งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565
คลิกเพื่อดาวน์โหลด
https://investor.scgpackaging.com/storage/content/downloads/shareholders-meetings/2023/20230403-scgp-statement-financial-position.pdf
งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565
รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต่องบการเงินอย่างย่อ
เสนอ ผู้ถือหุ้นบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน)
ความเห็น
งบการเงินอย่างย่อประกอบด้วยงบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 งบกำไรขาดทุนและงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกัน ซึ่งนำมาจากงบการเงินที่ตรวจสอบแล้วของบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565
ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินอย่างย่อนี้มีความสอดคล้องในสาระสำคัญกับงบการเงินที่ตรวจสอบแล้วตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อประกาศงบการเงินอย่างย่อในหนังสือพิมพ์
งบการเงินอย่างย่อ
งบการเงินอย่างย่อไม่ได้รวมการเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ใช้ในการจัดทำงบการเงินที่ตรวจสอบแล้วของบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) ดังนั้น การอ่านงบการเงินอย่างย่อและรายงานของผู้สอบบัญชีไม่สามารถแทนการอ่านงบการเงินที่ตรวจสอบแล้วและรายงานของผู้สอบบัญชีได้
งบการเงินที่ตรวจสอบแล้วและรายงานของข้าพเจ้าต่องบการเงินดังกล่าว
ข้าพเจ้าได้แสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขต่องบการเงินที่ตรวจสอบแล้วตามรายงานลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งรายงานดังกล่าวรวมถึงการสื่อสารเรื่องสำคัญในการตรวจสอบ เรื่องสำคัญในการตรวจสอบคือเรื่องต่างๆ ที่มีนัยสำคัญที่สุดในการตรวจสอบงบการเงินสำหรับงวดปัจจุบันตามดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพของข้าพเจ้า
ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่องบการเงินอย่างย่อ
ผู้บริหารมีหน้าที่ในการจัดทำงบการเงินอย่างย่อตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อประกาศในหนังสือพิมพ์
ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินอย่างย่อว่าสอดคล้องในสาระสำคัญกับงบการเงิน
ที่ตรวจสอบแล้วหรือไม่ จากการปฏิบัติงานของข้าพเจ้า ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 810 (ปรับปรุง) “งานการรายงานต่องบการเงินอย่างย่อ”
(พรทิพย์ ริมดุสิต)
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
เลขทะเบียน 5565
บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด
กรุงเทพมหานคร
14 กุมภาพันธ์ 2566
ประกาศการจ่ายเงินปันผล ประจำปี 2565 (ลงวันที่ 10 – 12 เม.ย. 2566)
คลิกเพื่อดาวน์โหลด
https://investor.scgpackaging.com/storage/content/downloads/shareholders-meetings/2023/20230403-scgp-dividend-payment-shareholders.pdf
ประกาศ เรื่อง การจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น
ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 (ครั้งที่ 30) ของบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) เมื่อวันอังคารที่ 28 มีนาคม 2566 ได้มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลประจำปี 2565 โดยจะจ่ายเงินปันผลงวดสุดท้ายในอัตราหุ้นละ 0.35 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้น ตามที่ปรากฏรายชื่อ ณ วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผลในวันพุธที่ 5 เมษายน 2566 (จะขึ้นเครื่องหมาย XD หรือวันที่ไม่มีสิทธิรับเงินปันผลในวันอังคารที่ 4 เมษายน 2566) โดยมีกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันจันทร์ที่ 24 เมษายน 2566 และให้รับเงินปันผลภายใน 10 ปี
จึงประกาศมาเพื่อทราบ
บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน)
