SCGP Newsroom

จาชชัว แพส : ทำเพิ่มวันละ 1 เปอร์เซ็นต์ มันก็ so excited! แล้ว

บทสัมภาษณ์ที่คุณกำลังจะได้อ่านจะทำให้คุณรู้จักดร.จาชซัว แพส Global Foodservice Packaging Head, SCGP ผู้บริหารรุ่นใหม่มากความสามารถคนนี้ดียิ่งขึ้น เพราะทั้งประสบการณ์ แนวคิดในการทำงานรวมถึงมุมมองการใช้ชีวิตที่ถูกสะท้อนผ่านทุกตัวอักษรในทุกบรรกัดต่อจากนี้ เราบอกเลยว่า “ไม่ธรรมดา” ยิ่งถ้าได้ลองเอาแนวคิดต่าง ๆ ไปปรับใช้ แม้ผลลัพธ์จากการเปลี่ยนแปลงจะน้อยนิดเพียงแค่วันละ1 เปอร์เซ็นต์ แต่ด้วยตัวเลขเท่านี้นี่แหละ ก็ช่วยให้ชีวิตพัฒนาขึ้นอย่าง So Excited แล้ว!

ลงทุนในประสบการณ์

พี่จาชเริ่มต้นเล่าย้อนกลับไปสมัยยังเรียนมหาวิทยาลัยว่าด้วยความที่เติบโตและใช้ชีวิตที่ต่างประเทศวัฒนธรรม การเรียนหนังสือคู่ขนานไปกับการทำงานจึงเป็นวิถีปกติ ก่อนจะเริ่มต้นทำงานบริษัทในเวลาต่อมา

 

หนึ่งในสองบริษัทที่พี่จาชเคยทำงานและอดเล่าให้ฟังไม่ได้คือ บริษัทเครื่องเสียงระดับโลกอย่าง Bose Corporation ที่บอสตัน สหรัฐอเมริกา ซึ่งเปิดโอกาสให้เขาได้ทำงานครบทุกขั้นตอน ตั้งแต่งานดีไซน์ไปจนถึงงานผลิต ส่วนอีกหนึ่งบริษัทที่คงไม่พูดถึงไม่ได้ คือ Intel แห่งซิลิคอนวัลเลย์ ที่นี่เขาได้ฝึกฝนการวิเคราะห์ด้าน Data Analytics และกลยุทธ์ด้าน Supply Chain อย่างเต็มขั้น ก่อนจะบินลัดฟ้ากลับมาที่ประเทศไทยหลังจากการทำงาน 16 ปี ที่สหรัฐอเมริกา เพื่อเริ่มต้นทำงานที่เอสซีจีในปี 2013 ด้วยประสบการณ์เต็มถัง

 

“มาถึงพี่ก็ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่อง Digital Transformation พี่เลยมีโอกาสได้ร่วมก่อตั้งและรับหน้าที่ CDO (Chief Digital Officer) แต่ที่คุ้นหูและคนรู้จักเยอะ น่าจะเป็น AddVentures ซึ่งเป็นงานที่ดูแลเรื่องการลงทุนและการเงินพร้อมกันของเอสซีจี ถือเป็นโอกาสดีเพราะได้ทำงานกับ ZERO TO ONE ซึ่งเป็น Startup Studio คนทุก BU สุดท้ายเมื่อสิ้นปีที่แล้ว ก็กลับมาที่ SCGP ในตำแหน่ง Global Foodservice

Packaging Head”

 

Understand the mode

พี่จาชเริ่มต้นในเรื่องนี้ว่า ความเข้าใจและการผสมผสานโหมดการทำงานให้ดี เป็นเรื่องที่จำเป็น “ถ้าอยู่ในโหมด Execution ทุกอย่างจะต้องเป๊ะ เพราะตั้งเป้าหมายไว้ว่าต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกันยังมีอีกโหมดที่เรียกว่า Exploration โหมดนี้ผลที่ได้อาจไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เน้น Improvement และ Test-and-Learn ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้”

 

การจัดทีมก็จะจัดแบ่งเป็นทีมเล็ก ๆ หลาย ๆ ทีม ให้มีความคล่องตัว แต่ละทีมจะมีความหลากหลาย ทั้งเพศ วัย และความเชี่ยวชาญ ยิ่งหลากหลายยิ่งดี พอมารวมตัวกันจะเกิดบรรยากาศการทำงานที่ดี เพราะทุกคนอยากฟังว่าคนอื่นจะแชร์อะไรและสร้างแรงบันดาลใจให้กันและกันในการวัดผล พี่จาชเน้นไปที่เรื่อง OKRs

(Objectives & Key Results) ด้วย อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือ ใช้ KPI วัดผลทั้งระยะสั้นและยาว ในระยะยาวรู้ว่าปีนี้ต้องทำอะไร ไตรมาสนี้จะทำอะไร จากนั้นแผนระยะสั้นจะรู้ว่าในแต่ละสัปดาห์ ทำได้ตรงตามที่วางแผนไว้หรือไม่

 

“สุดท้ายคือการจัดการ Project Management สำคัญมาก จะเป็นโปรเจกต์หรือเป็นโปรแกรมก็ว่าไป อันที่จริงเรื่องต่าง ๆ มันไม่ได้ซับซ้อน แค่สื่อสารกันให้มาก ๆ ส่วนอีกเรื่องที่อยากจะเน้นคือ การร่วมมือกัน หลักการง่าย ๆ คือ ถ้าเรื่องไหนเราเก่งเราก็ทำ เรื่องไหนเราไม่เก่งก็ให้คนที่เก่งกว่าเข้ามาช่วย”

 

Grow the top line

นอกจากเรื่องแนวคิดในการทำงานที่ผ่านมาแล้ว Merger and Partnership (M&P) เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราชวนพี่จาชคุยนอกจากธุรกิจ สิ่งที่ได้รับจากการ M&P คือวัฒนธรรมและพฤติกรรมผู้บริโภคที่แตกต่าง ไปจนถึงบางเรื่องที่ควบคุมไม่ได้ แต่พี่จาชก็ยังมองว่าเป็นความท้าทายที่ดี

