SCGP Newsroom

พี่เจน – ดร.พงษ์สุดา : เปิดใจรับทุกความแตกต่าง ทุกอย่างก็เป็นไปได้

อีกหนึ่งผู้บริหารที่ขับเคลื่อนการทำงานโดยใช้ Passion ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อต่อยอดทางธุรกิจมาอย่างยาวนาน กระทั่งพี่เจน – ดร.พงษ์สุดา (ภูมะธน) ผ่องธัญญา Managing Director – Deltalab SL ประเทศสเปน มีโอกาสได้รับผิดชอบภารกิจใหม่ไกลถึงยุโรป ได้พบเจอกับความแตกต่างหลากหลายรอบด้าน ด้วยความมุ่งมั่นพร้อม Mindset ที่ดีที่พี่เจนพกติดตัวไปด้วย ทำให้ช่วยขับเคลื่อนให้งานบริหารที่ท้าทายเดินหน้าไปได้อย่างราบรื่น

 

จากนักวิจัย สู่นักบริหาร

“พี่เป็นนักเรียนทุนรัฐบาลอังกฤษ-ไทย เรียนจบปริญญาโทและเอกจากสหราชอาณาจักร ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับ Biotechnology และ Biochemical Engineering พอเรียนจบก็กลับมาทำงานเป็นนักวิจัยทางด้านไบโอเทคโนโลยีที่ประเทศไทย โดยส่วนตัวพี่มีความสนใจเกี่ยวกับการทำงานวิจัยให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจหรือประโยชน์ต่อผู้คนอยู่แล้ว จึงอยากทำงานกับองค์กรชั้นนำ เพื่อผลักดันให้สินค้าเป็นทั้งนวัตกรรม และนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้

 

“พี่เริ่มงานที่ SCG เมื่อปี 2550 ทำหน้าที่ในการหาธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับบริษัท ทั้งด้านที่เกี่ยวกับ Healthcare & Life Science รวมถึงการบริหารจัดการระบบวิจัยและพัฒนา ตอนนั้นเป็นช่วงที่บริษัทหานักวิจัยเข้ามาพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม (High Value Added Product & Services) พี่ได้มีส่วนร่วมในการจัดการระบบงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมเรื่องการวัด Performance รวมถึงการดูแลนักวิจัยต่าง ๆ

 

“พอถึงช่วงกลางปี 2556 ก็ย้ายไปเป็นผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี SCGP ทำหน้าที่ผลักดันงานวิจัยให้เข้าสู่ธุรกิจจริง ซึ่งเป็นงานที่พี่ชอบและรักมาก ๆ กระทั่งเดือนธันวาคม 2564 ได้รับมอบหมายให้มาทำหน้าที่ Deputy Managing Director ที่ Deltalab ประเทศสเปน จนเวลาผ่านไปประมาณ 1 ปี Mr. Jose Saez (Managing Director ท่านก่อน) ได้ส่งต่องานมาให้พี่ดูแลในฐานะ Managing Director”

 

เตรียมพร้อม เรียนรู้ สู้! ทุกความท้าทาย

“สำหรับพี่ความท้าทายเกิดขึ้นตั้งแต่ทราบว่าต้องมาทำงานนี้แล้ว เพราะแม้จะเรียนจบมา แต่ก็ยังไม่เคยบริหารจัดการธุรกิจด้านนี้มาก่อนและต้องมาไกลถึงยุโรปด้วย ทั้งหมดเป็นเรื่องใหม่ เรากังวลทั้งเรื่องธุรกิจและวัฒนธรรม ไม่ทราบว่าจะได้รับการยอมรับมากน้อยแค่ไหน เรียกได้ว่าสิ่งที่เป็น Growth Mindset จำเป็นมาก ๆ เรามาพร้อมกับเปิดใจ เตรียมตัวสู้อย่างเดียว ศึกษาข้อมูลธุรกิจประเภทนี้ องค์ความรู้ต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ต่างประเทศก็ดึงกลับมาใช้ ควบคู่กับการเรียนรู้สิ่งใหม่ เทคโนโลยีใหม่ เพื่อให้สอดรับกับธุรกิจทางด้าน Healthcare & Life Science ที่เป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”

 

“ในฐานะผู้บริหารและเข้าไปอยู่ใหม่ ซึ่งเรามากัน 2 คนกับน้องอีกท่านนึง ก่อนอื่นเลยต้องคิดว่าทำอย่างไรที่เราจะสามารถเข้าไปทำงานกับทีมที่นั่นได้อย่างดีมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและเป็นประโยชน์ต่อยอดงานของบริษัทได้ ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างความไว้วางใจให้ทีม ต้องเอาตัวเราเข้าไปหาเขาในทุกฟังก์ชัน ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน มีข้อมูล วางแผนเตรียมตัวให้พร้อม นอกจากนี้การสื่อสารกับทีมและผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ที่จะทำให้เข้าใจและพร้อมที่จะทำงานไปด้วยกัน หรือแม้แต่การไปพบลูกค้าก็ต้องทำความเข้าใจในธุรกิจของลูกค้าด้วย เหมือนกัน เราต่างเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามที่รับมอบหมาย ทั้งในเรื่องการดูแลการดำเนินงานธุรกิจให้เติบโต และการประสานเชื่อมโยงทั้งสองบริษัท เพื่อที่จะร่วมงานกันได้อย่างราบรื่น

 

“ขณะเดียวกันหน้าที่หลักของพี่คือ ทำงานร่วมกันกับทีม Deltalab วางแผนให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนดำเนินการได้จริง ผ่านการบริหารการจัดการอย่างเป็นระบบ สร้างแรงจูงใจให้พนักงาน ทำให้เขาเข้าใจถึงความเป็น SCGP และ Deltalab ว่าบริษัทจะขับเคลื่อนได้ด้วยพลังของพวกเขา สร้างทีมเวิร์ก เป็น Happy Workplace ตลอดปีที่ผ่านมา ธุรกิจเราต้องเจอกับความท้าทายรอบด้าน ทั้งเรื่องโควิด 19 เรื่องสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งอยู่ใกล้ตัวมากในยุโรป เรื่องต้นทุนการผลิตสูงขึ้นทั้งราคาวัตถุดิบ ค่าขนส่ง และค่าพลังงานไฟฟ้า พี่คิดว่าในสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ เราต้องเริ่มต้นด้วยการเปิดใจเรียนรู้ เตรียมพร้อมตั้งรับ ต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาอย่างมีกลยุทธ์ สิ่งหนึ่งที่พี่มีความประทับใจคือ ความเชี่ยวชาญ ตลอดจนการเปิดใจและมิตรภาพของทีมงานที่นี่ ทำให้พวกเราสามารถทำงานเป็นทีมเดียวกันเป็นอย่างดี ช่วยกันแก้ไขปัญหาและผ่านสิ่งที่เป็นความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาได้”

 

เปิดใจ ปรับตัวรับความหลากหลาย

หากมองในเรื่องความหลากหลาย สถานการณ์ของพี่เจนในเวลานี้น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด จากการทำงานในพื้นที่ที่ต่างออกไปทั้งธุรกิจ ผู้คน ภาษา กฎหมาย และวัฒนธรรม

 

“การมาทำงานที่ Deltalab พี่พบเรื่องความหลากหลายค่อนข้างมาก จริงๆ แล้ว Deltalab ประกอบด้วยบริษัทย่อยอีก 5 บริษัท ได้แก่ Keylab, Nirco, Equilabo, Enfa และ Sanilabo เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ทางห้องปฏิบัติการและทางการแพทย์ ทั้งแบบ B2B และ B2C ซึ่งมีสินค้าที่ผลิตเองและไม่ได้ผลิตเองรวมกันกว่าหมื่นรายการ เจาะตลาดทั้งกลุ่ม Healthcare, Life Science และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ความหลากหลายด้านอาชีพและวิชาชีพ จากการร่วมงานกับทีมงานกว่า 200 คน การส่งออกสินค้าไปกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ทำให้พี่ได้เรียนรู้วิธีในการสื่อสารกับลูกค้า และตลาดในการขายสินค้าที่มีความหลากหลายมาก

 

“เรื่องวัฒนธรรม วิธีคิด และภาษา ก็เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้เช่นกัน แม้ว่าจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการสื่อสาร แต่พี่ก็ต้องพยายามเข้าใจฝึกภาษาสเปนด้วย และใช้ภาษากายประกอบ เพื่อแสดงความจริงใจให้ออกมาได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่น ๆ เช่น การสอบใบขับขี่รถยนต์ของสเปน เป็นต้น พี่คิดว่าทุกอย่างมันไม่ได้ยากเกินกว่าที่เราจะทำได้ ใช้วิธีคิดแบบนี้จูงใจตัวเอง มองแง่บวกกับทุกเรื่อง มองทุกอย่างเป็นข้อดี เป็นโอกาส พยายามปรับตัวและเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ”

