SCGP Newsroom

SCGP ดำเนินกลยุทธ์ขยายการลงทุนในอินโดนีเซีย เสริมความแข็งแกร่ง สร้างการเติบโตของธุรกิจในอาเซียน

ข่าว

SCGP ดำเนินกลยุทธ์ขยายการลงทุนในอินโดนีเซีย เสริมความแข็งแกร่ง สร้างการเติบโตของธุรกิจในอาเซียน

Loading Data...

SCGP เข้าถือหุ้นเพิ่มเติมใน PT Fajar Surya Wisesa Tbk. ในสัดส่วนร้อยละ 44.48 ซึ่งเป็นไปตามทิศทางเชิงกลยุทธ์การขยายการเติบโตของธุรกิจในอาเซียน เพื่อรองรับตลาดแข็งแกร่งของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นรากฐานในการเติบโตของธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรให้ SCGP ในระยะยาว

วางแผนเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนพลังงานใน Fajar ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและความต้องการบรรจุภัณฑ์ของตลาดที่มีแนวโน้มฟื้นตัวจากการบริโภคในประเทศและการส่งออก


นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า บริษัทฯ ได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในสัดส่วนร้อยละ 44.48 ใน PT Fajar Surya Wisesa Tbk. (Fajar) ซึ่งเป็นผู้นำธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์รายใหญ่ในประเทศอินโดนีเซีย ด้วยกำลังการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ 1.8 ล้านตันต่อปี โดยมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ตั้งแต่กระดาษลอนลูกฟูก (Corrugated medium) กระดาษปิดผิวบรรจุภัณฑ์ลูกฟูก (Linerboard) กระดาษกล่องขาว (Duplex board) กระดาษทำแกน (Coreboard) มีรายได้ในปี 2566 ประมาณ 7,723 พันล้านรูเปียห์อินโดนีเซีย (IDR) หรือประมาณ 17,000 ล้านบาท และสินทรัพย์รวม 12,545 พันล้านรูเปียห์อินโดนีเซีย (IDR) หรือประมาณ 27,600 ล้านบาท ธุรกรรมดังกล่าวคาดว่าจะใช้งบลงทุนประมาณ 652.42 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 23,000 ล้านบาท โดยภายหลังธุรกรรมเสร็จสิ้น จำนวนหุ้นที่ SCGP ถือใน Fajar จะเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 55.24 เป็นร้อยละ 99.72 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด โดยหุ้นที่เหลือจำนวนร้อยละ 0.28 จะถือครองโดยผู้ถือหุ้นรายย่อย


“SCGP ขยายการลงทุนในประเทศอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2556 เนื่องจากเป็นประเทศที่มีตลาดแข็งแกร่งและมีศักยภาพที่จะมุ่งสู่การเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลก จากจำนวนประชากรและอัตราการบริโภคสินค้าภายในประเทศที่สูง มีกลุ่มประชากรที่อายุน้อย และมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีบริษัทย่อย 6 บริษัท ประกอบด้วย ฐานการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ PT Fajar Surya Wisesa Tbk. และ PT Dayasa Aria Prima (บริษัทย่อยของ Fajar) และฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก PT Primacorr Mandiri, PT Indorcorr Packaging Cikarang, PT Indoris Printingdo และ Intan Group ทำให้ SCGP สามารถนำเสนอโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร และช่วยส่งเสริมให้เกิดการประสานระหว่างธุรกิจ (Synergy) ทั้งนี้ SCGP วางแผนจะเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตของ Fajar ด้วยการนำองค์ความรู้ด้าน Machine Learning และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) มาใช้ในกระบวนการผลิตในโรงงาน รวมถึงการจัดการด้านการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้า และการขยายตลาดเพื่อเข้าถึงลูกค้าร่วมกับพันธมิตรให้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งมองว่า ประเทศอินโดนีเซียมีแนวโน้มการฟื้นตัวของความต้องการบรรจุภัณฑ์จากการบริโภคในประเทศและการส่งออก โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ในขณะที่ระดับเงินเฟ้อของประเทศอินโดนีเซียมีแนวโน้มลดลง ซึ่งส่งผลให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น ขณะเดียวกันปริมาณการขายกระดาษบรรจุภัณฑ์คาดว่ามีแนวโน้มดีขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภค ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีศักยภาพการเติบโตในระยะยาว การดำเนินงานของ SCGP ตามแผนธุรกิจที่เตรียมไว้ที่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและการตลาด จะทำให้เพิ่มความสามารถการทำกำไรได้” นายวิชาญ กล่าว

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...

