่างกายที่เปลี่ยนไปตามวัยซึ่งแต่ละคนอาจจะเจอปัญหาแตกต่างกัน อาการเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุจึงอาจเจอได้ทั้งสายตาฝ้าฟาง โรคต้อกระจก ปัญหาเรื่องข้อต่อ กระดูก กล้ามเนื้อมือและแขนที่ส่งผลต่อการหยิบจับสิ่งของไม่สะดวก ไปจนถึงประสาทสัมผัสที่เสื่อมถอยลง ทั้งหมดส่งผลให้นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้องคำนึงถึงความสะดวกในการหยิบใช้งานของผู้สูงวัยเป็นอันดับต้น ๆ
เช่นกันกับ คุณอรสา ดุลยางกูล เจ้าของงานฝีมือแบรนด์ Craft in on ตัวแทนคนรุ่นใหญ่หัวใจวัยรุ่นที่มาเล่าอินไซต์ว่าผู้สูงอายุนั้นล้วนแต่อยากพึ่งพาตัวเอง ไม่ให้เป็นภาระของลูกหลาน ฉะนั้นการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับสิ่งของเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน จึงควรคิดถึงการออกแบบที่ใช้งานง่าย ใช้ได้จริง และปลอดภัย เช่น การใช้ตัวหนังสือที่ใหญ่ ใช้รูปภาพหรือสีของแพคเกจจิ้งที่แยกความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน จดจำได้ง่าย รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ นอกจากนี้ผู้สูงวัยก็ยังชื่นชอบแพคเกจจิ้งที่ออกแบบสวยงาม แข็งแรงทนทานและสามารถนำมาใช้ซ้ำ เพื่อใส่อุปกรณ์ข้าวของส่วนตัวในบ้านต่อได้เช่นกัน 
นอกจากนี้ คุณรพิดา อัชชะกิจ เจ้าของเพจเข็นแม่เที่ยว ผู้มีประสบการณ์ดูแลคุณแม่ผู้ป่วยเป็นโรคทางสมองมากว่า 7 ปี ยังเสริมข้อมูลที่น่าสนใจว่าสำหรับผู้สูงอายุ การเลือกแพคเกจจิ้งที่ใช้งานได้จริงนั้นสำคัญกว่ายี่ห้อของผลิตภัณฑ์เสียอีก เพราะการแค่เปิดใช้งานสิ่งของเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น ก็ถือเป็นความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ช่วยเยียวยาจิตใจและอารมณ์ของผู้สูงอายุในทุกวัน และยังแบ่งปันไปถึงความสุขของคนที่ดูแลด้วย
“เราต้องเปลี่ยนการซื้อของในบ้านทั้งหมด ไม่สามารถเลือกซื้อจากกลิ่นหรือแบรนด์ที่ชอบได้ แต่จะเลือกซื้อจากแพคเกจจิ้งที่คุณแม่สามารถใช้งานได้สะดวก เช่น ขวดปั๊ม ขวดซอสมะเขือเทศที่เปลี่ยนจากขวดแก้วมาเป็นขวดพลาสติกที่ใช้การบีบ”