 

ไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้

“Mindset ของพี่คือ ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ พี่คิดแบบนี้มาตลอด พี่จะพูดเสมอว่า ต่อให้วันนี้เป็นไปไม่ได้ วันข้างหน้ามันจะเป็นไปได้แน่นอน เหมือนที่เราเห็นหลาย ๆ อย่างในโลก เมื่อก่อนยังเป็นไปไม่ได้ แต่วันนี้มันก็เกิดขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องคิดอย่างถี่ถ้วน หาวิธีที่จะทำสิ่งนั้นให้เป็นไปได้ และลงมือทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถึงจะเรียกได้ว่าครบลูป ถ้าสิ่งที่เราทำแล้วสำเร็จ พี่จะดีใจอย่างพอประมาณ เก็บสิ่งนั้นมาเป็นพลังเพื่อใช้ในการทำงานอื่นต่อ ถ้าไม่สำเร็จ ก็เรียนรู้ในสิ่งที่ผิดพลาด เพื่อเป็นประสบการณ์และหาจุดที่ควรแก้ต่อไป จะเก็บทั้งสองอย่างมาใช้ขับเคลื่อนตัวเรา เพราะคิดแล้วลงมือทำ ดีกว่าได้แต่คิดแล้วไม่ทำ

 

“เรื่องการพัฒนาตัวเองก็ต้องทำอยู่ตลอด เพราะเรื่องใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา และต้องคาดการณ์ให้ได้ว่า สิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นต่อไปคืออะไร พี่ก็ต้องคิดว่าในอนาคต Deltalab จะเป็นอย่างไร ต้องดูภาพรวมทั้งหมดว่า โลกเปลี่ยนไปอย่างไร ความต้องการลูกค้าเป็นแบบไหน ยังมีโอกาสทางธุรกิจที่ไหนอีกบ้าง นอกเหนือจากที่เป็นอยู่ และจะเติบโตไปอย่างไร ฉะนั้นต้องอาศัยทั้งเรื่องการเรียนรู้ใหม่ ๆ การพัฒนาตนเองอยู่ตลอด

 

“ฝากถึงน้อง ๆ ทุกคนนะคะ SCGP เป็นองค์กรชั้นนำที่มีการพัฒนารูปแบบธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ที่นี่เปิดโอกาสให้พนักงานได้พัฒนาตัวเองมีการเทรนนิ่งเพื่อติดอาวุธให้พนักงานอยู่ตลอดด้วย พวกเราเองก็ต้องพร้อมที่จะเปิดใจ เรียนรู้ พัฒนาตัวเองแบบไม่หยุดนิ่ง หากเหนื่อยเราก็พักแล้วค่อยกลับมาสู้ต่อ หาจุดที่เราชอบ ที่จะทำให้เรามีความสุข และพัฒนาตนเองเพื่อเป็นอีกหนึ่งกำลังสนับสนุนให้บริษัทได้มากขึ้น พวกเราสามารถมีส่วนร่วมในการเติบโตของบริษัทจากการทำ M&P ได้ทั้งกลุ่มทีมแนวหน้าที่เดินทางมาปฏิบัติงานที่ต่างประเทศ และกลุ่มทีมสนับสนุนที่ทำงานอยู่ที่ประเทศไทย ตัวพี่เองแม้จะเตรียมพร้อมอยู่ตลอด แต่การมาในสถานที่ใหม่ ผู้คนใหม่ ๆ พี่ก็ยังต้องเรียนรู้เพิ่ม ต้องปรับตัว คนที่อยู่ไทยก็ต้องเตรียมพร้อมและทำงานร่วมกันในสิ่งใหม่ ๆ เราไม่มีทางรู้เลยว่าวันใดโอกาสจะมาถึง ทุกคนต้องเปิดใจ เรียนรู้ เตรียมความพร้อม เพื่อให้องค์กรเราเดินหน้าไปด้วยกันนะคะ” พี่เจนกล่าวทิ้งท้าย

รางวัลแห่งการจัดการขยะอย่างยั่งยืน

      ปัญหาขยะไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ หากแต่แท้จริงแล้วมันคือปัญหาใหญ่ของโลก ซึ่งถ้าไม่มีการจัดการที่ถูกต้องเหมาะสมก็จะสร้างผลกระทบ และความเดือดร้อนให้กับโลกของเราอย่างมหาศาล

      อำเภอบ้านโป่ง คืออำเภอหลัก ของจังหวัดราชบุรี นับเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลาย ทั้งด้านการเกษตร การค้า และอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำนวนมาก ยังไม่ต้องพูดถึงความหลากหลายของจำนวนประชากร ที่มีผู้คนต่างถิ่น ทั้งในจังหวัดห่างไกล และใกล้เคียงเข้ามาพักอาศัย และทำงานในพื้นที่นี้เป็นจำนวนมาก

      ด้วยความที่มีจำนวนประชากรมากถึง 173,000 คน และผลิตขยะมากถึงวันละ 171 ตันต่อวัน ทาง SCGP ซึ่งมีโรงงานผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์แห่งแรกตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านโป่ง ได้สนับสนุนโครงการ CSR ของชุมชนรอบโรงงาน รวมถึงชุมชนปลอดขยะ (Zero West) ของบ้านรางพลับที่เป็นชุมชนต้นแบบระดับประเทศ จากการเข้าประกวด โครงการชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

      SCGP จึงร่วมกับอำเภอบ้านโป่ง และ 17 องค์กรส่วนท้องถิ่น ขยายผลเรื่องการจัดการขยะไปยังชุมชนอื่น ๆ ในอำเภอ โดยกำหนดโครงการขับเคลื่อนชุมชนต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอย อำเภอบ้านโป่ง เพื่อส่งเสริมความรู้ในการจัดการขยะ และศึกษาตัวอย่างการปฏิบัติจริงจากชุมชนรางพลับซึ่งเป็นชุมชนต้นแบบ เพื่อให้ประชาชนทั่วทั้งอำเภอจะได้มีความรู้ และสามารถจัดการขยะในชุมชนตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ซึ่งโครงการดังกล่าวมีชื่อว่า ‘บ้านโป่งโมเดล’

      นับตั้งแต่โครงการ ‘บ้านโป่งโมเดล’ ได้รับการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม ในทุก ๆ ปีจะมี ‘โครงการประกวดชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ’ ซึ่งปัจจุบันได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันแล้ว

      โดยเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมาอำเภอบ้านโป่ง ร่วมกับ SCGP ได้จัดพิธีมอบรางวัล ‘โครงการประกวดชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ Season 3’ ณ ห้องประชุมอาคารอารีน่า หมู่ที่ 17 ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยมีนายรณภพ เหลืองไพโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นผู้มอบรางวัล และประธานในพิธี

      ท่านผู้ว่าฯ ได้กล่าวชื่นชมอำเภอบ้านโป่งว่า “เป็นอำเภอที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดการขยะอย่างยั่งยืน และมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง และมุ่งหวังจะนำบ้านโป่งโมเดล ขยายไปทั่วทั้งจังหวัด และทำให้ราชบุรีเป็นเมืองแห่งความสะอาด และปลอดขยะในอนาคตต่อไป”

      ขณะที่ นายเกียรติศักดิ์ หอมเย็นใจ นายอำเภอบ้านโป่ง กล่าวว่า “เราต้องการขับเคลื่อนให้อำเภอบ้านโป่งของเราสามารถจัดการขยะในชุมชนของตนเองได้ ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินโครงการเมื่อปี 2562 ถึงตอนนี้ก็ได้ขยายผลไปทั่วทั้งอำเภอ และโครงการประกวดชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ ในปีนี้ ก็มีชุมชนให้ความร่วมมือ เข้าร่วมประกวดมากถึง 20 ชุมชน โดยแต่ละชุมชนต่างก็มีกิจกรรม และวิธีการจัดการขยะในพื้นที่ของตนอย่างน่าสนใจมาก ๆ ซึ่งการจัดการมอบรางวัลดังกล่าวขึ้นมานั้น  เราไม่ได้ต้องการให้เกิดการแข่งขันกันแต่อย่างใด หากแต่เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการจัดการขยะของทุก ๆ ชุมชนในอำเภอบ้านโป่ง”