 

“การ M&P คือการที่เรามองเขาเป็นพาร์ตเนอร์ที่ต้องร่วมมือกัน ไม่ได้มองว่าเราไปซื้อเขา ฉะนั้นการมองว่าเขาเก่งในสิ่งที่เขาทำ เป็นเรื่องที่ถูกต้องเขาเก่งเรื่องไหนให้เขาทำไป ส่วนเราเติมเรื่องไหนได้ก็เติมเข้าไป เพราะเป้าหมายของ M&P คือการ Grow the top line ต้องให้ความสำคัญกับ Integration และ Synergy Project มีหลายเรื่องที่ตอนนี้ไทยทำได้ หรือถ้าอยากจะลองไปฝั่งยุโรปกับอเมริกาก็ลองได้ หรือบางอย่างที่เราไปเห็นมา และอยากเอามาทำที่ไทยเราก็ทำได้ แนวคิดนี้ใช้ได้กับทุกหน่วยงานของเราเลยนะ”

 

แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่การทำความเข้าใจและเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับภูมิภาคนั้น ๆ รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค พี่จาชขยายความ

 

“พี่ได้โจทย์มาให้ดูทางยุโรปกับอเมริกา ซึ่งผู้บริโภคมีพฤติกรรมหลายอย่างที่ไม่เหมือนคนไทยบางอย่างอาจนำมาประยุกต์ใช้ที่ไทยได้ในขณะที่บางอย่างต้องแยกกัน โดยรวมแล้วพี่ว่า Very excited เขาช่วยเราบ้าง เราช่วยเขาบ้าง คงจะได้เรียนรู้ไปด้วยกัน”

 

SCGP ทุกคนเป็นฟันเฟืองที่สำคัญ

ก่อนจะจบบทสนทนาในครั้งนี้ เราอดที่จะถามไม่ได้ถึงการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน SCGP ให้ก้าวไปได้ไกล เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน “เราต้องพยายามพัฒนาในเรื่องที่ตัวเองทำถือเป็นโจทย์เบอร์หนึ่งเลย เพราะทุกคนเป็นฟันเฟืองที่สำคัญ ฉะนั้น Do the Best You Can ส่วนสิ่งสุดท้ายถ้ามีได้จะดีมากนั่นคือ มีความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าของธุรกิจหรือมีความคิดแบบผู้ประกอบการ ที่อยากฝากไว้คงมีเท่านี้ ที่เหลือ

ก็แค่ Have Fun และ Enjoy the Challenges!”

 

4 Ways to Improve Yourself

Read

ว่ากันว่าหนึ่งในวัตถุดิบที่ดีที่สุดในโลก ซึ่งคนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่เสพกันอยู่เป็นประจำคือ การอ่านพี่จาชก็เช่นกัน

“พี่เป็นคนที่ชอบอ่านบทความ บางครั้งก็อ่านแบบเชิงวิชาการบ้าง เพราะอะไรก็ตามที่อยู่ใน Area ของเรา

เราต้องรู้งว่าวงการที่เราอยู่มีอะไรเจ๋ง และอ่านอย่างอื่นด้วยเพื่อเปิดหูเปิดตา”

 

Mentor

นอกจากสารตั้งต้นอย่างหนังสือแล้ว การมี Mentor ที่ดีก็เป็นสิ่งจำเป็น “พี่มองว่าการมี Mentor นี่โคตรดี คือคน ๆ นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าก็ได้ อาจเป็นคนที่อยู่เลเวลเดียวกันหรือคนที่มีประสบการณ์มากกว่าคุณ หรืออาจเป็นรุ่นพี่ที่นับถือ แค่เดินไปพูดว่า ‘พี่ ผมขอกินข้าวกับพี่เดือนละครั้งได้ไหม?’ ง่ายมากเลยนะ อันนี้พี่ว่าดี”

 

Can-do

แต่ถ้าจะให้ดี คนทำงานยุคนี้ควรมีวิธีคิดแบบ Can-do “จะทำอะไรก็ยกมือเลย ผมขอทำอันนี้ครับ ผมอยากลองนั่นนี่ ‘What’s the worst that could happen?’ เชื่อเถอะว่าพี่ ๆ เขาไม่ยอมให้คุณ Fail กันแบบ
ระเบิดเถิดเถิงหรอก จะมีคนช่วยข้าง ๆ อยู่แล้ว”

 

Small change add up really fast

“มีคำพูดหนึ่งจากเจ้านายเก่าซึ่งพี่ชอบมาก ‘Small change add up really fast’ คิดง่าย ๆ ถ้าทำทุกอย่าง
ร้อยเปอร์เซ็นต์ทุกวัน ถึงวันหนึ่งเพิ่มเป้าหมายใหม่ นิดหนึ่งก็จะกลายเป็น 101 เปอร์เซ็นต์ หนึ่งเปอร์เซ็นต์นั้นจะเพิ่มขึ้นในทุกวัน และ 1 ปี มันจะกลายเป็น 38 เท่า”

SCGP และ Jones’ Salad ร่วมเสิร์ฟสุขภาพดี เพื่อทุกคนและสิ่งแวดล้อม

หลายคนอาจเริ่มคุ้นเคยกับมาสคอตคุณลุงหนวดหนาหน้าตาใจดีผูกผ้าพันคอสีเขียว ที่พบตามห้างสรรพสินค้าและคอมมูนิตี้มอลล์ต่าง ๆ รวมถึงจากคอนเทนต์สุขภาพที่ถูกแซร์ผ่านทางเฟซบุ๊กอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งมีที่มาจากร้านอาหารสุขภาพ โจนส์สลัด (Jones’ Salad) ของ คุณกล้อง – อาริยะ คำภิโล ผู้ก่อตั้งแบรนด์ที่ใช้โอเดียธุรกิจสมัยใหม่ ใช้สื่อสังคมออนไลน์ให้แบรนด์กลายเป็นที่รู้จักและสร้างความผูกพันกับผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