ออกแบบแพคเกจจิ้งแบบไหน ดีต่อใจผู้สูงอายุ
การออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะสำหรับคนรุ่นใหญ่ จึงมีรายละเอียดที่นักออกแบบรุ่นใหม่ต้องใส่ใจและเข้าใจพฤติกรรมผู้ใช้งานให้มากกว่าแค่ความสวยงาม ถ้าบรรจุภัณฑ์นั้นยิ่งสามารถใช้งานได้สะดวกกับทุกวัย ใช้ได้ง่ายทั้งครอบครัว ก็น่าจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพวกเราทุกคน
ต่อกันด้วยหัวข้อที่สอง ‘Design for Aging ออกแบบอย่างไรให้ตอบโจทย์ทั้งคุณภาพชีวิตและธุรกิจ’ ที่ ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดด้วยการแบ่งปันข้อมูลเจาะลึกของการทำการตลาดให้กับคนสูงวัย หรือที่เรียกกันว่ากลุ่ม Silver Gen ทั้งข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปของคนสูงวัย ความสนใจเรื่องการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพ รวมถึงพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย ที่ส่วนใหญ่ผู้สูงวัยมักจะเป็นคนตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง มีกำลังซื้อ และมักซื้อของทีละน้อย ๆ หรือซื้อทีละชิ้นเมื่อจำเป็นต้องใช้มากกว่า ข้อมูลเหล่านี้ล้วนแต่เป็นหัวใจสำคัญของนักออกแบบที่จะคิดถึงการออกแบบแพคเกจจิ้งให้ตรงใจ รวมไปถึงคิดกลยุทธ์การขายที่ตรงเป้าหมายของผู้สูงวัย
“สำคัญมากคือต้องเข้าใจอินไซต์ของผู้ใหญ่ ว่าเขาอาจจะมองเห็นและตัดสินในสิ่งต่าง ๆ ไม่เหมือนกับคนรุ่นใหม่ การใช้เทคโนโลยีหรืองานออกแบบมินิมอลอาจจะสวยดีในสายตาเรา แต่สำหรับผู้สูงวัย สิ่งนั้นอาจจะไม่เหมาะสม ไม่ตอบโจทย์การใช้งานของเขาก็ได้ การมองและให้คุณค่าที่แตกต่างกันเลยเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการออกแบบ” ผศ.ดร.เอกก์ ย้ำ
พร้อมกันนี้ คุณสุริยา พิมพ์โคตร และคุณอรปวีณ์ บวรพัฒนไพศาล Food and Beverage Packaging Designer จาก SCGP ที่ทั้งคู่มาเล่าถึงกรณีศึกษาจริงของการออกแบบแพคเกจจิ้งเชิงรุก (Proactive Design) ที่นักออกแบบต้องลงไปพูดคุย สำรวจเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าจนได้ออกมาเป็นงานออกแบบที่สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า รวมไปถึงการออกแบบแพคเกจจิ้งบนหลักการ Universal Design ที่เข้าใจง่าย ใช้งานสะดวก ผ่านการใช้สี รูปภาพหรือกราฟิกที่จะวัยไหนก็เข้าใจได้เหมือนกัน ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานให้ง่ายดาย และยังช่วยเติมเต็มความรู้สึกหลังใช้ผลิตภัณฑ์ ครบตามหลักของการตลาดที่ต้องคิดให้ครอบคลุมทั้งประโยชน์การใช้งานและความรู้สึกดี ๆ ที่ได้จากการใช้งานนั้น

พลังรุ่นใหม่ เพื่อรุ่นใหญ่
SCGP เชื่อมั่นว่าพลังและไอเดียของคนรุ่นใหม่ จะสามารถสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้สูงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ แม้จะต่างวัย ก็อยู่ร่วมกันได้แบบไม่ต่างใจกันในสังคมที่น่าอยู่สำหรับทุกคน
นิสิตนักศึกษาผู้สนใจปล่อยไอเดียการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อผู้สูงวัยในการประกวด SCGP PACKAGING SPEAK OUT 2023 สามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 7 กันยายน 2566 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://thechallenge.scgpackaging.com/en/speakout

 

SCGP สร้างความเชื่อมั่นด้านการจัดการความปลอดภัยของข้อมูล ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 27001:2013

SCGP โดย คุณสุรศักดิ์ อัมมวรรธน์ Technology and Digital Platform Director และคุณธนชัย ผู้ธนดี IT Director พร้อมด้วยคณะทำงานฯ เข้าร่วมรับมอบใบประกาศนียบัตรระบบ ISO 27001:2013 ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานการจัดการความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล จาก BSI ซึ่งเป็นหน่วยงานรับรองมาตรฐานสากลระดับโลก เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา 

SCGP มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบสารสนเทศให้มีความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับทั้งภายในและภายนอกองค์กร จึงได้นำระบบมาตรฐานการจัดการความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล ISO 27001:2013 ดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางและควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Cuộc thi thiết kế bao bì SCGP Packaging Speak Out 2023 – Việt Nam: Khơi nguồn cảm hứng và thúc đẩy người trẻ Việt nâng cao vai trò bao bì trong kinh doanh từ những ý tưởng sáng tạo

