SCGP Newsroom

SCGP รับโล่ “องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ระดับยอดเยี่ยม”

ข่าว

SCGP รับโล่ “องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ระดับยอดเยี่ยม”

Loading Data...
บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP โดย ชนาธิป กุประดิษฐ์ (ซ้ายสุด) ESG Integration Manager – SCGP รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ “องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ระดับยอดเยี่ยม สาขาสินค้าอุตสาหกรรม ประจำปี 2567”

หรือ Climate Action Leading Organization (CALO) – Excellence level เป็นปีที่สองติดต่อกัน จากเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย หรือ Thailand Carbon Neutral Network (TCNN) โดยมี จตุพร บุรุษพัฒน์ (กลาง) ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณ เพื่อแสดงถึงความเป็นผู้นำและรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็น Climate Action Leading Organization ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต่ำของประเทศไทยสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย SCGP ดำเนินธุรกิจด้วยความตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศไทย ครอบคลุมกลุ่มสินค้าเยื่อกระดาษ กระดาษ กระดาษบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์กระดาษ บรรจุภัณฑ์อาหาร และบรรจุภัณฑ์พลาสติก

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...

SCGP ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ Once Medical เพิ่มโซลูชันบรรจุภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศไทย

ข่าว

SCGP ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ
Once Medical เพิ่มโซลูชันบรรจุภัณฑ์
วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศไทย

Loading Data...

บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) โดย นายดนัยเดช เกตุสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงิน และ นายกรัณย์ เตชะเสน ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กิจการ Healthcare Supplies

ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ Once Medical Company Limited โดย นายแพทย์พุฒิศักย์ สัตยาประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อร่วมมือในการพัฒนาโซลูชันเข็มฉีดยา และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์คุณภาพสูงอื่น ๆ ซึ่งการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ จะส่งเสริมศักยภาพทางด้านโซลูชันบรรจุภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ของ SCGP รวมถึงขยายเครือข่ายลูกค้าได้อย่างแข็งแกร่งและครอบคลุมยิ่งขึ้น

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...

Prepack คว้ารางวัล Silver Award ในงาน A-PLAS 2024 จากการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ปกป้องกลิ่น และรักษ์โลก

ข่าว

Prepack คว้ารางวัล Silver Award ในงาน A-PLAS 2024 จากการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ปกป้องกลิ่น และรักษ์โลก

Loading Data...

บริษัทพรีแพค ประเทศไทย จำกัด ได้รับรางวัล The 5th Thailand Plastics Awards 2024 ระดับ Silver Award ในงาน A-PLAS 2024

จากการพัฒนา ANTI MOS บรรจุภัณฑ์สำหรับผ้าอ้อมเด็กสำเร็จรูปที่สามารถป้องกันกลิ่นสินค้าออกจากบรรจุภัณฑ์ ได้เป็นอย่างดี และยังสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ โดยมี พี่วิรัช หวังวโรดม กรรมการผู้จัดการ เป็นตัวแทนเข้ารับรางวัล เมื่อวันที่ 19 กันยายน ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

โดยบรรจุภัณฑ์นี้ผลิตจากฟิล์ม PE-EVOH ผ่านกระบวนการเป่าฟิล์ม Co-extrusion และได้รับการยอมรับการ Recycle จาก CEFLEX องค์กรด้านการ Recycle ระดับโลก นอกจากนี้ยังออกแบบให้ใช้งานได้กับเครื่องจักรเดิม ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคงคุณภาพที่แข็งแรงทนทาน สะอาด ปลอดภัย ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เพียงแต่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภค แต่ยังช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสะท้อนความเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์ที่มีความรับผิดชอบระดับสากล

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...

VEXCEL ใน SCGP ได้การรับรองระดับสากลจาก Association of Plastic Recyclers (APR) การันตีบรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลได้ ด้วยมาตรฐานกรีนโลก

ข่าว

VEXCEL ใน SCGP ได้การรับรองระดับสากลจาก Association of Plastic Recyclers (APR) การันตีบรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลได้ ด้วยมาตรฐานกรีนโลก

Loading Data...