สร้างธุรกิจ เริ่มจากจุดเปลี่ยน

ย้อนกลับไปช่วงที่คุณกล้องเรียนจบได้ไม่นาน เขาตรวจพบก้อนเนื้อขนาดเท่าผลส้มซึ่งแพทย์แนะนำให้รีบผ่าตัด และโชคดีที่ก้อนเนื้อนั้นไม่ใช่เนื้อร้าย

 

“มันคือจุดเปลี่ยนให้ผมหันมาสนใจสุขภาพมากขึ้น แต่เมื่อ 8 – 9 ปี ที่แล้ว หาอาหารสุขภาพกินไม่ง่ายเหมือนตอนนี้ ผักที่สด สะอาด ปลอดสารเคมีจริง ๆ ยังหายาก จึงเป็นหนึ่งใน Pain Point เลยรู้สึกว่า

น่าจะมีคนเหมือนเราบ้าง คืออยากกินแต่หากินไม่ได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้อยากทำร้าน

 

“จนแฟนไปเรียนต่อที่ออสเตรเลีย พักอยู่กับน้าสาวที่แต่งงานกับชาวออสเตรเลีย ชื่อน้าโจนส์ ซึ่งแฟนผมบอกว่าน้าโจนส์คนนี้ทำสลัดได้อร่อยมาก ผมก็บินไปออสเตรเลียให้น้าโจนส์สอนทำน้ำสลัด เพราะคิดว่าถ้าควบคุมคุณภาพของน้ำสลัดได้ เราก็คุมรสชาติจากที่เดียวได้ และยังได้ลองดูธุรกิจอาหารสุขภาพที่นั่นด้วย

ซึ่งตอนนั้นก็กำลังบูมมาก คิดว่าบางอย่างน่าจะเอามาปรับใช้กับเมืองไทยได้ เลยกลับมาเปิดร้านชื่อ โจนส์สลัด (Jones’ Salad)”

 

ใส่ใจเสียงลูกค้า รักษาคุณภาพ สร้างความผูกพัน

ปี 2012 ช่วงที่โจนส์สลัดเปิดสาขาแรก เทรนด์สุขภาพกำลังเป็นที่พูดถึงในเมืองไทย แต่คุณกล้องยังหวั่นใจอยู่บ้าง เนื่องจากร้านของเขาขายสลัดอย่างเดียว และลูกค้าส่วนใหญ่อาจไม่คุ้นเคยนักเขาจึงเพิ่มทางเลือกด้วยรสชาติใหม่ ๆ ให้ถูกปากคนไทยมากขึ้น

 

“ผมก็พยายามทำการบ้านและครีเอทรสชาติที่ถูกปากคนไทยหน่อย เช่น น้ำสลัดซีฟู้ด น้ำสลัดกะเพรา ทำให้สามารถกินได้ทุกวันแล้วไม่เบื่อ ปัจจุบันน้ำสลัดเรามี 15 แบบ โดยรส Signature หรือรสต้นตำรับเราจะมีอยู่ตลอดส่วนที่คิดขึ้นใหม่ก็จะให้ลูกค้าลองชิมแล้วเก็บข้อมูล อันไหนที่ผลตอบรับไม่ดีก็เอาออก ผ่านมาเกือบ 9 ปี ตอนนี้เรามี 16 สาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เน้นเปิดสาขาในห้างสรรพสินค้า เพราะร้านเราเน้นไลฟ์สไตล์คนเมืองส่วนมาก เล่นฟิตเนสในห้าง แล้วขากลับก็ซื้อของเราไปกิน หรือพนักงานออฟฟิศที่กำลังคุมแคลอรี่ และกลุ่มคนรักสุขภาพ

 

“ผมมองว่าสิ่งสำคัญที่สุดของร้านอาหารคือ มาตรฐานที่ต้องเหมือนกันทุกจาน ซึ่งจะมีมาตรฐานได้ก็ต้องเริ่มจากการเทรนนิ่งพนักงาน ตอนที่เปิดแรก ๆ เราไม่เคยทำร้านอาหารมาก่อน ก็ได้รับ Complain อยู่เหมือนกันตอนนี้ผมเลยมาโฟกัสเรื่องการเซตหลักสูตร ทำเทรนนิ่งให้พนักงานทุกคนมีมาตรฐานเดียวกัน ส่วนวัตถุดิบเราน้นที่ความปลอดภัย ผักต้อง ปลอดสารพิษ”

 

นอกจากความเอาใจใส่ในรสชาติและคุณภาพอาหารแล้ว ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจของร้านโจนส์สลัดยังแตกต่างจากเพจร้านอาหารทั่วไป มีการนำเสนอคอนเทนต์เรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ตัวการ์ตูนลุงโจนส์ เป็นคนเล่าเรื่อง จนเป็นที่รู้จักของทุกคนแม้อาจจะยังไม่เคยมาชิมสลัดก็ตาม

 

“ใน 2 ปีแรกผมทำแบบสนุก ๆ ทำเองคนเดียวเลยครับ เขียนเอง ทำกราฟิกเองโพสต์ ตอบข้อความ ทำเองหมด เพราะอยากให้ความรู้จริง ๆ ไม่ได้คิดจะใช้เพื่อดึงลูกค้าเข้าร้านขนาดนั้น แต่พอทำไปทำมา เรารู้สึกว่ามันทำให้เรากับลูกค้าใกล้กันมากขึ้น

 

