SCGP Newsroom

DAIRY HOME วิสาหกิจเพื่อสังคมที่เติบโตอย่างยั่งยืน

หลังจากได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตนมในรูปแบบฟาร์มอินทรีย์ คุณพฤฒิ เกิดชูชื่น ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ
บริษัทแดรี่โฮม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ได้นำเอาองค์ความรู้ที่รวบรวมมาจากหลายแหล่งในต่างประเทศ มาลองปรับใช้กับสภาพแวดล้อมแบบเมืองไทย โดยชักชวนเกษตรกรฟาร์มโคนมให้ปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการแบบฟาร์มอินทรีย์ เพื่อให้ได้น้ำนมที่มีคุณภาพสูง และสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก 100 เปอร์เซ็นต์
ในโอกาสนี้เราจึงถือโอกาสไปล้อมวงนั่งฟังเรื่องเล่าของคุณพฤฒิ ทั้งแง่คิดในการดำเนินธุรกิจ ทั้งมุมมองเรื่องวิสาหกิจเพื่อสังคม ตลอดจนเรื่องราวการทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์อย่าง SCGP ไปพร้อมกัน

 

เพาะเมล็ดเกษตรอินทรีย์ต้องใช้เวลา

“ช่วงแรก ๆ เราเรียกว่าช่วง Learning Curve มีความท้าทายมากมายครับ เพราะแนวคิดแบบนี้ในประเทศไทยยังไม่มีใครทำมาก่อน และการทำฟาร์มโคนมมี Value Chain ที่ยาวมาก เกษตรกรไม่ได้เป็นผู้ผลิตปัจจัยการผลิตเองทั้งหมด ต้องพึ่งพาจากหลายที่ ซึ่งแต่เดิมเราผลิตนมแบบเน้นปริมาณ วัวหนึ่งตัวจะถูกผลักดันให้ได้น้ำนมเยอะ ๆ แต่ปัจจุบันเราเปลี่ยนมาทำฟาร์มแบบออร์แกนิก เป็นการผลิตที่มองเรื่องความเหมาะสมเป็นหลัก เกษตรกรผลิตอาหารวัวได้เองในฟาร์ม ทำให้วัวได้กินอาหารที่เหมาะกับเขาจริง ๆ ส่งผลให้ต้นทุนลดลงและกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น เรื่องนี้ต้องใช้เวลาจึงจะเห็นผล เราจึงไม่รีบร้อน กว่าจะเห็นดอกผลจริง ๆ คือ ปีที่ 10 แต่ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะเราอยากให้แนวคิดนี้มันแจ่มชัดจริงๆ ไม่ใช่การเอาผลประโยชน์เยอะ ๆ มาจูงใจ

 

“จากการเริ่มต้นแค่ฟาร์มเดียว ในวันนี้มีฟาร์มที่ทำนมอินทรีย์กับเราประมาณ 30 ฟาร์ม นอกจากนี้ เรายังร่วมมือกับเกษตรกรที่ทำฟาร์มประเภทอื่นด้วย เพราะการทำเกษตรอินทรีย์พร้อมกันหลาย ๆ อย่างจะช่วยเกื้อกูลกัน”

 

วิสาหกิจเพื่อสังคมที่เติบโตอย่างยั่งยืน

โมเดลธุรกิจแบบวิสาหกิจเพื่อสังคมของแดรี่โฮมมาจากเหตุผลที่น่าสนใจหลายข้อรวมกัน ทั้งการผลิตนมที่มีคุณภาพปลอดสารปนเปื้อนเพื่อผู้บริโภค ความยั่งยืนในอาชีพของเกษตร และการลดภาระของสิ่งแวดล้อม ด้วยการงดใช้สารเคมีในการเกษตร ซึ่งเป็นเหมือนเข็มทิศในการดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ต้น

 

“ในการทำธุรกิจ สิ่งที่เรายึดถือมาตลอดคือ การเป็น Social Enterprise ซึ่งเป็นโมเดลที่ดูแลทั้งตัวเอง ชุมชนและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนต้องได้ประโยชน์จากการทำงานของเราร่วมกัน เหตุผลในการคงอยู่ของธุรกิจคือ สามารถแก้ปัญหาหรือสร้างสิ่งดี ๆ ให้กับผู้บริโภค ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนไปด้วยกัน ในปัจจุบันธุรกิจต้องรวมทุกคนเข้ามาเป็นผู้ส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งพนักงาน คู่ค้า สิ่งแวดล้อมและชุมชน

 

“ปัจจุบันนี้ผลิตภัณฑ์ของเราแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ 1. นมพร้อมดื่ม 2. โยเกิร์ต และ 3. นมอัดเม็ด และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกหลายอย่างที่ไม่ได้ทำตลาดมากนัก เราเชื่อว่าสินค้าจะต้องไปได้ด้วยตัวเอง ผู้บริโภคชิมแล้วช่วยบอกต่อโดยที่เราไม่ต้องโฆษณาเยอะ

 

“ในการวางแผนเพื่อการเติบโตของธุรกิจนั้น ทุกอย่างต้องสอดคล้องกันทั้งหมด ทั้งแผนด้านวัตถุดิบ ความต้องการของตลาด ความสามารถของทีมงาน และกำลังการผลิตของโรงงาน ตัวอย่างเช่น สถานการณ์ช่วงโควิด 19 ที่เมื่อเราพบว่าคนอยู่บ้านมากขึ้น เราก็สามารถออกสินค้าและทำการตลาดสำหรับลูกค้ากลุ่มนี้ เพื่อส่งเสริมให้ยอดขายเราดีขึ้นนอกจากนี้ ที่ผ่านมาเรายังได้เกษตรกรกลุ่มใหม่ที่ผ่านการตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์มาเพิ่ม ทำให้สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้อีกด้วย จริง ๆ แล้วผลิตภัณฑ์ที่เราพัฒนางานวิจัยมานั้นยังมีอีกจำนวนมากและเราทำงานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เพื่อพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ ตอบโจทย์ลูกค้าต่อไปครับ”

 

นวัตกรรม ต้องกล้าลงมือทำ เพื่อตอบโจทย์แท้จริง

นวัตกรรม ต้องกล้าลงมือทำ เพื่อตอบโจทย์แท้จริง

 

นวัตกรรมเป็นมากกว่าการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือการใส่เทคโนโลยีล้ำสมัยลงไปในสิ่งต่างๆ เพราะจริงๆ แล้วหัวใจสำคัญของนวัตกรรมคือ การเป็นโซลูชันที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคหรือกลุ่มลูกค้าได้จริง จนกระทั่งเกิดการยอมรับทั้งในมิติด้านเทคโนโลยีและด้านการตลาด ซึ่งควรพัฒนาควบคู่กันไปอย่างยั่งยืน ดังนั้นการจะสร้างนวัตกรรมตามแนวทางดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาผ่านการทดลองและลงมือทำจริง พิสูจน์คุณค่าของนวัตกรรมนั้นให้ลูกค้าเห็นและยอมรับ สามารถตัดสินใจซื้อได้ทันที

 

นวัตกรรมเกิดจากการคิดที่จะ “เปลี่ยนแปลง”

 

นวัตกรรมสุดคลาสสิกแบรนด์หนึ่งของโลกอย่าง Coca-Cola เครื่องดื่มรสโคล่าผสมโซดา ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคที่ผู้คนอเมริกันนิยมดื่มเครื่องดื่มชูกำลังนอกบ้าน การค้นพบรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ไม่เพียงทำให้โค้กได้รับความนิยมต่อเนื่อง หากยังรวมถึง “ขวดบรรจุภัณฑ์ทรงเอวคอด” ที่เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1915 อัตลักษณ์ที่สร้างภาพจำแก่ลูกค้ามานานกว่าร้อยปี และตอบโจทย์การจับ ถือ หรือยกดื่มได้สะดวก แม้ว่าโค้กจะเลือกเปลี่ยนแปลงดีไซน์ขวดเพียงเล็กน้อย ก็ยังคงยืนหนึ่งในตลาดเครื่องดื่มได้เรื่อยมา สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการออกแบบที่ตอบโจทย์การใช้งาน และการสร้างภาพจำ ซึ่งผ่านการยอมรับของกลุ่มผู้บริโภคอย่างหนึ่งด้วย

 

นวัตกรรมจึงไม่ใช่ “สิ่งใหม่ที่หวือหวา” เสมอไป แต่อาจเป็นการพัฒนาสินค้าเดิมเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้มีคุณค่ามากกว่าเดิม เพื่อให้สินค้านั้นยังครองใจผู้บริโภค เรียกว่า Sustaining Innovation นวัตกรรมกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักได้รับการตอบรับที่ดีและธุรกิจยังคงแข่งขันได้ทุกยุคสมัย

