SCGP Newsroom

เปิดใจวิศวกรหนุ่ม ผู้คว้าโอกาส เปิดประสบการณ์ทำงานในต่างแดน

ในเส้นทางการทำงาน เรามีตัวเลือกเพื่อหาโอกาสในการพัฒนาตนเองหลากหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือการได้ลองไปทำงานในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาว เช่นเดียวกับ สาม – รนินท์โชติ พลพัฒนะวัชร์ ที่วันนี้มีโอกาสมาแซร์เรื่องราวการเรียนรู้วัฒนธรรม วิถีชีวิต แนวทางการทำงานในต่างประเทศที่เขาได้ไปสัมผัสและประทับใจ จนอยากชวนให้ทุก ๆ คนก้าวออกจาก comfort zone และเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง
 

พัฒนาตัวเอง เรียนรู้และปรับตัว สู่ “MOBILITY”

“เดิมผมเป็นวิศวกร สังกัดฝ่ายพลังงาน ได้ทำโครงการเกี่ยวกับการขยายธุรกิจมาพอสมควร เราก็มองว่าในอนาคตถ้ามีโอกาสได้ไปทำงานที่ต่างประเทศ น่าจะเป็นความท้าทายใหม่ ๆ จนทราบข่าวว่า บริษัทกำลังมีโครงการขยายกำลังการผลิตที่ประเทศฟิลิปปินส์ ผมจึงอาสาสมัครไปทำงานที่นั่น

“โครงการที่ไปทำคือ การติดตั้งเครื่องจักรเพื่อรองรับการขยายกำลังการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ ผมมีหน้าที่ดูแลงานไฟฟ้าและไอน้ำของโรงงาน การตัดสินใจไปครั้งนี้มาจากความอยากเรียนรู้ครับ ผมชอบสื่อสาร ชอบทำงานกับคนต่างชาติเพื่อหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่แล้ว และคิดว่าการไปอยู่ต่างประเทศน่าจะเป็นการพัฒนาตัวเองไปอีกขั้นมีอะไรที่ท้าทายมากขึ้นกว่าเดิม ด้วย mindset แบบนี้ การใช้ชีวิตในต่างประเทศได้เจอวัฒนธรรมใหม่ ผมจะพยายามเรียนรู้และปรับตัวให้กลมกลืน ขณะเดียวกันก็มีรุ่นพี่ที่อยู่มาก่อนคอยให้คำแนะนำด้วยอีกทาง

“ที่ฟิลิปชินส์ใช้ 2 ภาษา คือภาษาตากาล็อก กับภาษาราชการคือภาษาอังกฤษ เราก็พอมีพื้นฐานภาษาอังกฤษอยู่บ้าง และเป็นโอกาสดีที่ได้ฝึกการฟังและการพูดเพิ่มขึ้นด้วยเพราะต้องใช้ทุกวัน เรื่องศัพท์เทคนิคไม่ค่อยมีปัญหาเนื่องจากใช้ในการทำงานอยู่แล้ว ส่วนภาษาตากาล็อกค่อนข้างยากเหมือนกันครับ แต่คนที่นั่นเขาจะรู้สึกดี ถ้าเราพยายามพูดตากาล็อกกับเขา แม้จะเป็นแค่คำพื้นฐาน”ในวันหยุด เพื่อนฟิลิปปินส์มักจะชวนพวกเราไปร่วมกิจกรรม ไปเรียนรู้วัฒนธรรมกับเขา คนที่นั่นค่อนข้างเป็นมิตรครับ การใช้ชีวิตก็คล้าย ๆ กับคนไทย ให้ความสำคัญกับครอบครัว ช่วงวันหยุดเราจะเห็นทุกคนไปทำกิจกรรมกับครอบครัว เวลาทำงานเขาก็มองทุกคนเป็นครอบครัวเดียวกัน ก็เลยสนิทกันง่าย”
 

COLLABORATE ทุกความหลากหลาย ก้าวข้ามทุกอุปสรรค

“สิ่งที่ผมประทับใจคือ ทุกคนทำงานด้วยเป้าหมายเดียวกันและพยายามหาแนวทางการทำงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในแต่ละขั้น การมีเป้าหมายย่อย ๆ ในแต่ละกระบวนการ ทำให้เราได้เรียนรู้ร่วมกัน เป็น leaning experience โดยเฉพาะตอนที่เจอกับสถานการณ์โควิด 19 ระลอกแรก ทุกคนมีความกังวลถึงสุขภาพและความปลอดภัยของทีมที่ต้องเข้าไปติดตั้งเครื่องจักร เราก็ต้องมาร่วมกันวางแผน แก้ไข และช่วยกันสนับสนุนจากทุกฝ่าย จึงทำให้ผ่านไปได้ เป็นการร่วมมือหรือ collaborate จากทุกคน ทุกเชื้อชาติ ที่ผมรู้สึกประทับใจมาก

