SCGP Newsroom

SCGP เคาะราคาเสนอขายสุดท้ายหุ้น IPO ที่ 35.00 บาทต่อหุ้น ปลื้มนักลงทุนรายย่อยและสถาบันจองซื้อท่วมท้น

บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (“SCGP” หรือ “บริษัทฯ”) ประกาศราคาเสนอขายสุดท้ายหุ้น IPO ที่ 35.00 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาสูงสุดของช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้น หลังได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้นจากนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันที่แสดงความต้องการจองซื้อมากกว่าจำนวนหุ้นที่จัดสรรไว้ ชูศักยภาพผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน และแผนงานขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนเพื่อรับประโยชน์จากเมกะเทรนด์การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในภูมิภาคนี้ คาดเข้าเทรดวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประมาณวันที่ 22 ตุลาคม 2563

 

นางสาววีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม เปิดเผยว่า หลังจากบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ได้กำหนดช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้นหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายแก่ประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ที่ราคา 33.50-35.00 บาทต่อหุ้น โดยเปิดให้นักลงทุนรายย่อยจองซื้อเมื่อวันที่ 1-2 และ 5 ตุลาคม 2563 ที่ราคา 35.00 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาสูงสุดของช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้น พร้อมทั้งสำรวจความต้องการซื้อหุ้น IPO ของนักลงทุนสถาบัน (Bookbuilding) พบว่าได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยม โดยนักลงทุนสถาบันแสดงความต้องการซื้อที่ช่วงราคาเสนอขายสูงสุดคือ 35.00 บาทต่อหุ้น และมีความต้องการจองซื้อมากกว่าจำนวนหุ้น IPO ที่จัดสรรไว้ จึงกำหนดราคาเสนอขายสุดท้าย (Final Price) หุ้น IPO ที่ 35.00 บาทต่อหุ้น โดยมั่นใจว่าราคาดังกล่าวสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานและศักยภาพของ SCGP ที่เป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน โดยภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการเสนอขายหุ้น IPO คาดว่าจะนำหุ้น SCGP เข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประมาณวันที่ 22 ตุลาคมนี้

 

นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม กล่าวว่า การเสนอขายหุ้น IPO ของ SCGP ครั้งนี้ มีจำนวนไม่เกิน 1,127.6 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 26.5 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งนี้ (ไม่รวมหุ้นที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน อาจใช้สิทธิซื้อหุ้น IPO จากบริษัทฯ ในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) และจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (Over Allotment) จำนวนไม่เกิน 169.1 ล้านหุ้น รวมคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 29.3 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้ (กรณีที่ใช้สิทธิซื้อหุ้นส่วนเกินทั้งจำนวน) โดยในการเสนอขายหุ้น IPO แก่นักลงทุนรายย่อย และการสำรวจความต้องการซื้อหุ้น IPO ของนักลงทุนสถาบันที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับที่ดีมากและเป็นนักลงทุนสถาบันที่มีคุณภาพ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในโมเดลธุรกิจด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรของ SCGP ที่เป็นผู้นำบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียน และมีแผนงานขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

 

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า บริษัทฯ จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้ไปใช้ขยายธุรกิจ ชำระเงินกู้และเป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยวางแผนขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ด้วยการมุ่งนำเสนอบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคได้อย่างหลากหลาย พร้อมทั้งมุ่งคิดค้นและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่

 

ในด้านแผนงานขยายการลงทุนนั้น จะมีทั้งโครงการที่ SCGP ขยายการลงทุนเอง และเข้าควบรวมกิจการ (Merger & Partnership) โดยในปี 2563 บริษัทฯ ได้เจรจาและลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Bien Hoa Packaging Joint Stock Company (SOVI) ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกรายใหญ่ในเวียดนามที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์ นอกจากนี้มีโครงการขยายกำลังการผลิตในประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ รวม 4 โครงการ ใช้งบลงทุนรวมประมาณกว่า 8,200 ล้านบาท จะทยอยแล้วเสร็จในปี 2563-2564 และอยู่ระหว่างศึกษาโอกาสขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง

 

******************************************

ข้อมูลเพิ่มเติม

บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (SCGP) ดำเนินธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน เป็นหนึ่งในธุรกิจของเอสซีจีที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ที่เติบโตจากความต้องการของผู้บริโภคที่มีเพิ่มขึ้น (Consumer Growth) ทั้งในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศมาเลเซีย รวมทั้งประเทศอื่น ๆ ทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ SCGP ยังมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่มีวัสดุหลากหลายประเภท (Multi-materials) ทั้งกระดาษและพอลิเมอร์ พร้อมการให้บริการโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Packaging Solutions Provider) การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ พร้อมการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อรักษาความเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าชั้นนำระดับสากลได้อย่างครอบคลุมและครบวงจร

 