 

นวัตกรรมอีกรูปแบบหนึ่งคือ Breakthrough Innovation การสร้างสิ่งใหม่ที่ทำให้เรารู้สึก “ว้าว” การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมักจะเข้ามาพลิกโฉมโลกและส่วนใหญ่มีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยขับเคลื่อน เช่น การเกิดขึ้นของ MP3 ที่เคยเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการฟังเพลงผ่านเทปแคสเซ็ต หรือไอโฟนที่นำไปสู่การเติบโตของตลาดสมาร์ตโฟน รวมถึงการพัฒนาระบบดูภาพยนตร์แบบสตรีมมิ่งของ Netflix ที่อำนวยความสะดวกให้คนที่อยากเสพคอนเทนต์ภาพยนตร์และซีรีส์แบบเข้าถึงง่าย ทำให้ธุรกิจซีดี ดีวีดี โรงภาพยนตร์ และโทรทัศน์ค่อย ๆ เสื่อมความนิยม เป็นต้น นวัตกรรมเหล่านี้ได้ก่อเกิดสิ่งใหม่ที่เข้ามาทำตลาดแทนที่ธุรกิจแบบเดิมการยอมรับจากผู้คนทั่วโลกก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกชัดว่า นี่คือนวัตกรรมที่ถูกคิดค้นมาอย่างดี พิสูจน์แล้วว่าตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และสร้างแรงกระเพื่อมไปสู่ธุรกิจอื่นที่ต้องการส่วนแบ่งการตลาด ว่ากันว่าธุรกิจใหญ่ ๆ ในโลกต่างก็คิดค้นนวัตกรรมทั้ง 2 รูปแบบนี้ควบคู่กันไปเพื่อให้ธุรกิจเดิมยังคงครองตลาดได้ และเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นมาพลิกความนิยมของผู้คน อย่าง TikTok ที่ค่อย ๆ ได้รับความนิยมแทนที่ Facebook และ YouTube

 

สร้างนวัตกรรมที่พิสูจน์ให้ลูกค้ายอมรับและยอมจ่าย

 

การสร้างสรรค์นวัตกรรมให้เป็นแค่สิ่งใหม่ ไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เพียงอย่างเดียว แต่ไม่สามารถตอบโจทย์หรือช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้จริง นวัตกรรมนั้นย่อมไม่ยั่งยืน ไปต่อได้ยาก และไม่อาจเป็นนวัตกรรมที่แท้จริงได้ แต่จะเป็นแค่สิ่งประดิษฐ์ ดังนั้น การเข้าใจและเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคจริง ๆ คือสิ่งแรกที่นวัตกรต้องใช้เวลาศึกษาและเรียนรู้ เพื่อคิดหาแนวทางสร้างสรรค์บางสิ่งขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการแก่ผู้ใช้งานสิ่งนั้น ๆ ตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น Canva แอปพลิเคชันที่ช่วยให้ทุกคนสามารถออกแบบอาร์ตเวิร์กสวย ๆ ได้เหมือนกราฟิกดีไซเนอร์มืออาชีพ ตอบรับยุคสมัยที่ทุกคนต้องการ สร้างแบรนด์หรือภาพลักษณ์ของตนเองผ่านโซเชียลมีเดีย โดยไม่จำเป็นต้องจ้างมืออาชีพมาทำ แต่สามารถสร้างสรรค์งานผ่านเทมเพลตที่มีมาให้แล้ว หรือจะเป็นเมาส์คอมพิวเตอร์ของสตีพ จอบส์ ที่แม้จะไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่กลับเป็นนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยม นั่นเพราะมันสามารถทำให้เกิดความต้องการในตลาดได้จริง

 

ว่ากันว่าการที่สิ่งประดิษฐ์จะกลายเป็นนวัตกรรมได้อย่างแท้จริง สิ่งประดิษฐ์ นั้น ๆ จำเป็นต้องทำให้เป็นธุรกิจ สามารถสร้างการซื้อ ขาย หรือเกิด Commercialization ตามมาด้วยเสมอ นั่นคือ เกิดการนำเข้าสู่ตลาด หรือการทำให้สิ่งประดิษฐ์นั้นเป็นที่ต้องการในตลาดจริง ๆ ตอบโจทย์หรือแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ ลูกค้าพึงพอใจจนเกิดการยอมรับและยอมจ่ายเงินให้แก่สิ่งนั้น อาจเป็นเรื่องไม่ง่ายนักที่จะรู้ล่วงหน้าว่าลูกค้าต้องการนวัตกรรมแบบไหน แต่คงไม่ยากเกินไปที่จะเข้าใจพฤดิกรรมและความต้องการของมนุษย์ด้วยกัน แล้วลองสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ที่ตอบสนองความต้องการเหล่านั้นให้ได้ จนเกิดเป็นธุรกิจที่ผู้คนยอมรับ แล้วเราจะค้นพบเองว่า สิ่งที่เราทุ่มเทสร้างสรรค์นั่นละคือ “นวัตกรรม” ที่ผู้คนกำลังตามหา

ส่องโมเดลธุรกิจแบรนด์ “เฟสท์ by SCGP” บรรจุภัณฑ์อาหารรักษ์โลก พร้อมส่งต่อความสะดวกสบาย เพื่อความยั่งยืน

ปัจจุบันนี้แพลตฟอร์มการส่งอาหาร (Food Delivery) เกิดขึ้นมากมาย และได้รับความนิยมสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในช่วงก่อนที่หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงไทยจะเกิดวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ซึ่งในช่วงนั้นต้องยอมรับเลยว่าธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรีเติบโตได้แบบก้าวกระโดด และสินค้าประเภทบรรจุภัณฑ์อาหารก็เติบโตด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตามภายหลังจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 เริ่มลดลงไปอย่างชัดเจน แต่เทรนด์ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรีหรือการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์อาหารก็ยังไม่หมดไป เพราะพฤติกรรมของการรับประทานอาหารที่บ้าน รวมไปถึงไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความสะดวกสบาย

SCGP หรือ บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่เป็นผู้นำด้านโซลูชันบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาค มีหนึ่งในธุรกิจหลักที่มีความเชี่ยวชาญ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัย ภายใต้แบรนด์ เฟสท์ (Fest) ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากความใส่ใจสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค จึงได้คิดค้นและพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารที่สะอาด ปลอดภัย สามารถสัมผัสอาหารได้โดยตรง เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการใช้งานบรรจุภัณฑ์ที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งธุรกิจอาหารและธุรกิจบริการอาหารเดลิเวอรี และเทรนด์สำคัญของโลกในปัจจุบันที่ตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อม

สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยเฟสท์นั้น มีให้เลือกใช้หลากหลายประเภท ทั้งวัสดุ รูปทรง ขนาด และดีไซน์ ไม่ว่าจะต้องการบรรจุภัณฑ์สำหรับเมนูไหน ก็ตอบโจทย์ได้ทุกความต้องการ

ในปัจจุบันมีสินค้า 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ เฟสท์ ช้อยส์, เฟสท์ ไบโอ, เฟสท์ เดลี่ และเฟสท์ ชิลล์ โดยบรรจุภัณฑ์อาหารทั้ง 4 กลุ่มจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เพื่อให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน

นอกจากนี้เฟสท์ยังมีบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาพิเศษสำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ถาดกระดาษเนื้อสดแช่เย็นและถาดอาหารแช่เย็นพร้อมทาน ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อความยั่งยืนที่เฟสท์พยายามพัฒนาบรรจุภัณฑ์เยื่อและกระดาษให้มีความแข็งแรง ทนทานมากขึ้น จนสามารถใช้งานเทียบเท่ากับบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่น ๆ ได้

โอกาสและเทรนด์การเติบโต
เทรนด์บรรจุภัณฑ์ที่น่าจับตามองในปี 2566 คือ การใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิล หรือย่อยสลายได้และวัสดุมีน้ำหนักเบา การลดขนาดบรรจุภัณฑ์เพื่อลดการใช้วัสดุสิ้นเปลืองและช่วยลดการเน่าเสียของสินค้าเพื่อให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด การออกแบบเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ บรรจุภัณฑ์ชีวภาพย่อยสลายได้ทางชีวภาพฉลากแบบล้างออกได้ง่าย ซึ่งนั้นก็หมายความว่าผลิตภัณฑ์จากเฟสท์กำลังตอบโจทย์ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตามเทรนด์