“แนวคิดการทำงานของผม นอกจากขอบเขตงานที่ตัวเองรับผิดชอบอยู่ผมจะมองไปถึงงานของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย บางครั้งอาจต้องทำงานเกินกว่าหน้าที่รับผิดชอบบ้าง เกินขอบเขตของตัวเองบ้าง เพื่อให้งานในภาพรวมราบรื่นมากขึ้น

“ปัจจุบัน SCGP ขยายธุรกิจไปในหลากหลายประเทศ ทั้งเวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อังกฤษ สเปน ก็ถือเป็นโอกาสที่ดีของพนักงาน ที่จะได้มีโอกาสไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น ได้เปิดโลกทัศน์เรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ ๆ ก็อยากเชิญชวนเพื่อนพนักงานให้ลองคว้าโอกาสนี้ไว้  เพื่อพัฒนาตนเองและเรียนรู้จากความท้าทายใหม่ ๆ ที่เข้ามาในมุมขององค์กร เมื่อคนของเราเก่งขึ้น องค์กรเราก็จะมีความเข้มแข็งมากขึ้น และสามารถปรับตัวได้ในสถานการณ์ที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบันได้ครับ”

 

กรัณย์ เตชะเสน – หมั่นเรียนรู้ หาโอกาส สร้างคำตอบ

เป้าหมายสำคัญของ SCGP คือ การพัฒนาสินค้า บริการ และโซลูชัน เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ในครั้งนี้เราได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับพี่กรัณย์ เตชะเสน ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กิจการบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ – SCGP
หนึ่งในผู้บริหารที่เรียกได้ว่าเติบโตมากับครอบครัว SCGP พร้อมกับความเปลี่ยนแปลงขององค์กรมาทุกยุคทุกสมัย

เส้นทางการทำงาน บนการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

เริ่มต้นเส้นทางการทำงานกับ SCGP ที่โรงงานบ้านโป่ง ตั้งแต่ปี 2531ต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์สำคัญที่พี่กรัณย์จำได้ดีคือ เป็นช่วงที่ธุรกิจเยื่อและกระดาษเริ่มบุกเบิกตลาดกระดาษพิมพ์เขียน จากเดิมที่อยู่ในตลาดกระดาษบรรจุภัณฑ์

“ช่วงแรกดูแลงานวิศวกรรมครับ ต่อมาได้ดูแลการผลิตกระดาษอาร์ตคุณภาพสูงที่ใช้กับนิตยสารชั้นนำหรือจากต่างประเทศ ทำเต็มตัวอยู่ราว ๆ 8 ปี ระหว่างนั้นได้ทุนของสภาอุตสาหกรรมฯ ไปศึกษางานผลิตกระดาษในประเทศสกอตแลนด์อยู่เกือบปี จากนั้นได้ทุนของ SCG ไปเรียนต่อด้าน MBA ที่สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบเมื่อปี 2542 จึงกลับมาทำงานในสายงานด้านการตลาด

“ช่วงนั้นธุรกิจเน้นตลาดกระดาษบรรจุภัณฑ์ เพราะเพิ่งขยายกำลังผลิต พี่ได้เข้าไปดูในส่วนวางแผนการตลาด สนับสนุน แก้ปัญหาให้ส่งออกได้มาก ๆ ซึ่งมีส่วนร่วมบุกเบิกธุรกิจนี้ของเรา ทั้งที่ฟิลิปปินส์และเวียดนาม นอกจากนี้ก็ดูแลการสร้างแบรนด์สินค้าของบริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด จนได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ดูแลในธุรกิจนี้ต่อเนื่องประมาณ 10 ปี ก่อนจะย้ายไปดูแลงานที่บริษัทกลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด โรงงานนวนคร ซึ่งเป็นโรงงานหลัก ฝั่งกรุงเทพฯ ตอนเหนือ ย้ายไปยังไม่ถึงปีก็เกิดน้ำท่วมใหญ่ ปี 2554 โรงงานเราได้รับผลกระทบพอสมควร ถือเป็นความท้าทายที่ต้อง บริหารงานและฟื้นฟูธุรกิจในช่วงเวลานั้น พอสถานการณ์เริ่มเข้าที่ก็ย้ายมาดูทางด้าน business integration และการขยายธุรกิจไปยังธุรกิจที่นอกเหนือจากกระดาษ