(ลงวันที่ 10 – 12 เมษายน 2566)
SCGP x MCOT เดินหน้า “โครงการ MCOT Cares: Paper – Cycle แยก แลก ใหม่” แยกกระดาษเก่าสู่กระบวนการรีไซเคิล
World Water Day 22 : Accelerating Change to Solve the Water and Sanitation Crisis
โลกของเรามี “น้ำ” เป็นส่วนประกอบหลักถึง 70% สิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกใบนี้ล้วนต้องการน้ำเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต แต่ในปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำ อันเนื่องมาจากปัญหา Climate Change ซึ่งส่งผลต่อวัฏจักรของน้ำบนโลก ประกอบกับการบริหารจัดการน้ำที่ยังไม่ดีพอในหลาย ๆ มุมโลก ที่นำไปสู่วิกฤติความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำ องค์การสหประชาชาติจึงให้ วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปี คือ วันอนุรักษ์น้ำโลก หรือ World Water Day เพื่อให้ทั่วโลกได้ระลึกถึงความสำคัญของน้ำ
สอดคล้องกับความตั้งใจของ SCGP ที่มุ่งมั่นบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมาโดยตลอด รวมถึงการฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ และสนับสนุนน้ำให้ชุมชนใช้ทำเกษตรกรรม เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีกลยุทธ์หลัก
- ตั้งเป้าหมายในการลดการใช้น้ำจากภายนอกร้อยละ 35 ภายในปี 2568 เทียบกับกรณีปกติ ณ ปีฐาน 2557 ปัจจุบันสามารถลดการใช้น้ำจากภายนอกได้ร้อยละ 28 และนำน้ำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่เป็นสัดส่วนร้อยละ 16.3
- บริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ โดยประยุกต์ใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ AQUEDUCT ของ WRI มาประเมิน Water Stress ในพื้นที่ที่ดำเนินธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน ร่วมกับการประเมินการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM) สำหรับการเตรียมแผนสำรองการใช้น้ำ (BCP) และร่วมติดตามแนวโน้มสถานการณ์น้ำและวางแนวทางบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกับภาครัฐ ประชาชน และอุตสาหกรรม
- เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยการวิเคราะห์การใช้น้ำทั้งวงจร และหาแนวทางที่จะปรับปรุงการใช้น้ำของบริษัทด้วยการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีในกระบวนการผลิต การปรับปรุงเครื่องจักร และการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่
- ติดตั้งระบบบำบัดน้ำด้วยวิธีทางชีวภาพที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณภาพของน้ำเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และติดตั้งระบบติดตามคุณภาพน้ำแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถตรวจสอบแบบออนไลน์ได้
- การนำหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน และตัวแทนภาคประชาชน ร่วมตรวจสอบการดำเนินงาน เช่น บริษัทไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน) โรงงานปราจีนบุรี ได้นำผู้แทนจากหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน และตัวแทนภาคประชาชนเข้าร่วมรับฟังและตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและการปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วออกนอกโรงงาน ตามใบอนุญาตของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี
World Water Day : Accelerating Change to Solve the Water and Sanitation Crisis