แผนกลยุทธ์หลัก 2 ประการ
ไม่เพียงแค่ ผลิตภัณฑ์เฟสท์ จะตอบโจทย์เทรนด์แล้ว เฟสท์ยังได้มีแผนพัฒนาธุรกิจด้วย 2 กลยุทธ์หลักที่ถือเป็นหัวใจสำคัญ ได้แก่ เน้นการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความหลากหลายและตอบสนองความต้องการที่ใช้กับฟู้ดเดลิเวอรี โดยเน้นความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ Printing Solutions เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบรรจุภัณฑ์อาหารและตอบรับกับกระแสการรักษ์สิ่งแวดล้อม

รวมไปถึงยังได้มุ่งเข้าสู่ตลาด B2B โดยใช้ความเชี่ยวชาญในการออกแบบและเทคโนโลยีการผลิต ที่ตอบรับกับเทรนด์บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน (Sustainable Packaging) ซึ่งสามารถเข้ากับกระบวนการผลิต การใช้งาน และตอบโจทย์การใช้งานได้ตามความต้องการของลูกค้าอย่างครบถ้วน ทั้งกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารและกลุ่มผู้ผลิตอาหาร

กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารได้มีการนำเสนอโซลูชันเพื่อเป็นไอเดียให้กับผู้ประกอบการร้านอาหารได้เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม สามารถสร้างเอกลักษณ์ด้วยลวดลายพิมพ์เฉพาะของทางร้าน เพื่อสร้างแบรนด์ให้โดดเด่นและสร้างการรับรู้ให้กับลูกค้า

โดย Fest Solutions มีบริการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบ รวมไปถึงการผลิตบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งเป็นผู้นำเทรนด์บรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ในตลาด อาทิ เซ็ตปิ่นโต 3 ชั้น กล่องอาหารเมนูเซ็ตพร้อมทาน เบเกอรี่บ็อกซ์เซ็ต ซึ่งในปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 300 ราย

สำหรับลูกค้ากลุ่มผู้ผลิตอาหาร เฟสท์มีทีมวิจัยและพัฒนาร่วมกับลูกค้าโดยเฉพาะ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ วางแผน วิจัยและพัฒนาร่วมกันกับลูกค้า รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ ทำให้ได้บรรจุภัณฑ์ที่เข้ากับกระบวนการผลิตของลูกค้าและตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างครบถ้วน

2 ตัวอย่างการส่งมอบโซลูชันที่เกิดขึ้นระหว่างเฟสท์กับลูกค้ากลุ่ม B2B ซึ่งมีแผนที่จะนำออกสู่ตลาดในปี 2566 นั้น ได้แก่

ถาดกระดาษเนื้อสดแช่เย็น (Fresh Pak) บรรจุภัณฑ์นวัตกรรมเพื่อโลกที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยเฟสท์ได้ ร่วมพัฒนากับแบรนด์ S-Pure ในเครือเบทาโกร คิดค้นและพัฒนาสินค้าและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์การใช้งาน และเพิ่มปริมาณการใช้ Renewable Material ได้อย่างน้อย 80% สามารถใช้งานได้ในอุณหภูมิ 3-5 องศาเซลเซียส และยังคงความแข็งแรง ไม่ยุบยวบแม้จะอยู่ในสภาวะเปียกชื้น 

อีกทั้งยังคงความแข็งแรง และคุณสมบัติในการเก็บรักษาความสดของเนื้อสดได้ตามมาตรฐานของลูกค้า  ผลิตจากเยื่อยูคาลิปตัส เป็นไม้เศรษฐกิจที่เติบโตเร็ว สามารถปลูกหมุนเวียนได้ และยังสามารถรีไซเคิลได้อีกด้วย

ถือเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนของโลก โดยที่ยังคำนึงถึงการใช้งานของผู้ประกอบการและผู้บริโภค ซึ่งเป็นรายแรกที่ใช้บรรจุภัณฑ์ถาดกระดาษสำหรับเนื้อสด นอกจากจะได้สุขภาพดีจากการรับประทานผลิตภัณฑ์คุณภาพจาก S-Pure แล้ว ยังได้ร่วมรักษ์โลกไปพร้อมกันด้วย โดยบรรจุภัณฑ์ถาดกระดาษเนื้อสดแช่เย็น Fresh Pak  มีวางจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วประเทศ

อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์คือ Redi Pak ถาดอาหารแช่เย็นพร้อมทาน นวัตกรรมที่จะช่วยรักษาความสดและรสชาติของอาหารรักษ์โลกไปอีกขั้นกับ Fest ด้วยนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กลุ่มอาหารแช่เย็นพร้อมทาน ช่วยรักษาความสดและรสชาติของอาหารได้ดี โดยเปลี่ยนวัสดุหลัก 90% เป็นเยื่อยูคาลิปตัสที่สามารถย่อยสลายได้ภายใน 60 วัน ดีไซน์สวยงาม เสริมด้วยฟังก์ชันใช้งานง่าย สะดวก ถือได้ไม่ร้อนมือ จากเยื่อยูคาลิปตัสจากป่าปลูกเชิงพาณิชย์ เคลือบด้วยฟิล์มที่สามารถบรรจุอาหารร้อนสูงสุด 100 องศาเซลเซียส มีการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ให้แข็งแรง สามารถใช้กับเครื่องบรรจุอัตโนมัติได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ (Auto-process) โดยยังคงความสามารถในการผลิตได้ดี (Productivity) เหมาะสมกับกระบวนการ Top seal ด้วยฟิล์มเพื่อมองเห็นอาหาร ผ่านการทดสอบในเรื่องความสะอาดปลอดภัยอย่างเข้มงวด สามารถสัมผัสอาหารได้โดยตรง

ถือเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การใช้งาน ส่งต่อความสะดวกสบาย ทั้งยังคำนึงถึงผลประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ ผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง โดยเฟสท์ได้พัฒนาร่วมกับแบรนด์ Reo’s Deli ซึ่งมีวางจำหน่ายที่ 7-eleven

ทั้งนี้ธุรกิจที่สนใจสามารถมาเยี่ยมชมและปรึกษาได้ที่ Fest ภายในงานแสดงสินค้าอาหาร THAIFEX – Anuga Asia 2023 Pack & Go Festival (The next era of innovation and sustainability) ในระหว่างวันที่ 23-27 พฤษภาคม 2566 ณ อาคารชาเลนเจอร์ Hall 1 เลขที่บูธ 1-UU67 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี

ที่มา : ส่องโมเดลธุรกิจแบรนด์ “เฟสท์ by SCGP” บรรจุภัณฑ์อาหารรักษ์โลก พร้อมส่งต่อความสะดวกสบาย เพื่อความยั่งยืน | WEALTHY THAI

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูตรใหม่ HOLIS by SCGP CHO-LESS Cap ใส่ใจตัวเองทำได้ง่ายๆ ทุกวัน

บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP แนะนำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูตรใหม่ “HOLIS by SCGP CHO-LESS Cap” (โฮลิส บาย เอสซีจีพี คอ-เลส แคป) ใส่ใจตัวเองทำได้ง่าย ๆ ทุกวัน นวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม มีส่วนช่วยปกป้องร่างกายให้ห่างไกลจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ โรค NCDs จากสมุนไพรเจียวกู่หลานที่อุดมไปด้วยสารที่มีประโยชน์กลุ่ม saponin เช่น Gypenoside และ Ginsenoside จากการเพาะเลี้ยงด้วยนวัตกรรมพิเศษเฉพาะของ SCGP ให้สารสำคัญสูงสม่ำเสมอ สะอาด ทันสมัย ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์และสารปนเปื้อน ผสมผสานด้วยไลโคปีน จากมะเขือเทศ Ubiquinol หรือที่รู้จักกันในชื่อ Coenzyme Q1Resveratol จากผิวองุ่นแดงและโสม 3 สายพันธุ์ ที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตสูง ต้านอนุมูลอิสระ และให้พลังงานระดับเซลล์ ช่วยดูแลสุขภาพจากการทำงานหนัก พฤติกรรมการบริโภคและไลฟ์สไตล์ที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ อาทิ ไม่ออกกำลังกาย, สูบบุหรี่, ชอบสังสรรค์, กินขนมขบเคี้ยวหรือขนมหวาน โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยทำงานที่มีพฤติกรรมดังกล่าว ผลิตภัณฑ์ HOLIS by SCGP CHO-LESS Cap มีให้เลือกทั้งขนาดบรรจุกล่องละ 5 เม็ด และกล่องละ 30 เม็ด เลือกซื้อสินค้าได้แล้วที่ช่องทางออนไลน์ www.holisbyscgp.com, Facebook : HOLIS by SCGP, Line @SCGPHealthcare และอี-มาร์ตเกพลสชั้นนำ เช่น ช้อปปี, ลาซาด้า เป็นต้น พร้อมเพิ่มช่องทางจำหน่ายในร้าน WATSONS ทุกสาขาทั่วประเทศ 
 