บริษัทเว็กซ์เซล แพ็ค จำกัด ใน SCGP มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อโลกที่ยั่งยืน ล่าสุดได้รับการรับรองในระดับสากลจาก สมาคมพลาสติกรีไซเคิล หรือ Association of Plastic Recyclers (APR)

สำหรับนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทโพลิพรอพิลีนที่มีหลายชั้น ป้องกันการซึมผ่านออกซิเจน (Barrier PP multi-layer) มีคุณสมบัติยืดอายุอาหารพร้อมทานให้ยาวนานขึ้น สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นพลาสติกชนิดพอลิพรอพิลีนได้ สอดรับกับเทรนด์ด้านสิ่งแวดล้อมในการเพิ่มปริมาณการนำพลาสติกหมุนเวียนกลับมารีไซเคิล ลดการใช้พลาสติกใหม่

สมาคมพลาสติกรีไซเคิล (APR) เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรระดับนานาชาติองค์กรเดียวในทวีปอเมริกาเหนือ ที่มุ่งเน้นเรื่องการปรับปรุงกระบวนการรีไซเคิลพลาสติกโดยเฉพาะ เพื่อขับเคลื่อนความต้องการของตลาดในการใช้พลาสติกรีไซเคิล (PCR) ส่งเสริมให้ผู้ผลิตใช้วัสดุที่มีส่วนประกอบรีไซเคิลในผลิตภัณฑ์ของตน และสนับสนุนให้เกิดการใช้พลาสติกอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งการได้รับรองผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานของ APR จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่กลุ่มลูกค้าหลักของ Vexcel ในประเทศสหรัฐอเมริกา ตอบสนองต่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการที่ลูกค้าได้รับ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจของ SCGP ที่ให้ความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ซึ่ง Vexcel ได้ร่วมพัฒนากับลูกค้า เพื่อให้บรรจุภัณฑ์มีคุณสมบัติที่ใช้งานได้เหมาะสม และยังสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนตามกรอบแนวคิด ESG และมาตรฐานระดับโลก

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...

SCGP เปิดบ้านโชว์ฐานการผลิต “บรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูง” ชูความก้าวหน้าศักยภาพการผลิตและบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

ข่าว

SCGP เปิดบ้านโชว์ฐานการผลิต
“บรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูง”
ชูความก้าวหน้าศักยภาพการผลิต
และบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

Loading Data...

SCGP พาสื่อมวลชนเยี่ยมชมฐาน “บรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูง” ชูความก้าวหน้าด้านการผลิต ที่ผสานเทคโนโลยี ระดับเวิล์ดคลาส

เพื่อส่งมอบโซลูชันบรรจุภัณฑ์คุณภาพสูง ที่หลากหลาย ต่อเนื่อง ควบคู่กับการจัดการโรงงานมาตรฐานสากล ISCC Plus ที่มีการจัดการคาร์บอนและการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งห่วงโซ่อุปทาน พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม และบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงที่ได้รับการรับรอง CFP (Carbon Footprint of Products) เผยจุดเด่นฐานการผลิตใกล้ชิดลูกค้า ช่วยเพิ่มโอกาสและความสามารถในการแข่งขัน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...

SCGP เผยเคล็ดลับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ “ปั้นแบรนด์ให้วิ่ง แพคเกจจิ้งต้องจึ้ง”

ข่าว

SCGP เผยเคล็ดลับการออกแบบบรรจุภัณฑ์
“ปั้นแบรนด์ให้วิ่ง แพคเกจจิ้งต้องจึ้ง”

Loading Data...