Tiếp nối thành công trong hai năm liên tiếp vừa qua, SCGP nhà cung cấp giải pháp bao bì tiêu dùng đa quốc gia  hàng đầu tại Đông Nam Á đã chính thức khởi động Cuộc thi thiết kế bao bì SCGP Packaging Speak Out 2023 Việt Nam. Với đề tài Bao bì thúc đẩy bán hàng, cuộc thi năm nay hướng đến đối tượng là các bạn trẻ Việt có niềm đam mê với những thiết kế bao bì mang tính ứng dụng cao, đặt trải nghiệm của người dùng làm trọng tâm. Không chỉ là sân chơi sáng tạo cho các nhà thiết kế trẻ, SCGP Packaging Speak Out 2023 Việt Nam còn hỗ trợ thúc đẩy sự phát triển của doanh nghiệp thông qua hành trình tìm kiếm các giải pháp bao bì đổi mới, tiện dụng, thân thiện với môi trường và đặc biệt là phù hợp với đa dạng nhu cầu của các bên liên quan trong chuỗi giá trị.

Giữa thế giới không ngừng thay đổi, bao bì đóng vai trò then chốt trong việc nâng cao trải nghiệm, kết nối người tiêu dùng với sản phẩm và thương hiệu. Một khảo sát do Vietnam Report thực hiện vào năm 2022 cho thấy, đặt khách hàng làm trọng tâm là tiêu chí quan trọng trong quy trình thiết kế bao bì, tác động trực tiếp đến quyết định mua hàng. Bao bì nên tiếp cận được người tiêu dùng ở cấp độ cá nhân hoá, thu hút sự chú ý và phản ánh giá trị mà họ hướng đến. Bằng cách kết hợp chức năng, tính thẩm mỹ và tính bền vững, bao bì chính là đại diện cho cam kết chất lượng và hình ảnh của thương hiệu. Kết hợp giữa tính thực tiễn và sự đổi mới để tạo ấn tượng cho người mua, bao bì được thiết kế với tiêu chí lấy khách hàng làm trọng tâm không chỉ có tác dụng bảo vệ sản phẩm, mà còn duy trì mối liên kết lâu dài giữa thương hiệu và người tiêu dùng.

Nhấn mạnh tầm quan trọng của việc đặt khách hàng làm trọng tâm và ứng dụng tính bền vững trong việc thiết kế bao bì, ông Sompob Witworrasakul Giám đốc Khu vực của SCGP, cho biết:Chỉ trong hai năm, SCGP Packaging Speak Out đã thành công khơi dậy tiềm năng của thế hệ trẻ Việt Nam về việc định hình một tương lai bền vững thông qua các thiết kế bao bì sáng tạo. Đặc biệt, từ các thiết kế của cuộc thi, nhiều doanh nghiệp đã quan tâm hơn đến việc thiết kế bao bì bền vững nhưng vẫn đảm bảo tính thiết thực và tiện lợi cho người tiêu dùng đây cũng là điều khiến chúng tôi vô cùng tự hào. Phát động cuộc thi năm nay, chúng tôi mong muốn truyền cảm hứng và trao quyền cho các tài năng trẻ trên hành trình kiến tạo tương lai tốt đẹp hơn cho cộng đồng và hành tinh ngày một xanh hơn.”

Với chủ đề Góp sáng kiến, tạo tương lai, SCGP Packaging Speak Out 2023 hướng đến các ý tưởng thiết kế bao bì không chỉ nâng tầm sản phẩm, nâng cao trải nghiệm của người tiêu dùng mà còn đề cao ý thức về môi trường và xã hội thông qua đề tài Bao bì thúc đẩy bán hàng“. Theo đó, các ý tưởng thiết kế bao bì là giải pháp mang tinh thần sáng tạo, có tính thị trường để tạo ra sự khác biệt và khẳng định giá trị sản phẩm. Đây cũng được xem là tiền đề để hỗ trợ nền kinh tế Việt Nam tăng trưởng trên cả hai bình diện nội địa lẫn xuất khẩu.