SCGP ทำกำไรไตรมาสแรก 1,220 ล้านบาท รับตลาดฟื้น เดินหน้าลงทุน Starprint บรรจุภัณฑ์พรีเมียมในเวียดนาม รุกพัฒนานวัตกรรมระดับโลก ‘Bio-based Plastic จากชิ้นไม้ยูคาลิปตัสสับ’

SCGP แถลงผลไตรมาส 1 ปี 2566 เติบโตจากไตรมาสก่อน ทำรายได้ 33,729 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 มีกำไรสุทธิ 1,220 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 171 ผลจากยอดขายบรรจุภัณฑ์ที่ทยอยฟื้นตัวจากความต้องการของตลาดในภูมิภาคอาเซียนที่สูงขึ้น การท่องเที่ยวและภาคบริการโต การเปิดประเทศของจีน รวมถึงต้นทุนที่ลดลง และจากการดำเนินกลยุทธ์ขยายธุรกิจ M&P เสริมแกร่งธุรกิจต่อเนื่อง ล่าสุดเตรียมลงทุนร้อยละ 70 ใน Starprint Vietnam JSC ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พรีเมียมคุณภาพสูงชั้นนำในเวียดนาม พร้อมผนึก Origin Materials ร่วมวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสุดล้ำระดับโลก “Bio-based Plastic จากชิ้นไม้ยูคาลิปตัสสับ” เพื่อนำไปผลิตเป็นสารตั้งต้น Bio-PTA สำหรับการผลิต Bio-PET ตอบโจทย์ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 มีอัตราเติบโตที่ดีเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนการฟื้นตัวของตลาดบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะกระดาษบรรจุภัณฑ์ โดยมีรายได้จากการขาย 33,729 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จากไตรมาสก่อนหน้า มี EBITDA ทั้งสิ้น 4,471 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 จากไตรมาสก่อนหน้า และมีกำไรสำหรับงวด 1,220 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 171 จากไตรมาสที่ผ่านมา

การเติบโตดังกล่าวมาจากความต้องการกลุ่มบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคภายในประเทศในอาเซียนและประเทศจีนที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์อาหารที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นหลังจากประชาชนคลายความกังวลต่อสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ของ SCGP ที่ขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์อย่างครบวงจร โดยเฉพาะการมุ่งเน้นขยายการลงทุนในธุรกิจบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ตลอดจนการปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับผลกระทบจากเศรษฐกิจและตลาดบรรจุภัณฑ์

นอกจากนี้ ยังมีแรงหนุนมาจากการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการที่เพิ่มขึ้น และได้รับผลดีจากภาคการผลิตของจีนที่เริ่มฟื้นตัวหลังเปิดประเทศทำให้ปริมาณการส่งออกกระดาษบรรจุภัณฑ์ไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้น อีกทั้งต้นทุนต่าง ๆ ได้แก่ ราคาพลังงาน วัตถุดิบและค่าระวางเรือขนส่งสินค้าที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลดีต่ออัตรากำไรที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ยังคงมีความท้าทายจากเศรษฐกิจทั่วโลกที่ยังผันผวน แรงกดดันด้านเงินเฟ้อ การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย รวมถึงความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง ทำให้การส่งออกสินค้าในกลุ่มสินค้าคงทนและสินค้าฟุ่มเฟือยชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เริ่มเห็นสัญญาณบวกในการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป

นายวิชาญ กล่าวว่า ภาพรวมตลาดบรรจุภัณฑ์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 คาดว่ามีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะความต้องการภายในประเทศจากการขยายตัวของเศรษฐกิจและธุรกิจบริการ รวมถึงราคาวัตถุดิบที่เริ่มปรับตัวกลับเข้าสู่ระดับปกติและมีแนวโน้มทรงตัว ส่วนราคาพลังงานและค่าระวางเรือขนส่งมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อการบริหารจัดการต้นทุน

SCGP มุ่งรักษาการเติบโตอย่างมีคุณภาพต่อเนื่องด้วยการเดินหน้าตามกลยุทธ์การขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค โดยล่าสุด วันที่ 25 เมษายน 2566 SCGP ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถึงเจตนาการเข้าลงทุนใน Starprint Vietnam JSC (SPV) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็งแบบพับได้ (Offset folding carton) ที่มีชื่อเสียงในประเทศเวียดนาม โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติเห็นชอบโครงการลงทุนเข้าซื้อหุ้นสามัญในสัดส่วนร้อยละ 70 โดยมีมูลค่ากิจการรวมไม่เกิน 1,050 พันล้านดอง หรือประมาณ 1,534 ล้านบาท โครงการควบรวมกิจการ (M&P) นี้จะดำเนินการผ่านความร่วมมือกับ บริษัทสตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน) (Starflex) บริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว (Flexible Packaging) ที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย ซึ่งจะลงทุนร้อยละ 25 ใน SPV หลังจากธุรกรรมนี้เสร็จสิ้น ธุรกรรมข้างต้นอยู่ระหว่างการดำเนินการ คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ทั้งนี้ บริษัทจะเปิดเผยขนาดของรายการและโครงสร้างการถือหุ้นตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ว่าด้วยการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ต่อไป

Starprint Vietnam JSC (SPV)  เป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษพรีเมียมคุณภาพสูง ได้แก่ บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็งแบบพับได้ (Offset folding carton) กล่องบรรจุภัณฑ์คงรูปคุณภาพสูง (Rigid boxes) และบรรจุภัณฑ์ที่เน้นความสวยงาม มีฐานลูกค้าหลักในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และเป็นที่ยอมรับจากบริษัทชั้นนำระดับโลก โดยมีกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์ขึ้นรูปแบบพิมพ์ออฟเซ็ท 16,500 ตันต่อปี และมีกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษแบบคงรูป 8 ล้านชิ้นต่อปี ซึ่งมีฐานการผลิต 2 แห่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม ลองบินห์ (อมตะ) ในจังหวัดด่งนาย (Dong Nai) ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม โดยในปี 2565 SPV มีรายได้ประมาณ 1,013 พันล้านดอง (ประมาณ 1,480 ล้านบาท) มีกำไรสุทธิหลังหักภาษี 92.5 พันล้านดอง (ประมาณ 135 ล้านบาท) และมีสินทรัพย์ 440 พันล้านดอง (ประมาณ 643 ล้านบาท) 

นอกจากนี้ SCGP ได้ทุ่มเทในการพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันเพื่อตอบโจทย์เมกะเทรนด์และไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค โดยล่าสุดได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ (Joint Development Agreement หรือ JDA) กับ Origin Materials (ออริจิ้น แมตทีเรียลส์) บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมกันพัฒนา “Bio-based Plastic จากชิ้นไม้ยูคาลิปตัสสับ” ซึ่งเป็นนวัตกรรมระดับโลกในการนำชิ้นไม้ยูคาลิปตัสสับ มาผ่านกระบวนการแปรรูปด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง จนได้ Bio-PTA เพื่อนำไปผลิตเป็น Bio-PET ในการผลิตบรรจุภัณฑ์และสินค้าต่าง ๆ อาทิ บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์อาหาร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และรองรับการใช้ Bio-PET ในหลากหลายอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้วัตถุดิบยั่งยืน และสามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะเดียวกัน SCGP ยังคงมุ่งขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวคิด ESG 4 Plus อย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทฯ เป็นที่ยอมรับและได้รับการประเมินความยั่งยืนในระดับ Gold Class ผลการประเมินอยู่ในกลุ่มคะแนนสูงสุด 1% แรก (Top 1%) ในกลุ่มอุุตสาหกรรมบรรจุุภัณฑ์จาก S&P Global Corporate Sustainability Assessment (CSA) และเป็น Industry Mover หรือบริษัทจดทะเบียนที่มีพัฒนาการโดดเด่นและทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงบนรากฐานของความยั่งยืน 
 