“จากปกติลูกค้าร้านอาหารจะได้ประสบการณ์จากการมารับประทานที่ร้าน พอมีเพจลูกค้าที่อาจไม่ได้มากินที่ร้านก็ยังเจอเราในออนไลน์ พอเปิดเจอบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ มันก็เกิดความผูกพัน เกิด Awareness จากตรงนี้ด้วยเหมือนกัน เวลาเปิดสาขาใหม่ คนเดินผ่านไปผ่านมาก็จำเราได้ อยากมาลองกินมากขึ้น เพราะคุ้นเคยจากสื่อออนไลน์อยู่แล้ว”

 

เพื่อนคู่คิด ช่วยเติมเต็ม เติบโตไปด้วยกัน

“หลังจากเปิดร้านมีลูกค้าส่งข้อความมาในเพจเยอะมากเลยครับ ว่ากินของเราทุกวันแต่รู้สึกผิดมาก เพราะกล่องพลาสติกเต็มบ้านเลย ตัวเราเป็นแบรนด์สุขภาพ เลยเป็นจุดที่ทำให้เราต้องคิดเรื่องบรรจุภัณฑ์กระดาษอีกครั้ง หลังจากที่เราเคยคิดจะใช้ และคิดว่าราคาสูงเกินไป

 

“SCGP เข้ามาคุยถึงความต้องการของเรา แล้วกลับไปออกแบบมาให้ดู ซึ่งสินค้าออกมาดีมาก ได้ตามที่เราต้องการเป๊ะเลย ความสูงพอดี มีถ้วยใส่น้ำสลัดวางผักแล้วฟูไม่ทับกันจนไม่น่ากิน สัมผัสกับอาหารแล้วไม่ยวบ สะดวกและยังดีไซน์ให้สามารถวางซ้อนกันได้ โดยไม่เคลื่อนหล่นง่าย แข็งแรงเหมาะกับการเดลิเวอรี่มากเลยครับ เราเลยรู้สึกว่าได้ทั้งช่วยโลกด้วย และได้บรรจุภัณฑ์ที่ลูกค้าเราแฮ็ปปี้ด้วย

 

“SCGP มีบริการดี มีโซลูชันมาช่วยแก้ปัญหาให้เราได้ ผมแฮ็ปปี้มากครับ ในอนาคตเรายังอยากให้ SCGP ซัพพอร์ตเพิ่มขึ้นในเรื่องรูปทรงกล่อง จริง ๆ เรายังต้องการกล่องอีกหลายแบบเลยครับ โดยเฉพาะกล่องทรงกลม ต้องการอีกหลายขนาดเลยครับ”

 

การเป็นโซลูชันที่ดี ไม่เพียงแต่นำเสนอสินค้าที่ตอบโจทย์การใช้งาน แต่ยังเป็นความเข้าใจและใส่ใจในความต้องการทุกมิติ และต้องมีความต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงพัฒนาต่อไปให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน

 

รับชมวิดีโอได้ที่ https://youtu.be/g42jWBsztEE

 

โครงการรวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ  

“รวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” 

 

62 องค์กรผนึกกำลังเปิดโครงการ “รวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” เพื่อรณรงค์ให้ผู้บริโภครักสิ่งแวดล้อมและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เพื่อให้ทรัพยากรได้หมุนเวียนนำกลับไปใช้ใหม่อย่างคุ้มค่า ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) พร้อมกับการช่วยเหลือสังคมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยการเปิดจุดรับกล่องกระดาษเหลือใช้ เพื่อนำกลับมารีไซเคิลเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี ส่งมอบให้แก่ผู้รับการสนับสนุนทั่วประเทศ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “รวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” ที่จุดรับกล่องกระดาษเหลือใช้ใกล้บ้านท่าน

  • ไปรษณีย์ไทย ทุกสาขา *ยกเว้น อีเอ็มเอสพอยท์ และร้านรับรวบรวม
  • เอสซีจี เอ็กเพรส ทุกสาขา
  • โลตัส ทุกสาขา *ยกเว้น เอ็กเพรส โกเฟรช และตลาด
  • ท็อปส์ มาร์เก็ต สาขา แฟชั่นไอส์แลนด์ พระราม 2 พระราม 3 พระราม 9 บางรัก โรบินสันลาดกระบัง บางแค ศรีนครินทร์ 101 เดอะเทิร์ดเพลส เพลินนารี่ อมอรินี่ ดอนเมือง ลาดหญ้า อินเด็กซ์บางนา เอสพลานาด อ่อนนุช สีลมคอมเพล็กซ์ สุพรีม เซ็นจูลี่พลาซ่า ปิ่นเกล้า รามอินทรา ทองหล่อ นวมินทร์ นางลิ้นจี่ ดิ เอ็กซ์เพลส์ มาร์เก็ตเพลสดุสิต ออลซีซัน สีลม ไอเพลส เดอะแจสวังหิน อาร์ซีเอ ประชานิเวศ ลาดกระบัง สุขาภิบาล 3 เบลลาแกรนด์ สุขุมวิท 41 มาบุญครอง มาร์เก็ต เพลส นวมินทร์ อุดมสุข ธัญญาพาร์ค รามคำแหง เอ็มไพร์ เซนต์หลุยส์ หนองจอก สาทร พรานนก พุทธมณฑล เดอะแจส ศรีนครินทร์ สายไหม ตลิ่งชัน สุขุมวิท แจ้งวัฒนะ เวสต์เกต 1 เวสต์เกต 2 รัตนาธิเบศร์ ชัยพฤกษ์ อินเด็กซ์ ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ เดอะวอล์ค ราชพฤกษ์ งามวงศ์วาน ศรีสมาน บีไฮฟ์
  • เซ็นทรัลพลาซา สาขา เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลวิลเลจ ชิดลม รังสิต รามอินทรา ศาลายา รัตนาธิเบศร์ บางนา เวสต์เกต อีสต์วิลล์ แจ้งวัฒนะ ปิ่นเกล้า ลาดพร้าว มหาชัย พระราม 2 พระราม 3 พระราม 9 หาดใหญ่ เชียงใหม่ เชียงใหม่แอร์พอร์ต พัทยา มารีนา ระยอง อุดร ขอนแก่น ชลบุรี โคราช
  • โรบินสัน สาขา แฟชั่นไอส์แลนด์ รัตนาธิเบศร์ ซีคอนสแควร์ มหาชัย พระราม 9 บางรัก บางแค ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต  ศรีสมาน ลาดกระบัง สมุทรปราการ
  • บีทูเอส สาขา เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลลาดพร้าว เซ็นทรัลชิดลม เซ็นทรัลพระราม 2 เซ็นทรัลพระราม 3 โรบินสันรังสิต เซ็นทรัลรังสิต เซ็นทรัลปิ่นเกล้า เซ็นทรัลบางนา ซีพีเอ็น พระราม 9
  • เพาเวอร์บาย สาขา เซ็นทรัลเวิดล์ ชิดลม ลาดพร้าว ปิ่นเกล้า เวสต์เกต เมกะบางนา พระราม 2
  • ซูเปอร์สปอร์ต สาขา เซ็นทรัลเวิลด์ ลาดพร้าว เวสต์เกต พระราม 9
  • ไทวัสดุ สาขา สุขาภิบาล 3
  • ออฟฟิศเมท สาขา อาร์ซีเอ
  • สยามพารากอน
  • สยามเซ็นเตอร์
  • สยามดิสคัฟเวอรี่
  • ไอคอนสยาม
  • สยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ต กรุงเทพฯ
  • เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ชั้น G หน้าลิฟท์หมายเลข 17-19
  • พาราไดซ์ พาร์ค ชั้น 1 หน้าเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์
  • พาราไดซ์เพลซ ชั้น 2 ใกล้ทางเชื่อมเข้าอาคาร
  • เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ชั้น 1 ลานไนน์ สแควร์
  • คอสโม บาซาร์ เมืองทองธานี
  • แปซิฟิค พาร์ค ศรีราชา
  • ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต และสเปลล์
  • อยุธยา ซิตี้พาร์ค
  • อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