      ด้านนายแสงชัย วิริยะอำไพวงศ์ พนักงานจัดการอาวุโสประจำสำนักงาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า “ทาง SCGP ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ร่วมมือกับอำเภอบ้านโป่งในการสร้างชุมชนต้นแบบการจัดการขยะ และเราก็ยังจะเข้าไปร่วมส่งเสริมสนับสนุนชุมชนที่ได้รับรางวัลในวันนี้ ให้ก้าวไปสู่เวทีการประกวดชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ในปี 2566 ต่อไป”

      “ขณะเดียวกันก็ยังได้นำแนวคิดในการจัดการขยะไปขยายผลต่อในจังหวัดที่ SCGP มีโรงงานตั้งอยู่ทั้ง จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดขอนแก่น ทำให้ปัจจุบันเราสามารถสร้างชุมชนต้นแบบการจัดการขยะได้ทั้งหมดถึง 96 ชุมชน และมีเป้าหมายที่จะขยายผลอย่างต่อเนื่องในอนาคต”

      สำหรับผลการประกวดในครั้งนี้ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความรู้ในด้านการจัดการขยะ และสิ่งแวดล้อมได้คัดเลือกให้ รางวัลชนะเลิศ เป็นของ บ้านท่าศาลเจ้า หมู่ 6 องค์การบริหารส่วนตำบลลาดบัวขาว ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความโดดเด่นในเรื่องการจัดการขยะเฉพาะตัว สามารถนำยางรถยนต์ที่ไม่ได้ใช้งานซึ่งมีอยู่จำนวนมากในชุมชน มาสร้างเป็นสนามเด็กเล่น ให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม สร้างมูลค่าจากขยะด้วยการนำขยะมาแปรรูปเป็นสินค้า และเครื่องประดับจำหน่ายเพิ่มรายได้ ขณะที่ผู้คนในชุมชนทุกหลังคาเรือนต่างก็ร่วมมือกันจัดการขยะอย่างเข้มแข็ง และสามัคคี

      รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ชุมชนหัวทุ่งหนองโรง หมู่ 3 เทศบาลตำบลกรับใหญ่ เป็นชุมชนที่สามารถนำเอาทรัพยากรหมุนเวียนมาใช้ได้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยใช้ฟืน หรือก้อนเห็ดที่ไม่ได้ใช้งานเป็นเชื้อเพลิง หลังจากจบกระบวนการจะได้ถ่านมาใช้งาน เศษถ่านนำมาทำถ่านอัดก้อน เป็นพลังงานอีกครั้ง หรือนำไปใช้ปลูกต้นไม้ ขี้เถ้าที่เหลือนำมาทำน้ำด่างเพื่อใข้ประโยชน์ต่อเป็นน้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน

      รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ชุมชนหนองกระจ่อยสร้างสรรค์ เทศบาลตำบลกระจับ เป็นชุมชนกึ่งเมือง
ที่โดดเด่นในเรื่องการนำเอาวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ มาทำเป็นเครื่องออกกำลังกาย และผู้คนในชุมชนต่างให้ความร่วมมือในการจัดการขยะกันเป็นจำนวนมาก

      ขณะที่รางวัลชมเชย มี 3 ชุมชน ที่ได้รับรางวัลด้วยกัน ได้แก่ ชุมชนบ้านฆ้องน้อย หมู่ 12 เทศบาลเมืองท่าผา ชุมชนกึ่งเมืองที่นำขยะกำพร้า ที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เช่น ถุงขนม ถุงน้ำยาปรับผ้านุ่ม ต่าง ๆ มาหล่อเป็นอิฐบล็อก และทางเดินเท้าได้อย่างสวยงาม

      ชุมชนบ้านตะคร้อ หมู่ 12 เทศบาลตำบลเบิกไพร ชุมชนกึ่งเมืองที่เชี่ยวชาญในการนำขยะ จำพวกผ้าที่ไม่ใช้แล้วนำมาหล่อปูนทำเป็นกระถางต้นไม้ และบ้านตลาดนัด หมู่ 13 องค์การบริหารส่วนตำบลคุ้งพยอม ซึ่งจัดการขยะในครัวเรือนได้อย่างดี รวมทั้งผลิตถังหมักเศษอาหาร ในแบบตัวเองขึ้นมาใช้เองได้ทุกหลังคาเรือน

      ส่วนรางวัลชุมชนโชว์แอนด์แชร์ยอดเยี่ยม ในปีนี้ตกเป็นของ ชุมชนหนองกระจ่อยสร้างสรรค์ เทศบาลตำบลกระจับ ซึ่งเป็นชุมชนที่ผลิตเนื้อหาการจัดการขยะลงสื่อโซเชียลได้อย่างสม่ำเสมอ

ทั้งหมดที่กล่าวมา คือ เป็นชุมชนในอำเภอบ้านโป่งที่ได้รับรางวัลในโครงการประกวดชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ Season 3 อย่างไรก็ตาม รางวัลที่ได้รับนั้น ถือเป็นความสำเร็จเพียงส่วนหนึ่ง แต่ความสำเร็จที่แท้จริงคือ ทุกชุมชนในอำเภอบ้านโป่งล้วนได้รับประโยชน์ ที่ล้ำค่ายิ่งกว่าทรัพย์สิน เงินทอง หรือถ้วยรางวัลใด ๆ

      สิ่ง ๆ นั้นคือ บ้านเมืองที่มีแต่ความสะอาดน่าอยู่ อันเนื่องมาจากการจัดการรขยะอย่างยั่งยืน และทำได้จริง

SCGP ร่วมอัปเดตเทรนด์โซลูชันบรรจุภัณฑ์เพื่อการตลาดและความยั่งยืน ในงานแถลงข่าว ProPak Asia 2023

SCGP ร่วมงานแถลงข่าว Propak Asia 2023 งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีด้านกระบวนการผลิต การแปรรูปและบรรจุภัณฑ์แห่งภูมิภาคเอเชีย โดยมีคุณกรัณย์ เตชะเสน ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (SCGP) และประธานกรรมการ บริษัทเว็กซ์เซล แพ็ค จำกัด เป็นตัวแทนภาคเอกชนในการร่วมอัปเดตเทรนด์โซลูชันบรรจุภัณฑ์เพื่อการตลาดและความยั่งยืนในงานแถลงข่าวดังกล่าว เมื่อวันอังคารที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท

คุณกรัณย์ เตชะเสน เล่าถึงเทรนด์บรรจุภัณฑ์ว่า ปัจจุบันผู้บริโภคต้องการบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยตอบสนองด้านความสะดวกสบายและตอบโจทย์ในการใช้งานที่หลากหลาย รวมถึงมีความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ผู้ออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ต้องใส่ใจในการนำเสนอบรรจุภัณฑ์มากยิ่งขึ้น โดย SCGP มุ่งมั่นในการเป็นผู้นำด้านโซลูชันบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน จึงได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคด้วยการนำเสนอโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยมองว่าบรรจุภัณฑ์ไม่ได้ทำหน้าที่แค่บรรจุหรือปกป้องผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มมูลค่าทางการตลาด ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดี และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับแบรนด์สินค้าอีกด้วย

นอกจากนี้ SCGP ยังมุ่งเน้นพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน ตัวอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์ Flexible packaging ที่ทำจาก Mono-material หรือวัสดุชนิดเดียว จึงสามารถนำไปรีไซเคิลได้ง่าย บรรจุภัณฑ์ที่นำพลาสติกรีไซเคิลมาเป็นส่วนหนึ่งในการผลิต เช่น บรรจุภัณฑ์ rPET สำหรับของใช้ในบ้าน แชมพู น้ำยาล้างจาน และบรรจุภัณฑ์ช่วยยืดอายุสินค้า OptiBreath®  ซึ่งช่วยลดขยะอาหาร (Food waste) ที่ทาง SCGP พัฒนาขึ้นเพื่อยืดอายุผักและผลไม้สด ลูกค้านำบรรจุภัณฑ์ไปใช้ยืดอายุมะพร้าวเจียจาก 30 วันเป็น 60 วัน หรือยืดอายุมะพร้าวสดแบบควั่นจาก 60 วัน เป็น 90 วัน ทำให้ลูกค้าขยายตลาดการส่งออกผลไม้ได้ เนื่องจากรองรับการส่งออกทางเรือที่ต้องใช้เวลาขนส่งนาน ช่วยสร้างแบรนด์และเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ด้วย

“การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ผู้ผลิตต้องพิจารณาทั้งห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่การออกแบบ การเลือกใช้วัตถุดิบน้อยลง นำกลับมาใช้งานใหม่ได้หรือรีไซเคิลได้ง่าย กระบวนการผลิตต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการคำนึงถึงขั้นตอนการบรรจุและการขนส่งที่เหมาะสม รวมถึงการร่วมมือกับเครือข่ายลูกค้าเพื่อช่วยกันพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคและร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ” คุณกรัณย์กล่าว