โลกของเรามี “น้ำ” เป็นส่วนประกอบหลักถึง 70% สิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกใบนี้ล้วนต้องการน้ำเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต แต่ในปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำ อันเนื่องมาจากปัญหา Climate Change ซึ่งส่งผลต่อวัฏจักรของน้ำบนโลก ประกอบกับการบริหารจัดการน้ำที่ยังไม่ดีพอในหลาย ๆ มุมโลก ที่นำไปสู่วิกฤติความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำ องค์การสหประชาชาติจึงให้ วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปี คือ วันอนุรักษ์น้ำโลก หรือ World Water Day เพื่อให้ทั่วโลกได้ระลึกถึงความสำคัญของน้ำ สอดคล้องกับความตั้งใจของ SCGP ที่มุ่งมั่นบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมาโดยตลอด รวมถึงการฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ และสนับสนุนน้ำให้ชุมชนใช้ทำเกษตรกรรม เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีกลยุทธ์หลัก
-
ตั้งเป้าหมายในการลดการใช้น้ำจากภายนอกร้อยละ 35 ภายในปี 2568 เทียบกับกรณีปกติ ณ ปีฐาน 2557 ปัจจุบันสามารถลดการใช้น้ำจากภายนอกได้ร้อยละ 28 และนำน้ำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่เป็นสัดส่วนร้อยละ 16.3
-
บริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ โดยประยุกต์ใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ AQUEDUCT ของ WRI มาประเมิน Water Stress ในพื้นที่ที่ดำเนินธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน ร่วมกับการประเมินการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM) สำหรับการเตรียมแผนสำรองการใช้น้ำ (BCP) และร่วมติดตามแนวโน้มสถานการณ์น้ำและวางแนวทางบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกับภาครัฐ ประชาชน และอุตสาหกรรม
-
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยการวิเคราะห์การใช้น้ำทั้งวงจร และหาแนวทางที่จะปรับปรุงการใช้น้ำของบริษัทด้วยการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีในกระบวนการผลิต การปรับปรุงเครื่องจักร และการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่
-
ติดตั้งระบบบำบัดน้ำด้วยวิธีทางชีวภาพที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณภาพของน้ำเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และติดตั้งระบบติดตามคุณภาพน้ำแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถตรวจสอบแบบออนไลน์ได้
-
การนำหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน และตัวแทนภาคประชาชน ร่วมตรวจสอบการดำเนินงาน เช่น บริษัทไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน) โรงงานปราจีนบุรี ได้นำผู้แทนจากหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน และตัวแทนภาคประชาชนเข้าร่วมรับฟังและตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและการปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วออกนอกโรงงาน ตามใบอนุญาตของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี
SCGP ส่งเสริมศักยภาพพนักงาน สร้างนวัตกรรมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านโครงการ “The Inspiring Innovation 2022, Everyone Everywhere” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3
SCGP มุ่งส่งเสริมให้พนักงานนำเทคโนโลยีและความต้องการของผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง มาสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ บริการ โมเดลธุรกิจ และโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์ ผ่านโครงการ “The Inspiring Innovation” เวทีเพื่อส่งเสริมพนักงานนำไอเดียมาต่อยอดความรู้ ลงมือทำและพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าอย่างแท้จริง และเพิ่มโอกาสในการต่อยอดเป็นโซลูชันใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจ
โครงการ “The Inspiring Innovation 2022, Everyone Everywhere” จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยครั้งนี้มีพนักงานกว่า 480 คน จากทุกสายธุรกิจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ร่วมเสนอผลงานรวมถึง 80 ผลงาน โดยผลงานแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภท Product ประเภท Process และประเภท Business Model and Service ซึ่งผลจากการคัดเลือกโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ในครั้งนี้ SCGP สามารถนำนวัตกรรมถึง 23 ผลงานมาพัฒนาต่อสู่ Incubation Program เพื่อนำไปเสริมกระบวนการคิด ให้ความรู้ และฝึกฝนทักษะให้ผลงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ อาทิ การยกระดับโซลูชันการออกแบบบรรจุภัณฑ์ Upcycling หรือ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อได้ เช่น สามารถออกแบบให้เป็นของเล่นที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของครอบครัว หรือดัดแปลงกล่องให้เป็นชั้นเก็บของหรือจัดระเบียบบ้าน สร้างความแตกต่างให้กับสินค้าทั่วไปในท้องตลาดให้กับลูกค้า เพื่อใช้ในการทำ Marketing เป็นผู้นำ Trend สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มยอดขายและกำไรได้ การพัฒนากระดาษ High Extensible Sack Kraft 95 gsm โดยใช้สัดส่วนของเยื่อหมุนเวียนหรือ Recycled fiber ในการขึ้นรูปกระดาษได้มากถึง 30% ทดแทนกระดาษนำเข้าจากต่างประเทศที่ผลิตจากเยื่อ Virgin pulp 100 % โดยยังคงคุณสมบัติเทียบเท่าและสามารถใช้งานได้จริง สอดรับแนวนโยบาย ESG และตอบโจทย์ Sustainable supply กระดาษให้ลูกค้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน การพัฒนาโปรแกรม Artwork Process Automation เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำอาร์ตเวิร์ค ให้เป็น Automation Process ฯลฯ
จากวิสัยทัศน์ของ SCGP ในการมุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาค ด้วยนวัตกรรมสินค้าและบริการที่หลากหลาย ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน นวัตกรรมจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่บริษัทมุ่งสร้างอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเวที The Inspiring Innovation ถือเป็นเวทีหนึ่งที่ช่วยให้พนักงานมีโอกาสแลกเปลี่ยน ต่อยอด พัฒนาศักยภาพ และส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม ควบคู่ไปกับการลงมือทำ หรือ Execution เพื่อพัฒนาโซลูชันให้ตอบโจทย์ลูกค้าอย่างแท้จริง ตลอดถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อมให้เติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
SCGP คว้ารางวัลการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากเวทีระดับโลก ‘WORLD STAR AWARDS 2023’
SCGP สร้างชื่อเสียงบนเวทีออกแบบบรรจุภัณฑ์ คว้า 5 รางวัลคุณภาพจากเวทีการประกวด ‘WORLD STAR AWARDS 2023’ และ ‘ASIASTAR 2022 AWARDS’ จากผลงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ สวยงามและโดดเด่น สะดวกต่อการขนส่ง เพิ่มมูลค่า ตอบสนองการใช้งานและส่งเสริมการขายให้แก่สินค้า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ประสบความสำเร็จด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากเวทีระดับโลกและเอเชีย จากความมุ่งมั่นพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าได้อย่างแท้จริง มีรูปแบบและการดีไซน์ที่สวยงาม ดึงดูดผู้บริโภคและช่วยส่งเสริมการขายสินค้า โดยล่าสุดนักออกแบบจากบริษัทกลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด ใน SCGP ได้รับรางวัลชนะเลิศรวม 5 รางวัล จากงาน WORLD STAR AWARDS 2023 ที่จัดโดย World Packaging Organization (WPO) ซึ่งมีผลงานส่งเข้าประกวดในปีนี้รวม 440 ผลงาน ใน 16 ประเภท จาก 37 ประเทศทั่วโลก และงาน ASIASTAR 2022 AWARDS ที่จัดโดย ASIAN PACKAGING FEDERATION