SCG Packaging ทรานสฟอร์มช้างตัวใหม่ ให้ก้าวไกลมากขึ้น

นอกจากการบริหารจัดการและบริการด้านบรรจุภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยมแล้ว ความสำเร็จตลอดหลายปีที่ผ่านมาของบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) ยังมี “ทีมนักออกแบบบรรจุภัณฑ์” ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญที่คอยสร้างสรรค์แพคเกจจิ้งจนได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามาโดยตลอด

P-DNA ฉบับนี้ เราจึงชวนพวกเขามาร่วมพูดคุยถึงบทบาทหน้าที่ รวมถึงมุมมองต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ขององค์กร ในฐานะที่พวกเขาคือทีมเบื้องหลัง“ประติมากรรมช้าง” สัญลักษณ์ของการทรานสฟอร์มธุรกิจเอสซีจี แพคเกจจิ้ง เพื่อเดินหน้าสู่การเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรอย่างเต็มตัว

มากกว่าการตอบโจทย์ลูกค้า คือการเป็นเพื่อนคู่คิด

การออกแบบแพคเกจจิ้งต้องอาศัยการผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์กับศิลปะ ภายในทีม Packaging Designer จึงต้องมีทั้ง Structural Designer ผู้ทำหน้าที่ออกแบบโครงสร้างและความแข็งแรงของบรรจุภัณฑ์ กับ Graphic Designer ผู้เติมแต่งหน้าตาบรรจุภัณฑ์ให้ออกมาสวยงามและน่าดึงดูด ซึ่งจะร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานที่ทั้งสวยงามและตอบโจทย์ลูกค้าได้มากที่สุด ภายใต้แนวคิด Holistic Design หรือการออกแบบองค์รวม

“งานที่ทีมนักออกแบบแพคเกจจิ้งทำเรียกว่าเป็น Packaging Solutions Provider อย่างแท้จริง เพราะแม้ว่าลูกค้าไม่มีไอเดียอะไรเลย เราก็จะคอยเป็นพาร์ตเนอร์ที่ร่วมคิดและช่วยแนะนำลูกค้าในทุกการแก้ ปัญหา งานของเราจึงไม่ใช่แค่การออกแบบแพคเกจจิ้งตามความต้องการของลูกค้า แต่ยังต้องคิดไปถึง Marketing Strategy ว่าแพคเกจจิ้งที่เราออกแบบจะช่วยเพิ่มยอดขายให้ลูกค้าได้อย่างไร โครงสร้างหรือกราฟิกแบบไหนที่จะทำให้แพคเกจจิ้งตอบโจทย์ทั้งการใช้งานและความสวยงาม

“เมื่อทีมเราได้รับ Requirement จากลูกค้าแล้ว เราก็นำแนวคิด Design Thinking เข้ามาใช้ โดยเริ่มทำ รีเสิร์ชกันก่อน จากนั้นจึงนำไปออกแบบ จนได้ตัว Mockup ไปทดลองใช้จริง เพื่อจะรู้ว่างานที่เราทำตอบโจทย์ทั้งลูกค้าและผู้ใช้หรือไม่ ถ้าได้ผลลัพธ์ว่ายังไม่ตอบโจทย์ ก็ย้อนกลับไปหาทางแก้กันใหม่

“รวมถึงการมองภาพรวมด้วยว่า งานที่ผลิตออกไปนั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เพราะนักออกแบบมีหน้าที่คิดงานออกมาให้มีความ Circular สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าอย่างสมเหตุสมผล ไปกันได้กับกระบวนการผลิตที่เรามีและสามารถแนะนำสิ่งที่ดีกว่าให้ลูกค้าได้ด้วย”

ช้างตัวใหม่กำลังก้าวเดิน

นอกจากงานออกแบบแพคเกจจิ้ง ตราสินค้า และอัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity) ให้กับกลุ่มลูกค้า งานด้าน Exhibition Design ที่เน้นการใช้วัสดุกระดาษเป็นหลัก ถือเป็นอีกภารกิจที่ทีมนักออกแบบของ เอสซีจี แพคเกจจิ้ง ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น Exhibition ในห้างสรรพสินค้า หรืองานแสดงสินค้าระดับชาติอย่าง THAIFEX หรือสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

“มีผลศึกษาบอกว่า ในไทยมีการจัด Exhibition เฉลี่ย 2,700 อีเว้นต์ต่อปี เติบโตอยู่ที่ 20% คิดเป็นมูลค่า15,000 ล้านบาท นับเป็นโอกาสที่ธุรกิจเราจะลงไปเป็นผู้เล่นในตลาดนี้ เพราะการที่วัสดุหลักของเราคือกระดาษก็มีข้อได้เปรียบที่ดีกว่าในด้านสิ่งแวดล้อม การรีไซเคิล น้ำหนักเบา การติดตั้งที่มีความปลอดภัย และปริมาณฝุ่นที่เกิดจากกระดาษก็น้อยกว่าวัสดุอื่นด้วย”

งานแถลงข่าวเปิดตัวบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำากัด (มหาชน) เตรียมจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ นับเป็นงานสำาคัญที่ทีมนักออกแบบได้มีโอกาสร่วมกันสร้างสรรค์ประติมากรรม “ช้าง” สัญลักษณ์ที่จะจัดแสดงภายในงาน เพื่อสื่อสารถึงการทรานสฟอร์มองค์กรจากธุรกิจเดิม หนึ่งในทีมออกแบบด้านโครงสร้าง เล่าถึงไอเดียในการออกแบบประติมากรรมช้างให้ฟังว่า

“ช้างสื่อความเป็นเอสซีจีอยู่แล้ว แต่เพื่อสื่อถึงความเป็นแพคเกจจิ้งให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เราจึงดีไซน์รูปทรงของช้างให้ออกเป็น Polygon คล้ายกับรูปแบบการพับกระดาษโอริกามิของญี่ปุ่นที่มีเสน่ห์และโดดเด่นในตัวเองเมื่อคนมองเห็นช้างตัวนี้ ก็จะรับรู้ได้ทันทีว่าทำมาจากกระดาษ ซึ่งสะท้อนตัวตนขององค์กรเราที่เติบโตมาจากธุรกิจนี้

“กระบวนการทำประติมากรรมช้างตัวนี้ เราเริ่มจากทำภาพสามมิติก่อน เมื่อปรับรูปแบบให้ตรงใจและตอบโจทย์แนวคิดในการทรานสฟอร์มองค์กรได้แล้ว จึงค่อยออกแบบโครงสร้าง ซึ่งมีข้อควรระวังหลายจุด ไม่ว่าจะเป็นการรับแรง การประกอบให้แข็งแรง การขนส่ง เพราะช้างตัวจริงที่ใช้จัดแสดงมีขนาดใหญ่ถึง 5 เมตร แม้ว่าเราจะมีการทำโมเดลช้างขนาดเล็ก 20 เซนติเมตร สำาหรับทดลองประกอบขึ้นรูปมาก่อน แต่พอขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้นกลับมีรายละเอียดที่ต้องใส่ใจแตกต่างกัน เช่น ช้างตัวเล็กใช้กระดาษที่พับเป็นชิ้นมาต่อกัน 10 กว่าชิ้น งานจะสวยเนี้ยบ องค์ประกอบไม่เยอะ แต่ช้างตัวใหญ่ใช้มากกว่าถึง 50 ชิ้น ทำให้เรากังวลว่าหน้าตาของช้างจะออกมาเป็นยังไง จะสวยอย่างที่คิดไว้ไหม ซึ่งงานด้านกราฟิกก็จะเข้ามาช่วยเสริมตรงจุดนั้น”

ทีมออกแบบด้านกราฟิกเล่าต่อว่า “เพื่อตอกย้ำถึงการทรานสฟอร์มองค์กร เราจึงออกแบบช้างให้มี Key Visual ใหม่ที่เน้นสีสันสดใส สวยงาม และสื่อถึงความ Creative มากขึ้น โดยการทำภาพกราฟิกที่มีเหลี่ยมมุม มีมิติ พิมพ์ลงไปบนโครงสร้างกระดาษ ช่วยเสริมรายละเอียดชิ้นงานให้มีลักษณะของ Polygon และ โอริกามิได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อบอกว่าของเราคือช้างตัวใหม่ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และพร้อมขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าอย่างมั่นคง โดยสะท้อนผ่านโครงสร้างของประติมากรรมช้างที่ก้าวเท้าไปข้างหน้าเช่นกัน”