งานสัมมนา “ปั้นแบรนด์ให้วิ่ง แพคเกจจิ้งต้องจึ้ง” จัดโดย บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ร่วมกับสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิยุทธสาร ณ นคร ได้สะท้อนถึงความสำคัญของไอเดียสร้างสรรค์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ นำไปสู่ความสำเร็จในการสร้างแบรนด์สินค้า

ผ่านคำบอกเล่าให้วิทยากรที่ร่วมสัมมนา เผยให้เห็นถึงเทรนด์และเคล็ดลับการสร้างแบรนด์ผ่านการออกแบบ โดยบรรจุภัณฑ์ต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนแบรนด์เพื่อสร้างการจดจำให้กับลูกค้า การจะทำเช่นนั้นได้จะต้องรู้ความต้องการเชิงลึกของลูกค้า (Customer Insight) บรรจุภัณฑ์ยังต้องเป็นไปได้ทางธุรกิจ ขณะที่เทรนด์การออกแบบบรรจุภัณฑ์มาแรงในขณะนี้ คือบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Sustainable Packaging)

บรรจุภัณฑ์ต้องเป็น “รักแรกพบ” และ “ไม่รู้ลืม”
ปิยนุช ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ Co-Founder & Head of Strategies HEAD100 Co., Ltd. ในฐานะอนุกรรมการกลุ่มบริหารการตลาด สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) กล่าวว่า แบรนด์คือทุกจุดสัมผัส (Touch Point) ที่ผู้บริโภคมองเห็น เป็นจิ๊กซอว์ที่ต่อเป็นภาพลักษณ์ของแบรนด์ โดย “บรรจุภัณฑ์” ถือเป็นจุดสัมผัสสำคัญ หากออกแบบบรรจุภัณฑ์ดี จะลดเงินลงทุนสร้างแบรนด์ ลดค่าโฆษณาลงได้ ทั้งนี้เคล็ดลับการปั้นแบรนด์ให้วิ่ง บรรจุภัณฑ์จะต้องเป็น “รักแรกพบ” สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เช่น การเปิดใช้งานที่สะดวก ประหยัดการใช้วัสดุ การมีบาร์โค้ดไว้ที่บรรจุภัณฑ์เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ เป็นต้น
“เหมือนเราเจอใครสักคน สิ่งแรกที่เราเห็นคือ เสื้อ ผ้า หน้า ผม ต้องประทับใจจากภายนอกก่อน จึงจะเข้าไปสื่อสาร เห็นตัวตนภายใน ซึ่งบรรจุภัณฑ์จะทำหน้าที่นั้น”
นอกจากนี้อีกเคล็ดลับสำคัญ คือ “ไม่รู้ลืม” บรรจุภัณฑ์ไม่เพียงการออกแบบสวยงาม แต่ต้องบอกเล่าเรื่องราวที่โดนใจลูกค้า ผ่านการสร้างเอกลักษณ์-จุดขาย การสร้างประโยชน์-แก้ปัญหา (Pain Point) ให้กับลูกค้า และสุดท้ายคือการสร้างรายได้ให้กับแบรนด์

“บางแบรนด์ไม่ต้องเห็นโลโก้ เห็นแค่หน้าตาบรรจุภัณฑ์ ก็รู้เลยว่าคือแบรนด์นี้ จากเอกลักษณ์ของรูปทรงบรรจุภัณฑ์ ความโดดเด่นของโทนสีที่ใช้ แพคเกจจิ้งจึงเป็นเหมือนโรงละคร เป็นพื้นที่ของการเล่าเรื่องแบรนด์ เพื่อปิดจ็อบการตลาดให้ได้”

บรรจุภัณฑ์ที่ดี : ถูกใจลูกค้า สอดคล้องเมกะเทรนด์
คุณวรรณา สวัสดิกูล, CEO ของ SilverActif Co., Ltd. และอนุกรรมการ MMG-TMA ได้นำเสนอมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทรนด์สำคัญในระดับโลกที่กำลังจะมีผลกระทบต่อธุรกิจ ในยุคปัจจุบัน โลกธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ความต้องการของผู้บริโภคก็มีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้ามามีบทบาท ทั้งจากเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด ความตระหนักเรื่องความยั่งยืน (sustainability) และการเติบโตของสังคมสูงวัย (aging society) สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น “เมกะเทรนด์” ที่นักการตลาดและนักธุรกิจต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด

“ความสำคัญของการปรับตัวและการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ไม่เพียงแค่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค แต่ยังต้องสอดคล้องกับแนวโน้มใหญ่ ๆ ของโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้างประสบการณ์ที่เป็นส่วนตัวสำหรับผู้บริโภคผ่านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่นและแตกต่าง”