ประกาศรายชื่อผู้ถือหุ้นสามัญที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม “เยี่ยมชมกิจการของบริษัทที่จังหวัดราชบุรี”

รายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม “เยี่ยมชมกิจการ SCGP ในจังหวัดราชบุรี”

เดินทางวันพุธที่ 18 กันยายน 2567  ดังรายชื่อต่อไปนี้

นาง  รัตนา                        วรัญญสาธิต

น.ส. นัยเนตร                  ผดุงเกียรติกมล

นาง  ลินจง                       ฉ.โรจน์ประเสริฐ

น.ส. ศรีนวล                    ภัทรานนท์

น.ส. ฐานียะ                      เตชะวิภู

นาย เขมพล                     อิ่มพูลทรัพย์

นาย วิเศษ                        รุจิโรจน์จินดากุล

นาย วรรณชัย                จิตตานนท์

น.ส. วันทนา                     แพรธำรงกุล

น.ส. สุพรรณี                  วาทยะกร

นาง  แสงดาว                  กำเนิดมี

นาย ทินพัฒน์                 ชัยพานิช

นาย ยอดชาย                  ฐิตวรรณโณเนตร์

นาย สมนึก                      วัฒนเจิดศิริ

นาง  มาลีรัชช์                  คงวิริยะกุล

นาย กิตติยศ                   อาภาเกียรติวงศ์

น.ส. อุษณีย์                    เกิดลาภมีสุข

น.ส. จิตรา                        ชูไพโรจน์

นาง  อภัสรา                     ศิริคุรุรัตน์

นาย คงศักดิ์                   เกียรติทับทิว

นาย ประเสริฐ                  งามวิเศษชัยกุล

นาย วันชัย                       จันทร์วัฒรังกูล

นาย ธรรมนูญ                เทอญพระเกียรติ

น.ส. อรพินทร์                 ธิดารัตน์

นาง  ปัญญารัตน์           ลิ่วศรีสกุล

นาย พิชญ์                       เตชะกำธร

นาย บุญชัย                     ชาญภิญโญ

น.ส. ศิริกุล                       ดำรงศุภกร

น.ส. อัมพร                      ภัทรปฏิการ

นาย บุญสม                     เกษะประดิษฐ์

น.ส. สายใจ                      ปรีติยาธร

นาย ทรงธรรม                ปฐมพัฒน

นาย ณัฐวุธ                     ฉัตรรัตนารักษ์

น.ส. มัลลิกา                    อินทรผกาวงศ์

นาย ธีรชัย                       เลาหไพศาล

นาย กฤช                          เศรษฐรังสรรค์

นาย ไพศิลป์                    ตันเจริญ

นาย วิโรจน์                      ภัทจารีสกุล

น.ส. มาลินี                       อนุวัตเมธี

นาย ไชยพร                     อนุวัตเมธี

น.ส. ลักษมี                      อนุวัตเมธี

น.ส. สวรรณรัตน์           ลิ้มสกุล

นาย วิเชียร                      นกแก้ว

นาง  ธนิศา                        นกแก้ว

น.ส. ลัดดาวัลย์               วรกุลรังสรรค์

น.ส. กนกกร                    เตชะวิภู

นาง  อรุณี                        วัฒนแสงศิริ

นาง  อุทัยวรรณ             เลาหะพลวัฒนา

น.ส. พูนศรี                      การเจริญกุลวงศ์

 

 

รายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม “เยี่ยมชมกิจการ SCGP ในจังหวัดราชบุรี”