Một trong những điểm nổi bật của cuộc thi năm nay là buổi hội thảo chuyên đề độc quyền với tên gọi Quyền năngcủa bao bì: Cộng hưởng từ Marketing và Thiết kế, dành riêng cho các thí sinh đã đăng ký tham dự cuộc thi. Hội thảo quy tụ đội ngũ diễn giả là các chuyên gia nổi tiếng, giàu chuyên môn trong lĩnh vực thiết kế bao bì từ SCGP; và đặc biệt là sự xuất hiện của ông Leo Phan nhà sáng lập của Bold Creative Training Lab, với sức ảnh lớn trong ngành thiết kế và tiếp thị.

SCGP cam kết trao cơ hội cho các tài năng trẻ trên khắp Việt Nam để cùng khơi dậy sự đổi mới và bền vững trong ngành bao bì. Thông qua cuộc thi thiết kế bao bì SCGP Packaging Speak Out 2023 Việt Nam và hội thảo chất lượng, SCGP nỗ lực nuôi dưỡng thế hệ các nhà thiết kế có tầm nhìn mới. Các giải pháp bao bì tiên phong của họ sẽ không chỉ phục vụ cho doanh nghiệp mà còn góp phần tạo nên một tương lai xanh hơn và bền vững hơn.

Để biết thêm thông tin chi tiết và đăng ký tham dự Cuộc thi thiết kế bao bì SCGP Packaging Speak Out 2023 Việt Nam, vui lòng truy cập website: https://thechallenge.scgpackaging.com/vn/speakout Đừng bỏ lỡ cơ hội để cùng chung tay tạo nên một tương lai hoàn toàn mới cho bao bì và cùng kiến tạo một thế giới tốt đẹp, bền vững hơn!

SCGP x มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิจัยโพรไบโอติกสายพันธุ์พิเศษ ต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร HOLIS by SCGP ยกระดับสุขภาพที่ดี