บรรจุภัณฑ์ในยุคปัจจุบันไม่ใช่เพียงแค่สิ่งที่ใช้ห่อหุ้มสินค้า แต่ยังเป็นเครื่องมือที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับผู้บริโภค การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ใส่ใจในทุกรายละเอียดและสามารถเล่าเรื่องราวของแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ธุรกิจสามารถประสบความสำเร็จในตลาดที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน

บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน เทรนด์แรง ตอบโจทย์โลก
สุเมธ บุณยธนพันธ์ Manager – Inspired Studio and Packaging Solutions, SCGP กล่าวในมุมมองผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ถึง 4 เทรนด์ด้านการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มาแรง ได้แก่ 1. บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน 2. การออกแบบเฉพาะเจาะจง สร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ 3. นวัตกรรมวัสดุและบรรจุภัณฑ์ และ 4. สมาร์ทแพคเกจจิ้ง

“เทรนด์บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน พูดกันมานาน แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือดีกรีที่เพิ่มขึ้น ความยั่งยืนหมายถึงการลดการใช้ทรัพยากร ลดการใช้วัสดุ และเพิ่มสัดส่วนของการรีไซเคิล จากแรงกดดันด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้แต่ละประเทศตื่นตัว ออกกฎหมายและมาตรการบังคับทั้งการผลิตและขายสินค้าเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่สินค้าใช้ ทำให้แบรนด์ต่าง ๆ ต้องเร่งปรับตัวตามกติกาการค้าที่เปลี่ยนไป”

สุเมธ ยังกล่าวถึงความท้าทายในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนว่า บรรจุภัณฑ์ยั่งยืนต้องใช้งานได้จริง และต้องสวยงาม ขณะเดียวกันต้องเป็นไปได้ทางธุรกิจ การผลิตและการตลาด ต้องตอบโจทย์เจ้าของแบรนด์และผู้บริโภค
บรรจุภัณฑ์ : สินทรัพย์ความยั่งยืนแบรนด์

ด้าน กฤตวิทย์ เลาหธนาพร Executive Director, M. Water Co., Ltd. บริษัทผู้ผลิตน้ำดื่มแบรนด์สปริงเคิล เล่าว่า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดีต้องบอกเล่าเรื่องราวและตัวตนของแบรนด์เพื่อเข้าถึงใจผู้บริโภค บรรจุภัณฑ์จึงถือเป็นสินทรัพย์ที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับแบรนด์นั้น ๆ

โดยสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือ “ต้องทำได้จริง” หมายถึงขวดสปริงเคิลต้องลดขยะได้จริง และตัวขวดต้องเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้จริง 100% ไม่ได้ทำเพื่อสื่อสารทางการตลาด หรือประชาสัมพันธ์ และ “ไม่อ่อนข้อให้กับข้อจำกัด” พยายามแก้ไขอุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

“กรณีของสปริงเคิล เราต้องการออกแบบขวดน้ำ Lableless (ไร้ฉลาก) เพื่อลดขยะพลาสติก และสามารถรีไซเคิลได้ 100% แต่สิ่งที่ท้าทายจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องการออกแบบให้สวยงาม แต่เป็นการแสดงข้อความบนบรรจุภัณฑ์ให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เราพัฒนาเทคนิคการยิง inkjet ลงบนผิวขวด เพื่อให้ข้อความสามารถอ่านได้ชัดเจน และหมึก inkjet ที่เราใช้ก็สามารถล้างออกได้ในกระบวนการรีไซเคิลตามปกติ และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสะท้อนถึงความไม่ประนีประนอมต่อข้อจำกัดของเราในฐานะผู้ผลิตสินค้า เพื่อร่วมลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม” กฤตวิทย์ กล่าว

ทั้งหมดนี้คือความสำคัญของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ แรงส่งสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่เจ้าของแบรนด์ต้องการใช้บรรจุภัณฑ์สื่อสารอารมณ์ความรู้สึกให้โดนใจลูกค้า ขณะเดียวกันยังต้องเป็นไปได้ในการผลิต ขนส่ง และการตลาด

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...