เดินทางวันอังคารที่ 24 กันยายน 2567  ดังรายชื่อต่อไปนี้

นาย สุกิจ                         ปัญจอานนท์

นาง  อรพรรณ                ปัญจอานนท์

นาย จักร์ชัยฤกษ์           พละระวีพงศ์

นาย สุชล                          ยรรยงชัยกิจ

นาย ชัยรัตน์                    โกศลวาทะวงศ์

น.ส. รัชนี                          บุญธัม

นาง  ชลธิชา                     ผลสิน

นาง  สุกัญญา                 เจียรดิษฐ์อาภรณ์

นาย สืบพงศ์                   กุลสถาพรชัย

น.ส. ชนาศรี                     อัครเสรีนนท์

นาย ดังจินต์                   วัชวงษ์

น.ส. สิรินันท์                    ตั้งอยู่สุข

นาง  ปรานี                        อภินันท์

น.ส. พูนศรี                      อภินันท์

นาย กฤติน                      เซี่ยงฉิน

นาย อภิรัชต์                    พรสวัสดิภักดิ์

น.ส. อุบลรัตน์                 แจ้งตามธรรม

นาย ชยุตม์                      ดาสมกุล

นาง  สุสมัย                      สุขเจริญ

นาย โสรัจ                         สุขเจริญ

น.ส. มารีอร                     สุขเจริญ

นาย อนุพจน์                   พนาพรศิริกุล

น.ส. ดวงใจ                      แจ้งตามธรรม

นาย วิเชษฐ์                      คลังสุนทรรังษี

นาย ปริญญา                  อภิวัฒนศร

นาง  กาญชดา                 อภิวัฒนศร

นาง  อรศรี                       เรืองจักรเพ็ชร

น.ส. สุภา                          ศิริสุขกิจ

นาย ศรชัย                       แซ่ตั้ง

น.ส. กมลรัตน์                 วิริยะศิริพจน์

นาย โกเมน                      โคตรภูชัย

นาง  พรทิพย์                   สุประดิษฐ์

น.ส. นิลุบล                      แสงวัฒนจินดา

นาง  สุภมาส                    ถาวรพลศิริ

น.ส. กุลธิดา                     เต็มพานิชย์

น.ส. นันทวัน                    เต็มพานิชย์

น.ส. สุณี                          อังคทะวิวัฒน์

นาย สมชาติ                     กิจการเจริญดี

นาย ธีระพงศ์                  อุ่นใจ

นาย สมบูรณ์                  ไพหารวิจิตรนุช

นาย ธงชัย                       วิศิษฎ์ธรรมศรี

น.ส. โภพันธ์                    คีรีเรืองชัย

นาง  ปิยะรัตน์                 

SCGP ชูกลยุทธ์ด้าน ESG เสริมการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน เพิ่มความร่วมมือลูกค้า ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่า

SCGP เสริมธุรกิจด้วยกลยุทธ์ ESG เพื่อขับเคลื่อนองค์กรเติบโตอย่างยั่งยืนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก (Megatrends) ชูการรับรองคาร์บอนฟุตพรินท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) การพัฒนา Private declaration Label เพื่อระบุปริมาณ CFP บนผลิตภัณฑ์ พร้อม “ซอฟต์แวร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์” ช่วยคำนวณปริมาณปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างรวดเร็ว เสริมศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ช่วยจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 3 ของลูกค้า เพิ่มโอกาสธุรกิจและเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไทย ตั้งเป้าขอการรับรอง CFP ในกลุ่มสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย 100% ภายในปี 2027

 

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจ เทคโนโลยี รวมถึงสภาพภูมิอากาศ  SCGP ได้ทรานส์ฟอร์มธุรกิจในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง ไปพร้อมกับการสร้างความยืดหยุ่น เพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจอย่างมีคุณภาพ การพัฒนาพนักงานให้พร้อมรับทุกสถานการณ์ การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และบริการตรงใจลูกค้า และอีกหนึ่งการทรานส์ฟอร์มที่ SCGP ให้ความสำคัญ คือ “Sustainability Transformation” หรือการขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยแนวคิด Inclusive Green Growth ที่เพิ่มการมีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างสรรค์คุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ผ่านการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 