งาน ProPak Asia 2023 เป็นงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีกระบวนการผลิต แปรรูป และบรรจุภัณฑ์ สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม ยารักษาโรค และเครื่องอุปโภคบริโภคระดับนานาชาติ โดยมีกำหนดการจัดงานระหว่างวันที่ 14-17 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
 

Mr. Jose Saez : เปลี่ยนความแตกต่างเป็นไอเดียใหม่ในการทำงาน

การทำงานภายใต้ความหลากหลาย นับเป็นความท้าทายอีกรูปแบบหนึ่งที่ต้องอาศัยการปรับตัวและเปิดใจยอมรับในความต่างนั้น ครั้งนี้เรามีโอกาสได้พูดคุยเพื่อเรียนรู้มุมมองเกี่ยวกับการทำงานภายใต้วัฒนธรรมที่แตกต่างกับ Mr. Jose Saez Executive Director & Advisor ของ Deltalab ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบาร์เซโลนา ประเทศสเปน แม้จะมีความต่างในเรื่องภาษา และเวลาที่ห่างกัน6 ชั่วโมง แต่นั่นไม่ทำให้เกิดช่องว่างใด ๆ ในการสื่อสารและการทำงานร่วมกัน

 

“หน้าที่หลักของผมคือ ช่วยสนับสนุนการทำงานของทีม SCGP กับทีมงานของเราในสเปน ช่วยให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการ การวางกลยุทธ์ วางแนวทางการทำงานร่วมกัน เพื่อให้เราสามารถเชื่อมต่อกับSCGP ได้อย่างดีที่สุด

 

“ปัจจุบันการทำการตลาดให้ประสบความสำเร็จเป็นเรื่องที่ท้าทายและไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป โดยเฉพาะช่วงหลังสถานการณ์โควิด 19 และการเกิดสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ส่งผลให้ปีที่ผ่านมาต้นทุนวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้นมาก เรื่องการขนส่งก็ไม่ง่าย ท่ามกลางปัญหาต่าง ๆ เราก็ต้องพยายามเพิ่มยอดขายให้มากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่จะทำได้คือ ต้องคิดว่างานของเราไม่ได้เป็นแค่เรื่องของวันนี้หรือพรุ่งนี้ แต่เราต้องมองให้ไกลไปกว่านั้น ต้องมองให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่า ในอีก 5 ปี ธุรกิจจะเป็นอย่างไร เพื่อที่จะวางแผนกลยุทธ์ของบริษัทได้ ซึ่งจากความช่วยเหลือของ SCGP ผมเชื่อว่าเราจะชนะคู่แข่งในตลาดได้”

 

ความหลากหลาย แตกต่าง สู่การสร้างไอเดียใหม่ ๆ

“การทำงานท่ามกลางความหลากหลายไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผม ผมเข้าลงทุนใน Deltalab ตอนปี 2007 ในช่วง 16 ปีที่ผ่านมา เรามีการซื้อกิจการอื่น ๆ เพิ่มเติมเข้ามาเพื่อเติบโต มีบริษัทที่มาดริด วาเลนเซีย และมูร์เซีย การทำงานจึงค่อนข้างมีความหลากหลาย แม้สเปนจะเป็นประเทศเล็ก แต่เราก็มีความต่างทางภาษาและวัฒนธรรมเช่นกัน ผมอยู่บาร์เซโลนา พูดภาษาคาตาลัน ไม่ได้พูดสเปนเหมือนคนมาดริด โดยส่วนตัวผมคิดว่า ความแตกต่างหลากหลายในบริษัทเป็นสิ่งที่ดี จะช่วยสร้างอะไรใหม่ ๆ ได้มาก การได้ทำงานร่วมกับ SCGP ในฐานะพาร์ตเนอร์ก็เช่นกัน ข้อดีของการผสมผสานที่หลากหลายนี้จะทำให้เราได้ไอเดียใหม่เพิ่มเข้ามา ได้มุมมองความคิดใหม่ ๆ ซึ่งผมเชื่อว่าจะช่วยให้บริษัทเติบโตไปอีกมาก

 

“สิ่งที่ผมประทับใจในการทำงานร่วมกับ SCGP คือ การให้คุณค่าคนทำงานการประชุมแต่ละครั้ง เราจะหาจุดที่ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นคำนึงถึงคนทำงานเป็นหลัก ซึ่งนั่นมีประโยชน์ต่อจุดมุ่งหมายที่จะก้าวไปข้างหน้าของเรา

 

“สำหรับผม Passion ในชีวิตและการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ Deltalab ถือว่าเป็น Passion ของผมมานานกว่า 16 ปี ผมคิดว่าหากเราตื่นนอนตอนเช้า แล้วเรามีความรู้สึกอยากที่จะทำในสิ่งที่เราชอบหรือหลงใหลกับมัน เราจะประสบความสำเร็จในการทำงานแต่ละวัน หรือแม้แต่การดำเนินชีวิตแต่ละวัน และ Passion ไม่ได้หมายถึงแค่การทำงานเท่านั้นแต่เป็นเรื่องของการใช้ชีวิตทั้งกับครอบครัวและเพื่อน ๆ ด้วย นอกจากนี้ เรายังสามารถส่งต่อ Passion ให้กับคนรอบข้างได้อีกด้วย”

SCGP ต่อยอดแนวทาง ESG ผ่านการออกแบบนิทรรศการและสื่อต่าง ๆ จากวัสดุรีไซเคิลในงานประชุม APEC 2022 THAILAND

SCGP ต่อยอดแนวทาง ESG ผ่านการออกแบบการประชุมในลักษณะ Green Meeting โดยใช้กระดาษรีไซเคิลเป็นวัสดุจัดงานร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ เนื่องในโอกาสที่ประทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC 2022 Thailand

 

ทุกวันนี้การจัดประชุมหรือนิทรรศการจะมีการตกแต่งบูทให้สวยงาม แต่หากนำวัสดุใหม่ ๆ มาใช้ตลอดเวลา ขณะที่ทรัพยากรก็เริ่มลดลง อาจยิ่งเร่งวิกฤติโลกร้อน SCGP จึงสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าด้วยการนำแนวคิดของการนำมาใช้ซ้ำ ลดการใช้ และนำมาใช้ประโยชน์ได้อีก มาออกแบบการประชุมในลักษณะ Green Meeting โดยใช้กระดาษรี่ไซเคิลมาออกแบบและผลิตบูท ซึ่งนอกจากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังแข็งแรงทนทาน สามารถใช้จัดงานหรือจัดแต่งสถานที่ที่มีการจัดกิจกรรมได้ตลอดปี ไม่ว่าจะเป็นซุ้มประตูทางเข้า ฉากหลัง จุดถ่ายภาพ โพเดียม และสื่อในการประชาสัมพันธ์งาน หรือแม้แต่ถังขยะ SCGP ก็นำกระดาษมาเป็นวัตถุดิบหลักในการใช้งาน

 

หลังเสร็จสิ้นการใช้งาน นอกจากจะนำกระดาษมาทำเป็นกล่องให้ผู้เข้างานใส่ของกลับบ้านแล้ว SCGP ยังนำบูทกระดาษมารีไซเคิลใหม่ ผลิตเป็นชั้นวางหนังสือรักษ์โลกให้น้อง ๆ ในโรงเรียนที่ขาดแคลน ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะได้อีกด้วย

 

การนำกระดาษมาใช้เป็นวัสดุจัดงานประชุมหรืองานนิทรรศการไม่เพียงใส่ความคิดสร้างสรรค์ ดีไซน์เป็นสิ่งต่าง ๆ ได้มากมาย ไร้ข้อจำกัดแล้วยังแข็งแรงทนทาน ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า สร้างความประทับใจให้ทุกคน และเป็นการร่วมมือกันดูแลสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นอีกด้วย

 

ข้อดีของบูทกระดาษ

  • น้ำหนักเบา
  • ขนย้ายง่าย
  • ติดตั้งได้เร็วกว่านิทรรศการแบบเดิมถึง 2 เท่า 
  • ดีไซน์สวยงามสะดุดตา 
  • ใช้งานได้ตลอดทั้งปี หรือประมาณ 14 ครั้ง

 

บ้านส้มตำ เสิร์ฟความแซ่บด้วยคุณภาพ

จากไอเดียเริ่มต้นสร้างธุรกิจของคุณแม่สุภาพร ชูดวง จึงตัดสินใจเปิดร้าน “บ้านส้มตำ” เพื่อนำเสนออาหารตำรับอีสานที่เลือกใช้วัตถุดิบคุณภาพมาปรุงอย่างพิถีพิถัน ทำให้บ้านส้มตำ จากไอเดียเริ่มต้นสร้างธุรกิจของคุณแม่สุภาพร ชูดวง จึงตัดสินใจเปิดร้าน “บ้านส้มตำ” เพื่อนำเสนออาหารตำรับอีสานที่เลือกใช้วัตถุดิบ คุณภาพมาปรุงอย่างพิถีพิถัน ทำให้บ้านส้มตำ เติบโตจนเป็นที่ยอมรับและขยายความอร่อยไปสู่หลายพื้นที่ในปัจจุบัน