หมายเหตุ

การแจกจ่ายเอกสารฉบับนี้ไปยังประเทศหรือเขตอำนาจรัฐอื่น ๆ นอกจากประเทศไทย อาจเป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย ผู้ที่ได้รับเอกสารฉบับนี้ควรศึกษาและปฏิบัติตามข้อจำกัดทางกฎหมายนั้น ๆ เอกสารฉบับนี้ไม่ได้ถูกจัดทำเพื่อการเผยแพร่ การตีพิมพ์ หรือการแจกจ่าย ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ในหรือไปยังสหรัฐอเมริกา

 

เอกสารฉบับนี้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อแจ้งข้อมูลเท่านั้น และไม่ถือเป็นการเสนอขายหรือการชักชวนให้เข้าซื้อหลักทรัพย์ใด ๆ และไม่มีการเสนอขายหรือซื้อหลักทรัพย์ในประเทศหรือเขตอำนาจรัฐใดที่การเสนอขาย การชักชวนการเสนอซื้อ หรือการขายหลักทรัพย์นั้นขัดต่อกฎหมาย หลักทรัพย์ที่กล่าวถึงในเอกสารฉบับนี้ยังไม่ได้นำไปจดทะเบียนภายใต้กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา ค.ศ.1933 รวมทั้งที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม (“กฎหมายหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา”) หรือกฎหมายของรัฐใด ๆ ในสหรัฐอเมริกา และจะไม่มีการเสนอขายหรือการขายหลักทรัพย์ดังกล่าวในสหรัฐอเมริกา เว้นแต่จะได้มีการจดทะเบียนหรือได้รับยกเว้นการจดทะเบียนภายใต้กฎหมายหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา และกฎหมายของรัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ไม่มีความประสงค์ที่จะจดทะเบียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดหรือว่าทั้งหมดของการเสนอขายหรือหลักทรัพย์ใด ๆ ที่กล่าวถึงในเอกสารฉบับนี้ในสหรัฐอเมริกา หรือดำเนินการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนในสหรัฐอเมริกา

 

ข้อความในเอกสารฉบับนี้ที่เป็นการคาดการณ์ของตลาดหรือแนวโน้มอุตสาหกรรมนอกเหนือจากที่เป็นข้อเท็จจริงในอดีต เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าซึ่งขึ้นอยู่กับมุมมองในปัจจุบัน สมมติฐาน การประมาณการ อันมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอน จึงมิได้เป็นการรับประกันว่าเหตุการณ์หรือผลลัพธ์ที่คาดการณ์นั้นจะเกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงในสมมติฐานหรือปัจจัยต่าง ๆ อาจทำให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงแตกต่างจากการคาดการณ์ดังกล่าว

 

********************************************

 

เผยแพร่โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอ็ม ที มัลติมีเดีย จำกัด (ในนาม SCGP)

รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ : ฐิยาภรณ์ ศรีอดุลย์พันธุ์ (ด๊ะ) โทร. 087 556 6974 E-mail: thiyaporn.s@mtmultimedia.com

SCGP ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา บรรจุภัณฑ์ดัดแปรบรรยากาศสำหรับผลิตผลสดทางการเกษตร

             เมื่อเร็วๆ นี้ SCGP นำโดย คุณวิชาญ จิตร์ภักดี Chief Executive Officer และ คุณกรัณย์ เตชะเสน Chief Operating Officer Performance and Polymer Packaging Business ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนากับมหาวิทยาลัยนเรศวร นำโดย ผศ.ดร.พีรธร บุณยรัตพันธุ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร และผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภายในงานได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ประธานกรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี มาร่วมเป็นสักขีพยานความร่วมมือในครั้งนี้ด้วย

             โดยความร่วมมือครั้งนี้ ทั้งสององค์กรจะร่วมกันทดสอบ วิจัย และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ดัดแปรบรรยากาศ (Modified Atmosphere Packaging) บรรจุผลิตผลสดทางการเกษตรสำหรับส่งออก โดยบรรจุภัณฑ์นี้มีคุณสมบัติช่วยดูดซับก๊าซเอทิลีน สามารถนำไปใช้ยืดอายุและลดการเน่าเสียของผลิตผลสดทางการเกษตรได้ โดยเริ่มต้นศึกษาจากมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ที่ทางมหาวิทยาลัยกำลังศึกษาและวิจัยอยู่ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยี Laser Perforation และ Compounding ของศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี SCGP เข้าไปใช้ในกระบวนผลิตและออกแบบบรรจุภัณฑ์ การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสนับสนุนและต่อยอดงานวิจัยเพื่อยกระดับและส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารและผลิตผลสดทางการเกษตรที่นับว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศให้เติบโตขึ้นอีกด้วย

SCGP คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2563 ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ จากผลงาน DETECT ODOR & MONITORING (DOM)

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา SCGP โดย ดร.พงษ์สุดา ผ่องธัญญา Director – Product & Technology Development Center พร้อมด้วย ดร.ทิพนครินทร์ บุญเฟื่อง Senior Researcher เข้ารับ “รางวัลชนะเลิศ” รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติประจำปี 2563  ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ ประเภทการออกแบบบริการ ด้วยผลงาน “Detect Odor & Monitoring (DOM)” ระบบตรวจวัดและเฝ้าระวังกลิ่นแบบครบวงจร จาก นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ

Detect Odor & Monitoring (DOM) เป็นนวัตกรรมโซลูชันด้านการสำรวจตรวจวัด การประเมินผลกระทบกลิ่นจากแหล่งกำเนิด รวมไปถึงระบบตรวจวัดและเฝ้าระวังกลิ่น แก๊ส และมลพิษทางอากาศแบบต่อเนื่องที่มีการนำผลตรวจวัดมาใช้ร่วมกับสภาพภูมิอากาศ และแสดงผลตรวจวัดบนเว็ปแพลตฟอร์มที่สะดวก และเข้าถึงได้ง่าย มีการแจ้งเตือนเมื่อมีความเสี่ยง นอกจากนี้ มีการใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือในการสร้างฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการระบุอัตลักษณ์ของกลิ่นนำไปสู่การวิเคราะห์และประมวลผลในอนาคตที่แม่นยำและรวดเร็วขึ้น 

โดยครั้งนี้นับว่าเป็นการได้รับรางวัลชนะเลิศ รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นครั้งที่ 2 ของ SCGP หลังจากที่เคยได้รับมาแล้วเมื่อปี 2553 ในด้านเศรษฐกิจ จากผลงาน “TextPro” กระดาษเพื่องานพิมพ์หนังสือแบบเรียน รางวัลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ SCGP ในการค้นคว้าและพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านสินค้าและบริการ เพื่อตอบโจทย์ทุกกลุ่มลูกค้า ทุกภาคส่วน และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน

สรุปหุ้น IPO SCGP

ถ้าพูดถึงหุ้นใหญ่เมืองไทยที่ทุกคนรู้จักกันดีคงมีชื่อของหุ้นเอสซีจี หรือ SCC ที่สร้างผลกำไรให้นักลงทุนมากมายหลายปีที่ผ่านมา วันนี้ต้องบอกว่าพี่ปูนใหญ่กลับมาแล้ว! แต่รอบนี้เป็นการนำบริษัทย่อยที่ทำธุรกิจบรรจุภัณฑ์มาเข้าตลาดหุ้นภายใต้ชื่อ บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (“SCGP”) เพื่อระดมทุนไปรองรับแผนการเติบโตแบบ Organic ด้วยการขยายและปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิต และมีแผนแบบ Inorganic ผ่านการควบรวมกิจการทั้งในและต่างประเทศ

หุ้นตัวนี้มีความดีงามที่น่าสนใจหลายอย่างเช่น เป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน แถมธุรกิจของ SCGP ก็กำลังเติบโตตามเทรนด์ผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของออนไลน์ (E-Commerce) และธุรกิจรับส่งอาหาร (Food Delivery) บอกได้เลยว่าจะเป็น IPO แห่งปีที่น่าจับตามองแน่นอน ส่วนรายละเอียดของตัวธุรกิจน่าสนใจแค่ไหน ผมสรุปมาให้แล้วครับ

หุ้นกำลังจะเข้าตลาดแล้ว ช่วงนี้ผลตอบแทนดี ๆ หลายตัว ไม่ศึกษาเตรียมไว้ ถ้าพลาดแล้วห้ามบ่นว่า ”เสียดาย” นะครับ 🙂

แว้บแรกที่ดูหุ้น SCGP หุ้นตัวนี้มีความน่าสนใจอยู่ประมาณ 3-4 ประเด็นด้วยกันครับ

  1. เป็นผู้นำธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทย และอีกหลาย ๆ ประเทศในอาเซียน ตรงนี้น่าสนใจเพราะการแข่งขันช่วงนี้แข่งกันดุเดือด ซึ่ง SCGP ถือเป็นรายใหญ่ จึงมีความแข็งแกร่งค่อนข้างมาก
  2. เป็นหุ้นที่เติบโตไปพร้อมกับเทรนด์การบริโภคและช้อปปิ้งออนไลน์ของอาเซียน ผมเองสังเกตเห็นว่าช่วงหลัง ๆ ที่ผ่านมา คนสั่งของออนไลน์กันเยอะมาก การใช้แพคเกจจิ้งก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย หุ้น SCGP น่าจะได้รับแรงหนุน ประกอบกับการมี R&D ที่แข็งแกร่ง ก็จะยิ่งช่วยเสริมเกิดการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว
  3. รายได้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและอุตสาหกรรมยังมีช่องว่างให้เติบโตอยู่ โดย SCGP มีแผนการเติบโตแบบ Organic ด้วยการขยายและปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิต และแผนแบบ Inorganic ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรที่น่าสนใจในการขยายธุรกิจ
  4. SCGP ทำการตลาดในอาเซียนและมีการส่งออกมากกว่า 20 ประเทศทั่วโลก นับได้ว่าเป็นหุ้นที่มีส่วนแบ่งรายได้จากตลาดในต่างประเทศประมาณครึ่งหนึ่ง ใครอยากไปต่างประเทศแต่ไม่อยากซื้อหุ้นต่างประเทศ ซื้อ SCGP ก็ทำให้ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตของต่างประเทศได้ครับ