“ประมาณปี 2558 เรารีแบรนด์จาก SCG Paper เป็น SCG Packaging เดินหน้าขยายไปยังธุรกิจ Flexible Packaging โดยเข้าไปร่วมเป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัทต่าง ๆ ทั้งที่ไทยและเวียดนาม พอเข้าไปแล้ว เราก็ต้องพยายามสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ ทั้งเรื่องเงินทุน หรือบุคลากร ต่อมาเราก็ต่อยอดเป็นโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น บรรจุภัณฑ์คงรูป หรือบรรจุภัณฑ์สมรรถนะสูง ทดแทนกระป๋อง เป็นต้น เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้ครอบคลุมมากขึ้น ตามวิสัยทัศน์ของเราที่มุ่งมั่นในการเป็น Packaging Solutions Provider จนมาถึงกระทั่งปัจจุบันที่เราขยายธุรกิจไปยังตลาดวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยเริ่มปักธงที่ยุโรปในประเทศสเปนเป็นที่แรก นี่คือเส้นทางคร่าว ๆ ที่ผ่านมา ซึ่งก็ได้เห็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่เราเติบโตต่อยอดมาเรื่อย ๆ “

มองหาโอกาส ร่วมกันเรียนรู้ เพื่อนวัตกรรมที่ตอบโจทย์

ความท้าทายในปัจจุบันของพี่กรัณย์คือ การหา innovation มาตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภค นอกจากจะโฟกัสกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ดูแลอยู่แล้ว ยังต้องมีหูตาที่กว้างไกล มองหาสิ่งใหม่ ๆ รอบตัวไปพร้อมกันด้วย

“การที่เราต้องหา innovation มาตอบโจทย์ผู้บริโภคตลอดเวลาเราจึงต้องพยายามสังเกตลูกค้า อย่ายึดติดกับสิ่งที่เราทำอยู่เท่านั้นหรืออย่าคิดว่าเราจะคิดเพิ่มต่อจากลูกค้ามิได้ เพราะในที่สุดพวกเราทุกคนก็คือ consumer เหมือนกัน เป้าหมายมันจะไปบรรจบกันตรงปลายทางที่เรียกว่า consumer และให้เราลองมองในมุมของ consumer เพิ่มด้วยว่าเราจะต้องการ innovation แบบไหน และมีใครตอบโจทย์เรื่องนี้แล้วหรือยัง การที่จะคิดไปจนถึงปลายทางนั้น ต้องช่วยกันทั้งองค์กร ทุกคนต้องช่วยกันคิด พยายามศึกษา ต้องสร้างให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ หรือ learning organization ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ผิดพลาด เรื่องที่สำเร็จ หรือเรื่องใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ที่อาจจะตอบโจทย์ลูกค้า เราจะต้องมีการแชร์กันให้แต่ละคนรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องน่าสนุกน่าสนใจ”

สร้างความเชื่อมั่น เปิดโอกาส ทดลองทำ

เมื่อก้าวขึ้นมาดูแลงานบริหาร การสร้างความเชื่อมั่นให้ทีมและการเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้เสมอ คือหัวใจสำคัญในการบริหารงานของพี่กรัณย์

“สำหรับพี่ การบริหารคนต้องเริ่มจากการสร้าง trust เราต้องพยายามทำให้น้อง ๆ และทีมเห็นว่าเราวางใจได้ เชื่อถือได้ เราต้องไม่มีอคติ ต้องมีความยุติธรรมเท่าเทียมกันทั้งหมด พร้อมให้โอกาสอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องและทั่วถึง

“ทุกคนสามารถออกความเห็น ถกเถียงกันได้ ซึ่งพี่ให้ความสำคัญมากเพราะบ่อยครั้งในองค์กรใหญ่มีลำดับชั้นเยอะ หัวหน้าจะสั่งอย่างเดียวเถียงไม่ค่อยได้ บางเรื่องที่น้องในทีมแสดงความเห็น และเรารู้สึกว่ายังไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ ก็ปล่อยให้เขาลองทำ ถ้ามันยังไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย ต้องให้เขาได้ลอง เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ผมให้ความสำคัญ”