เป็นระยะเวลากว่า 17 ปีในการดำเนินธุรกิจ วันนี้ คุณพีรณัช ชูดวง กรรมการบริหาร บริษัทบ้านส้มตำ กรุ๊ป จำกัด ได้เข้ามารับช่วงต่อจากคุณแม่สุภาพร และใช้โอกาสนี้เล่าถึงทิศทางการสานต่อธุรกิจในเจเนอเรชันที่ 2 พร้อมเล่าเรื่องราวการทำงานกับพาร์ตเนอร์อย่าง SCGP ที่เข้ามาช่วยตอบโจทย์ด้านคุณภาพของบ้านส้มตำได้ดียิ่งขึ้น

 

ธุรกิจที่เริ่มจากแฟมิลี่ไทม์

“บ้านส้มตำเราเริ่มต้นเหมือนธุรกิจอื่น ๆ ครับ เราโตมาจากร้านตึกแถวเล็ก ๆ ขนาด 2 คูหา ซึ่งตอนนั้นคุณแม่อยากจะลาออกจากงานประจำจึงมานั่งคุยกันว่าจะทำอะไรดี บ้านเรากินอาหารอีสานเป็นประจำอยู่แล้วพวกจิ้มจุ่ม ส้มตำรถเข็นอะไรแบบนี้ เหมือนเป็นแฟมิลี่ไทม์ของบ้านเรา คุณแม่เลยตัดสินใจทำร้านอาหารอีสานแถวพุทธมณฑลสาย 2 ในปี 2548 และเติบโตมาเรื่อย ๆ ขยายปีละสาขา จนวันนี้มีทั้งหมด 11 สาขาครับ”

การเข้ามาบริหารธุรกิจร้านอาหารของคุณพี ถือเป็นบทบาทที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับสิ่งที่เขาสนใจ เพราะเรียนจบและทำงานในสาขานิเทศศิลป์ ก่อนจะตัดสินใจกลับมาช่วยสานต่อสิ่งที่คุณแม่ได้สร้างเอาไว้

“ผมอยู่กับธุรกิจที่บ้านมาตั้งแต่เรียนมัธยม พอถึงจุดที่ต้องเลือก ผมก็เลือกที่จะกลับมาช่วยที่บ้าน เพราะ Passion มั่นก็ยังอยู่ในชีวิตเราไม่ได้หายไปไหน ทุกวันนี้ผมก็ยังถ่ายรูปฟังเพลงอยู่เหมือนเดิม ผมเริ่มจากสิ่งที่ถนัดก่อนครับ เช่น การออกแบบเมนูของร้านใหม่ การถ่ายภาพรวมถึง Marketing and Sales จากนั้นก็ค่อย ๆ เรียนรู้ไป จนตอนนี้ดูแลทั้งบริษัท

“ช่วงเริ่มต้นคุณแม่บุกเบิกมาเยอะมาก พอมาถึงช่วงของเราคือ การต่อยอด ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าพื้นฐานมีอะไรบ้าง ในช่วงแรก อาจจะมีปัญหาเรื่องแนวความคิดกันบ้าง แต่ตอนนี้ก็โอเคแล้ว เพราะเรามองเห็นภาพตรงกันว่าอะไรที่เป็นผลดีกับธุรกิจ”

 

พาความแซ่บไปฝากทุกมุมเมือง

การเติบโตของธุรกิจมักมาพร้อมความท้าทาย คุณพีเล่าว่า ความท้าทายเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่สิ่งที่เขาให้ความสำคัญคือเรื่องคุณภาพอาหาร จึงทำให้ไม่ว่าความท้าทายจะมาในรูปแบบไหนก็ผ่านไปได้ บ้านส้มตำจึงเติบโตและเป็นตัวเลือกในใจของคนเมืองมาจนถึงทุกวันนี้

“ความท้าทายมีมาตลอด ตอนเปิดสาขาแรกได้ปีเดียว ถนนหน้าร้านก็เจอการก่อสร้างเลยต้องเปิดสาขาสองเพิ่ม หรือสาขาพระนั่งเกล้าเปิดมาได้ปีเดียวก็โดนน้ำท่วมช่วงปี 2554 ธุรกิจเรามาเข้าที่เข้าทางตอนเปิดสาขาสาทร เริ่มเป็นที่ยอมรับของคนกรุงเทพฯ มีกลุ่มลูกค้าต่างชาติ กลุ่มลูกค้าประจำ ธุรกิจโอเคขึ้น และขยายสาขาเพิ่มต่อเนื่อง

“จุดเด่นของเราคือ เป็นร้านอาหารอีสานที่เข้าถึงคนทั่วไปได้ง่าย ออกแบบร้านให้มีบรรยากาศที่สบาย ๆ รองรับกลุ่มลูกค้าที่เป็นครอบครัว กลุ่มเพื่อน หรือแม้กระทั่งกลุ่มลูกค้าต่างชาติ อีกหนึ่งจุดสำคัญคือ เรื่องคุณภาพ เราทำให้ทุกสาขามีรสชาติที่เหมือนกันได้ ไม่ว่าลูกค้า จะไปทานที่สาขาไหน เพราะเรามีครัวกลางที่รักษามาตรฐานของ ทุกสาขาให้เท่ากัน

“หลังจากโควิค 19 คลี่คลายลง เราวางแผนการขยายสาขาเพื่อรองรับการลงทุนและการท่องเที่ยว ในมุมของการเติบโตทางธุรกิจ เราอยากให้กำไรหมุนกลับไปสู่ผู้ผลิตรายย่อยอย่างกลุ่มเกษตรกร เพราะวัตถุดิบบางอย่างอาจจะหายไปได้ถ้าไม่มีการสนับสนุน เช่น น้ำตาลปี๊บ ซึ่งคุณแม่เล่าว่า ครั้งหนึ่งท่านต้องขับรถหาน้ำตาลปี๊บอยู่เกือบทั้งวัน จนได้ไปเจอผู้ผลิตรายหนึ่งที่อัมพวา ซึ่งยังผลิตด้วยกรรมธีดั้งเดิม เราก็ใช้น้ำตาลปี๊บของเขามาตลอด จนกระทั่งวันหนึ่งเขามาบอกว่าคนขึ้นตาลเริ่มหายากแล้ว ถ้าไม่หานวัตกรรมมาช่วย วัตถุดิบคงจะหมดไป ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะต้องพัฒนาและหาทางออกร่วมกันต่อ เพราะเราต้องเติบโตไปด้วยกัน เพื่อวัตถุดิบที่มีคุณภาพ”

 

SCGP พร้อมเป็นคู่คิดในการพัฒนา

“บ้านส้มตำร่วมงานกับ SCGP ช่วงที่คุณน้ายังดูเรื่องจัดซื้อของบริษัท พอผมเข้ามาดูแล ก็รู้สึกประทับใจกับ SCGP มากครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใส่ใจดูแลลูกค้ การนำเสนอสินค้า ผมคิดว่าธุรกิจใหญ่ที่ลงมาทำแพคเกจจิ้งแบบ Tailor-made หรือลงมาดูและรับฟังปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแบบ SCGP เป็นเรื่องที่ดี ซึ่งเรื่องแพคเกจจิ้งสำหรับเรา เป็นเรื่องใหญ่ หลายโรงงานอาจไม่อยากทำ Custom ให้เรา หรือต้องมาใส่ใจดูแลเราเหมือนที่ SCGP ทำ ซึ่งเราประทับใจมาก

“กล่องสำหรับใส่เมนูปลากะพงเป็นเคสที่ผมประทับใจมาก เราจะใช้ปลา ขนาดมาตรฐานคือ ยาวประมาณ 11-12 นิ้ว ซึ่งคุณไม่สามารถหากล่องขนาดที่จะใส่กับปลาไซซ์นี้ได้ตามท้องตลาด เราต้องตัดหางปลาออกเพื่อใส่ลงกล่องให้ได้ ซึ่งสำหรับเราที่เน้นเรื่องคุณภาพและความสวยงามมันดูไม่น่าทาน