 

SCGP ได้กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 โดยมีแผนการลดก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการต่าง ๆ ทั้งการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน การพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ตลอดจนการสนับสนุนคู่ค้าและลูกค้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งห่วงโซ่คุณค่า เพื่อร่วมลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

 

SCGP ยังเล็งเห็นว่า การผลิตบรรจุภัณฑ์ของบริษัทถือเป็น Scope 3 ของลูกค้าซึ่งเกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงได้ทุ่มเทความพยายามและร่วมมือกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ในการพัฒนาแนวทางและวิธีการ เพื่อขอรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมศักยภาพการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับลูกค้า ทำให้ล่าสุด SCGP ได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO เป็นผลสำเร็จ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศ ได้แก่ กลุ่มสินค้าเยื่อกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษถ่ายเอกสาร กระดาษบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์อาหาร บรรจุภัณฑ์พลาสติก จำนวน 128 ผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกระบวนการพิมพ์และการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์กระดาษรวม 16 กระบวนการ ครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้าบรรจุภัณฑ์กระดาษ 

 

นอกจากนี้ SCGP ยังได้พัฒนา ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ที่ออกโดย SCGP (Private Declaration Label) เพื่อแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบรรจุภัณฑ์ และได้พัฒนา “ซอฟต์แวร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์” ของผลิตภัณฑ์ ที่แม่นยำ ง่าย และรวดเร็ว เพื่อเป็นโซลูชันให้กับลูกค้า สามารถดำเนินธุรกิจได้สอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย พร้อมกับเอกสารรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าเพื่อนำไปใช้เป็นเอกสารอ้างอิง ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐที่มีการบังคับใช้มากขึ้นในหลายประเทศ สามารถช่วยเพิ่มโอกาสการขาย การเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ให้ลูกค้าส่งออกกลุ่มต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาและเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ นับเป็นการช่วยเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไทยให้มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมด้วย

 

“SCGP เดินหน้าการดำเนินธุรกิจตามกรอบแนวคิด ESG มุ่งพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม สร้างความร่วมมือกับผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่คุณค่าเติบโตไปพร้อมกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (Inclusive Green Growth) รวมถึงการศึกษาและติดตามสถานการณ์ เพื่อเตรียมพร้อมรับกับมาตรการใหม่ (New Regulations) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และพร้อมให้การสนับสนุนและร่วมมือกับลูกค้าในการพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันที่จะมาช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน” นายวิชาญ กล่าว
 

SCGP รับมอบประกาศนียบัตรรับรอง “คาร์บอนฟุตพริ้นท์” ประจำปี 2567 จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร (ซ้าย) ประธานกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO มอบประกาศรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ประจำปี 2567 ให้แก่ SCGP โดย นายเอกราช นิโรจน์ (ขวา) ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กิจการบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูง SCGP เป็นตัวแทนรับมอบ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศ ได้แก่ กลุ่มสินค้าเยื่อกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์กระดาษ บรรจุภัณฑ์อาหาร บรรจุภัณฑ์พลาสติก กระบวนการพิมพ์และการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์กระดาษ กลุ่มสินค้ากระดาษถ่ายเอกสารและบรรจุภัณฑ์อาหาร (Fest) ที่สามารถระบุปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดย SCGP มุ่งมั่นสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 25 ภายในปี 2573 (เทียบกับปีฐาน 2563) และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 ด้วยการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน พัฒนากระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ตลอดจนสนับสนุนคู่ค้าและลูกค้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าเพื่อร่วมลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

SCGP ทำรายได้ครึ่งปีแรกดีต่อเนื่อง รุกกลยุทธ์ขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ มุ่งพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน เสริมลูกค้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในผลิตภัณฑ์

SCGP เผยผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของปี 2567 ทำรายได้จากการขาย 68,182 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยรายได้ของไตรมาสที่สอง 34,234 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปริมาณขายของสายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรและสายธุรกิจเยื่อและกระดาษที่เพิ่มขึ้น และความพยายามต่อเนื่องในการบริหารจัดการวัตถุดิบและต้นทุนพลังงาน โดยมองแนวโน้มอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ครึ่งปีหลังเติบโตต่อ รุกขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีศักยภาพเติบโตสูง มุ่งพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมและการขอรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เพื่อร่วมมือกับลูกค้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

