SCGP Newsroom

SCGP จับมือ Lotus ชวนลูกค้าขาช้อปนำกล่องและกระดาษกลับมารีไซเคิล

SCGP x Lotus ชวนลูกค้าขาช้อปนำกล่องและกระดาษกลับมารีไซเคิล
ตั้งเป้าขยาย Drop point 220 สาขาทั่วประเทศ

 

“พฤติกรรมผู้บริโภค” กับการ “ช้อปออนไลน์” ในช่วงสถานการณ์ COVID 19 ผลักดันให้ตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นไลฟ์สไตล์ปกติในยุค New Normal เมื่อพัสดุส่งมาถึงมือผู้รับ บรรจุภัณฑ์ที่ทำหน้าที่ปกป้อง และขนส่ง ก็หมดหน้าที่ และกลายเป็นวัสดุเหลือใช้ แม้ว่าผู้บริโภคจะมีใจรักษ์โลก อยากส่งกลับไปรีไซเคิลเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า แต่ไม่รู้จะส่งไปที่ไหน หรือไม่ได้รับความสะดวก จนเปลี่ยนใจทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่นไปในที่สุด

SCGP จึงร่วมมือกับ Lotus พันธมิตรหัวใจสีเขียววาง Drop point ที่ Lotus ทุกสาขาทั่วประเทศ เพื่อเป็นจุดรับและจัดเก็บกล่องและกระดาษกลับสู่กระบวนการรีไซเคิล 100% สานต่อความตั้งใจของผู้บริโภคที่เห็นคุณค่า และอยากสร้างระบบการจัดการวัสดุเหลือใช้อย่างยั่งยืนตามหลัก Circular Economy

SCGP รับมอบใบรับรองระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

นายแสงชัย วิริยะอำไพวงศ์ (ซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กิจการกระดาษบรรจุภัณฑ์ SCGP และกรรมการผู้จัดการ บริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด รับมอบใบรับรองระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (ISO 22301:2019 Business Continuity Management System) จากนางพรรณี อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม (สรอ.) หรือ MASCI โดยมีคณะผู้บริหารทั้ง 2 องค์กร ร่วมแสดงความยินดี เมื่อเร็ว ๆ นี้

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย x เอสซีจี แพคเกจจิ้ง โต๊ะกระดาษ 3 in 1 : ส่งมอบโอกาส สานต่อความยั่งยืน

จากการลงพื้นที่สำรวจวิถีชีวิตของเด็ก ๆ ในท้องถิ่นทุรกันดารของมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย พบว่ามีเด็กนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลจำนวนมากยังขาดแคลนอุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในการเรียนและอ่านเขียนหนังสืออย่าง “โต๊ะ” ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน ทำให้เด็กต้องนั่งก้มตัวอ่านหนังสือหรือนอนราบกับพื้น เพื่อเขียนหนังสือ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็กในอนาคต

มูลนิธิศุภนิมิตฯ จึงมองหาโต๊ะเขียนหนังสือที่ใช้อ่าน เขียน และเก็บของได้น้ำหนักเบา พกพาสะดวก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งมอบให้เด็กนักเรียนในความดูแลของมูลนิธิฯ ทั่วประเทศ จึงได้ประสานความร่วมมือมายังเอสซีจี แพคเกจจิ้ง ทีมที มีนักออกแบบและเชี่ยวชาญด้านบรรจภัณฑ์ให้ช่วยออกแบบและผลิตโต๊ะกระดาษตามโจทย์ความต้องการข้างต้น และนั่นคือจุดเริ่มต้นในการพัฒนาไอเดียโต๊ะกระดาษ 3 in 1 เพื่อส่งมอบให้เด็ก ๆ ใช้ประโยชน์และยังสร้างสรรค์ขึ้น ภายใต้แนวคิด Circular Economy