ก่อนจากกัน ทีมนักออกแบบได้กล่าวทิ้งท้ายเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า “เราเชื่อมั่นในพลังของทีมเวิร์กว่าสามารถช่วยขับเคลื่อนองค์กรได้ ตอนนี้เรากำาลังเปลี่ยนเพื่อก้าวไปเจอสิ่งใหม่ ๆ การปรับตัว ติดตาม เทรนด์โลกอยู่เสมอน่าจะช่วยให้ตัวเราและองค์กรพบโอกาสเติบโตได้ ดังนั้น การมองความเปลี่ยนแปลงปัจจุบันในแง่บวก มี Mindset แบบก้าวไปข้างหน้าจึงเป็นแนวทางการทำางานที่ดีที่สุดเพราะในอนาคต เราอาจไม่ได้ขายแค่แพคเกจจิ้งแบบเดิม แต่คงต้องมองไกลไปถึงบริการที่ครอบคลุมความต้องการของโลกยุคใหม่ด้วย”

Sparkling Ideas

“แรงบันดาลใจและไอเดียเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ผมจึงชอบการทำงานที่มีอิสระแบบคนรุ่นใหม่ ไม่ต้องจำกัดว่าเราควรทำงานที่ไหน ในช่วงเวลาใด เพราะบางครั้งเราก็ต้องการอารมณ์หรือสถานที่ดี ๆ เพื่อช่วยจุดประกายความคิด ซึ่งเอสซีจีเป็นองค์กรที่พร้อมเปิดโอกาสตรงนี้ให้เรา”

ปอย – สุชาณัฐ ชิดไทย

“แรงบันดาลใจของผมมาจากเพื่อนร่วมทีม งานบางอย่างถ้าเราคิดคนเดียวอาจไม่ตอบโจทย์ลูกค้าก็ได้ แต่การแชร์ไอเดียร่วมกับคนอื่น หรือทำงานออกมาแล้วมีคนช่วยคอมเมนต์ น่าจะทำให้งานของเราสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น และหลายครั้งมุมมองของคนในทีมก็กลายเป็นพลังขับเคลื่อนไอเดียของผมได้ด้วย”

เอก – สุริยา พิมพ์โคตร

“เวลาเราเจอปัญหาในงานแล้วไม่สนุกกับมัน เรามักจะคิดถึงงานนั้นในแง่ลบแต่ถ้าเราสนุกไปกับปัญหา แรงบันดาลใจย่อมเกิดขึ้น และการแก้ปัญหาสำเร็จก็ไม่ได้หมายความว่าเราตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างเดียว แต่เรายังเอาชนะปัญหาของตัวเองได้ด้วย เมื่อพบปัญหาครั้งต่อไป เราจะมีความมั่นใจและพร้อมเผชิญหน้ากับมันมากขึ้น”

แพ็ค – วันชนะ ศรีไตรรัตนา

“ปัญหา เป้าหมาย และความคาดหวังที่เกิดจากงาน คือความท้าทายที่เราต้องข้ามผ่านมันไปให้ได้ แต่ถ้าเราสามารถเปลี่ยนความท้าทายเหล่านั้นให้เป็นแรงบันดาลใจในการคิดงานได้ มันอาจช่วยผลักดันให้เรารู้สึกว่า งานที่เราทำคือความรับผิดชอบมันต้องออกมาดี สวยงาม ตอบโจทย์ลูกค้า และเราจะตั้งใจทำมันให้ดีที่สุด”

ติ๊ก – กฤชพร กูลรัตนรักษ์

“การรีเสิร์ชข้อมูลและการทำความเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า คือสิ่งแรกที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการคิดงานของเราได้ แล้วค่อยมองหา Reference อื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการมาช่วยเสริม ถ้าเหนื่อยก็ออกไปเที่ยวบ้าง คุยเล่นกับเพื่อนบ้าง แล้วค่อยกลับมาเขย่าไอเดียทั้งหมดให้มันออกมาเป็นงานที่เหมาะสมที่สุด”

เอิร์น – ณิชารีย์ เหรียญทอง

บ้านโป่งโมเดลเราจัดการขยะทั่วทั้งอำเภอ

ที่นี่บ้านโป่ง

นอกจากเป็นเมืองอุตสาหกรรมแล้ว อำเภอแห่งนี้คือจุดเชื่อมระหว่างภาคตะวันตกกับภาคกลาง ด้วยบริบท ที่กล่าวมาทำให้อำเภอบ้านโป่งมีปัญหาการจัดการขยะให้ต้องแก้ไข หากไม่มีการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ต้นทางแล้ว อนาคตข้างหน้าอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่

“การจะเปลี่ยนมาจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง เราต้องเปลี่ยนทัศนคติ ต้องสร้างความรู้ สร้างการมีส่วนร่วมให้ชุมชน ซึ่งในขณะนั้นทางรัฐบาลก็ได้มีแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนลงมา โดยเน้นในเรื่องของ การจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางพอดี เราเองก็อยากจะผลักดันในเรื่องนี้อยู่แล้ว จึงคิดว่านี่เป็นโอกาสดีที่จะจัดการขยะอย่างจริงจังในอำเภอบ้านโป่ง” ทศพล เผื่อนอุดม อดีตนายอำเภอบ้านโป่ง ผู้ให้ความสำคัญกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด แต่การจะขับเคลื่อนเรื่องการจัดการขยะไปทั่วทั้งอำเภอ จนกระทั่งเกิดเป็น “บ้านโป่งโมเดล” นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย

“เราคนเดียวทำไม่สำเร็จหรอก การที่บ้านโป่งโมเดลจะสำเร็จได้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน”

ร่วมแรงร่วมใจ

บ้านโป่งโมเดลเกิดจากความร่วมมือกันของทั้ง 3 ภาค ซึ่งทั้งหมดจะขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปไม่ได้เลยคือ

  1. ภาคราชการ ได้แก่ อำเภอบ้านโป่ง ท้องถิ่นอำเภอบ้านโป่ง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กิ่งกาชาดอำเภอบ้านโป่ง
  2. ภาคเอกชน ได้แก่ บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งมาช่วยในเรื่องการให้องค์ความรู้ในการจัดการขยะอย่างถูกต้อง รวมทั้งยังช่วยสนับสนุนในเรื่องงบประมาณ สถานที่ และจัดกิจกรรมหลายสิ่ง หลายอย่าง
  3. ภาคประชาชน ได้แก่ ประชาชน รวมไปถึงสื่อในท้องถิ่น

ชญานิน จำปาทอง ท้องถิ่นอำเภอบ้านโป่ง เป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ทำให้โมเดลการจัดการขยะของอำเภอบ้านโป่งเดินหน้าไปได้อย่างราบรื่น อย่างไรก็ตาม แม้ทั้ง 3 ฝ่ายจะตกลงร่วมมือร่วมใจกันโดยมีเอสซีจี แพคเกจจิ้ง คอยจัดกิจกรรมและส่งเสริมในด้านองค์ความรู้ ทว่าสิ่งที่พวกเขายังขาดก็คือแบบอย่างของชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการจัดการขยะ “เราก็เลยถามทางท้องถิ่นอำเภอว่า ที่บ้านโป่งพอจะมีชุมชนที่เป็นปลอดขยะ (Zero Waste) ประเภทชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นรางวัลระดับประเทศที่จัดโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม “เมื่อเราลงไปดูบ้านรางพลับ เห็นว่าเขาทำจริงและมีการจัดการขยะที่ดีมากเราจึงนำบ้านรางพลับมาเป็นครู แล้วก็ให้ชุมชนที่สนใจมาเรียนรู้” ทางนายอำเภอยังกระตุ้นให้เกิดความเอาจริงเอาจังด้วยการจัดโครงการประกวด “ชุมชน Like (ไร้) ขยะอำเภอบ้านโป่ง” ขึ้น โดยการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้ง 17 แห่ง คัดเลือกชุมชนหรือหมู่บ้านที่อยู่ในการปกครองของตนเองมาอปท.ละ 1 แห่ง ซึ่งทั้ง 17 ชุมชนที่เป็นตัวแทนต้องไปดูงานที่บ้านรางพลับแล้วก็นำมาถอดบทเรียนจัดการขยะในชุมชนของตนเป็นระยะเวลา 4 เดือน ใครที่มีการจัดการขยะที่ดีที่สุดก็จะได้รับรางวัลชนะเลิศไป จากที่เคยมีบ้านรางพลับเป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะ อำเภอบ้านโป่งก็จะมีชุมชนที่เป็นต้นแบบขึ้นมาอีก 17 ชุมชน ซึ่งในการดำเนินงานครั้งต่อไป ทีมงานบ้านโป่งโมเดลคาดว่าจะเพิ่มชุมชนต้นแบบ ให้เข้มข้นด้วย แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นย่อมสร้างแรงกระเพื่อมและเป็นกระแสไปทั่วทั้งอำเภอ