ชื่อ SCGP นี่ก็ไม่ได้มาเล่น ๆ เพราะบริษัทนี้ถือเป็นบริษัทย่อยของปูนซิเมนต์ไทย (SCC) นี่เอง ปัจจุบัน SCC ถือหุ้นประมาณ 99% แต่หลังจาก IPO เข้าตลาดแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นของ SCC จะเหลือราว ๆ ไม่น้อยกว่า 70%

แต่ SCC ก็ยังมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่ ดังนั้น การซื้อหุ้น SCGP ก็เหมือนการได้ร่วมทุนกับปูนใหญ่ไปกลาย ๆ

โดยตัวธุรกิจหลัก ๆ ของ SCGP เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ โดยผลิตตั้งแต่กระดาษที่เอาไปทำบรรจุภัณฑ์, กล่องที่ใช้ในอุตสาหกรรม บรรจุภัณฑ์อาหาร บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงสินค้านวัตกรรมต่าง ๆ

สัดส่วนของธุรกิจแบ่งตามรายได้ ประกอบด้วย สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร และสายธุรกิจเยื่อและกระดาษ

สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์ครบวงจรมีสัดส่วนรวม 84% ของรายได้จากการขาย (ข้อมูลงวดครึ่งปีแรกของปี 2563) ถือเป็นธุรกิจหลักของ SCGP เลยทีเดียว ซึ่งตรงนี้รายได้แบ่งแยกย่อยเป็น 3 ประเภทคือ ….
1.บรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ 25%
2.กระดาษสำหรับใช้ทำบรรจุภัณฑ์ 51%
3.บรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ 8%

สายธุรกิจเยื่อและกระดาษมีสัดส่วน 16% ของรายได้จากการขายทั้งหมด

มองผ่านตัวเลขอาจจะเข้าใจได้ไม่หมด ผมทำรูปตัวอย่างมาให้ดูกันชัด ๆ ครับว่าหน้าตาสินค้าแต่ละหมวดเป็นอย่างไรบ้าง?

จากภาพนี้ จะเห็นว่าบรรจุภัณฑ์ของ SCGP มีหลากหลายรูปแบบมาก ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีอยู่ในหลากหลายอุตสาหกรรม

Highlight ที่น่าสนใจของบรรจุภัณฑ์ของ SCGP คือหมวดบรรจุภัณฑ์สมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ที่มีโอกาสการเติบโตสูงเพราะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ในอุตสาหกรรมสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค

นอกจากนั้น SCGP ยังผลิตสินค้าจำพวกกล่องอาหาร และถาดใส่อาหารต่าง ๆ ดังนั้น SCGP จึงมีโอกาสเติบโตของการสั่งอาหารผ่าน Food Delivery มากขึ้นด้วยครับ

ดังนั้น พอบรรจุภัณฑ์ที่ SCGP ขายมีความหลากหลาย ลูกค้าที่มาซื้อก็มีความหลากหลายตามไปด้วย ลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทคือกลุ่ม Consumer Goods ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 69% ส่วนที่เหลืออีก 31% เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมและอื่น ๆ

บริษัทที่เป็นลูกค้าของ SCGP ก็เช่น บริษัทแฟชั่นกีฬา, ผู้ผลิตอาหารแช่แข็งและผลไม้กระป๋อง, ผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายและสุขอนามัย, เครื่องปรับอากาศ, อาหารสำเร็จรูป ฯลฯ

ลูกค้าของ SCGP กระจายอยู่ในหลายอุตสาหกรรม ดังนั้น ทำให้ความเสี่ยงของ SCGP ลดลงด้วย เพราะไม่ต้องพึ่งพิงอยู่กับอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งมากจนเกินไป

SCGP ดำเนินธุรกิจอย่างแข็งแกร่ง การเติบโตของรายได้ก็ถือว่าอยู่ในระดับดีทีเดียว สำหรับบริษัทที่มีรายได้ระดับเกือบ ๆ แสนล้าน ดูในรูปจะเห็นว่ารายได้ปีล่าสุดมีการเติบโตมาราว ๆ 2% แต่กำไรลดลงเล็กน้อย จริง ๆ มันมีสาเหตุอยู่ครับ

เพราะในไตรมาส 3 ปี 2562 SCGP มีการควบรวมบริษัทบรรจุภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซียและในประเทศไทยมา 2 ราย ทำให้รายได้เข้ามาไม่เต็มปี นอกจากนั้นปี 2562 สินค้าหมวดเยื่อและกระดาษมีราคาขายที่ปรับลดลง ถัว ๆ กันไปกับธุรกิจบรรจุภัณฑ์ที่มากขึ้นออกมาเป็นการเติบโตเล็กน้อยที่ 2%

อัตรากำไรขั้นต้นของ SCGP ก็ลดลงในทิศทางเดียวกันคือลดจาก 20.8% ในปี 2561 มาเหลือ 19.6% ในปี 2562 ด้วยสาเหตุเดียวกันกับที่กล่าวไปข้างต้น

ส่วนล่าสุด ภาพรวมครึ่งปีแรกของปีนี้ SCGP มีรายได้จากการขายอยู่ที่ 45,903 ล้านบาท เติบโต 11% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีกำไรสุทธิ 3,636 ล้านบาท เติบโต 40% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

แล้วบริษัทมีแผนในการสร้างการเติบโตให้กลับมาอย่างรวดเร็วอย่างไรบ้าง?