Deltalab ลงนามสัญญาร่วมกับ SCGJWD ใน “สัญญาบริการ Free Zone Warehouse 2567 – 2568” พร้อมกระจายสินค้าจากยุโรปสู่เอเชียด้วยบริการครบวงจร

ข่าว

Deltalab ลงนามสัญญาร่วมกับ SCGJWD ใน
“สัญญาบริการ Free Zone Warehouse 2567 – 2568”
พร้อมกระจายสินค้าจากยุโรปสู่เอเชียด้วยบริการครบวงจร

Loading Data...

Deltalab, S.L. (Deltalab) ลงนามสัญญาร่วมกับ SCGJWD ใน “สัญญาบริการ Free Zone Warehouse 2567 – 2568” ก้าวสำคัญในการเป็น ASIA HUB สำหรับกระจายสินค้าของ Deltalab ประเทศสเปน สู่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นับเป็น การให้บริการแบบครบวงจร (End to End Service Logistics Solution) ด้วย New Business Model

คุณกรัณย์ เตชะเสน Chief Operating Officer, Healthcare Supplies Business ดร.พงษ์สุดา ผ่องธัญญา Managing Director, Deltalab, S.L. ประเทศสเปน และทีมงาน SCGP พร้อมกับทีมผู้บริหารจาก SCGJWD นำโดยคุณบรรณ เกษมทรัพย์ Co-CEO คุณชรินทร นพรัตน์ SVP- Freight Business คุณประกิต วรวัฒนานนท์ SVP- Business Integration Management และคุณบดินท ตัณฑไพบูลย์ SVP- Transport and Warehouse Operations เข้าร่วมพิธีลงนามสัญญา ในครั้งนี้ โดยมีอายุสัญญาการใช้บริการ 1 ปี (2567-2568) ถือเป็นก้าวสำคัญของความร่วมมือ เพื่อเชื่อมโยงและต่อยอด ความเชี่ยวชาญ ขยายผลการเติบโตให้กับธุรกิจ Healthcare Supplies อย่างมีคุณภาพ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...

เฟสท์ ใน SCGP ร่วมกับ เมืองสุขสยาม ณ ไอคอนสยาม จัดงาน ‘สุขรักษ์โลกปี 3’ สานต่อนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “Fest Bio Brown”

ข่าว

เฟสท์ ใน SCGP ร่วมกับ เมืองสุขสยาม ณ ไอคอนสยาม
จัดงาน ‘สุขรักษ์โลกปี 3’ สานต่อนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “Fest Bio Brown”

Loading Data...

บริษัทผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยเฟสท์ (Fest) ใน SCGP ร่วมกับเมืองสุขสยาม, ไอคอนสยามและธนาคารกสิกรไทย จัดงานสุขรักษ์โลก ภายใต้แนวคิด “ลดปริมาณขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use plastic)”

นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร “Fest Bio Brown” ปลุกพลังรักษ์โลกร่วมกับร้านค้าที่เข้าร่วมงานผู้เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแนะนำให้ประชาชนมีส่วนร่วมสร้างจิตสำนึกรักษ์โลกผ่านการใช้งานบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหารย่อยสลายได้ จากความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายพันธมิตรร้านค้าในพื้นที่สุขสยามที่ร่วมมือกันเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า 1 ล้านชิ้นในปี 2566 เฟสท์สานต่อพลังความร่วมมือส่งมอบนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารย่อยสลายได้ “Fest Bio Brown” เพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์ทางเลือกในการลดปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติภายใน 60 วัน ผลิตจากเยื่อยูคาลิปตัส 100% ที่มาจากป่าปลูกเชิงพาณิชย์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยังช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ด้วยกระบวนการผลิตตามมาตรฐานสากลจึงเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารที่มีความสะอาด ปลอดภัย เข้าไมโครเวฟและเตาอบได้ สามารถบรรจุอาหารที่มีน้ำมันและน้ำได้นานหลายชั่วโมงโดยไม่รั่วซึม ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานดังกล่าวได้ถึงวันที่ 6-18 กันยายน 2567 ณ ลานเมือง เมืองสุขสยาม ไอคอนสยาม ชั้น G

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...