 

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า ภาพรวมความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งได้รับแรงหนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น และการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตร อาหารแช่แข็งและอาหารกระป๋อง  และบรรจุภัณฑ์กลุ่มสินค้าคงทน เช่น เสื้อผ้า รองเท้า ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องไปยังประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร  และกลุ่มประเทศในยุโรป ส่วนธุรกิจเยื่อและกระดาษ ยอดขายบรรจุภัณฑ์อาหารเพิ่มขึ้นจากปัจจัยการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวควบคู่กับการเติบโตของอุตสาหกรรมผลิตอาหารและร้านอาหารบริการด่วน นอกจากนี้ความต้องการเยื่อสำหรับใช้ในการผลิตสิ่งทอและเครื่องแต่งกายยังคงมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ความต้องการบรรจุภัณฑ์และกระดาษบรรจุภัณฑ์บางส่วนได้รับผลกระทบจากวันหยุดยาวช่วงเทศกาลของประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 2 รวมถึงราคาวัตถุดิบกระดาษรีไซเคิลปรับตัวเพิ่มขึ้นตามความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่สูงขึ้นทั้งภูมิภาค ขณะเดียวกันค่าขนส่งได้ปรับตัวสูงขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยที่ยังต้องจับตาอย่างใกล้ชิด 

 

SCGP มุ่งเน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ด้วยการมุ่งนำเสนอบริการด้านบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค และการบริหารจัดการวัตถุดิบและต้นทุนพลังงานให้มีประสิทธิภาพ ผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 มีรายได้จากการขายเท่ากับ 68,182 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเติบโตของทุกสายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง การขยายตัวของภาคส่งออก และการฟื้นตัวของกลุ่มสินค้าคงทน มี EBITDA เท่ากับ 9,786 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กำไรสำหรับงวดเท่ากับ 3,178 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 มีรายได้จากการขาย 34,234 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น การท่องเที่ยวและส่งออกฟื้นตัว ส่งผลดีต่อยอดขายบรรจุภัณฑ์ของ SCGP ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มากขึ้น EBITDA เท่ากับ 4,635 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงร้อยละ 10 จากไตรมาสก่อนหน้า สำหรับกำไรสำหรับงวด 1,453 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา จากต้นทุนวัตถุดิบกระดาษรีไซเคิลที่ปรับขึ้น

 

ทั้งนี้ วันที่ 23 กรกฎาคม 2567 คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของปี 2567 ในอัตรา 0.25 บาทต่อหุ้น เป็นเงินทั้งสิ้น 1,073 ล้านบาท โดยกำหนดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในวันที่ 21 สิงหาคม 2567 กำหนดวันที่ XD ในวันที่ 6 สิงหาคม 2567 และกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิรับเงินปันผล (Record date) ในวันที่ 7 สิงหาคม 2567 

 

นายวิชาญ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ครึ่งปีหลังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องจากภาคการผลิต การบริการและการใช้จ่ายที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น รวมถึงการดำเนินนโยบายของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน คาดว่าช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะเริ่มผลิตเพื่อสต๊อกสินค้าเพิ่มขึ้นสำหรับเตรียมรับการใช้จ่ายในช่วงปลายปี ในช่วงครึ่งปีหลัง SCGP มุ่งสร้างการเติบโตต่อเนื่อง โดยยังคงงบลงทุนรวมในปีนี้ประมาณ 15,000 ล้านบาท ด้วยการมุ่งเน้นการขยายกำลังการผลิต และสร้างการเติบโตร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ (Merger and Partnership : M&P) ในธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโตสูง ล่าสุด SCGP ได้เข้าถือหุ้นร้อยละ 90 ในบริษัทวีอีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด ที่มีความเชี่ยวชาญการผลิตชิ้นส่วนสมรรถนะสูงจากการฉีดขึ้นรูปพอลิเมอร์และมีห้องปลอดเชื้อที่ได้รับรองมาตรฐานระดับสากล เพื่อรุกขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์สำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการ 