“โต๊ะกระดาษ 3 in 1 เพื่อการเรียนรู้” ทำจากกระดาษรีไซเคิลน้ำหนักเบามีความแข็งแรง คงทน ช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งไปยังพื้นที่ทุรกันดารใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และสามารถนำกลับสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ทั้งหมด ไม่ก่อให้เกิดขยะที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม สามารถประกอบขึ้นรูปได้ง่าย และมีฟังก์ชันในการใช้งานถึง 3 อย่างในตัวเดียว ทั้งเป็นโต๊ะนั่งเขียนและอ่านหนังสือ เป็นที่เก็บของและอุปกรณ์การเรียน และพับเป็นกระเป๋าใส่สมุดหนังสือหิ้วไปใช้งานที่บ้านและโรงเรียนได้ โดยมีคำแนะนำในการใช้งานไว้ให้เด็ก ๆ ได้อ่านและปฏิบัติตามที่ด้านข้างโต๊ะ พร้อมทั้งคู่มือในการประกอบแนบมาให้ด้วย

**ล้อมกรอบ**

มูลนิธิศุภนิมิตฯ สั่งผลิตโต๊ะกระดาษทั้งสิ้น 25,000 ตัวให้เด็กนักเรียนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเอสซีจี แพคเกจจิ้ง ได้ร่วมสนับสนุนกิจกรรม เพื่อการศึกษา มูลค่ารวม 250,000 บาท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง ร่วมส่งมอบโต๊ะกระดาษ 3 in 1 เพื่อการเรียนรู้ให้แก่ เด็กนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ามะขาม อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 80 คน เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 มีทีมนักออกแบบจากเอสซีจี แพคเกจจิ้ง สาธิตการประกอบโต๊ะกระดาษและแนะนำการใช้งานให้เด็ก ๆ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิศุภนิมิตฯ

ทีมนักออกแบบ เอสซีจี แพคเกจจิ้ง:

ดิเรกข์ อินสกุล อติกานต์ บุญประคอง ภูมิภัค พันธสี และวันชนะ ศรีไตรรัตนะ

“โจทย์สำคัญของมูลนิธิศุภนิมิตฯ คือการออกแบบโต๊ะที่น้ำหนักเบา พกพาง่าย และใช้งานได้หลากหลาย เราจึงเลือกใช้กระดาษมาพัฒนารูปแบบให้ตรงตามการใช้งานและเหมาะกับสรีระของเด็ก สามารถดัดแปลงได้หลายฟังก์ชัน โดยเลือกใช้กระดาษลอนหนา คำนวณจุดรับแรงกดให้ดี เน้นความแข็งแรง และออกแบบโครงสร้างให้เด็กประกอบเองได้ ไม่ซับซ้อน ข้อดีอีกอย่างคือ สามารถสอดแทรกการเรียนรู้ไว้ในตัว เหมือนกับปริศนาที่ให้เด็กได้ทดลองประกอบเป็นของใช้อย่างที่ตัวเองต้องการ และหลังจากใช้งานจนช

DOM : Detect Odor and Monitoring

“It is easy to notice odor but difficult to measure it.” Industrial plants thus have a challenging task of preventing their odor from polluting local communities.

 

SCGP has developed DOM (Detect Odor & Monitoring) to help factories tackle this specific challenge. Detecting odor with great efficiency, this innovation has won the National Innovation

Awards 2020 in the Service Design category and has promised to be friendly to the environment.

 

Equipped with both software and hardware, DOM detects and monitors odor for efficient analyzes and management. Its monitoring system uses sensors, which accept customized settings, to check the intensity of undesirable odors of ammonia, hydrogen sulfide, ethylene oxide, etc. It can even determine as to whether PM2.5 amount is above safe limit. Data is displayed real time on a dashboard in an easy-to-understand manner. DOM truly has positive social, business, and environmental impacts.

 

DOM Service

Odor Identify: What are typical odors at your site?