SCGP มีแผนหลัก ๆ อยู่ 2 แผนด้วยกันคือ การเพิ่มกำลังการผลิตให้กับสินค้าที่เติบโตและการควบรวมซึ่งจะทำให้ SCGP ได้กำไรทันที

SSCGP ยังมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งจะเพิ่มกำลังการผลิตให้กับบริษัทโดยรวมได้ที่ 15.7%

Sส่วนการเพิ่มกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว (พวกซอง ๆ ทั้งหลาย) SCGP มีแผนในการเพิ่มกำลังการผลิตให้โรงงานในประเทศไทยและเวียดนาม

Sที่จำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตเพราะอัตราการใช้กำลังการผลิตเดิมของโรงงานเริ่มเต็มนั่นเอง

ถามว่าอะไรคือปัจจัยที่ทำให้บริษัทมั่นใจได้ว่าเพิ่มกำลังการผลิตมาแล้วสินค้าจะยังขายได้? ปัจจัยนั้นคือเรื่องการเติบโตของตลาดบรรจุภัณฑ์ในอาเซียน จากรูปจะเห็นว่าแต่ละประเทศมีการเติบโตของการบริโภคบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่ 5.3-7.2% ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลย

ประเทศไทยโต 5.3%
ประเทศอินโดนีเซียโต 5.5%
ประเทศเวียดนามโต 5.6%
ประเทศฟิลิปปินส์โต 7.2%

อย่างไรก็ตาม ในฐานะของนักลงทุนก็ไม่ควรมองที่โอกาสในการทำกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ก็ต้องมองความเสี่ยงไว้ด้วยซึ่ง SCGP มีความเสี่ยงที่เป็นเรื่องเฉพาะตัวหลายอย่างเช่น

  1. เรื่องการจัดหาวัตถุดิบให้เพียงพอต่อความต้องการของบริษัทที่มีการไปตั้งโรงงานไว้ในหลายประเทศ
  2. เนื่องจากธุรกิจของ SCGP เป็นกระดาษซึ่งมีวัตถุดิบตั้งต้นมาจากเยื่อไม้และกระดาษรีไซเคิล ดังนั้น บริษัทจึงจำเป็นต้องทำตามกฎหมายของแต่ละประเทศ ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงขึ้นได้ในกรณีที่ประเทศนั้น ๆ ไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง และอาจมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
  3. กระดาษพิมพ์เขียนเป็นสินค้าที่มีโอกาสถูก Disruption สูง แม้ปัจจุบันจะเป็นสินค้าที่จำเป็นต้องใช้ทั้งในเชิงการเรียน และการส่งของต่าง ๆ นอกจากนั้นยังมีเรื่องเทรนด์และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลเสียกับบริษัทได้

แม้ความเสี่ยงจะมีอยู่บ้างแต่ด้วยศักยภาพของ SCGP และฐานะความเป็นผู้นำตลาด บริษัทฯ มีการติดตามความเสี่ยงต่าง ๆ อย่างระมัดระวัง และสามารถปรับไลน์การผลิตไปสู่สินค้าที่มีอนาคตดีกว่าได้

สุดท้ายถ้าอยากซื้อหุ้นร่วมทุนทำธุรกิจกับ SCGP ที่มีปูนใหญ่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ รายละเอียดที่นักลงทุนจำเป็นต้องรู้มีดังต่อไปนี้ครับ …

  1. เงินปันผล ! บริษัทมีแผนที่จะจ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่า 20% ของกำไรสุทธิ ซึ่งส่วนตัวผมถือว่ามันไม่มาก แต่ก็พอเข้าใจได้เพราะบริษัทต้องใช้เงินในการขยายกำลังการผลิต รวมไปถึงการซื้อกิจการ
  2. การซื้อหุ้น SCGP ถือเป็นการลงทุนในหุ้นที่มีสถานะธุรกิจเป็นผู้นำในหลาย ๆ ประเทศ ความแข็งแกร่ง และการเติบโตนับว่าคาดหวังได้
  3. ขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปในสัดส่วนสูงสุดไม่เกิน 29.3% (ภายใต้สมมติฐานว่าจะมีการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนส่วนเกินทั้งจำนวน) ถือว่าไม่มากไม่น้อย เป็นระดับปกติที่บริษัทมั่นใจได้หุ้นจะซื้อง่ายขายคล่องในตลาด