นี่คือจุดหมายที่แท้จริงของ “บ้านโป่งโมเดล”

ล้อมกรอบ

สหรัฐ พัฒนวิบูลย์ ผู้อำานวยการโรงงานบ้านโป่ง บริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำากัด กล่าวว่า “เอสซีจียินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนต้นแบบที่มีการจัดการขยะและให้เป็นจุดเริ่มของการขยายผลไปสู่ ทุกชุมชนในอำาเภอบ้านโป่ง โดยร่วมอบรมและส่งทีมงานไปช่วยในแต่ละพื้นที่ในเรื่องการคัดแยกขยะ เพื่อหมุนเวียนกลับมาเป็นทรัพยากรใช้ใหม่อย่างคุ้มค่า ซึ่งการดำาเนินโครงการในปี 2562 สำเร็จไปได้ด้วยดี เรายังคงให้ความร่วมมือในการขยายผลชุมชนต้นแบบให้ครบทุกชุมชนในบ้านโป่งต่อไป”

ฮั่วเซ่งฮง 40 ปี มีแต่ก้าวไปข้างหน้า

จากธุรกิจครอบครัวที่ริเริ่มจากร้านอาหารจีนบนถนนเยาวราช ความพิถีพิถันในรสชาติและคุณภาพวัตถุดิบได้ถูกผสมผสานกับแนวคิดการบริหารที่ทุกคนให้ความสำคัญ ทำให้ทุกวันนี้ ฮั่วเซ่งฮงเป็นชื่อที่ได้รับความไว้วางใจและถูกคิดถึงเป็นร้านแรก ๆ เมื่อมองหาอาหารจีน

การเริ่มต้นกิจการโดยคุณพ่อมานพ พิริยเลิศศักดิ์ เมื่อประมาณ 40 ปีก่อน เปรียบดั่งรากฐานอันมั่นคงจนเป็นที่ยอมรับ กระทั่งทุกวันนี้ คุณพิสิทธิ์ พิริยเลิศศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทฮั่วเซ่งฮงติ่มซำ จำกัด นักบริหารเจเนอเรชั่นที่ 3 ได้นำเอาความไว้วางใจที่มีมาต่อยอดแตกไลน์ธุรกิจ “ฮั่วเซ่งฮงติ่มซำ” ด้วยสะดวกและเข้าถึงลูกค้าทำให้ฮั่วเซ่งฮงติ่มซำเป็นร้านที่คนรักคุณภาพและความอร่อยไม่อยากปฏิเสธ วันนี้เรามาลองฟังเรื่องราวประสบการณ์การต่อยอดธุรกิจใน Lift Up Your Voice ฉบับนี้

หลักคิด “ฮั่ว – เซ่ง – ฮง”

คุณพิสิทธิ์เล่าถึงคำว่า “ฮั่ว – เซ่ง – ฮง” คำสามคำที่มีความหมายว่าสามัคคี รุ่งเรือง เฟื่องฟู ซึ่งสามคำนี้ไม่ได้เป็นเพียงชื่อร้านที่ฟังติดหูแต่ยังแฝงด้วยความหมายอันเป็นปรัชญาการดำเนินธุรกิจของภัตตาคารจีนแห่งนี้อีกด้วย

“ความสามัคคีนั้น เราสามัคคีกันทั้งในครอบครัวและการทำงาน เมื่อเราสามัคคีกันได้ ก็จะนำมาซึ่งความรุ่งเรืองและเฟื่องฟูทุกวันนี้พวกเราให้ความสำคัญกับการรักษาชื่อเสียงที่คุณพ่อสร้างมาเป็นอย่างมาก ซึ่งก็สอดคล้องกับการบริหารธุรกิจในยุคสมัยใหม่ที่เราเอาเข้ามาใช้ เพราะหากพนักงานทำงานร่วมกันอย่างสุจริต ด้วยความสามัคคี มีเป้าหมายเดียวกันได้แล้ว ทุกคนก็จะสามารถรุ่งเรืองและเฟื่องฟูไปด้วยกันได้”

ขยายช่องทางเพื่อเสิร์ฟคุณภาพและความอร่อย

นอกจากเรื่องการร่วมมือกันทำงานแล้ว ความสำเร็จของฮั่วเซ่งฮงติ่มซำยังเกิดจากการมองหาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ โดยทั้งหมดนั้นตั้งอยู่บนมาตรฐานของอาหารคุณภาพดี เพื่อให้ชื่อเสียงที่สร้างมากว่า 40 ปี กลายเป็นความไว้วางใจสำหรับลูกค้า

“สิ่งที่ถือเป็นจุดเด่นของเราสำหรับในแง่ของแบรนด์นั้นฮั่วเซ่งฮงติ่มซำถูกสร้างขึ้นโดยคนเจเนอเรชั่นใหม่ ส่วนเมนูอาหารเราคิดขึ้นบนพื้นฐานของคุณภาพมาแต่เดิม เราไม่ใช้สารกันบูด ลูกค้าสามารถไว้ใจได้ว่าสินค้าของเราดีต่อสุขภาพ เราไม่ได้เน้นการประหยัดต้นทุนเรื่องวัตถุดิบ ทุกเมนูของร้านเรายังเป็น Freshly Cook อยู่ทั้งภัตตาคารฮั่วเซ่งฮงและฮั่วเซ่งฮงติ่มซำ ทุกเมนูต้องปรุงสดด้วยเครื่องปรุงที่เป็นของแท้จากธรรมชาติเท่านั้น ไม่มีไขมันทรานส์ ซอส ซีอิ๊วต่าง ๆ คือของจริง อาหารของเราสำคัญที่ความอร่อย ถ้าไม่มีจุดนี้เราจะขายตัวเองไม่ได้ เราใช้ความอร่อยเพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าได้มากขึ้นในราคาที่สมเหตุสมผล ทุกวันนี้ซาลาเปาไส้ต่าง ๆ ของเราใช้วัตถุดิบชั้นดี และขายในราคา 22 บาทเท่านั้น

“ส่วนแผนการตลาด ปัจจุบันนี้เราต้องขยายการโฆษณาเข้ามาในสื่อออนไลน์มากขึ้น มีการออกสินค้าตัวใหม่ ๆ ให้ทันยุคทันสมัยเหมาะกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น เช่น ซาลาเปาชาไทย ซาลาเปาลาวาซาลาเปาทุเรียน เป็นต้น เทรนด์ของคนรุ่นใหม่ทุกวันนี้พวกเขาจะเน้นที่ตัวสินค้าที่รับประทานแล้วมีสุขภาพดี ซึ่งตรงกับ Value ของฮั่วเซ่งฮงติ่มซำอยู่แล้ว

“ท่ามกลางเศรษฐกิจปัจจุบันเราก็อยู่นิ่งไม่ได้ หนึ่งในกลยุทธ์คือ การกระจายสาขาเพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าเราได้ง่ายขึ้นสะดวกขึ้น เช่น ในโรงพยาบาล ปั๊มน้ำมัน หรือแม้กระทั่งบนสถานี BTS คือเราพยายามจะ Integrate เอาฮั่วเซ่งฮงติ่มซำไปในที่ที่ลูกค้าสะดวกให้มากที่สุด รวมถึงการจับมือร่วมกับ ปตท. เปิดฮั่วเซ่งฮงติ่มซำในปั๊มน้ำมันของ ปตท. เพื่อให้กลุ่มลูกค้าที่เดินทางบ่อยสามารถเข้าถึงง่าย ณ ตอนนี้ก็เปิดไปราว ๆ 80 สาขาทั่วประเทศ นอกจากนั้นเรายังร่วมมือกับแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ทั้ง GET, Grab, LINE MAN, Foodpanda สำหรับลูกค้าที่ต้องการความสะดวกในการรับประทานอาหารร่วมกันที่บ้าน ก็สามารถสั่งจากเราผ่านช่องทางเหล่านี้ได้อีกด้วย”

พันธมิตรที่ดีควรตอบโจทย์ธุรกิจได้ครบทุกด้าน

สำหรับฮั่วเซ่งฮงติ่มซำที่คุณภาพต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง อาหารที่สร้างสรรค์ขึ้นจากวัตถุดิบสุดพิถีพิถัน จะไม่สามารถไปถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยได้ หากไม่มีแพคเกจจิ้งที่มีคุณภาพ ซึ่งคุณพิสิทธิ์เผยว่า เหตุผลสำคัญที่เลือกบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยเฟสท์ ในเอสซีจี แพคเกจจิ้ง เป็นพันธมิตรคือ ความมั่นใจ