 

และล่าสุด SCGP ได้รับการรับรอง “คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์” จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ครอบคลุมกลุ่มสินค้าตั้งแต่ เยื่อกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษถ่ายเอกสาร กระดาษบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์พลาสติก บรรจุภัณฑ์อาหาร และได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกระบวนการพิมพ์และการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์กระดาษรวม 16 กระบวนการ ครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้าบรรจุภัณฑ์กระดาษ ที่สามารถระบุปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามกรอบแนวทางการประเมินของ อบก. เพื่อตอบสนองความต้องการใช้นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของลูกค้าและผู้บริโภค

SCGP ได้รับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้าบรรจุภัณฑ์กระดาษ พร้อมร่วมมือลูกค้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

SCGP ได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศไทย ที่สามารถระบุปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ครอบคลุมกลุ่มสินค้าเยื่อกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์กระดาษ บรรจุภัณฑ์อาหาร และบรรจุภัณฑ์พลาสติก เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าได้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อโลกที่ยั่งยืนร่วมกัน

 

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า SCGP เห็นถึงความสำคัญของการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัทฯ ที่มุ่งสู่ Net Zero ในปี 2050 โดยมุ่งดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างมีคุณภาพไปพร้อมกับการพัฒนานวัตกรรมสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม และดำเนินงานตามมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เช่น สหภาพยุโรปที่กำหนดให้ต้องระบุปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากตัวสินค้า เพื่อส่งมอบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่ลูกค้า รวมถึงตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

 

ล่าสุด SCGP ได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ผลิตในประเทศไทย ที่สามารถระบุปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้แก่ เยื่อกระดาษ กระดาษ กระดาษบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์พลาสติก รวมทั้งสิ้น 109 ผลิตภัณฑ์ และได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกระบวนการพิมพ์และการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์กระดาษรวม 16 กระบวนการ ครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้าบรรจุภัณฑ์กระดาษภายใต้การประเมินแบบ Cradle to Gate ส่วนกลุ่มสินค้ากระดาษถ่ายเอกสารและบรรจุภัณฑ์อาหาร (Fest) ได้รับการรับรองรวม 19 ผลิตภัณฑ์ ภายใต้การประเมินแบบ Cradle to Grave ซึ่งสามารถแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบว่า ตลอดวัฏจักรของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่ ตั้งแต่ขั้นตอนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังจากหมดอายุการใช้งาน

 

การได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์นี้ ถือเป็นเป้าหมายของ SCGP ในการร่วมมือกับลูกค้าเพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ช่วยให้ลูกค้าสามารถดำเนินธุรกิจได้สอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐที่มีการบังคับใช้มากขึ้นในหลายประเทศ ในขณะเดียวกัน การระบุปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจนเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกสินค้าที่ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
 

Fest by SCGP ร่วมสนับสนุนบรรจุภัณฑ์อาหารในงานเทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย” ครั้งที่ 4 (หนกลาง) จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

Fest by SCGP ร่วมพิธีแสดงธรรมเทศนาในโครงการ “เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย” ครั้งที่ 4 (หนกลาง) เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  โดยนายกิตชัย ทัศนวิญญู Foodservice Packaging Solutions Manager บริษัทผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด ใน SCGP เป็นผู้แทนเข้าร่วมพิธีแสดงธรรมเทศนาในโครงการ “เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย” ครั้งที่ 4 (หนกลาง) เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และประชาชน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2567 ณ Exhibition Hall 1-2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้โครงการทุนเล่าเรียนหลวง สำหรับพระสงฆ์ไทยจัดกิจกรรมโครงการ “เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย” เพื่อเผยแพร่หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาในรูปแบบของการแสดงพระธรรมเทศนาในภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวม 4 ครั้ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานผ้าไตรในการจัดกิจกรรม ครั้งละ 14 ไตร รวม 4 ครั้ง จำนวน 56 ไตร ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ที่แสดงพระธรรมเทศนาและพระภิกษุสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ 