SCGP ผสานความร่วมมือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิจัยโพรไบโอติก 3 สายพันธุ์พิเศษที่มีคุณสมบัติโดดเด่น เพื่อนำมาพัฒนาเป็นส่วนประกอบหลักเฉพาะของผลิตภัณฑ์ HOLIS by SCGP ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “HOLIS by SCGP PROBIO ACTIVE PLUS” ยกระดับการดูแลรักษาสุขภาพและคุณภาพชีวิต รองรับภาพรวมตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลุ่มโพรไบโอติกที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง
นายเอกราช นิโรจน์ Enterprise Marketing Director บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า จากภาพรวมตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทย (Dietary Supplements) ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง มาจากไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภควัยทำงานยุคปัจจุบันที่หันมาใส่ใจการดูแลรักษาสุขภาพมากขึ้น รวมถึงประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้เกิดความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและวิตามินเพื่อสุขภาพ ส่งผลดีต่อการจับจ่ายใช้สอยและการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ โดยพบว่าเหตุผลอันดับ 1 ของการเลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย ล้วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์กลุ่มโพรไบโอติก (Probiotics) ที่มีจุลินทรีย์เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จึงมีการคาดการณ์ว่า ภาพรวมตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลุ่มโพรไบโอติกในประเทศไทยปี 2565-2570 จะเติบโตเฉลี่ย 10.4% ต่อปี โดยมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 960 ล้านบาท เป็น 1,571 ล้านบาท และเติบโต 12% เมื่อเทียบระหว่างปี 2566 กับปี 2567 ส่วนภาพรวมตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทยปี 2565-2570 คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 7.5% ต่อปี โดยมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 31,116 ล้านบาท เป็น 44,630 ล้านบาท และเติบโต 8% เมื่อเทียบระหว่างปี 2566 กับปี 2567  (ที่มา ยูโรมอนิเตอร์)
“SCGP มีความเชี่ยวชาญการพัฒนาสายพันธุ์และการเพาะปลูกแบบธรรมชาติ จึงนำความรู้ความเชี่ยวชาญมาต่อยอดในพืชสมุนไพรมูลค่าสูง สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร HOLIS by SCGP ล่าสุดได้มีการเพาะเลี้ยงเจียวกู่หลานคุณภาพสูงที่มีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติก (Prebiotics) ผ่านการรับรอง GHPs/HACCP 2020 จากสถาบันชั้นนำระดับสากล จึงได้ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ และศูนย์เพื่อความเป็นเลิศทางวิจัยด้านโพรไบโอติก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการต่อยอดวิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรของ SCGP ร่วมกับโพรไบโอติกสายพันธุ์พิเศษ คัดเลือกจากธรรมชาติในประเทศไทย ทำให้มีความเหมาะสมกับคนไทย ซึ่งโพรไบโอติกสายพันธุ์พิเศษนี้ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร HOLIS by SCGP PROBIO ACTIVE PLUS ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใหม่ล่าสุดจาก SCGP” นายเอกราช กล่าว
รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า มศว มีศูนย์เพื่อความเป็นเลิศทางวิจัยด้านโพรไบโอติก มีความเชี่ยวชาญและผลการทดลองที่น่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นประโยชน์และปลอดภัยต่อผู้บริโภค จึงมีแนวคิดต่อยอดงานวิจัยให้นำมาใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งนำมาสู่ความร่วมมือกับ SCGP ในการวิจัยร่วมกันระหว่างโพรไบโอติกของ มศว และพรีไบโอติกจากสมุนไพรที่ผลิตโดย SCGP ซึ่งจากผลการวิจัย สามารถคัดเลือกโพรไบโอติกสายพันธุ์ดีที่มีคุณสมบัติโดดเด่น ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงโรคไขมันพอกตับ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Lactobacillus paracasei MSMC39-1, Bifidobacterium animalis TA1 และสายพันธุ์พิเศษ Lactobacillus rhamnosus TM7 รวมถึงได้วิจัยพรีไบโอติกจากเจียวกู่หลานของ SCGP ที่มีสาร Saponins ปริมาณสูงและมีคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น ลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยเพิ่มกากใยในระบบทางเดินอาหาร ช่วยเสริมประสิทธิภาพระบบขับถ่าย ช่วยให้จุลินทรีย์โพรไบโอติกเติบโตได้ดีและเกิดการหมักได้โพสต์ไบโอติก (Postbiotics) เป็นต้น 
“จากความร่วมมือกันครั้งนี้ นับเป็นความสำเร็จของการวิจัยและพัฒนาร่วมกันในการช่วยกันยกระดับสุขภาพและคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น และคาดว่าจะนำไปสู่การขยายความร่วมมือทำงานวิจัยในอนาคต เช่น การวิจัยสายพันธุ์โพรไบโอติกชนิดใหม่ ๆ การทำงานร่วมกับพรีไบโอติกชนิดต่าง ๆ รวมถึงการนำไปใช้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการยกระดับการดูแลรักษาสุขภาพ และร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ที่ผสมผสานเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อเป็นการต่อยอดและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจชีวภาพให้สูงขึ้นจากการนำพืชสมุนไพรมาสร้างมูลค่าเพิ่มด้วย” รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย กล่าว
สามารถติดตามข้อมูลสินค้าและกิจกรรมที่น่าสนใจได้ที่ www.holisbyscgp.com และ Facebook : HOLIS by SCGP

ประกาศ เรื่อง การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลแก่ผู้ถือหุ้น

คลิกเพื่อดาวน์โหลด
https://investor.scgpackaging.com/storage/content/downloads/shareholders-meetings/2023/20230808-scgp-dividend-payment-shareholders-th.pdf

ประกาศ
เรื่อง  การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลแก่ผู้ถือหุ้น

    ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) เมื่อวันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2566 ได้มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลงวดครึ่งปีแรกของปี 2566 ในอัตราหุ้นละ 0.25 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,073,230,050 บาท โดยเงินปันผลระหว่างกาลดังกล่าวจ่ายจากกำไรที่เสียภาษีในอัตราร้อยละ 20 ซึ่งผู้ถือหุ้นประเภทบุคคลธรรมดาสามารถขอเครดิตภาษีคืนได้เท่ากับเงินปันผลคูณ 20/80 โดยบริษัทจะหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 10  

    ทั้งนี้ การจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นเฉพาะผู้มีสิทธิได้รับเงินปันผลตามข้อบังคับของบริษัท ตามที่ปรากฏรายชื่อ ณ วันกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิรับเงินปันผล (Record Date) ในวันพุธที่ 9 สิงหาคม 2566 (จะขึ้นเครื่องหมาย XD หรือวันที่ไม่มีสิทธิรับเงินปันผลในวันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2566) โดยมีกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันอังคารที่ 22 สิงหาคม 2566 และให้รับเงินปันผลภายใน 10 ปี

จึงประกาศมาเพื่อทราบ

บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน)
(ลงวันที่ 14-16 สิงหาคม พ.ศ. 2566)

ประกาศรายชื่อผู้ถือหุ้นสามัญที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม “เยี่ยมชมกิจการของบริษัทที่จังหวัดราชบุรี”

รายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม “เยี่ยมชมกิจการของบริษัทที่จังหวัดราชบุรี” 
เดินทางวันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2566 จำนวน 50 ท่าน ดังรายชื่อต่อไปนี้
1. นางกฤติยา      งามอุษาวรรณ
2. น.ส.จารุวรรณ      ตันรัตนาวงศ์
3. น.ส.จิตติกาญจน์  ศิริวณิชย์วงศ์
4. น.ส.ชนาศรี      อัครเสรีนนท์
5. น.ส. ชนิตา      มุททาหัตถากร
6. นายชูเดช      พรหมปัทมะ
7. น.ส. ดลณลักษณ์     นิรามัยชัยศรี
8. นายธวัชชัย      โกศลวาทะวงศ์
9. นายธารา      ชลปราณี
10. น.ส.นงลักษณ์  โกศลวาทะวงศ์
11. นายนิพันธ์      ปุคะละนันท์
12. น.ส.นุชนันท์      ชาญศักดิ์วานิช
13. น.ส.บุญล้อม      ประเสริฐสุทธิ์
14. น.ส.บุษกร      งามพสุธาดล
15. นางประภัสสร      คล้ำชื่น
16. น.ส.ปราณี      ตั้งเสรี
17. นางพรรณี      ตรีเจริญรัตน์
18. นายพาจิตร     เลิศเบญจพร
19. น.ส.มณฑินี     สุธีลักษณาพร
20. นายมานิตย์     เลิศสาครศิริ
21. นางราตรีพร     ลิ้มมงคล
22. น.ส.วรรณา     งามณรงค์กิจ
23. นายวัชระ     เจนวิริยะโสภาคย์
24. นายวิเชียร     ลิ่มระนางกูร
25. น.ส.วิไลวรรณ     เหลืองรังรอง
26. นายวิจิตร     วิสุทธิแสง
27. น.ส.วิมลพักตร์     นพสุวรรณวงศ์
28. นายวิวัฒน์     โภคทรัพย์
29. นายวีระ     อารีย์เพิ่มกุล
30. นายวุฒิไกร     งามอุษาวรรณ
31. น.ส.ศรีนวล     เชื้อธรรมชาญ
32. นายศิระ     ภุมมะกสิกร
33. นางศิรินันท์     ศุภมาสศิริกูล
34. น.ส.สนทนา     ศิริตันติกร
35. นายสมเกียรติ    เกียรติเสริมสกุล
36. นางสมจิตร     วิสุทธิแสง
37. นายสมชาย     เจนสถิรพันธุ์
38. นายสมภพ     กิฎามร
39. นายสมศักดิ์     ศุภองค์ประภา
40. น.ส.สาคร     วงศ์วทัญญู
41. นายสิริพัฒน์     สิริเวทิน
42. น.ส.สีไพร     ศรีทิพย์สุโข
43. นายสุรชัย     อัศวปรีชา
44. นายสุวัชร     สุขปาณี
45. นางสุวิมล     เอกอาภาภัณฑ์
46. น.ส.อรุณี     ตันคงจำรัสกุล
47. น.ส.อัชฌาสัย     ศิริตันติกร
48. น.ส.อัมพร     วัฒนศิริพร
49. นายอารีย์     บางเจริญสุข
50. นางอุษา     ศิวาวงศ์

รายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม “เยี่ยมชมกิจการของบริษัทที่จังหวัดราชบุรี” 
เดินทางวันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2566 จำนวน 50 ท่าน ดังรายชื่อต่อไปนี้
1. นายกสิพงษ์    คงกฤตยาพันธ์
2. น.ส.กุลณิสภ์    พิมพ์พันธุ์
3. นางขนิษฐา    พิบูลย์เกษตรกิจ
4. นายจักรี    ธนัพประภัศร์
5. นางฉลี    เจริญวิเศษกรณ์
6. น.ส.ฉวีวรรณ    เต็มพานิชย์
7. น.ส.ฉวีวรรณ    เชยโอนะนันทน์
8. นายเฉลิม    เสริมเกียรติพงศ์
9. น.ส.ชนินทร    รุ่งรุจิโรจน์
10. นายชวลิต    พันธุเตชะ
11. นายชาญศักดิ์    เต็มพานิชย์
12. น.ส.ณัฏฐ์ธนัน    หทัยวิทวัส
13. น.ส.นภาพร    บุญกัลยา
14. น.ส.นฤดี    โภไคศวรรย์
15. นางนฤมล    นาวาเจริญ
16. น.ส.นิรมล    เกวลี
17. นายนิรันดร์    ไทยปรีชา
18. นางนิศากานต์    สิริกาญจนากุล
19. นายบุญชัย    สำราญวนากิจ
20. นางประณีต    แสงอรุณ
21. นายประพนธ์    รักประทานพร
22. น.ส.ปิ่นมณี    ภูวดลกิจ
23. นางพรทิพย์    ตั้งไพบูลย์วณิช
24. นายพาณิชย์    เทียมเพ็ชร
25. นายไพศาล    เรียนอัจฉริยะ
26. น.ส.มะลิ    สำราญวนากิจ
27. น.ส.เยาวภา    เหมวรรณานุรักษ์
28. น.ส.ยุพิน    ธาตรีธร
29. นางรัชนี    โศภารักษ์
30. นางลักขณา    วนิชชานนท์
31. นางลักษมณ์สุนีย์  หทัยวิทวัส
32. นายวรพจน์    จันยั่งยืน
33. น.ส.วรรณธิดา      เชยโอนะนันทน์
34. นางวรรณา    กิติสุข
35.    นายสง่า    พัฒนากิจสกุล
36.    นายสมเดช    ศักดิ์สราญรมย์
37.    นายสมชาย    เจริญวิเศษกรณ์
38.    นายสมพงษ์    บุญธรรมจินดา
39.    นายสมหมาย    วัธนจิตต์
40.    น.ส.สาวิตรี    อนันต์รัตนสุข
41.    นางสิริรัตน์    ลักษณะพิศิษฐกุล
42.    น.ส.สิริลักษณ์    ปราชญ์ปัญญาธร
43.    น.ส.สุชีลา    เตชาภิวัฒน์พันธุ์
44.    น.ส.สุนีย์    พรฤกษ์งาม
45.    น.ส.สุภาพร    บูรณะนิตย์
46.    นางสุรัสวดี    ดิษฐสกุล
47.    นางหฤทัย    ปฐมพงศ์พันธุ์
48.    น.ส.อังคณา    อิทธิเมธีวุฒิ
49.    นางอาภา    ปฐมพัฒน
50.    น.ส.อิรารมย์    อนันต์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่     
นายหิรัณย์ เสาวกุล    โทร.  02-586-1326     e-mail: hirunsao@scg.com
นางสาวทนัทรยา พลกุลกรณ์     โทร.  02-586-3013     e-mail: thanutrp@scg.com