ขับเคลื่อนองค์กร ด้วยการเป็นเจ้าของร่วมกัน

“เราเป็นบริษัทมหาชนที่ทุกคนมีความเป็นเจ้าของเหมือนกัน อยากให้น้อง ๆ ทำงานเต็มที่เสมือนเป็นเจ้าของ นี่คือความท้าทายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนเจเนอเรชันใหม่ ที่มีความคิดอยากเป็นเจ้าของกิจการตัวเอง

“วัฒนธรรมที่เราพยายามสร้างขึ้นคือ อยากให้ทุกคนทำงานแบบ collaborate ช่วยกันทำเสมือนว่าตัวเองเป็นเจ้าของ อันนี้สำคัญมากเพราะจะทำให้เกิดความทุ่มเท เรียนรู้ และสะสมองค์ความรู้ในระยะยาว การที่เราจะ excellence ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่ว่าจะทำได้ภายในเวลาอันสั้น มันต้องสะสม ถ้าเรารู้สึกว่าเราเป็นเจ้าของแล้ว เราจะทุ่มเทช่วยให้องค์กรเราเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปได้

“อยากให้น้อง ๆ พยายามเรียนรู้และศึกษา ปัจจุบันนี้ช่องทางในการหาข้อมูลก็ง่าย และมีหลายช่องทาง ลองศึกษาเรื่องต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ควบคู่ไปกับความรู้ที่บริษัทสนับสนุนให้ ทุกคนต้องตระหนักว่า หากวันหนึ่งเราเป็นเจ้าของกิจการของตัวเอง วันนั้นไม่มีใครมาสอนแล้ว หมั่นตั้งคำถามว่า ทำไมต้องทำแบบนี้ ทำไมไม่ทำอย่างนั้น เพื่อฝึกคิด หาคำตอบเพื่อให้ได้เหตุผลที่แท้จริง ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอด วันนี้เราอาจจะมีวิธีที่ดีกว่า ไม่ต้องใช้วิธีเดิมแล้วก็ได้ เราต้องพร้อมปรับอยู่เสมอ” พี่กรัณย์กล่าวทิ้งท้าย

SCGP ไตรมาสแรกเติบโตต่อเนื่อง มุ่งสู่เป้าหมายรายได้ 140,000 ล้านบาท เดินหน้าขยายธุรกิจและพร้อมก้าวเป็นองค์กร Net Zero

          SCGP ทำรายได้จากการขายไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 เติบโตอย่างต่อเนื่องที่ 36,634 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปริมาณความต้องการหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนทยอยฟื้นตัว ท่ามกลางปัจจัยความผันผวนของเศรษฐกิจโลก เดินหน้าต่อตามแผนบริหารจัดการด้านต้นทุน รุกขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องด้วยความรอบคอบ มุ่งสู่เป้าหมายรายได้ในปีนี้ 140,000 ล้านบาท พร้อมกับขยายฐานลูกค้า B2C และยึดโมเดล ESG โดยเข้าร่วม Science Based Targets initiative (SBTi) ความร่วมมือระดับนานาชาติในการตั้งเป้าหมายการลดก๊าเรือนกระจกบนพื้นฐานที่มีการวัดผลทางวิทยาศาสตร์ซึ่งได้รับการยอมรับระดับสากล เพื่อยกระดับสู่ Net Zero ในปี 2593

          นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 มีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายได้จากการขาย 36,634 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนกำไรสำหรับงวดอยู่ที่ 1,658 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมี EBITDA อยู่ที่ 4,887 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หากไม่รวมรายการพิเศษในไตรมาสก่อน กำไรสำหรับงวดและ EBITDA ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 ยังคงสูงกว่าไตรมาสก่อน

           รายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นมาจากการเดินหน้าขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และการรับรู้รายได้จากการสร้างการเติบโตร่วมกันกับพันธมิตรทางธุรกิจ (Merger and Partnership : M&P) ของ Duy Tan, Intan Group และ Deltalab รวมถึงยอดขายจากกลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Integrated Packaging Business) ที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคอาเซียน ทั้งบรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ จากปริมาณความต้องการในกลุ่มสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค การส่งออกอาหารปรุงสำเร็จพร้อมรับประทาน อาหารแช่แข็ง และอาหารสัตว์เลี้ยง และปริมาณความต้องการและราคาของเยื่อกระดาษที่เพิ่มขึ้นจากความกังวลด้านการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน

          ในส่วนของกำไรสำหรับงวดที่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเป็นผลมาจากต้นทุนด้านวัตถุดิบและพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อทั้งอุตสาหกรรม ทั้งนี้ SCGP มีการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพและวางแผนบริหารจัดการล่วงหน้า โดยบริษัทได้ทำสัญญาซื้อขายปริมาณถ่านหินระยะยาวที่ต้องใช้ในปีนี้ เพื่อลดผลกระทบจากราคาที่ผันผวนและปริมาณที่มีจำกัด รวมถึงการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) อย่างต่อเนื่อง และวางแผนรับมือปัจจัยความไม่แน่นอนต่าง ๆ เช่น การบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม การพิจารณาโครงการลงทุนด้วยความรอบคอบ เป็นต้น

            สำหรับแนวโน้มความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนในปีนี้ คาดว่าจะทยอยฟื้นตัวจากการที่รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 และเปิดประเทศมากขึ้น ส่งผลให้ภาคการผลิตปรับตัวดีขึ้นและเกิดการเดินทางระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยคาดการณ์ว่าหากสถานการณ์รัสเซีย–ยูเครนยังคงยืดเยื้อ ทำให้ราคาพลังงานและวัตถุดิบในช่วงที่เหลือของปีนี้มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อไป

            ทั้งนี้ SCGP มุ่งทำรายได้จากการขายในปีนี้ 140,000 ล้านบาทตามเป้าหมาย และเดินหน้าขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยวางงบลงทุนในปีนี้ประมาณ 20,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ภายใต้แผน 5 ปี (ปี 2565–2569) ที่จะใช้งบลงทุนรวม 100,000 ล้านบาท โดยจะพิจารณาลงทุนอย่างระมัดระวังและรอบคอบ เน้นธุรกิจในกลุ่มบรรจุภัณฑ์ปลายน้ำ (Downstream) ที่มีศักยภาพการเติบโตในระยะยาวและได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค พร้อมกับการยึดมั่นในการดำเนินงานตามแผนบริหารความต่อเนื่องของการดำเนินงาน (Business Continuity Management) เพื่อลดความเสี่ยงจากทั้งภายในและภายนอกองค์กร เน้นด้านการมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติการ (Operational Excellence) การสร้างคุณค่าจากการผนึกกำลังทางธุรกิจ การบริหารจัดการต้นทุนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมท่ามกลางแนวโน้มภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามเป้าหมายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

            ยิ่งไปกว่านั้น SCGP ได้ยึดหลักการดำเนินธุรกิจด้วยการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) เพื่อเสริมศักยภาพธุรกิจและการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ SCGP ได้เข้าร่วม Science Based Targets initiative (SBTi) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติต่าง ๆ และในปัจจุบันมีบริษัทชั้นนำกว่า 2,000 แห่งทั่วโลกที่เข้าร่วมในโครงการ เพื่อตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกบนพื้นฐานที่มีการวัดผลทางวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลและสอดคล้องกับเป้าหมายตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต เพื่อให้ SCGP สามารถบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593

Earth Day 2022 – When Mother Earth Sends Us a Message

Mother Earth is clearly urging a call to action. Nature is suffering, extreme heat, wildfires and floods, as well as a record-breaking Atlantic hurricane season, have affected millions of people. Even these days, we are still facing Covid-19, a worldwide health pandemic linked to the health of our ecosystem.

Climate change, man-made changes to nature as well as crimes that disrupt biodiversity, such as deforestation, land-use change, intensified agriculture and livestock production or the growing illegal wildlife trade, can accelerate the speed of destruction of the planet.

For this International Mother Earth Day, let’s remind ourselves – more than ever – that we need a shift to a more sustainable economy that works for both people and the planet. Let’s promote harmony with nature and the Earth. Join the global movement to restore our world!