โครงการ “เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย” ครั้งที่ 1 ได้จัดขึ้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 2 จัดที่ภาคเหนือ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ และครั้งที่ 3 จัดที่ภาคใต้ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 

สำหรับโครงการ “เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย” ครั้งที่ 4 (หนกลาง) เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 (ความหมายของ หนกลาง คือ ภาคกลาง) กิจกรรมช่วงเช้ามีการแสดงพระธรรมเทศนาโดยนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง การแสดงพระธรรมเทศนา และการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมี นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา องคมนตรี เป็นประธานในพิธี สำหรับกิจกรรมช่วงบ่าย ประกอบด้วย การเจริญพระพุทธมนต์ และการแสดงพระธรรมเทศนา โดยพระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส โดยมี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นประธานในพิธี  ภายในงานมีการให้บริการโดยการออกโรงทานสำหรับผู้เข้าร่วมงาน โดย Fest by SCGP ได้ร่วมสนับสนุนบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยเฟสท์เป็นจำนวน 50,000 ชิ้น อาทิเช่น บรรจุภัณฑ์ถ้วยลายช้าง ช้อนส้อมไม้ เป็นต้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สะอาดปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นับเป็นการช่วยรณรงค์และส่งเสริมด้านการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน และสร้างการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
 

Fest Redi Pak คว้ารางวัลชนะเลิศ สุดยอดนวัตกรรมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม จากงาน 7 Innovation Awards 2024

“Fest Redi Pak” คว้ารางวัลชนะเลิศ “สุดยอดนวัตกรรมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม” จากงาน “7 Innovation Awards 2024” ซึ่งจัดโดยบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ด้วยผลิตภัณฑ์ “Fest Redi Pak ถาดเยื่อลอกได้” บรรจุภัณฑ์อาหารแช่เย็น อุ่นร้อน พร้อมทาน ย่อยสลายได้ภายใน 60 วัน 

ความสำเร็จครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ Fest ที่ได้พัฒนาร่วมกับแบรนด์ Reo’s Deli (รีโอส์ เดลิ) โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดย Fest Redi Pak ไม่เพียงแค่ตอบโจทย์การใช้งาน แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อผู้ประกอบการ ผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม

Fest ยังคงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และร่วมสร้างโลกที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น รางวัลนี้จึงเป็นแรงผลักดันสำคัญให้ Fest ก้าวต่อไปบนเส้นทางแห่งความยั่งยืนและนวัตกรรมเพื่อสังคม
 

ไปรษณีย์ไทย จับมือ SCGP และ LocoPack เปิดบริการสั่งผลิตกล่อง-ซอง on demand ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย

กรุงเทพฯ 3 กรกฎาคม 2567 – ไปรษณีย์ไทย จับมือ SCGP และ LocoPack เปิดให้สั่งผลิตกล่อง-ซอง รูปแบบ on demand ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs เกษตรกร ผู้จำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร หรือสินค้าเกษตรแปรรูป และผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์สวยงาม

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า “ไปรษณีย์ไทย ร่วมกับ บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP และ และบริษัทอินวีนิค จำกัด ในนาม LocoPack สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs เกษตรกร ผู้จำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร หรือสินค้าเกษตรแปรรูป และผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์สวยงาม ด้วยการรับสั่งผลิตกล่อง-ซอง เพื่อ Re-design หรือปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ เพื่อกระตุ้นยอดขาย และเพิ่มความแข็งแรงให้กับสินค้าได้มากยิ่งขึ้น โดยใช้รูปแบบการสั่งผลิตแบบ on demand ซึ่งทำให้ผลิตกล่อง-ซองได้ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการมากที่สุด เพียงแจ้งความประสงค์ใช้บริการเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จะติดต่อกลับ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการในทุกพื้นที่ และภายในเดือนกรกฎาคมนี้ทางไปรษณีย์ SCGP และ LocoPack จะเปิดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชิ้นแรก ได้แก่ กล่องทรงลูกบาศก์ (ขนาด 15x15x15 เซนติเมตร) ที่สามารถใช้บรรจุสัตว์เลี้ยงสวยงาม และสินค้าได้แข็งแรง ปลอดภัย พร้อมดีไซน์ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า”