“จนกระทั่งเรามีโอกาสทำงานร่วมกับ SCGP พัฒนาร่วมกันจนได้กล่องใส่ปลาที่มีขนาดพอดี นอกจากได้ขนาดกล่องแล้ว เราพัฒนาให้มีตัวล็อกและความแข็งแรงเพิ่ม เพื่อไม่ให้ปลาเสียหายและสะดวกต่อการจัดส่งดิลิเวอรี เพราะกล่องปลามีขนาดใหญ่ เวลาจัดส่งให้ลูกค้า กล่องปลามักจะถูกวางเป็นฐาน SCGP ก็รับโจทย์เราไปคิดว่า ควรใช้กระดาษหนาเท่าไร เคลือบด้วยอะไร จนออกมาเป็นกล่องที่ตอบโจทย์การใช้งานในทุกวันนี้ เป็นตัวอย่างที่ประทับใจมาก เพราะในช่วงโควิด 19 ร้านอาหารทุกร้านต้องปรับตัวกับการดิลิเวอรีอย่างมาก จากยอดขาย10 – 20% เพิ่มสูงขึ้นเป็น 50 – 60% ผมคิดว่าการพัฒนาสินค้าร่วมกันระหว่างบ้านส้มตำกับ SCGP น่าจะมีอีกหลายทางมาก เพราะ SCGP มีความเข้าใจลูกค้า ช่วยหาทางลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ และเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เราใส่ใจ ทั้งสองประเด็นนี้จะทำให้การใช้แพคเกจจิ้งของเรายั่งยืนในอนาคต ทั้งด้านธุรกิจและด้านสิ่งแวดล้อมด้วยครับ”

 

ดร. อดิศักดิ์ วรคุณพินิจ – ทำงานที่ชอบ ผสานการใช้ชีวิตอย่างลงตัว

 

ดร. อดิศักดิ์ วรคุณพินิจ

ทำงานที่ชอบ ผสานการใช้ชีวิตอย่างลงตัว

 

แนวคิดการทำงานและใช้ชีวิตของพี่ป้อม – ดร. อดิศักดิ์ วรคุณพินิจ Innovation and Product Development Director – SCGP ได้รับแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากการแชร์เรื่อง Work-Life Integration จากพี่วิชาญ CEO, SCGP เปรียบสิ่งที่ทำอยู่ทุกวันนี้ว่า การรวม เอางานและชีวิตส่วนตัวเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างกลมกลืนนั้น จะช่วยให้งานที่ทำน่าสนุกขึ้นและยังเป็นแรงบันดาลใจดี ๆ ให้ชีวิตได้อีกด้วย

 

ภารกิจ “มองหาโอกาสใหม่” ให้องค์กร

 

“พี่เริ่มต้นจากวิศวกรที่ศูนย์พัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ ดูแลงานด้านพัฒนากระดาษ จากนั้นก็ได้ทุนของบริษัทไปเรียนต่อปริญญาโทและเอกด้านเยื่อและกระดาษที่สหรัฐอเมริกาช่วงปี 2540 – 2546 พอกลับมาได้รับโอกาสให้เป็นนักวิเคราะห์โครงการที่สำนักงานวางแผนธุรกิจซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนแรกที่ทำให้เห็นภาพของธุรกิจมากขึ้น เห็นการวางแผนธุรกิจ ได้เรียนรู้การทำธุรกิจจากพี่ ๆ และได้ลองคิดและวิเคราะห์การลงทุนในหลายมุมมอง ต่อมา ได้กลับไปทำงานวิจัยที่ศูนย์พัฒนาฯ อีกครั้งในตำแหน่งนักวิจัยอาวุโส เราก็ได้เอามุมมองทั้งฝั่งเทคนิคและฝั่งธุรกิจมาช่วยทีมวางแผนต่าง ๆ จนปัจจุบันพี่ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาฯ คอยดูแลและผลักดันงานวิจัยให้ไปสู่เชิงพาณิชย์มากขึ้น

 

“ทิศทางการทำงานของเราคือ การพยายามหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ หรือ New s-Curve เนื่องจากทีมเรามีศักยภาพ ความรู้ ความเชี่ยวชาญและมีเครื่องมือหลากหลาย สามารถทำอะไรได้มากกว่าบรรจุภัณฑ์ เช่น ต่อยอดธุรกิจจากปลูกไม้ยูคาลิปตัส มาทดลองปลูกสมุนไพร สกัดถั่งเช่าออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นต้น ซึ่งในอนาคตสามารถต่อยอดได้อีกหลายธุรกิจ

 

“เราจะนำโจทย์ที่ได้มากำหนดเป้าหมาย ทำแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี ซึ่งทุกคนในหน่วยงานต้องเห็นภาพเดียวกัน โดยแผนดังกล่าวจะไปสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และโอกาสทางธุรกิจของบริษัท พี่ๆ ก็จะช่วยดูว่าทิศทางที่จะไปตามแผนนั้นมีอะไรบ้าง แล้วมาจัดการเรื่องทรัพยากร ไม่ว่าจะเรื่องคน เครื่องมือ หรือวางแนวทางการทำงานร่วมกันเพื่อให้เป้าหมายชัดเจนขึ้น”

 

เข้าใจในความหลากหลาย สื่อสารอย่างเข้าถึง

 

“จากที่เคยดูแลน้องในทีมไม่กี่คน เมื่อมีทีมงานและเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นต้องผสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกการสื่อสารถือเป็นเรื่องสำคัญมาก

“ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเข้าใจลูกค้าแต่ละรายที่ความต้องการแตกต่างกัน การโน้มน้าวให้ลูกค้าเห็นประโยชน์ในสิ่งที่ทีมกำลังทำ ล้วนต้องการการสื่อสารที่ดี ขณะเดียวกันเมื่อบริษัทเติบโตไปในธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง และขยายออกนอกภูมิภาคมากขึ้น ต้องเรียนรู้ว่าลูกค้ากำลังมีปัญหาอะไร ต้องพยายามออกแบบสินค้าและบริการให้สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้หลากหลาย และที่สำคัญต้องสร้างผลตอบแทนให้บริษัทได้ด้วย

“พี่ชอบลงมือทำ เพราะทำให้ได้คำตอบ ทำให้เราเห็นจุดดีและจุดที่ต้องปรับปรุง สามารถให้คำแนะนำน้อง ๆ ได้ซัดเจนขึ้น การทำงานในทีมที่มีหลายช่วงวัยอาจจะแตกต่างกันบ้าง เห็นได้ชัดว่า Gen Y กับ Gen Z มี Work -Life Balance ที่มากกว่า ซึ่งพี่ก็ต้องพยายามเรียนรู้ที่จะบาลานซ์ชีวิตเขาด้วย ช่วงหลังเลิกงานก็ให้น้อง ๆ มีเวลาส่วนตัวพี่มีโอกาสได้เรียน Soft Skill อยู่หลายหลักสูตร สิ่งหนึ่งที่นำมาประยุกต์ใช้คือ ความเห็นใจผู้อื่น ต้องพยายามเข้าใจเขา สื่อสารกันเรื่องเป้าหมาย ส่วนวิธีการไม่ต้องไปบังคับ พยายามคุยกันมากขึ้นและดูว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่ามันเป็นไปได้ไหม มีอุปสรรคอะไร และจะแก้ไขอย่างไร ใช้การสื่อสารทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ให้บอกเล่าปัญหาในการทำงาน การพูดคุยกันส่วนตัวจะช่วยให้น้องเปิดใจมากกว่าคุยแบบกลุ่ม และเราก็สร้างแรงบันดาลใจในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ระหว่างทางพยายามหาทางเติมพลัง หรือให้เขาไปทำกิจกรรมอื่นที่ผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อกลับมามีพลังมากกว่าเดิม

“เรื่องการทำงานแบบ Cross Function ต้องเข้าใจว่าแต่ละหน่วยงานมีเรื่องที่โฟกัสแตกต่างกัน ต้องสื่อสารให้เขาเห็นว่าสิ่งที่กำลังทำร่วมกันมีความสำคัญ มีประโยชน์ต่อลูกค้าและบริษัท พี่คิดว่าการทำงานแบบมืออาชีพ ด้วยการร่วมมือกันทำงานอย่างแข็งแกร่งใน SCGP จะส่งผลให้เราตอบโจทย์และเป็นที่หนึ่งในใจลูกค้าได้อย่างยั่งยืนในที่สุด”

 

WORK-LIFE INTEGRATION

 

“พี่อาจดูเหมือนเป็นคนบ้างานอยู่บ้าง ต้องใช้เวลาทำงานเยอะกว่าคนอื่น เพราะเรามีงานบริหาร ต้องดูแลพี่น้องหลายสิบคน แต่ก็หาวิธีบริหารเวลาให้ทั้งกับครอบครัวและตัวเองด้วยเหมือนกัน

 