62 องค์กร ผนึกกำลังเปิดโครงการ “รวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” ณรงค์ให้ผู้บริโภครักสิ่งแวดล้อมพร้อมกับการช่วยเหลือสังคม

62 องค์กร ผนึกกำลังร่วมส่งต่อกล่องกระดาษเหลือใช้

เพื่อรีไซเคิลเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี

 

62 องค์กรผนึกกำลังเปิดโครงการ “รวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” เพื่อรณรงค์ให้ผู้บริโภครักสิ่งแวดล้อมและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ด้วยการแยกกล่องกระดาษเหลือใช้ เพื่อให้ทรัพยากรได้หมุนเวียนนำกลับไปใช้ใหม่อย่างคุ้มค่า ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) พร้อมกับการช่วยเหลือสังคมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยการเปิดจุดรับกล่องกระดาษเหลือใช้ เพื่อนำกลับมารีไซเคิลเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี ส่งมอบให้แก่ผู้รับการสนับสนุนทั่วประเทศ

 

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับการประสานงานความร่วมมือกับ 62 องค์กร จัดทำโครงการ “รวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” เพื่อร่วมกันรณรงค์ให้ผู้บริโภคใส่ใจในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้และจัดการกับวัสดุประเภทกระดาษที่เหลือใช้ เพื่อหมุนเวียนนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่อย่างมีคุณค่า ซึ่งรวมถึงการนำมารีไซเคิลเป็น “เตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” นวัตกรรมการออกแบบสร้างสรรค์เพื่อสังคม ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด 19 และสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ โดยจะรวบรวมกระดาษตั้งแต่ 28 เมษายน ถึง 31 พฤษภาคมนี้

“จากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด 19 ส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนเตียงผู้ป่วย นำมาสู่การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้เกิดความต้องการเตียงสนามอีกเป็นจำนวนมากเพื่อรองรับผู้ป่วย SCGP จึงได้ออกแบบเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” ที่ผลิตจากกระดาษรีไซเคิล 100% มีน้ำหนักเบาเพียง 14 กิโลกรัม ประกอบและติดตั้งได้สะดวกรวดเร็ว รองรับน้ำหนักในแนวราบได้ 100 กิโลกรัม อย่างไรก็ตามจากความต้องการเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพีที่มีอย่างต่อเนื่อง จึงนำมาสู่ความร่วมมือกับ 62 องค์กร เพื่อเปิดจุดรับกล่องกระดาษที่เหลือใช้ นำกลับมารีไซเคิลเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี”

สำหรับประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมในโครงการนี้ สามารถส่งมอบกล่องกระดาษเหลือใช้ เพื่อนำกลับมารีไซเคิลเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี ณ จุดรับกระดาษสาธารณะ โดย SCGP จะรวบรวมกลับมายังโรงงานเพื่อนำไปรีไซเคิลและผลิตเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี ส่งมอบให้แก่ผู้รับการสนับสนุนต่อไป