สำหรับงานประกวด “WORLD STAR AWARDS 2023” นักออกแบบของ SCGP ได้รับ 2 รางวัลคุณภาพ ได้แก่ “รางวัลชนะเลิศประเภท Luxury Package” จากผลงาน Moon Cake “มองผ่านจันทร์” โดย ธาวิตา รัตนัย และ สุชาณัฐ ชิดไทย ที่ออกแบบกล่องขนมไหว้พระจันทร์เซ็ต 4 ชิ้น มีจุดเด่นด้านการออกแบบให้มีกลไกหมุนภาพดวงจันทร์ที่หน้ากล่องเพื่อเป็นลูกเล่น สื่อถึงเวลาที่เปลี่ยนผ่านไปและกลับมาบรรจบพบกันใหม่ของครอบครัว เสริมด้วยตัวอักษรมงคลของจีนเพื่อส่งมอบสิ่งดี ๆ แก่ผู้รับ นอกจากนี้ได้เพิ่มประโยชน์แก่บรรจุภัณฑ์สามารถนำมาใช้บรรจุของใหม่ได้เพื่อความคุ้มค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ “รางวัลชนะเลิศประเภท Point of Sale” (ชั้นแสดงสินค้า) จากผลงาน “Point of Purchase” โดยทีมนักออกแบบ ประกอบด้วย รินลดา อนุวัฒน์มงคล, ปทิตตา ศิริฤกษ์รัตนา, ผนินทร เรืองแววมณี และ ภาษา จุ้ยชุ่ม จากบริษัทกลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด ที่ออกแบบชั้นแสดงสินค้าแก่ 3M ที่ผลิตจากกระดาษ มีน้ำหนักเบา ประกอบง่ายไม่ต้องใช้กาว และบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ไม่เปลืองเนื้อที่ โดยได้แรงบันดาลใจการออกแบบจากรูปทรงเราขาคณิตของอาคารเรียนและรถโรงเรียน กลายเป็นชั้นแสดงสินค้าเพื่อสื่อสาร ณ จุดขาย ให้เด็กและครอบครัวสามารถเลือกผลิตภัณฑ์เครื่องเขียน อีกทั้งได้ออกแบบฟังก์ชันให้จัดวางสินค้าได้ 360 องศา ช่วยให้ลูกค้ามองเห็นได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นและยังจัดวางสินค้าได้มากกว่าชั้นแสดงทั่วไป
ขณะที่งานประกวด “ASIASTAR 2022 AWARDS” สามารถคว้า 3 รางวัลคุณภาพ ได้แก่ 1.รางวัลชนะเลิศประเภท Gift Package 2 รางวัล ประกอบด้วย ผลงาน “The Art of Hand Crafted” โดย ธาวิตา รัตนัย ได้ออกแบบกระเช้าของขวัญที่ใช้เป็นกล่องเก็บสิ่งของขนาดเล็กต่อได้ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากกล่องเก็บของและลวดลายผ้าไหมไทยประยุกต์ ตัวกล่องผลิตจากกล่องลูกฟูกลอน E ผลิตด้วยระบบพิมพ์ดิจิทัล หูหิ้วเป็นริบบิ้นผ้าสีทอง ออกแบบลวดลายกราฟฟิกหรูหรา แข็งแรงรับน้ำหนักได้มาก และผลงาน “Lucky Fortune Gift Set” จาก กฤชพร กุลรัตนรักษ์ และ สุริยา พิมพ์โคตร ที่ออกแบบกล่องของขวัญสบู่มงคลและฟอร์จูนคุกกี้ โดยออกแบบโครงสร้างกล่องให้มีขนาดกะทัดรัด สามารถใช้ประโยชน์จากสายคล้องของพู่ที่ยื่นออกจากกล่องเพื่ออำนวยความสะดวกในการหิ้ว และออกชิ้นส่วนกันกระแทกให้ใช้กับสบู่ที่มีรูปทรงแตกต่างกันได้ถึง 4 รูปแบบ นอกจากนี้สามารถนำไปแขวนเพื่อเป็นของตกแต่งได้อีกด้วย และรางวัลสุดท้ายเป็น รางวัลชนะเลิศประเภท Transport Package (บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง) จากผลงาน “Ready to Share – Ready to Show” โดย ธนพร วรวาส และ กฤชพร กุลรัตนรักษ์ ที่คำนึงถึง 3 ปัจจัย ได้แก่ ระบบขนส่ง ค้าปลีกและการจัดแสดงที่โดดเด่น โดยเป็นกล่องที่รองรับการขนส่ง พร้อมวางขายและเรียงซ้อนกันได้ นอกจากนี้ได้ออกแบบให้สามารถฉีกตามรอยปรุเพื่อโชว์สินค้าและสะดวกในการเลือกซื้อ โดยนำกลไกแบบ Pop-Up มาใช้ร่วมกับการออกแบบเพื่อเพิ่มความโดดเด่นแก่สินค้าในชั้นวางเป็นที่จดจำ และคำนึงถึงการใช้กระดาษอย่างคุ้มค่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การได้รับรางวัลครั้งนี้เป็นความภาคภูมิใจของ SCGP และสร้างแรงบันดาลใจแก่นักออกแบบในการสร้างสรรค์ผลงานที่ดีแก่ลูกค้าและตอบโจทย์การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดย SCGP พร้อมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนางานออกแบบบรรจุภัณฑ์อย่างต่อเนื่องที่เป็นนวัตกรรมทางความคิดและการดีไซน์ เพื่อเสริมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ของประเทศไทยให้มีมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้น
วันสตรีสากล 8 มีนาคม 2566 นี้ ร่วมเฉลิมฉลองกับองค์การสหประชาชาติภายใต้หัวข้อ DigitALL: Innovation and technology for gender equality.
วันสตรีสากล 8 มีนาคม 2566 นี้ ร่วมเฉลิมฉลองกับองค์การสหประชาชาติภายใต้หัวข้อ
DigitALL: Innovation and technology for gender equality.