SCGP ชวนธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่าบรรจุภัณฑ์ ทรานส์ฟอร์มลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ข่าว

SCGP ชวนธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่าบรรจุภัณฑ์
ทรานส์ฟอร์มลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Loading Data...

การลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดภาวะโลกร้อนและแก้ไขปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน ตลอดจนสร้างความยั่งยืนแก่โลกใบนี้ กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ภาคธุรกิจทั่วโลกกำลังตื่นตัว ล่าสุด บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ได้จัดสัมมนา “Sustainable Synergy for Decarbonization” เพื่อเปิดพื้นที่แห่งความร่วมมือทั้ง ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ SMEs และสถาบันการเงิน ในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ มาแลกเปลี่ยนมุมมองความท้าทายและแนวทางการปฏิบัติ เพื่อร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

Carbon Footprint ปัจจัยสำคัญสู่ความยั่งยืน

“วิชาญ จิตร์ภักดี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดประเด็นว่า โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากธุรกิจไม่ปรับตัวจะไม่สามารถแข่งขันได้ ซึ่ง SCGP ได้ปรับตัวมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Sustainability Transformation ถือเป็นดีเอ็นเอของเอสซีจี โดย SCGP ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 25% ภายในปี 2030 และ Net Zero ภายในปี 2050 ผ่านการดำเนินงานใน 2 ด้านหลัก ได้แก่ การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรหรือ CFO (Carbon Footprint for Organization) หันมาใช้พลังงานเชื้อเพลิงที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ โดยติดตั้งโซลาร์รูฟ และใช้พลังงานชีวมวลแทนพลังงานถ่านหิน นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อใช้พลังงานน้อยลงและสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1 ล้านตัน ปลูกต้นไม้สะสมจำนวน 2.3 ล้านต้น นำขยะพลาสติกมาหลอมเป็นเมล็ดพลาสติกใหม่ นำเศษเยื่อกระดาษจากกระบวนการผลิตไปทำสารปรับปรุงดิน 24,000 ตันต่อปี เพื่อนำไปปลูกต้นยูคาลิปตัสสำหรับผลิตกระดาษต่อไป

อีกด้านคือ การได้รับการรับรอง Carbon Footprint of Products (CFP) 128 ผลิตภัณฑ์ จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ที่สามารถระบุจำนวนปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นได้ และได้รับการรับรอง Carbon Footprint จากกระบวนการพิมพ์และขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์กระดาษรวม 16 กระบวนการ ครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้ากระดาษบรรจุภัณฑ์ โดยลูกค้าสามารถนำ CFP ไปใช้ต่อยอดคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดได้ นอกจากนี้ ยังได้พัฒนา “ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ที่ออกโดย SCGP (Private Declaration Label)” เพื่อแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบรรจุภัณฑ์ และได้พัฒนา “ซอฟต์แวร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์” ของผลิตภัณฑ์ พร้อมเอกสารรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้า ทั้งนี้ได้ตั้งเป้าขอการรับรอง CFP ในกลุ่มสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย 100% ภายในปี 2027 ด้วย

“CFP จะช่วยให้ลูกค้าสามารถดำเนินธุรกิจได้สอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐที่มีการบังคับใช้มากขึ้นในหลายประเทศ ช่วยเพิ่มโอกาสการขาย การเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ให้ลูกค้าส่งออกกลุ่มต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาและเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ นับเป็นการช่วยเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไทยให้มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมด้วย” วิชาญ กล่าว