“SCGP ขอขอบคุณพลังความร่วมมือจากทุกองค์กรและประชาชนทุกท่านที่ให้การสนับสนุนโครงการ “รวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” เพื่อร่วมกันช่วยเหลือให้คนไทยก้าวผ่านความท้าทายครั้งนี้ไปด้วยกัน มากไปกว่านั้นคือเพื่อร่วมกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการหมุนเวียนนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด” นายวิชาญ กล่าว ทั้งนี้ องค์กรทั้ง 62 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย 1.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.กรีนสตาร์ 3.กรุงเทพมหานคร 4.คาร์นิวาล ซัพพลาย 5.แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) 6.ฉายา พิกเจอร์ 7.ชิปป๊อป 8.ชีวาทัย 9.ซีดับเบิ้ลยู ทาวเวอร์ 10.เซ็นทรัล รีเทล 11.เซ็นทรัลพัฒนา 12.เซ็ปเป้ 13.โซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล 14.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 15.โตโยต้าบางกอก 16.ที.บี.ที. คอร์เปอเรชั่น 17.ไทยพีเจ้น 18.ไทยฟูจิพลาสติก 19.ไทยสพิริท 20.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 21.ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย 22.บอสสาร์ด (ประเทศไทย) 23.ไปรษณีย์ไทย 24.พานาโซนิค (ประเทศไทย) 25.พีทีจี เอ็นเนอยี 26.เพรสซิเด้นท์ ออโตโมบิล 27.แพรคติก้า 28.ไพโอเนียร์ (ประเทศไทย) 29.มูราคามิ แอมพาส (ประเทศไทย) 30.เมืองไทยประกันชีวิต 31.โยโกฮามา รับเบอร์ (ประเทศไทย) 32.โรงพยาบาลสงฆ์ 33.โลตัส 34.วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล 35.ศูนย์การค้าคอสโม บาซาร์ เมืองทองธานี 36.ศูนย์การค้าแปซิฟิค พาร์ค ศรีราชา 37.ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค และสเปลล์ 38.ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค 39.สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) 40.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยโดยสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม 41.สยามเซ็นเตอร์ 42.สยามดิสคัฟเวอรี่ 43.สยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ต กรุงเทพฯ 44.สยามพารากอน 45.สยามพิวรรธน์ 46.สยามมิชลิน 47.สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช 48.แสนสิริ 49.อาหารยอดคุณ 50.อินโนเว็ก โฮลดิ้ง 51.อีโค่ไลฟ์ 52.อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 53.เอ็น.ซี เฮ้าส์ซิ่ง 54.เอ็นทีเอ็น แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) 55.เอสซีจี 56.เอสซีจี เอ็กซ์เพรส 57.เอสซีจีพี 58.แอมเวย์ 59.แอล บี เอส แลบบอเรตอรี่ 60.แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ 61.ไอคอนสยาม และ 62.ไฮ-เทค พรีซิชั่น โมลด์ (ไทยแลนด์)

Flairosol, a refillable spray package that delivers very fine mist without making more waste

Generally, spray packages are divided into two types; the pressurized package that provides fine mist but is a singleused container and the pumping package which can be refilled but the mist is not as delicate as that of the first one.

Therefore, SCGP introduces Flairosol, an exclusive agent by Conimex. This spray package responds to the need for a spray bottle that is reusable, welldesigned, userfriendly and environmentally friendly and, at the same time, delivers an ultrafine mist.

Flairosol, an exclusive agent by Conimex, is an innovative spray package. This refill container is convenient and easy to use, giving highquality mist that can spread evenly on various types of surfaces across a wide range of applications: for household use, personal care, pet care, plant care, and car care etc.

  • The spray dispenser is unique and different. Its nonpressurized container gives the finest nano mist and is reusable, helping to reduce resource consumption.
  • It delivers continuous and consistent fine mist that covers the surface evenly, with liquid output of 1.20 cc (+/- 0.20 cc) per one spraying at the duration of 1.05 seconds +/- 0.2 seconds.
  • It is easy to usesimply turn the spray nozzle open and refill the solution. No battery or charger is needed.
  • It can contain several kinds of liquid such as mineral water, air or fabric freshener, liquid cleaner, including alcoholcontaining liquid, but it is not suitable for a solution with highconcentration of oil.
  • It is safe. Because of its nonpressurized container, there are no propellant gases that can be easily flammable if leaked.
  • There are two sizes for selection: 160ml and 300ml. suitable for a variety of applications.
 

SCGP เติบโตต่อเนื่องหลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 ทำรายได้ 27,253 ล้านบาท โตร้อยละ 12 ตอกย้ำศักยภาพโมเดลธุรกิจและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

SCGP สร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องหลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำรายได้จากการขายไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 รวม 27,253 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตอกย้ำโมเดลธุรกิจที่มีศักยภาพ จากการรุกขยายธุรกิจในภูมิภาค การพัฒนาโซลูชันบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค การปรับตัวอย่างรวดเร็ว และภาพรวมเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว

 

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า บริษัทสามารถสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องนับจากเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา โดยไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 มีรายได้จากการขายทั้งสิ้น 27,253 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสำหรับงวดเท่ากับ 2,135 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ EBITDA ((กำไรก่อนหักต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ไม่รวมเงินปันผลรับจากบริษัทร่วม และรวมกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนของเงินกู้ยืมตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2562) อยู่ที่ 5,267 ล้านบาท ถือว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

รายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นมาจากการเติบโตของความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในอาเซียน ราคากระดาบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ SCGP มีการวางโมเดลธุรกิจมุ่งขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์ปลายน้ำ (Downstream) ในภูมิภาคอาเซียนให้เติบโตยิ่งขึ้น การกระจายฐานลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความเกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ อาทิ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าเพื่อสุขอนามัย ฯลฯ ที่ยังมีการเติบโตได้ดี เนื่องจากเป็นสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน โดยบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค ที่มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ของรายได้จากสายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรจากการขายในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ส่วนบรรจุภัณฑ์สำหรับอีคอมเมิร์ซยังมีการเติบโตได้ดีในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค และได้รับผลเชิงบวกในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19

 

ขณะเดียวกัน SCGP ได้รุกขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ทั้งการขยายกำลังการผลิตและควบรวมกิจการ (Merger & Partnership หรือ M&P) โดยนับจากปลายปี 2563 ถึงปัจจุบัน ได้ลงทุนขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบบครบวงจร ได้แก่ (1) การเปิดดำเนินการโรงงานผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์กำลังผลิตส่วนเพิ่ม 400,000 ตันต่อปี ของ Fajar ในประเทศอินโดนีเซีย (2) การขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์อีกกว่า 347 ล้านชิ้นต่อปี ในบริษัทวีซี่ แพ็คเกจิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (3) การเข้าลงทุนใน Bien Hoa Packaging Joint Stock Company (SOVI) ประเทศเวียดนามเพื่อขยายฐานลูกค้าในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค (4) การเข้าลงทุนใน Go-Pak UK Limited เพื่อขยายฐานตลาดบรรจุภัณฑ์อาหารในภูมิภาคต่าง ๆ รองรับเมกะเทรนด์