จากยุคเริ่มแรกของการใช้คอมพิวเตอร์จนถึงยุคปัจจุบัน ผู้หญิงได้มีส่วนร่วมพัฒนา Virtual reality และ AI มากมายที่ช่วยยกระดับโลกที่เราอาศัยอยู่ และมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่มักถูกลืมว่าพวกเขาก็เป็นส่วนสำคัญ ไม่ค่อยมีการยอมรับหรือชื่นชม ทุกวันนี้ความเหลื่อมล้ำทางเพศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบกับความสามารถในการเข้าถึงดิจิทัลในหลายพื้นที่ ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถปลดล็อกศักยภาพทางเทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่ รวมถึงภัยคุกคามและความรุนแรงทางออนไลน์ และการขาดความช่วยเหลือทางกฎหมาย ทำให้พวกเขาต้องออกจากพื้นที่ดิจิทัลของพวกเขาอย่างไม่มีทางเลือก อย่างไรก็ตาม ในอีกแง่มุมเทคโนโลยีดิจิทัลก็กำลังเปิดประตูบานใหม่ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของผู้หญิง เด็กหญิง และกลุ่มคนชายขอบอื่น ๆ ทั่วโลก ตั้งแต่การเรียนรู้ผ่านดิจิทัลที่ตอบสนองต่อเพศสภาพ ครบคลุมถึงการดูแลสุขภาพทางเพศ และอนามัยการเจริญพันธุ์โดยใช้เทคโนโลยี ที่มักเป็นเรื่องที่ถูกหลีกเลี่ยงในบางพื้นที่ ยุคดิจิทัลจึงเป็นโอกาสที่ไม่เคยมีมาก่อนในการขจัดความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมทุกรูปแบบ
ในวันที่ 8 มีนาคมนี้ เราสนับสนุนให้รัฐบาล นักเคลื่อนไหว และภาคเอกชนร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อทำให้โลกดิจิทัลปลอดภัยขึ้น ครอบคลุมมากขึ้น และเท่าเทียมกันมากขึ้น เราต้องมีโอกาสที่จะสร้างอนาคตที่ดีกว่า ไม่ใช่แค่สำหรับผู้หญิงและเด็กผู้หญิง แต่เพื่อมนุษยชาติและทุกชีวิตบนโลก
Source: https://www.unwomen.org
SCGP ติดอันดับธุรกิจที่มีความยั่งยืนใน The Sustainability Yearbook 2023 โดย S&P Global ระดับ Gold Class สะท้อนการเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ตอกย้ำความเชื่อมั่นจากผู้ลงทุนทั่วโลก
SCGP มุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อผู้บริโภคและโลกที่ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับ ESG ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียในทุกมิติ และเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงบนรากฐานของความยั่งยืน ทำให้ SCGP มีผลงานที่โดดเด่นทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) ด้านสังคม (Social) และด้านบรรษัทภิบาล (Governance) ส่งผลให้ SCGP ได้รับการประเมินความยั่งยืนในระดับ Gold Class ผลการประเมินอยู่ในกลุ่มคะแนนสูงสุด 1% แรก (Top 1%) และเป็น Industry Mover คือ บริษัทจดทะเบียนที่มีพัฒนาการโดดเด่น มีคะแนนการประเมินความยั่งยืนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าอีกด้วย ในปีนี้ S&P Global ได้ประเมินความยั่งยืนบริษัททั่วโลกกว่า 7,800 บริษัท โดยมี 710 บริษัทที่ได้รับการประกาศใน The Sustainability Yearbook 2023 เป็นบริษัทจากประเทศไทย 37 บริษัท ซึ่งเป็นอันดับ 5 ของโลก มีแบ่งการจัดอันดับเป็น 4 ระดับ ได้แก่ Gold Silver Bronze และ Member โดยระดับ Gold Class มีบริษัทจากประเทศไทยมากเป็นอันดังที่ 1 จำนวน 12 บริษัท ลำดับที่สองคือสหรัฐอเมริกา 11 บริษัท ลำดับสามคือไต้หวันและอิตาลี 7 บริษัท