“ทางเรามั่นใจในผลิตภัณฑ์ของเอสซีจีมาก เพราะชื่อเสียงที่มีมายาวนาน สำหรับเราความไว้วางใจคือ สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อลูกค้ารู้ว่าเราใช้ผลิตภัณฑ์ของเอสซีจี เขาก็มีความไว้วางใจเรามากขึ้นไปอีก ซึ่งตรงกับแนวทางการสร้างผลิตภัณฑ์ของเรา ที่ต้องการมอบสิ่งที่ดีที่สุดแก่ลูกค้าให้สมกับที่เขาไว้วางใจเรา

“ขณะเดียวกันทีมงานของเอสซีจีก็มี Relationship ที่ดีกับเรามาก คุณภาพผลิตภัณฑ์ของเอสซีจียังมีมาตรฐานที่สม่ำเสมอ คงทน รักษาคุณภาพได้ดีมาก ลูกค้าของเราจึงวางใจได้ว่า บรรจุภัณฑ์เฟสท์ของ เอสซีจี ทุกส่วนประกอบจะเป็นฟู้ดเกรดที่ทั้งสะอาด ปลอดภัย และสามารถสัมผัสกับอาหารของฮั่วเซ่งฮงได้โดยตรง

“นอกจากชื่อเสียงแล้ว เราชอบในนวัตกรรมการใช้กระดาษจากป่าปลูกเชิงพาณิชย์มาทดแทน งานดูแลชุมชนและสังคมต่าง ๆ ที่เอสซีจีทำอยู่ก็เป็นจุดที่เราปฏิเสธไม่ได้ว่า เอสซีจีเหมาะสมที่สุดที่จะใช้เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับอาหารของเรา”

ในอนาคตต่อจากนี้ ผู้บริหารฮั่วเซ่งฮงยังคงมองหาไอเดียใหม่ ๆ ที่จะร่วมมือกับเอสซีจี แพคเกจจิ้ง ทั้งบรรจุภัณฑ์รูปแบบอื่น เช่น กล่องทรงปิ่นโตที่สร้างอารมณ์ในการกลับไปสู่การรับประทานอาหาร แบบ Traditional หรือแพจเกจจิ้งที่สามารถใช้นึ่งอาหารได้โดยไม่ต้องฉีกซอง ตลอดจนแพคเกจจิ้งอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้การแข่งขันในธุรกิจ พร้อมทั้งสามารถส่งเมนูคุณภาพเยี่ยมไปสู่นักชิม ทั่วประเทศต่อไป

SCGP x Origin Materials พัฒนานวัตกรรมระดับโลก ‘Bio-based Plastic จากชิ้นไม้ยูคาลิปตัสสับ’ ต่อยอดเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจจากพืชหมุนเวียนสู่พลาสติก Bio-PET ตอบโจทย์ความยั่งยืน

SCGP ลงนามความร่วมมือ (Joint Development Agreement) กับ Origin Materials เพื่อร่วมกันพัฒนานวัตกรรมระดับโลก “Bio-based Plastic จากชิ้นไม้ยูคาลิปตัสสับ” ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถนำไม้ยูคาลิปตัส ซึ่งเป็นวัตถุดิบหมุนเวียนที่สามารถปลูกใหม่ทดแทนได้และเป็นพืชเศรษฐกิจ มาพัฒนาเป็น Bio-PTA (“Bio-Purified terephthalic acid”) เพื่อนำไปผลิตเป็น Bio-PET (“Bio-Polyethylene terephthalate”) ตอบโจทย์โซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์ความยั่งยืน และส่งเสริมการใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม 

 

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า SCGP ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ (Joint Development Agreement หรือ JDA) กับ Origin Materials (ออริจิ้น แมตทีเรียลส์) บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำจากสหรัฐอเมริกาที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ เพื่อร่วมกันพัฒนา “Bio-based Plastic จากชิ้นไม้ยูคาลิปตัสสับ” ซึ่งเป็นนวัตกรรมระดับโลกในการนำไม้ยูคาลิปตัส มาผ่านกระบวนการแปรรูปด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อเปลี่ยนให้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์ของ SCGP ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพของ SCGP ตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Value-accretive vertical integration) รวมถึงต่อยอดเพื่อนำไปผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์และสินค้าต่าง ๆ อาทิ บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์อาหาร  สิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม  เพื่อตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนให้สิ่งแวดล้อม

 

ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการผนึกกำลังสร้างความร่วมมือทางธุรกิจ ในการผสานความเชี่ยวชาญของทั้ง 2 บริษัท โดย SCGP มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาไม้ยูคาลิปตัส และสร้างนวัตกรรมจากไม้ยูคาลิปตัสอย่างต่อเนื่องเพื่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะที่ Origin Materials เป็นบริษัทระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงได้ร่วมทำการทดลองโดยนำชิ้นไม้ยูคาลิปตัสสับ มาผ่านกระบวนการทางเคมี ร่วมกับตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฉพาะที่มีประสิทธิภาพจนได้ Bio-PTA และ HTC (“Hydrothermal carbon”) โดย Bio-PTA สามารถนำไปผลิตเป็น Bio-PET ซึ่งมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับ PET ที่ผลิตจากปิโตรเลียม สามารถนำมารีไซเคิลได้ และสามารถรีไซเคิลพร้อมกับ PET ทั่วไป ในขณะที่ HTC สามารถนำไปผลิตเป็นพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพและใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ 

“SCGP และ Origin Materials ได้ร่วมกันทดลองการผลิตสารตั้งต้นจากไม้ยูคาลิปตัสเพื่อผลิตเป็น Bio-PET ในเบื้องต้น พบว่า คุณภาพของสารตั้งต้นดังกล่าวจากชิ้นไม้ยูคาลิปตัสมีคุณภาพสูง จึงวางแผนในการพัฒนานวัตกรรมร่วมกันเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ในเชิงพาณิชย์ ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดที่ต้องการใช้ผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบที่ยั่งยืน ที่สามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อร่วมปกป้องและสร้างความยั่งยืนให้กับโลก” นายวิชาญ กล่าว

 

นายจอห์น บิสเซล (Mr. John Bissell) ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม (Co-Founder and Co-CEO) Origin Materials กล่าวว่า Origin Materials เป็นบริษัทชั้นนำของโลก ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อเปลี่ยนโลกสู่การใช้วัตถุดิบที่ยั่งยืน ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มาตลอดระยะเวลากว่าทศวรรษที่ผ่านมา  

 

“Origin Materials มีความยินดีอย่างยิ่งสำหรับความร่วมมือกับ SCGP ครั้งนี้ นับเป็นการเพิ่มประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบจากพืชหมุนเวียนในภูมิภาคที่มีจำนวนมาก อีกทั้งยังร่วมกันดำเนินการเชิงกลยุทธ์และขยายขอบเขตของเทคโนโลยีในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนโลกสู่การใช้วัตถุดิบที่ยั่งยืนตามเป้าหมายขององค์กรที่วางไว้” นายจอห์น กล่าว
 

Green Read by SCGP ร่วมสร้างสังคมการอ่านอย่างยั่งยืน สนับสนุนงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 21 ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Bookfluencer: ผู้นำอ่าน” ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม ถึง 9 เมษายน 2566 ซึ่ง SCGP นำโดย คุณสุชัย กอประเสริฐศรี ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กิจการเยื่อและกระดาษ ได้ให้การสนับสนุนการจัดงานและเข้ารับพระราชทานโล่เกียรติคุณในฐานะผู้สนับสนุนการจัดงาน พร้อมกับคุณสุกัญญา เบญญาดิลก Marketing Division Director ทูลเกล้าฯ ถวายของที่ระลึก

นอกจากนี้ Green Read by SCGP แบรนด์กระดาษถนอมสายตา ได้จับมือกับพันธมิตรสำนักพิมพ์ และผู้แทนจำหน่ายของ Green Read ออกบูทในงาน พร้อมจัดกิจกรรมห่อปกหนังสือ และ Green Read Collector’s Book เอาใจขาประจำนักอ่าน เมื่อซื้อหนังสือที่ใช้กระดาษกรีนรี้ดภายในงาน และนำมาสะสมแต้มที่บูท แลกรับของรางวัลมากมาย เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนเป็นผู้นำการอ่านและร่วมสร้างสังคมแห่งการอ่านอย่างยั่งยืน