 

นอกจากนี้ บริษัทมุ่งเน้นการผนึกกำลัง (Synergy) ระหว่างฐานการผลิตต่าง ๆ  เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการพัฒนาสินค้า การสร้างสรรค์นวัตกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การบริหารจัดการต้นทุนด้านพลังงาน รวมถึงบริหารจัดการ    ความเสี่ยงด้านต้นทุนวัตถุดิบผ่านศูนย์จัดการวัสดุรีไซเคิล (Recycling Station) และพันธมิตรต่าง ๆ อีกทั้งสามารถบริหารจัดการภาวะขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์จัดส่งสินค้าทางเรือในช่วงที่ผ่านมาได้

 

“ปี 2563 และ 2564 ถือเป็นปีที่ทุกธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างไร   ก็ตาม SCGP ตั้งเป้าผลักดันผลการดำเนินงานให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และสามารถสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกในปีนี้ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงโมเดลธุรกิจที่มีศักยภาพจากการกระจายฐานลูกค้าในอุตสาหกรรมที่หลากหลายและการนำเสนอโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่าง โดยตั้งงบประมาณรายจ่ายลงทุน (CAPEX) ปีนี้ที่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย งบประมาณรายจ่ายลงทุนเพื่อการเติบโตจากการ M&P และการขยายกำลังการผลิตประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อเป็นการขยายฐานลูกค้า และรองรับความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีการเติบโต และอีกประมาณ 5 พันล้านบาทเป็นงบประมาณรายจ่ายลงทุนประจำปีที่ใช้ในการซ่อมบำรุง โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพ โครงการวิจัยพัฒนาสินค้า และโครงการพัฒนาด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม” นายวิชาญกล่าว

 

บริษัทอยู่ระหว่างการขยายธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตอีกหลายโครงการ ประกอบด้วย การขยายกำลังการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ในฟิลิปปินส์อีก 220,000 ตัน/ปี และการขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์แบบอ่อนตัวในประเทศไทยอีก 53 ล้านตารางเมตร/ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 รวมทั้งการลงนามในสัญญาซื้อหุ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเพื่อเข้าถือหุ้นสัดส่วนร้อยละ 70 ใน Duy Tan Plastics Manufacturing Corporation (Duy Tan) ประเทศเวียดนาม เพื่อขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบคงรูปในเวียดนาม คาดว่าจะปิดดีลแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2564

SCGP จับมือ SCG Express เปิดโครงการ “Dream Box” รีไซเคิลกล่องพัสดุเป็นอุปกรณ์การเรียนให้น้อง ๆ กว่า 30 โรงเรียนทั่วประเทศ

SCGP และ SCG Express ชวนผู้บริโภคส่งกล่องพัสดุใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล  แปรรูปเป็นสมุดภาพระบายสี “เปียกปูน-ใบตอง” อุปกรณ์การเรียน และของเล่นกระดาษ เติมฝันและสร้างสรรค์จินตนาการให้น้อง ๆ ในโรงเรียนที่ขาดแคลนกว่า 30 แห่งทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยสามารถร่วมโครงการกับเราได้ง่าย ๆ เพียง เก็บ พับ และมัด กล่องพัสดุใช้แล้ว และส่งกลับผ่านช่องทาง SCG Express

  1. จุดรับพัสดุด่วน SCG Express ทุกสาขา
  2. บริการรับพัสดุที่บ้าน (Pick Up Service)
  3. พนักงาน SCG Express ที่มาส่งพัสดุ

ตั้งแต่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2564 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center โทร. 02-239-8999

บรรจุภัณฑ์ เฟสท์ ชิลล์ ทางเลือกที่ใช่ของฟู้ดเดลิเวอรี

ปัจจุบัน แพลตฟอร์มส่งอาหารมากมายเกิดขึ้นและได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะความสะดวกสบายของการรับประทานอาหารที่บ้าน เพราะไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความสะดวกสบาย จนอาจเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ แต่อย่างไรก็ดียังคงให้ความสำาคัญในเรื่องของความปลอดภัยและใส่ใจที่จะมีส่วนร่วมในเรื่องสิ่งแวดล้อม

ในฐานะผู้นำทางด้านบรรจุภัณฑ์อาหาร เฟสท์จึงได้คิดค้นบรรจุภัณฑ์เฟสท์ ชิลล์ ที่ตอบโจทย์บริการเดลิเวอรี่ ที่ร้านอาหารและผู้ประกอบการมั่นใจได้ในความสะอาด ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตจากเยื่อยูคาลิปตัสจากป่าปลูกเชิงพาณิชย์ มีการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ให้มีความแข็งแรง ขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย เคลือบด้วยฟิล์มที่สามารถบรรจุอาหารร้อนได้ถึง 130 องศาเซลเซียส และสามารถสัมผัสอาหารได้โดยตรง ทั้งอาหารที่มีความร้อน มีน้ำและน้ำมัน และผ่านการทดสอบในเรื่องความสะอาดปลอดภัยอย่างเข้มงวดข้อสำคัญหลังจากการใช้งานยัง สามารถลอกฟิล์มเพื่อนำไปรีไซเคิล และบรรจุภัณฑ์สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติภายใน 60 วัน ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่คำนึงถึงผลประโยชน์ทั้งต่อธุรกิจผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