Source: https://www.un.org/

Earth Day 2022 – เมื่อโลกส่งข้อความถึงเรา

โลกกำลังส่งเสียงร้องให้เราแก้ไขอย่างเร่งด่วน ธรรมชาติเป็นทุกข์ ไฟป่า และน้ำท่วม ตลอดจนฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติกที่ทำลายสถิติ ส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนหลายล้าน รวมถึงการเผชิญกับ COVID-19 ซึ่งเป็นโรคระบาดด้านสุขภาพทั่วโลกที่เชื่อมโยงกับสุขภาพของระบบนิเวศของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์ และพฤติกรรมที่ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า เกษตรกรรมและการผลิตปศุสัตว์ที่ไม่เหมาะสม และการค้าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมาย ล้วนมีส่วนเร่งความเร็วในการทำร้ายโลก

สำหรับ Earth Day ในปีนี้ เรามาเตือนตัวเองให้มากขึ้นกว่าเดิมว่า เราต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่การดำเนินชีวิตและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนมากขึ้น คือทางรอดไม่ใช่ทางเลือก เพื่อทุกคนและโลกของเรา!

SCGP จับมือ ยูนิโคล่ สร้างเครือข่ายพันธมิตรด้านที่ยั่งยืนระดับประเทศ

SCGP โดย คุณดนัยเดช เกตุสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงิน ร่วมงานแถลงข่าวพันธมิตรความยั่งยืนกับบริษัท ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) จำกัด โดย มร. โยชิทาเกะ วาคากุวะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  และมร. ฮิโรยูกิ มะซึโมะโตะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และบริษัท รีแอค จำกัด (ReAcc) ภายใต้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดย คุณประสงค์ อินทรหนองไผ่ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจใหม่ สานต่อแผนปฏิบัติการสำหรับความยั่งยืนของฟาสต์ รีเทลลิ่ง ผ่านแนวคิดไลฟ์แวร์ (LifeWear) เพื่อเป้าหมายการเป็นเสื้อผ้าที่ถูกออกแบบมาให้ทุกคนมีชีวิตที่ดีขึ้นจากมุมมองของผู้คน ชุมชน และโลก สร้างเครือข่ายพันธมิตรด้านสังคมและโลกที่ยั่งยืน โดย SCGP ร่วมเป็นพันธมิตรสนับสนุนให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ส่งเสริมพฤติกรรมการคัดแยกวัสดุเหลือใช้ตั้งแต่ต้นทาง ภายใต้การดำเนินการของแบรนด์ SCGP Recycle จัดเก็บกล่องกระดาษเหลือใช้จากสาขาต่าง ๆ ของยูนิโคล่ นำมารีไซเคิลเป็นวัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์กระดาษที่แข็งแรงและสวยงาม ส่งมอบให้ค่ายผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (UNHCR) ในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดกาญจนบุรี นำไปใช้ประโยชน์ใหม่ และอีกส่วนหนึ่งเปลี่ยนเป็นกระดาษพิมพ์เขียน เพื่อใช้งานในยูนิโคล่ 32 สาขาในกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 สามารถจัดเก็บกล่องกระดาษเหลือใช้ได้แล้วกว่า 97 ตัน พร้อมขยายผลความร่วมมือไปยังยูนิโคล่สาขาอื่น ๆ ทั่วประเทศ”

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงพลังระดับนานาชาติ “EARTH HOUR 2022” กับอีกกว่า 190 ประเทศทั่วโลก

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงพลังระดับนานาชาติ “EARTH HOUR 2022” กับอีกกว่า 190 ประเทศทั่วโลก

ถอดปลั๊ก ปิดไฟที่ไม่จำเป็น 1 ชั่วโมง ลดโลกร้อน เริ่มง่าย ๆ ได้ที่บ้าน

โครงการ EARTH HOUR เป็นโครงการร่วมมือระดับนานาชาติที่ริเริ่มโดย กองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund : WWF) เพื่อสร้างจิตสำนึกเรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมครั้งแรกในปี 2550 ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย มีผู้เข้าร่วม 2.2 ล้านคน สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงเท่ากับรถยนต์จำนวน 48,000 คัน และลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงได้ 10% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาปกติ ปัจจุบันเป็นหนึ่งในการเคลื่อนไหวที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยจัดขึ้นทุกปีในวันเสาร์สุดท้ายของเดือนมีนาคม มีผู้สนับสนุนในประเทศและดินแดนต่างๆ มากกว่า 190 แห่งทั่วโลก

สำหรับประเทศไทยเริ่มเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ EARTH HOUR ครั้งแรกเมื่อปี 2551 และทำติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยในปีนี้มีกำหนดจัดกิจกรรมกัน ในวันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2565 โดยจะปิดไฟเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 20:30 น. ถึง 21:30 น. เพื่อเป็นการแสดงพลังให้ประชาคมโลกรับรู้ถึงความตั้งใจของประเทศไทยในการช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