SCGP ถือว่าเป็นหนึ่งในธุรกิจเพชรเม็ดงามของเอสซีจี เข้าตลาดมาคงเป็นที่ติดตามของนักลงทุนทั้งรายย่อยและรายใหญ่ ส่วนใครอยากจะเข้าไปซื้อ ก็ขอให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจาก Filing ตัวเต็มได้ครับ

ขอให้โชคดีมีกำไรกันทุกคนมีความสุขกับการลงทุนครับ

SCGP ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนกำลังจะเข้าตลาดหุ้น

SCGP หรือ บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) คือ บริษัทผู้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ใน SCG หรือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินธุรกิจใน 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจปูนซิเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ธุรกิจเคมิคอลส์ และธุรกิจแพคเกจจิ้ง ซึ่ง SCGP คือส่วนธุรกิจแพคเกจจิ้งที่กำลังจะเข้ามาระดมทุนในตลาดหุ้นนั่นเอง

SCGP ประกอบธุรกิจใน 2 ส่วนหลัก ได้แก่

1) สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Integrated Packaging Chain)
บริษัทฯ ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ (Fiber-based Packaging) เช่น กล่องลูกฟูก และกล่องพิมพ์สีเพื่อการแสดงสินค้า กระดาษบรรจุภัณฑ์ (Packaging Paper) เช่น กระดาษบรรจุภัณฑ์ลูกฟูก กระดาษกล่องขาวเคลือบ และบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ (Performance and Polymer Packaging) ที่นำเสนอบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวและบรรจุภัณฑ์แบบคงรูปเจาะกลุ่มลูกค้าในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่มและสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการหมุนเวียนอย่างรวดเร็ว (Fast Moving Consumer Goods หรือ “FMCG”) ทั้งนี้ รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 84 ของรายได้จากการขาย

2) สายธุรกิจเยื่อกระดาษ (Fibrous Chain)
บริษัทฯ ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ ภาชนะบรรจุอาหาร (Food Service Products) จากแบรนด์ ‘เฟสท์’ เช่น หลอด ถ้วย ภาชนะบรรจุอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผลิตภัณฑ์เยื่อและกระดาษ (Pulp and Paper Products) เช่น กระดาษถ่ายเอกสารแบรนด์ ‘ไอเดีย’ กระดาษกราฟิก ฯลฯ ทั้งนี้ รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 16 ของรายได้จากการขาย

จุดเด่นของ SCGP อยู่ที่ความครบวงจร
ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ของ SCGP สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้า รวมถึงผู้บริโภคได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมสินค้า FMCG อาหารและเครื่องดื่ม สุขอนามัย ไปจนถึงกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยแบรนด์ของ SCGP เองก็ได้รับการยอมรับในอาเซียน มีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างกลุ่มธุรกิจภาชนะบรรจุอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่กำลังเป็นเทรนด์ขึ้นมาเรื่อย ๆ SCGP ก็จับเทรนด์ได้ดีและแสวงหาการเติบโตใหม่ ๆ อยู่เสมอ

การลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถก็เป็นเรื่องสำคัญ
ในปี 2562 SCGP มีการลงทุนขยายกำลังการผลิต พัฒนาจุดแข็งในการดำเนินงาน และการขยายธุรกิจด้วยการควบรวมกิจการในภูมิภาค ด้วยเงินลงทุนรวมกว่า 25,000 ล้านบาท ตรงนี้อาจจะเรียกว่าเป็นอีกจุดแข็งหนึ่งของบริษัทฯ ก็ว่าได้ นอกจากนี้ SCGP เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศและภูมิภาค ที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานและรักษาคุณภาพจนได้รับการยอมรับ สามารถขยายขีดความสามารถได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่การทุ่มงบวิจัยและพัฒนา รวมไปถึงควบรวมกิจการต่าง ๆ SCGP จึงคงสถานะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์

กลยุทธ์ของ SCGP
บริษัทฯ วางตัวเป็นคู่คิดให้ลูกค้า โดยใช้การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ครบวงจรเป็นตัวช่วย สะดวกสำหรับลูกค้าที่ต้องการคำตอบในที่เดียว โดยมุ่งเน้นการตอบโจทย์ได้อย่างหลากหลายตามความต้องการ ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์สำหรับลูกค้ารายย่อย บรรจุภัณฑ์ที่มุ่งเน้นความสะดวกในการใช้งาน นวัตกรรบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น บรรจุภัณฑ์สำหรับกลุ่มลูกค้า e-commerce และบรรจุภัณฑ์ส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด

นอกจากนี้ SCGP ยังเน้นการดำเนินธุรกิจแบบ B2B2C เพราะสัดส่วนเกือบร้อยละ 70 ของรายได้จากการขายมาจากลูกค้าอยู่ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้บริษัทฯ คิดค้นพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่นำมาพิจารณานั่นเอง