  • สามารถแช่เย็นได้ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส
  • สามารถคัดแยกขยะได้สะดวก ด้วยการลอกแผ่นฟิล์มที่เคลือบด้านในออกจากตัวกล่อง
  • สามารถอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟที่กำาลังไฟ800 วัตต์ ได้นาน 3 นาที
  • ฟิล์มพลาสติกที่ลอกออกมาแล้วสามารถนำไปรีไซเคิลได้
  • ส่วนที่เหลือจะย่อยสลายได้ภายใน 60 วัน
  • บรรจุภัณฑ์มีความแข็งแรงเหมาะสำาหรับการจัดส่งเดลิเวอรี

บรรจุภัณฑ์เฟสท์ ชิลล์ มีวางจำาหน่ายที่ Fest Shop เอสซีจี สำานักงานใหญ่ บางซื่อ และ www.festforfood.com
ติดตามรายละเอียดหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/fest
LINE @festforfood หรือ Call Center 0-2586-1000

SCGP x Lotus ชวนนำกล่องกระดาษกลับมารีไซเคิล ตั้งเป้าขยาย Drop point 220 สาขาทั่วประเทศ

SCGP x Lotus ชวนนำกล่องกระดาษกลับมารีไซเคิล
ตั้งเป้าขยาย Drop point 220 สาขาทั่วประเทศ

 

ในยุค New Normal ที่การ “ชอปออนไลน์” กลายเป็นไลฟ์สไตล์ปกติที่เกิดขึ้นทุกวัน เมื่อพัสดุส่งถึงมือผู้รับ กล่องกระดาษที่ทำหน้าที่ปกป้องและขนส่งก็หมดหน้าที่ลง และกลายเป็นวัสดุเหลือใช้ แม้ว่าจะมีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่มีใจรักษ์โลก ตระหนักถึงการนำบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นกลับไปรีไซเคิลเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า แต่จุดรับรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับไม่เป็นที่แพร่หลาย และไม่สะดวกต่อการนำไปทิ้ง ส่งผลให้กล่องกระดาษเหล่านั้นจึงถูกทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่นไปในที่สุด

SCGP โดยคุณจิรศักดิ์ แก้วอุบล Director – Recycling Business จับมือ Lotus พันธมิตรหัวใจสีเขียว โดยคุณสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท โลตัส ร่วมกันติดตั้ง Drop point รับกล่องและลังกระดาษที่ใช้แล้วที่ Lotus ทุกสาขาทั่วประเทศ เพื่อนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเป็นกล่องกระดาษใหม่ สานต่อความตั้งใจของผู้บริโภคที่เห็นคุณค่า เพื่อร่วมสร้างระบบการจัดการวัสดุเหลือใช้อย่างยั่งยืนตามหลัก Circular Economy ไปด้วยกัน

SCGP ขยายการลงทุน วีซี่ แพ็คเกจิ้ง รับดีมานด์ขยายตัว เพิ่มกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์กว่า 347 ล้านชิ้นต่อปี คาดแล้วเสร็จสิ้นปีนี้

SCGP รุกเพิ่มกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ใน วีซี่ แพ็คเกจิ้ง อีกร้อยละ 15-20 หรือกว่า 347 ล้านชิ้นต่อปี รับความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ในไทยและต่างประเทศขยายตัว คาดแล้วเสร็จพร้อมผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายภายในสิ้นปีนี้

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า บริษัทได้รุกขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ (PPP) ของบริษัทวีซี่ แพ็คเกจิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Visy เพื่อตอบสนองความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ในไทยและต่างประเทศ ที่มีแนวโน้มขยายตัวและสร้างการเติบโตแก่บริษัท โดยการขยายกำลังการผลิตดังกล่าวใช้งบลงทุน 510 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสายการผลิตบรรจุภัณฑ์แบบขึ้นรูปด้วยความร้อน สายการผลิตที่ 7 และคลังสินค้าใหม่ ปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องจักรแล้วเสร็จ และได้เริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว โดยในส่วนของคลังสินค้าอัตโนมัติอยู่ระหว่างการก่อสร้างและคาดว่าจะแล้วเสร็จสิ้นปี 2564 ซึ่งจะทำให้ Visy มีกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 15-20 หรือประมาณ 347 ล้านชิ้นต่อปี

สำหรับ Visy เป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นร้อยละ 80 โดยบริษัทเอสซีจีพี รีจิด พลาสติกส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ SCGP ถือหุ้นร้อยละ 100 โดย SCGP เข้าทำสัญญาซื้อหุ้น Visy เมื่อเดือนสิงหาคม 2562 ผ่านบริษัทย่อยในรูปแบบ Merger and Partnership (M&P) และผลิตบรรจุภัณฑ์เต็มกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องมาตลอด

ปัจจุบันถือเป็นบริษัทชั้นนำด้านบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคเอเชีย โดยเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ขึ้นรูปด้วยความร้อนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพสูง เช่น ถ้วยผลไม้ ถาด ขวดโหล เป็นต้น มีลูกค้าเป็นเจ้าของแบรนด์ผู้ผลิตอาหารชั้นนำระดับโลกที่ต้องการใช้บรรจุภัณฑ์คุณภาพสูง น้ำหนักเบา มีคุณสมบัติยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร และรีไซเคิลได้ นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีที่สามารถผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยืดอายุอาหารและผลไม้ และระบบการผลิตที่มีกระบวนการจัดการของเสียจากการผลิตอย่างครบวงจร

ทั้งนี้ ในปี 2563 รายได้ส่วนใหญ่ของ Visy มาจากการส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรป โดยนับตั้งแต่เข้าซื้อกิจการ Visy ได้ผลิตสินค้าเต็มกำลังการผลิตสูงสุด 1,750 ล้านชิ้นต่อปี ซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ประชากรและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง เช่น ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้น ครัวเรือนมีขนาดเล็กลง วิถีชีวิตที่ใส่ใจสุขภาพและความสะดวกสบายมากขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ของ Visy ได้ถูกเลือกใช้แทนบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่น ๆ ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ทางเลือกแก่ผู้บริโภค จึงทำให้การใช้เพิ่มมากขึ้นด้วย