ร่วมมือธุรกิจขับเคลื่อนความยั่งยืน
ตัวอย่างขององค์กรที่ดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้น “สุทธิพงค์ ลิ่มศิลา” Head of Corporate Strategy บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า คาโอได้กำหนดกลยุทธ์ทางด้านความยั่งยืน หรือ Kirei Lifestyle Plan ไว้จำนวน 19 แนวทางปฏิบัติด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปรับปรุงคุณภาพชีวิต และการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อทุก ๆ คน และอื่น ๆ คาโอใส่ใจในการพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สะดวกต่อการใช้งาน มุ่งใช้นวัตกรรมเพื่อให้ผู้บริโภคมีชีวิตที่ง่ายขึ้น ทางด้านสิ่งแวดล้อมเองก็เป็นเรื่องที่สำคัญในยุคปัจจุบัน คาโอพัฒนาบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน โดยเลือกใช้ Bio PET และวัสดุที่เป็น Mono Material รวมถึงเพิ่มการใช้ Flexible Packaging (บรรจุภัณฑ์ชนิดถุงหรือฟิล์ม) แทน Rigid Packaging (บรรจุภัณฑ์ชนิดขวด) เพื่อลดปริมาณการใช้พลาสติกลง 50-70% เพิ่มสัดส่วนการใช้ Green Carton by SCGP เป็น 100% ภายในปีนี้ หรือแม้แต่การคัดเลือกแหล่งวัตถุดิบที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและบุกรุกป่า โดยคาโอมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็น 100% ภายในปี 2025 และลดการปล่อยคาร์บอนใน Scope 1 (การปล่อยคาร์บอนทางตรง) และ Scope 2 (การปล่อยคาร์บอนทางอ้อม) ให้ได้ 55% และลด CFP ในผลิตภัณฑ์คาโอ ทั้งหมดให้ได้ 22% ภายในปี 2030 นอกจากนี้ได้ตั้งเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2040 และ Carbon Negative ภายในปี 2050

เสริมเอสเอ็มอีสู่แนวทางลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ตัวแทนหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย “ยุทธนา เจียมตระการ” ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนและสิ่งแวดล้อม เผยว่า หอการค้าไทยมีสมาชิกกว่า 1.4 แสนรายทั่วประเทศ จากผลสำรวจเมื่อ 4 ปีก่อนพบว่า มีสมาชิกเพียง 30% ที่ตระหนักถึง ESG ซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อย มาจากปัจจัยหลายอย่าง เพื่อให้เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน SME ควรเริ่มหาข้อมูล พรบ.การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มีทั้งหมด 14 หมวด 177 มาตรา เพื่อทำความคุ้นเคย ซึ่งจะเป็นทั้งเครื่องมือและกลไกสำคัญในการพาผู้ประกอบการไปสู่จุดหมาย Net Zero รวมถึงมาตรฐานการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ Taxonomy ระบบการซื้อขายสิทธิคาร์บอนเครดิต (Emission Trading System) เป็นต้น

ธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่าปรับตัว ลดปล่อยคาร์บอน
“เชวง เศรษฐพร” Head of Credit Product Development ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารสามารถเป็นได้มากกว่าผู้สนับสนุนด้านสินเชื่อ โดยมุ่งให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่ม SME แบบจูงมือไปด้วยกัน มีการจัดเตรียม “สินเชื่อธุรกิจเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน” (Krungsri SME Transition Loan) เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ ให้วงเงินกู้สูงสุด 100% ของมูลค่าโครงการ ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 10 ปี โดยมีอัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรกที่ 3.50% ต่อปี ปีที่ 3-5 อัตราดอกเบี้ยคงที่ต่ำสุด 4.75% พร้อมสิทธิ์เข้าสมัครโครงการ Krungsri ESG Academy ให้ลูกค้าได้เรียนรู้และสนับสนุนธุรกิจเปลี่ยนผ่านได้อย่างรู้ลึก ทำได้จริง นอกจากนี้ ธนาคารยังมีกลไกสนับสนุนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ โครงการ Krungsri ESG Awards มอบรางวัลให้ผู้ประกอบการที่มีโครงการเพื่อความยั่งยืนที่โดดเด่น สร้างการมีส่วนร่วมเพิ่มเติม รวมถึงเครือข่ายพันธมิตรใน ESG ecosystem ของกรุงศรีด้วย

 