“ส่วนตัวพี่รู้สึกว่า การทำงานทำให้รู้สึกสนุก อยากทำมันให้ดีที่สุด พยายามจะหาแนวคิดใหม่ ๆ ไม่ให้งานที่ทำซ้ำซากจำเจ พี่ไม่ค่อยมีจุดที่รู้สึกท้อมีแต่จุดที่อยากพักสักนิด ไปทำงานอดิเรกเพื่อผ่อนคลาย เช่น การทำสวนซึ่งได้แรงบันดาลใจตอนพัฒนา OptiBreath บรรจุภัณฑ์ยืดอายุผักและผลไม้ จากที่ต้องศึกษาหาข้อมูลเชิงลึก ต้องไปคุยกับชาวสวนเจ้าของธุรกิจ จนอินไปกับมัน และกลายมาเป็นงานอดิเรกในที่สุด

 

“การทำงานให้สำเร็จ พี่ยึดหลัก 2 อย่าง คือ 1. Passion ในการทำงานมีความสุขกับสิ่งที่ทำ ตื่นเช้ามาแล้วอยากทำงาน และ 2. ความอยากเรียนรู้อยู่ตลอด เพราะเชื่อว่าเราไม่ได้เก่งทุกอย่าง เราสามารถต่อยอดได้จากทุกสิ่ง การเรียนรู้จากคนอื่นทำให้ได้มุมมองใหม่ ๆ มาเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเรา และการแลกเปลี่ยนมุมมองกับทีมและคนอื่น ๆ จะช่วยให้เราคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้

 

“การเรียนรู้มันไม่จำกัด ยิ่งตอนนี้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญที่ยินดีจะแบ่งปันเรื่องต่างๆ ได้ง่าย ขอแค่เรากล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ทำให้เรามีองค์ความรู้ที่หลากหลายมากขึ้น

 

 

ที่มา a LOT Vol.29
https://www.scgpackaging.com/th/alotNewsletter

เข็มทิศการตลาดปี 2023 3 มิติ 3 เทรนด์ 3 เทคโนโลยี และ 3 การตลาดที่ธุรกิจต้องโฟกัส

สำหรับปี 2566 ผศ. ดร.เอกก์ ภทรธนกุล ได้หยิบเอาผลสำรวจเรื่องเทรนด์การตลาด ที่สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยได้เก็บข้อมูลการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ จากผู้บริหารสูงสุดขององค์กรในประเทศไทยและนักวิชาการที่มีชื่อเสียงรวม 156 คน เพื่อเป็นเข็มทิศนำทางการทำงานให้แบรนด์ในช่วงเวลาที่หลายคนเชื่อว่า ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

3 เทรนด์ 3 มิติ 3 เทคโนโลยีที่ต้องจับตา

 

เริ่มต้นที่มิติเศรษฐกิจ มีการคาดการณ์ว่าในปี 2023 เศรษฐกิจไทยจะเติบโตอยู่ราว 5% สอดคล้องกับที่แบงก์ชาติสิงคโปร์ระบุว่าเศรษฐกิจ ในแถบอาเซียนจะโตขึ้นราว 2.5% โดยมีประเด็นสำคัญที่ควรจับตามองคือ1. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคที่รวดเร็ว 2. เศรษฐกิจโลกจะ ตกต่ำรุนแรง 3. ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล

 

ทางมิติของลูกค้าหรือผู้บริโภคจะสนใจมากที่สุด 3 เรื่อง 1. คุณภาพ (Quality) ลูกค้าจะกลับไปหาสิ่งที่เป็นพื้นฐานอีกครั้งคือ คุณภาพของสินค้า 2. ทดลองของใหม่ (Trialability) เปิดโอกาสให้แบรนด์ใหม่ ฟังก์ชันใหม่ เรื่องราวใหม่ที่ยั่วยวนใจ เพราะวิกฤตที่ผ่านมา อะไรที่ไม่เคยทำก็ได้ทำทั้งสั่งอาหารออนไลน์ จ่ายเงินออนไลน์ ปีนี้จึงจะเป็นปีที่ลูกค้าสนุกกับการทดลอง 3. การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) สินค้าผลิตอย่างไร คาร์บอนฟุตพริ้นท์เท่าไร ใช้อะไรในการผลิต มีความรับผิดชอบต่อสังคมหรือไม่ อุตสาหกรรมจะถูกตรวจสอบตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

 

มิติของเจ้าของธุรกิจ ธุรกิจใดที่วางแผนจะลดงบประมาณลง น่าจะแข่งขัน ในธุรกิจได้ค่อนข้างยาก ควรเตรียมงบการตลาดเอาไว้ 5 – 10% แล้วนำไปลงทุ่นกับ 3 เรื่องคือ 1. Commerce แพลตฟอร์มการขาย 2. Content เนื้อหาที่ดึงดูดใจ และ 3. Payment สนับสนุนพฤติกรรมการจ่ายเงินของลูกค้า ควรเชื่อมโยงแพลตฟอร์มการขายเข้ากับรูปแบบการจ่ายเงินประเภท e-Wallet ต่าง ๆ ที่ลูกค้าต้องการใช้ นอกจากนี้ เทคโนโลยีอย่าง AI จะเข้ามามีส่วนช่วยนักการตลาดค่อนข้างมาก จนบริษัทสามารถลดต้นทุนทางการตลาดได้ และเรื่อง IoT หรือ Internet of Things ที่เชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตเข้ากับเครื่องมือต่าง ๆ รอบตัว จะทำให้สามารถเก็บข้อมูลลูกค้าได้อย่างมหาศาลเหมือนอย่างที่ Mi ทำมาแล้ว รวมถึงเรื่อง Biotechnology ซึ่งเทคโนโลยี 3 อย่างนี้ ต้องเร่งศึกษาและหาช่องทางใช้ประโยชน์แก่ธุรกิจให้ได้

 

BANI WORLD โลกที่ผู้บริหารต้องเรียนรู้ให้เร็ว ปรับตัวให้ทัน

 

โลกใหม่ในปีนี้ถูกนิยามเอาไว้ว่า BANI World เป็นนิยามที่ชี้ให้เห็นว่าถัดจากนี้ โลกเป็นอย่างไร และธุรกิจต่าง ๆ ควรทำอย่างไร ทักษะอะไรที่ผู้บริหารควรมี

 

B – Brittle ความเปราะบาง โมเดลธุรกิจจะสามารถแตกสลายได้ง่ายและรวดเร็วมาก นักธุรกิจไม่ควรมั่นใจในโมเดลธุรกิจที่ทำอยู่ ควรเปิดทางเลือกให้มากเพื่อกระจายความเสี่ยง ทำธุรกิจให้หลากหลาย และคิดสิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา

 

A – Anxious ความกังวล เมื่อธุรกิจมีคู่แข่งเกิดขึ้น จะทำอย่างไรให้เลิกกังวล คำตอบคือ ความกังวลนี้จะอยู่ตลอดไป ให้ถือเป็นเรื่องปกติ แล้วเรียนรู้ให้มากขึ้น จะไม่มีอะไรแน่นอนเหมือนในอดีตอีกแล้ว

 

N – Nonlinear คาดเดาได้ยาก ธุรกิจไม่ต้องวางแผนยาว 3 ปี 5 ปี อีกต่อไป ให้เปลี่ยนจาก Planning เป็น Experimenting อยากทำอะไรรีบทำ แต่ให้ทำแบบเล็ก ๆ ก่อนแล้วแก้ไขไปทีละจุด เพราะโลกเปลี่ยนเร็วมาก ถ้ามัวแต่วางแผนจะไม่ได้ทำ 

 

I- Incomprehensible ทำความเข้าใจได้ยาก สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นการตัดสินใจหรือการแก้ปัญหาที่ไม่เคยเจอมาก่อน จะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยากมาก และทักษะการแก้ปัญหาของคนจะถูกฝึกฝนอย่างมากในอนาคต

 

2023 คือปีแห่งการตลาดแบบ 3P

 

P1. Personalized Marketing – การตลาดเฉพาะบุคคล เป็นการตลาดที่แบ่งลูกค้าเป็นรายตามความต้องการ เพราะต่อให้อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ความต้องการก็ไม่เหมือนกัน เทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยให้ค่าใช้จ่ายในการทำ Personalized ถูกลง อย่างระบบ CRM (Customer Relationship Management) และ CEM (Customer Experience Management) ที่บริษัทต่าง ๆ เริ่มเรียนรู้มากขึ้นแล้วว่า ระบบเหล่านี้ เป็นเครื่องสร้างรายได้ ไม่ต่างจากลงทุนซื้อเครื่องจักรมาผลิตสินค้ายิ่งลงทุนเรื่องนี้มาก ธุรกิจก็สามารถสร้างคุณค่าให้ลูกค้าได้มากขึ้นตามไป