World Water Day 2022 – ความมุ่งมั่นและการบริหารจัดการน้ำของ SCGP

น้ำ คือ ทรัพยากรที่่สำคัญอย่างยิ่่งในการดำเนินธุุรกิจของ SCGP เราจึงมุ่งเน้นการใช้งานอย่างรู้คุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักการ 3R ทั้งการปรับปรุงกระบวนการเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำในการผลิต  การนำน้ำจากกระบวนการผลิตที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการฟื้นฟูสภาพแหล่งน้ำธรรมชาติ โดย SCGP ได้ปฎิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการใช้น้ำของชุมชนรอบโรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้เกิดความไม่ปกติในปัจจุบัน เช่น ฝนไม่ตกตามฤดูกาล หรือไม่ตกในพื้นที่ต้นน้ำ ทำให้น้ำที่กักเก็บได้มีปริมาณที่ลดลง ในขณะที่มีความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นตามแนวโน้มของประชากรโลก SCGP เล็งเห็นความสำคัญและมีความมุ่งมั่นยกระดับการจัดการน้ำ โดยกำหนดให้มีคณะทำงานประกอบด้วยตัวแทนจากทุกธุรกิจมาดำเนินงานร่วมกันอย่างบูรณาการ เพื่อวางแผนกลยุทธ์ด้านการบริหารและจัดการความเสี่ยงในการใช้น้ำ มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่องโดยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สามารถใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

International Women’s Day Celebration! ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ UN Women และโลกใบนี้ สนับสนุนความร่วมมือในหัวข้อ “ความเท่าเทียมทางเพศในวันนี้ เพื่อวันพรุ่งนี้ที่ยั่งยืน”

ปัจจุบันเราเข้าใจถึงความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างเพศ ความเท่าเทียมทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น รวมถึงตระหนักว่าความเท่าเทียมทางเพศเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน เพราะหากผู้หญิงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประชากรโลก ยังคงต้องเผชิญกับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นผลมาจากการความไม่เท่าเทียม ก็จะทำให้การใช้ชีวิตของผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าที่ควรจะเป็น อย่างไรก็ตามแม้ผู้หญิงทั่วโลกพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้นแต่กลับเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ เช่น อาหาร น้ำ และเชื้อเพลิง ได้น้อยลง รวมถึงต้องรับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศด้วย ผู้หญิงจึงควรได้ร่วมเป็นผู้นำขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเพื่อบรรเทาผลกระทบและแก้ไขสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องร่วมสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือจากครึ่งหนึ่งของประชากรโลกเป็นอย่างน้อย เพื่อให้โลกที่ยั่งยืนและโลกที่เท่าเทียมในวันพรุ่งนี้เกิดขึ้นได้จริง

SCGP ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนแนวคิดของ UN Women เพราะเชื่อว่าความเท่าเทียมทางเพศเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญที่จะนำไปสู่โลกที่สงบสุข อุดมสมบูรณ์ และยั่งยืน

ที่มา: https://www.unwomen.org

SCGP ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจตามกรอบแนวคิด ESG ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ “โครงการส่งเสริมภาคธุรกิจลดก๊าซเรือนกระจก โดยกำหนดเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ (Science-based Target: SBT)

SCGP โดย คุณสุนทร ยงค์วิบูลศิริ ESG and Sustainability Director ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ “โครงการส่งเสริมภาคธุรกิจลดก๊าซเรือนกระจกโดยกำหนดเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ (Science-based Target: SBT) ปีงบประมาณ 2565” ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านพลังงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ หรือ ECEE คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองค์กรนำร่องอีก 7 องค์กร กำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กรและวางแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายการควบคุมก๊าซเรือนกระจกของโลกไม่ให้เกิน 1.5 หรือ 2 องศาเซลเซียส ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) โดย TGO และ ECEE จะให้การสนับสนุนและคำปรึกษา รวมถึงการรับรองการตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กรภายใต้เครือข่าย Thailand Carbon Neutral Network หรือ TCNN แก่องค์กรที่ร่วมโครงการ แสดงถึงความมุ่งมั่นและตอกย้ำการดำเนินธุรกิจตามกรอบแนวคิด ESG และเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 ของ SCGP