นายสุรศักดิ์ อัมมวรรธน์ Technology and Digital Platform Director บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า “SCGP มุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมสินค้า บริการ และโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรที่หลากหลาย ควบคู่กับการดำเนินงานอย่างยั่งยืน และพร้อมให้ความร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ อย่างในครั้งนี้ ไปรษณีย์ไทย SCGP และ LocoPack มีเป้าหมายตรงกันในการร่วมมือกันมาออกแบบ พัฒนา ประชาสัมพันธ์ และดำเนินการผลิตบรรจุภัณฑ์ให้กับกลุ่มคู่ค้าและลูกค้าของไปรษณีย์ไทย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และเกษตรกร ซึ่งมีจำนวนมากและเป็นกลุ่มที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจะนำมาสู่การสร้างสรรค์พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยกระดับคุณภาพสินค้า และการเพิ่มมูลค่าด้านการตลาดให้กับสินค้าของลูกค้า และเกิดความยั่งยืนตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า” 

นายเอกราช นิโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กิจการบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูง บริษัทเอสซีจีแพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการ บริษัทอินวีนิค จำกัด ใน SCGP กล่าวว่า “บรรจุภัณฑ์ถือเป็นส่วนสำคัญในการปกป้องดูแลสินค้า รวมถึงการสะท้อนเอกลักษณ์ให้เกิดการจดจำและสร้างแบรนด์ให้กับสินค้า LocoPack ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบริการออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ครบวงจรใน SCGP ที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมผู้ประกอบการ ตั้งแต่ระดับ SME ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ ให้สามารถเข้าถึงและผลิตบรรจุภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของตนเองได้ตามต้องการในจำนวนเริ่มต้นที่ 100 ชิ้นในราคาที่จับต้องได้ จึงพร้อมให้ความร่วมมือกับไปรษณีย์ไทยที่จะนำความเชี่ยวชาญมาร่วมพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ที่มุ่งเน้นความปลอดภัยของสินค้าและบริการ และการส่งมอบบรรจุภัณฑ์จนถึงมือผู้บริโภค ตลอดจนการสร้างเอกลักษณ์ผ่านบรรจุภัณฑ์เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของกลุ่มคู่ค้าและลูกค้าของไปรษณีย์ไทย”

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสั่งผลิตกล่อง-ซองในรูปแบบ on demand เพื่อ Re-packaging และเพิ่มมูลค่าให้สินค้า สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊ก บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือติดต่อฝ่ายการขายและการตลาด
บริการไปรษณีย์ โทร. 0-2831-3581

SCGP เปิดตัว Holis Pop-Up Store แห่งแรก มุ่งสร้างการมีส่วนร่วมและการเติบโตอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา นายเอกราช นิโรจน์ Enterprise Marketing Director, SCGP ร่วมเปิดร้าน Holis Pop- Up Store สาขาแรกใจกลางสยามบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส

การเปิดตัว Holis Pop-Up Store ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการกระตุ้นการรับรู้ของแบรนด์ ที่สามารถโต้ตอบ พร้อมสร้างความผูกพันกับผู้บริโภคได้โดยตรง เพิ่มโอกาสในการขาย มุ่งสู่การเติบโตอย่างแข็งแกร่ง  

 
ทั้งนี้ Holis ฉลองเปิด Pop-Up Store สาขาแรก จัดโปรโมชัน ซื้อ 1 แถม 1 ทุกรายการ พร้อมลุ้นรับ MONSTER TEARS Cry Baby model  จาก POP mart วันละ 1 จุ่ม ตลอด 12 วัน หรือจนกว่าสินค้าจะหมด พบกันได้ที่ Holis Pop-Up Store ที่ BTS สถานีสยาม ทางออก 3  ฝั่งสยามพารากอน เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00 – 19.00 น.