 

P2. Precision Marketing – การตลาดแบบแม่นยำ จากสมัยก่อนที่ทำแบบ Mass โปรยโฆษณาไปทางนิตยสารหรือทีวี เปลี่ยนเป็นการยิงปืน สไนเปอร์ไปสู่เป้าหมาย โดยมี AI ของ Facebook และ Googleช่วยคิดให้ หากไม่เรียนรู้ ต้นทุนการตลาดจะแพงมาก

 

P3. Performance Marketing – การตลาดแบบมีประสิทธิภาพ เพราะการตลาดแบบสร้างภาพลักษณ์กำลังจะตกยุค เทคโนโลยีทุกวันนี้สามารถบอกได้ว่า ลงทุนการตลาดไปแล้ว ทำให้เกิดปริมาณการซื้อหรือซื้อซ้ำได้ชัดเจนมากขึ้น ช่วยให้ลงทุนกับการตลาดอย่างสบายใจมากขึ้น

 

ที่มา a LOT Vol.29
https://www.scgpackaging.com/th/alotNewsletter

PASSION คือ ความสนุกและความสุขในการทำงาน

การมองงานเป็นความสนุกและท้าทายในแต่ละวัน อาจป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ทุกวันของเรามีเป้าหมาย จนกลายเป็นการทำงานอย่างเป็นสุข เช่นเดียวกับเรื่องที่เราได้ฟังจากผู้บริหารและเพื่อนพนักงานจากบริษัทคอนิเมก จำกัด ใน SCGP ที่ได้มาแบ่งปันเรื่องราวและวิธีคิดดี ๆ ในการทำงาน

 

“พี่ดูแลเรื่องการบริหารบุคคล พี่จะให้ความสำคัญกับการสื่อสารโดยใช้วิธีแบบ Soft Side เน้นขอความช่วยเหลือมากกว่าการสั่ง ปัจจุบัน SCGP เข้ามาช่วยแนะนำเรื่องการบริหารงานที่เป็นระบบมากขึ้น ซึ่งมีประโยชน์ในระยะยาวแก่พนักงานและองค์กร ซึ่งบางอย่างเปลี่ยนไปจากเดิม เราต้องปรับ Mindset ให้เขาเข้าใจว่า บริษัทยังรักและดูแลเขาเหมือนเดิม ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ และความมั่นคงในชีวิตเขา การสื่อสารที่ชัดเจนช่วยให้เขาเข้าใจได้ง่ายขึ้น

 

“Passion สำหรับพี่คือ ความสนุก อยากจะทำอะไรใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาทักษะให้มากขึ้น ทำให้พนักงานของเรามีความสุขขึ้น และในภาพรวมทำให้องค์กรมีคุณค่ามากขึ้น การทดลองทำสิ่งใหม่ ทำให้เรารู้ว่าเรามีศักยภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ ไม่จำเป็นต้องสำเร็จทุกอย่าง ขอแค่ลองทำ และตอบตัวเองว่าเราทำได้หรือทำไม่ได้ ถ้าไม่ได้ก็จะลองวิธีใหม่ ต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่ และเป็นความโชคดีที่ทาง SCGP ก็สนับสนุนแนวคิดแบบนี้

 

“ลองคิดดูว่าตอนเด็กเราเคยชอบอะไรบ้าง โตมาความชอบอาจเปลี่ยนไป สิ่งที่เรียกว่า Passion มันอาจจะเกิดขึ้นใหม่อยู่ตลอด Passion ในมุมมองของพี่ ไม่จำเป็นต้องหลงใหลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเดียว ถ้าเราขยันเรียนรู้ ลองออกจาก Comfort Zone จะทำให้เราเห็นคุณค่ใหม่ ๆ ในตัวเอง นี่คือนิยามของคำว่า Passion ในแบบฉบับพี่”

 

ดร.พรรษชล ลิมธงชัย

HR and Procurement Director

 

“พี่ดูแลแผนก RMC (Raw Material Control) งานหลักเป็นเรื่องการจัดการเกี่ยวกับวัตถุดิบ ความท้าทายของงานคือ การบริหารต้นทุนวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด วางแผนสูตรการผลิต ลดความสูญเสียในกระบวนการ ช่วยให้สายการผลิตสามารถผลิตงานได้คุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้า

 

“การทำงานอย่างมีเป้าหมายคือแรงบันดาลใจสำคัญของพี่ เช่น ตอนนี้พี่มีเป้าหมายในการลดเศษพลาสติกจากการผลิตให้มากที่สุด โจทย์นี้เป็นโจทย์ที่ท้าทาย เราต้องหาทางแก้ไปเรื่อย ๆ พร้อมทั้งสอนน้อง ๆ ให้ช่วยกันออกไอเดีย ถ้าเรามีเป้าหมายที่ซัดเจน เราจะสนุกกับงาน สนุกกับความท้าทายว่าเราจะทำตามเป้าได้ไหม

 

“พี่ทำหน้าที่อยู่ตรงกลางระหว่างผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงาน การบริหารทีมจะต้องแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง เป็นทีมเดียวกันกับเขา ติดปัญหาก็ปรึกษากัน เรานำประสบการณ์ที่เคยเจอทั้งหมด ถ่ายทอดให้น้อง ๆ ด้วยการสอนให้ทุกคนมองภาพรวมของบริษัท การให้คำแนะนำและสนับสนุนในการหาเครื่องมือเข้ามาช่วยสร้างมาตรฐานในการทำงาน เพื่อสามารถส่งต่องานหรือทำงานทดแทนกันได้ เพราะเราอยากให้น้องทุกคนได้ฝึกฝน รวมถึงให้กำลังใจเพื่อเดินหน้าไปด้วยกัน”

 

ปราโมทย์ เพ็งแจ่ม

Raw Material Control

SCGP ต่อยอดแนวทาง ESG ใช้นวัตกรรมกระดาษ ในงานประชุม APEC 2022 THAILAND

SCGP ต่อยอดแนวทาง ESG ผ่านการออกแบบการประชุมในลักษณะ Green Meeting โดยใช้กระดาษรีไซเคิลเป็นวัสดุจัดงานร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ เนื่องในโอกาสที่ประทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC 2022 Thailand

 

ทุกวันนี้การจัดประชุมหรือนิทรรศการจะมีการตกแต่งบูทให้สวยงาม แต่หากนำวัสดุใหม่ ๆ มาใช้ตลอดเวลา ขณะที่ทรัพยากรก็เริ่มลดลง อาจยิ่งเร่งวิกฤติโลกร้อน SCGP จึงสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าด้วยการนำแนวคิดของการนำมาใช้ซ้ำ ลดการใช้ และนำมาใช้ประโยชน์ได้อีก มาออกแบบการประชุมในลักษณะ Green Meetingโดยใช้กระดาษรี่ไซเคิลมาออกแบบและผลิตบูท ซึ่งนอกจากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังแข็งแรงทนทาน สามารถใช้จัดงานหรือจัดแต่งสถานที่ที่มีการจัดกิจกรรมได้ตลอดปี ไม่ว่าจะเป็นซุ้มประตูทางเข้าฉากหลังจุดถ่ายภาพ โพเดียม และสื่อในการประชาสัมพันธ์งาน หรือแม้แต่ถังขยะ SCGP ก็นำกระดาษมาเป็นวัตถุดิบหลักในการใช้งาน

 

หลังเสร็จสิ้นการใช้งาน นอกจากจะนำกระดาษมาทำเป็นกล่องให้ผู้เข้างานใส่ของกลับบ้านแล้ว SCGP ยังนำบูทกระดาษมารีไซเคิลใหม่ ผลิตเป็นชั้นวางหนังสือรักษ์โลกให้น้อง ๆ ในโรงเรียนที่ขาดแคลน ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะได้อีกด้วย

 

การนำกระดาษมาใช้เป็นวัสดุจัดงานประชุมหรืองานนิทรรศการไม่เพียงใส่ความคิดสร้างสรรค์ ดีไซน์เป็นสิ่งต่าง ๆ ได้มากมาย ไร้ข้อจำกัดแล้วยังแข็งแรงทนทาน ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า สร้างความประทับใจให้ทุกคน และเป็นการร่วมมือกันดูแลสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นอีกด้วย

 

ข้อดีของบูทกระดาษ

  • น้ำหนักเบา
  • ขนย้ายง่าย
  • ติดตั้งได้เร็วกว่านิทรรศการแบบเดิมถึง 2 เท่า 
  • ดีไซน์สวยงามสะดุดตา 
  • ใช้งานได้ตลอดทั้งปี หรือประมาณ 14 ครั้ง