  • Surveying the site and its odor – causing manufacturing spots;
  • Collecting odor samples for chemical analyzes; and
  • Assessing the intensity of odors by Odor Panelist and based on international-standard guideline

 

Odor Monitoring System: Constant Monitoring at Your Site

  • DOM checks the intensity of odor and sends data to DOM Web Platform for real-time display and database;
  • Alerts are issued when odor intensity soars above specified limit;
  • Assessing odor diffusion from sources in combination with weather and wind-direction data; and
  • Data can be compared with complaints about odor time for improvement in the future.

 

Odor Impact Assessment: What are odor impacts?

  • Displaying odor impacts;
  • Analyzing the sources of main odors and time of odor emissions, which are prone to trigger complaints; and
  • Assessing the feasibility of odor-reduction options

Unlimited Solutions through Innovative Mindset

Innovative mindset encourages learning and efforts to develop solutions. Thanks to such a mindset, great innovations like DOM (Detect Odor & Monitoring) have been created. Designed

to detect odor at industrial plants, SCGP’s DOM has won the National Innovation Award in

Service Design category this year.

 

Now, let’s hear directly from the DOM team about its truly innovative mindset.

 

“We believe DOM will support smooth business operations. In the past, odor problems had often been issues between factories and communities and there was no efficient device to check the odor. Our DOM has great accuracy. So, the device will detect odor even before it becomes

an issue.

 

“Our innovation responds to not just business purposes but also social and environmental care. It materializes because of our innovative mindset. We understand problems and seek to overcome any challenges in our keen pursuit of solutions. Innovative mindset will help any innovator. As for our team, we intend to constantly improve our DOM so that it becomes widely used for good

causes.”

 

Dr. Thipnakarin Boonfueng – Senior Researcher /

Environmental Technology Specialist, Product & Technology Development Center

 

“We started developing DOM because of odor at our plant.

 

“Aware of the odor, our plant had used various odor-detection products before but they had failed to completely eradicate the problem. However, our comprehensive research and serious development have made a difference. Our DOM can detect odor, monitor it, and even assess its impacts.

 

“One big challenge in DOM development is that factories have different kinds of odor. To ensure efficiency, we study the problem case by case. We adapt and adjust fast to provide each of our

customers with the best DOM.”

 

 

Mr. Wuttinan Lerkmangkor – Researcher,

Product & Technology Development Center

SCGP เตรียมขายหุ้นกู้ อายุ 3 ปี 8 เดือน ดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 2.65 ต่อปี มูลค่าเสนอขายไม่เกิน 5,500 ล้านบาท

SCGP เตรียมออกหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2564 อายุ 3 ปี 8 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 2.65 ต่อปี มูลค่าเสนอขาย   ไม่เกิน 5,000 ล้านบาท และมีหุ้นกู้สำรองเพื่อการเสนอขายเพิ่มเติมมูลค่าไม่เกิน 500 ล้านบาท ชูอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ A+(tha) จากฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) สะท้อนฐานะการเงินและสถานะธุรกิจที่แข็งแกร่ง เปิดจองซื้อสำหรับ    ผู้ถือหุ้นกู้ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย ครั้งที่ 1/2560 (SCC214A) ในวันที่ 15 มีนาคมนี้ และผู้ลงทุนทั่วไปสามารถจองซื้อได้ในวันที่ 29-31 มีนาคมนี้ ที่ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมเสนอขายหุ้นกู้ครั้งแรกมูลค่าไม่เกิน 5,000 ล้านบาท และมีหุ้นกู้สำรองเพื่อการเสนอขายเพิ่มเติมมูลค่าไม่เกิน
500 ล้านบาท เพื่อนำมาชำระคืนเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ที่จะครบกำหนดภายในไตรมาส 3 ปี 2564 นี้ โดยหุ้นกู้ดังกล่าวได้รับ   การจัดอันดับความน่าเชื่อที่ระดับ A+(tha) จากบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจจากการเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน

การเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวจะแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 ในวันที่ 1-5 มีนาคมนี้ จะให้สิทธิจองซื้อกับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1/2560 (SCC214A)* ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 1 เมษายนนี้ ด้วยอัตราส่วนเสนอขาย 1 หุ้นกู้ SCC214A ต่อ 0.2 หุ้นกู้ SCGP (SCGP24DA) จองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 1,000 บาท และช่วงที่ 2 ในวันที่ 29-31 มีนาคมนี้ จะเสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไป จองซื้อขั้นต่ำ 1,000,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท

สำหรับผู้ถือหุ้นกู้ SCC214A และผู้ลงทุนทั่วไปที่สนใจ สามารถจองซื้อหุ้นกู้ SCGP ได้ที่ผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ทั้ง 5 แห่ง คือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทั้งทางออนไลน์และที่สาขาของธนาคาร โดยดาวน์โหลดใบจองซื้อได้ที่ http://investor.scgpackaging.com/th ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ

ทั้งนี้ภาพรวมการดำเนินธุรกิจของ SCGP ในปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทฯ สามารถสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยมีรายได้จากการขาย 92,786 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากปีก่อน กำไรสุทธิ 6,457 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากปีก่อน เนื่องจากการขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับต่ำเพียง 0.6 เท่า และในปี 2564 บริษัทได้วางแผนขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายฐานลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดี และรองรับความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่จะเพิ่มขึ้นหากสถานการณ์โรคระบาดเริ่มคลี่คลาย

*ผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนสถาบัน ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นกู้ SCC214A ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน

SCGP หนุน “โปรโม – โปรเม” สู้ศึก LPGA 2021 ต้นแบบคนรุ่นใหม่ ส่งต่อแรงบันดาลใจสู่ความสำเร็จ

SCGP นำโดย คุณวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมสนับสนุนสองพี่น้อง โปรโม – โมรียา จุฑานุกาล (ขวา) และ โปรเม- เอรียา จุฑานุกาล (ซ้าย) นักกอล์ฟหญิงไทยที่ประสบความสำเร็จระดับโลก เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันดวลวงสวิงในรายการ LPGA 2021

เพราะแรงบันดาลใจ สร้างได้ ทุกที่ ทุกโอกาส…. SCGP ขอเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมส่งต่อพลังและแรงบันดาลใจจากโปรโมและโปรเมให้ทุกคน พร้อมกับสานฝันและเป็นกำลังใจให้ทั้งคู่ มุ่งสู่ความสำเร็จ สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนไทยทั้งประเทศ

SCGP คว้ารางวัล “Best IPO Retail Investors 2020” การันตีความเชื่อมั่นและยอมรับในระดับสากล

บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ได้รับรางวัล Best IPO Retail Investors จากงานประกาศผลรางวัล Alpha SEA’s Best Deal & Solutions Awards 2020 ซึ่งจัดโดย Alpha Southeast Asia นิตยสารชั้นนำที่ได้รับความเชื่อถือในแวดวงตลาดเงินตลาดทุนของภูมิภาคอาเซียน ตอกย้ำความสำเร็จการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งแรกต่อประชาชน (IPO) ของ SCGP โดยมีสัดส่วนของการกระจายหุ้นที่ครอบคลุมกลุ่มนักลงทุนหลากหลาย และได้เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อเดือนตุลาคม 2563 รางวัลนี้จึงสะท้อนถึงความเชื่อมั่น ความพึงพอใจ และการเป็นที่ยอมรับของ SCGP ในระดับสากล

SCGP ร่วมมือพันธมิตรขยายฐานธุรกิจแพคเกจจิ้ง รับดีมานด์ในเวียดนามเติบโต

SCGP เชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตของตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค ผนึกความร่วมมือกับพันธมิตรเวียดนามเตรียมลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท สำหรับขยายธุรกิจและพัฒนาโซลูชันบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรเพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าหลากหลายอุตสาหกรรมในเวียดนาม

           นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า ได้วางกลยุทธ์เสริมศักยภาพการเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน โดยนำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของ SCGP ผนึกความร่วมมือเป็นพันธมิตรกับผู้ประกอบการในแต่ละประเทศ เพื่อร่วมขยายธุรกิจ พัฒนาโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์ พัฒนาบุคลากร สร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้า เพื่อรองรับตลาดผู้บริโภคที่เติบโต ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา SCGP ได้มีการขยายการลงทุนในเวียดนามอย่างต่อเนื่อง สร้างรายได้เติบโตเฉลี่ยกว่าร้อยละ 10  ต่อปี โดยในปี 2552 SCGP ได้ก่อตั้ง Vina Kraft Paper Co., Ltd. เพื่อเป็นฐานการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ด้วยกำลังการผลิต 5 แสนตันต่อปี เพื่อตอบสนองความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์และรองรับอุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเมื่อปี 2558 บริษัทได้เข้าลงทุนใน Tin Thanh Packing Joint Stock Company (BATICO) ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว (Flexible Packaging) รายใหญ่ 1 ใน 5 ของเวียดนาม และประสบความสำเร็จในการร่วมมือกันวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และขยายตลาดในเวียดนามรวมถึงตลาดส่งออก นำมาสู่การลงทุนขยายกำลังการผลิตอีกร้อยละ 17 หรือ 84 ล้านตารางเมตรต่อปี เพื่อตอบสนองความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

            เมื่อเดือนมกราคม 2564 ที่ผ่านมา SCGP ได้ขยายการลงทุนในเวียดนามด้วยการควบรวมกิจการ Bien Hoa Packaging Joint Stock Company (หรือ SOVI) ผู้ผลิตชั้นนำด้านบรรจุภัณฑ์เมื่อเดือนมกราคม 2564 โดยเข้าถือหุ้นร้อยละ 94.11 มีกำลังการผลิตกระดาษลูกฟูกและกล่องลามิเนท (Offset Laminated Packaging) เพิ่มขึ้น 100,000 ตันต่อปี โดย SOVI มีรายได้กว่า 1,600 ล้านดอง (กว่า 2,200 ล้านบาท)

            และเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 SCGP ได้ลงนามสัญญาร่วมทุนใน Duy Tan Plastics Manufacturing Corporation (Duy Tan) ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบคงรูปในเวียดนามมีรายได้ประมาณ 6,100 ล้านบาท โดยมีฐานลูกค้าเป็นบริษัทข้ามชาติและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคแบรนด์ชั้นนำในเวียดนาม และเป็นผู้ผลิตภาชนะเครื่องใช้พลาสติกในครัวเรือนแบรนด์ “DuyTan” ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในประเทศเวียดนาม มีกำลังการผลิตประมาณ 116,000 ตันต่อปี คาดว่าการทำธุรกรรมเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 70 ครั้งนี้จะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2564

           สำหรับการขยายการลงทุนในเวียดนามเป็นไปตามกลยุทธ์ของบริษัทที่ต้องการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ทั้งบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกและบรรจุภัณฑ์กระดาษ รวมถึงการพัฒนาทีมนักออกแบบในประเทศ พร้อมนำเสนอโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละรายให้ดีมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน SCGP พร้อมประสานความร่วมมือแบบบูรณาการกับพันธมิตรทุกราย เพื่อแลกเปลี่ยนถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ในการพัฒนาโซลูชันด้าน  บรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร  พร้อมทั้งจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตให้ดียิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนการเติบโตของลูกค้าในภูมิภาคอาเซียนที่มีความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

            “การขยายฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์ปลายน้ำในเวียดนามทั้ง 3 โครงการ คาดว่าจะสร้างรายได้แก่ SCGP เพิ่มขึ้นประมาณ 8,500 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ได้เตรียมศึกษาการขยายกำลังผลิตกระดาษทางตอนเหนือของเวียดนาม เพื่อรองรับความต้องการใช้จากลูกค้าในประเทศและการขยายตลาดส่งออก ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนามอีกด้วย” นายวิชาญ กล่าว     

SCGP ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน กำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ

SCGP ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน กำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ติดตามรายละเอียดที่ https://www.youtube.com/watch?v=UdMe3vw4quQ