ด้าน “สายชล อนุกูล” ผู้จัดการโรงไฟฟ้าและไบโอแก๊ส บริษัทโชคยืนยงอุตสาหกรรม จำกัด หนึ่งในผู้ประกอบการได้ยกตัวอย่างการปรับแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืนกล่าวว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งต้องใช้พลังงานไฟฟ้าสูงและมีน้ำเสีย จึงจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อนำ “น้ำเสีย” มาผลิตเป็น “ก๊าซชีวภาพ” เพื่อนำกลับไปใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าภายในโรงงาน คิดเป็นสัดส่วน 60% ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด โดยน้ำเสียส่วนหนึ่งจะถูกนำไปบำบัดและใช้ปลูกหญ้าเนเปียร์ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยผลผลิตที่ได้ 60% จะแบ่งให้ชุมชนโดยรอบ และอีก 40% บริษัทฯ นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงาน นอกจากนี้ ได้ร่วมกับ SCGP ติดตั้งโซลาร์ฟาร์มขนาด 5 เมกะวัตต์ คิดเป็น 20% ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด ในอนาคตมีเป้าหมายให้เป็นโรงงานที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100% โดยจะลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซชีวภาพ หรือติดตั้งโซลาร์ฟาร์มหรือโซลาร์ลอยน้ำเพิ่ม

ส่วน “ธเนศ เมฆินทรางกูร” Commercial Director บริษัทไวส์ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ WICE มองว่า ESG เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความยั่งยืน หากไม่เริ่มตั้งแต่วันนี้จะสูญเสียความสามารถการแข่งขันเนื่องจากมีกฎหมายเตรียมบังคับใช้ โดยการลดคาร์บอนในธุรกิจโลจิสติกส์ ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนมาใช้รถ EV เท่านั้น แต่รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งให้ดียิ่งขึ้น เช่น การจัดเส้นทางขนส่งใหม่ ใช้เรือขนส่งที่ใช้เชื้อเพลิงกำมะถันต่ำ ติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยปัจจุบัน WICE อยู่ในระหว่างเตรียมการให้บริการขนส่งเชื้อเพลิงวูดเพลเลท (wood pellets) จาก สปป.ลาว มายังประเทศไทย และส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิต Green Energy

ถือเป็นงานสัมมนาที่ส่งต่อความพร้อมให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ในการเตรียมรับกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม และร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการเพิ่มมุมมองการดำเนินงานด้าน ESG จะมาช่วยลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อ และเร่งพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน หรือสามารถต่อยอดไปสู่ธุรกิจใหม่ที่สร้างรายได้ให้เติบโตอย่างมั่นคง

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...

SCGP รับมอบเกียรติบัตร จาก ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร สำหรับความร่วมมือด้านกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม

ข่าว

SCGP รับมอบเกียรติบัตร จาก ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร สำหรับความร่วมมือด้านกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม

Loading Data...

SCGP รับมอบเกียรติบัตร เนื่องในการให้การสนับสนุนกิจกรรม “แกะ ล้าง เก็บ” นำกล่องยูเอชทีใช้แล้ว กลับสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี จาก พล.อ.ท.ภักดี แสง-ชูโต ผู้ช่วยราชเลขานุการในพระองค์ฯ และกรรมการ บริษัทดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด พร้อมด้วยคุณพิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด

โดยมีพี่เอกราช นิโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กิจการบรรจุภัณฑ์ จากวัสดุสมรรถนะสูงและ Enterprise Marketing Director, SCGP เป็นตัวแทนรับ พิธีมอบจัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “เสวนาดอยคำ 30 ปีกับการพัฒนาที่ยั่งยืน” ณ อาคาร 111 ถนนประดิษฐ์มนูธรรม กรุงเทพมหานคร


SCGP ร่วมสนับสนุนกิจกรรม “แกะ ล้าง เก็บ” ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพการรีไซเคิลและการลดปริมาณขยะ มุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมส่งเสริมการรับรู้และการมีส่วนร่วมเรื่องการจัดการขยะ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันอย่างถูกวิธี เพื่อสร้างสังคมที่น่าอยู่ไปด้วยกัน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...