เศรษฐกิจหมุนเวียน
เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy คือ หลักในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดย SCGP ก็มุ่งเน้นในการสร้างบรรจุภัณฑ์ที่ใช้งานง่าย น้ำหนักเบา แข็งแรง สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยสัดส่วนกว่าร้อยละ 95 ของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตกล่องกระดาษในปัจจุบัน มาจากกระดาษรีไซเคิล

หมายเหตุ:
(1) คำนวณเป็นร้อยละของรายได้รวมจากการขายของบริษัทฯ
(2) ข้อมูลตามส่วนงานแต่ละส่วนของสายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรนำมาจากข้อมูลทางการเงินสำหรับผู้บริหารที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบหรือสอบทานจากผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ
(3) สุทธิจากการตัดรายการระหว่างสายธุรกิจ

ภาพรวมผลดำเนินงาน
SCGP มีผลการดำเนินงานเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยครึ่งปีแรกมีรายได้จากการขายอยู่ที่ 45,903 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 11 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 3,636 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 40 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

จากงบการเงินพบว่า รายได้งวดครึ่งปีแรกของปี 2563 มีแนวโน้มที่เติบโตเช่นเดียวกับกำไรสุทธิ ซึ่งเป็นผลจากยอดขายบรรจุภัณฑ์สำหรับอีคอมเมิร์ซ ฟู้ดเดลิเวอรี่ ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารส่งออก สินค้าอุปโภคบริโภคและกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพที่เติบโตอย่างมาก จากสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 และมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ผู้บริโภคต่างใช้ชีวิตแบบ New Normal และทำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ และให้ความสำคัญกับเรื่องสุขอนามัยมากขึ้นด้วย

SCGP กำลังจะเข้าตลาดหุ้น
SCGP มีแผนจะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากที่เคยมี SCC เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ประมาณร้อยละ 99.0 ก่อนมีการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน โดยบริษัทฯ จะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) โดยจะมีประชาชนทั่วไปเข้ามาถือหุ้นสูงสุดไม่เกินร้อยละ 30 หลังระดมทุนแล้ว

SCGP ตั้งเป้าเติบโตทั้ง organic และ inorganic
บริษัทฯ จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปใช้ในการขยายธุรกิจ ชำระคืนเงินกู้ยืม รวมไปถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ ภาพแน่นอนข้อหนึ่งที่น่าจะเกิดขึ้นคือการลดลงของภาระหนี้สินและดอกเบี้ยจ่ายที่จะช่วยให้ SCGP แข็งแกร่งขึ้นอีก

โดย SCGP มีโครงการลงทุนขยายกำลังการผลิตมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 8.2 พันล้านบาทที่คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2564 คือโครงการขยายกำลังการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ ในประเทศอินโดนีเซียและประเทศฟิลิปปินส์ โครงการขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวที่ประเทศเวียดนามและประเทศไทย

บริษัทฯ ตั้งเป้าจะขยายส่วนงานธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง เช่น กลุ่มอาหาร FMCG และอีคอมเมิร์ซ และนำรูปแบบการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในไทยไปใช้ต่อต่างประเทศ เพื่อขยายขนาดตลาด กลุ่มลูกค้า และโอกาสในการเติบโต ปรับปรุงประสิทธิภาพและกำลังการผลิต ไปจนถึงมองหาโอกาสควบรวมกิจการ การระดมทุนครั้งนี้น่าจะกลายเป็นจุดหมายสำคัญในการเติบโต

SCGP น่าจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ที่ได้รับแรงเสริมจากการเติบโตของเมกะเทรนด์ ทั้งอีคอมเมิร์ซ ฟู้ดเดลิเวอรี่ ไปจนถึงกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพ

สำหรับใครที่รอคอยและตามหาหุ้นแบบนี้ อย่าลืมไปแกะกัน! เข้าไปอ่านแบบ filing ฉบับเต็มได้ที่
https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=282407&lang=th

SCGP หุ้นจ่อ IPO ไฟแรง ผู้นำธุรกิจบรรจุภัณฑ์ครบวงจรในอาเซียน

สรุปจุดเด่น SCGP

  • ผู้ให้บริการโซลูชันด้านกระดาษบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน
  • เติบโตอย่างต่อเนื่องตอบรับจากการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และธุรกิจอื่น ๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของ Mega trends ที่สำคัญ
  • ผลการดำเนินงานเป็นเลิศ รายได้จากการขาย และกำไรเติบโตอย่างต่อเนื่อง
  • SCGP ถือเป็นหุ้นเติบโตหรือ Growth Stock ซึ่งการเข้า IPO จะทำให้ SCGP สามารถไปลงทุนขยายธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่งและเต็มรูปแบบทั้งการเพิ่มกำลังการผลิต (Organic) และการควบรวมกิจการ (Inorganic)
  • พร้อมเติบโตในระยะยาวอย่างยั่งยืนไปกับ Circular Economy (หลักเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน) ตอบโจทย์แนวคิดคนรุ่นใหม่ไฟแรง
  • อยู่ในหมวดธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ธุรกิจที่เติบโตในภูมิภาคอาเซียน

คุณกำลังจะเติบโตไปกับอะไร?

บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (“SCGP” หรือ “บริษัทฯ”) เป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมีรายได้จากการขายโตแบบปีต่อปีอย่างต่อเนื่อง โดยมีจุดเด่นอย่างการผสานเทคโนโลยีกับสินค้าบรรจุภัณฑ์ให้มีความลํ้าหน้าและทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยืดอายุอาหารและผัก หรือบรรจุภัณฑ์สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ อีกทั้งยังมีฐานลูกค้าเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งในและนอกประเทศ ไปจนถึงกลุ่ม SMEs

หรือสรุปแล้วคุณกำลังจะเติบโตไปกับธุรกิจที่มียอดขายเติบโตต่อเนื่อง พร้อมฐานลูกค้าที่มีความแข็งแกร่ง!

เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว ทุกคนคงอยากจะรู้ตัวอย่างสินค้ากัน เพราะฉะนั้น ผมจึงขอหยิบยกสินค้าบางส่วนของ SCGP มาให้ทุกคนได้รับชมและตัดสินใจในศักยภาพ รวมถึงจะได้เข้าใจธุรกิจกันมากขึ้นนะครับ

หลัก ๆ แล้ว SCGP มีธุรกิจอยู่ 2 ธุรกิจ คือ (1) สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร และ (2) สายธุรกิจเยื่อและกระดาษ ซึ่งมีสินค้าและจุดเด่นต่าง ๆ ดังนี้…

1) ธุรกิจจำหน่ายบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร

  • บรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ
  • กระดาษบรรจุภัณฑ์
  • บรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์

มีบรรจุภัณฑ์หลากหลาย อาทิ บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง บรรจุภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ที่สามารถนำไปอุ่นร้อนเข้าไมโครเวฟหรือจะแช่เย็นก็ยังได้ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

อีกทั้งยังมีบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยืดอายุผักและผลไม้สดต่าง ๆ ที่จะช่วยลดการเกิดของเสียในระหว่างขนส่ง หรือจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับอาหารที่ผ่านการอบและสินค้าอื่นที่ไวต่อออกซิเจน ช่วยคงความสดและยืดอายุการเก็บรักษาของสินค้าที่เชื่อมโยงต่อยอดมายังธุรกิจการแพทย์

2) สายธุรกิจเยื่อและกระดาษ คือ จำหน่ายภาชนะบรรจุอาหาร และผลิตภัณฑ์เยื่อและกระดาษ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์อาหารแบรนด์ “เฟสท์” และผลิตภัณฑ์เยื่อและกระดาษ รวมถึงกระดาษถ่ายเอกสารแบรนด์ไอเดียด้วย

จากที่เล่ามาแล้ว จึงกล่าวได้ว่า SCGP เป็นผู้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่มีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์การใช้งานและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่มีความหลากหลาย

พื้นฐานธุรกิจแข็งแรง ลูกค้าทั้งในประเทศและนอกประเทศต่างมั่นใจในคุณภาพ

SCGP มีฐานรายได้ทั้งจากในและนอกประเทศ โดยหลัก ๆ แล้วจะเป็นในประเทศไทย รวมไปถึงกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศมาเลเซีย

อีกทั้งยังมีฐานลูกค้าที่เป็นบริษัทชั้นนำของประเทศหรือจะเรียกได้ว่ามีพันธมิตรธุรกิจที่มีพื้นฐานแข็งแรง ทำให้ไว้วางใจได้ว่าจะมีการสั่งซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง สร้างรายได้ที่เติบโตอย่างยั่งยืน

ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนกำลังมีแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่ง รวดเร็ว

1) ตลาดบรรจุภัณฑ์สำหรับอีคอมเมิร์ซกำลังเติบโตอย่างร้อนแรง

ณ จุด ๆ นี้คงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่าอีคอมเมิร์ซยังสามารถเติบโตได้อีกมาก และหากว่ากันถึงตลาดบรรจุภัณฑ์สำหรับอีคอมเมิร์ซที่ SCGP กำลังดำเนินธุรกิจอยู่นั้นก็ถือได้ว่ามีอัตราเติบโตที่น่าทึ่งเช่นกัน จึงถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ธุรกิจแห่งอนาคตที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจบรรจุภัณฑ์

2) ยอดการใช้งานบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ กำลังเติบโต

นอกจากการเติบโตในตลาดใหญ่อย่างอีคอมเมิร์ซแล้ว ยอดการใช้งานสินค้ากลุ่มบรรจุภัณฑ์ในกลุ่มประเทศที่ SCGP ทำธุรกิจด้วย ก็มีการเติบโตต่อเนื่องเช่นกัน แสดงให้เห็นถึงความต้องการที่ต่อเนื่องไม่ขาดสาย โดยการเติบโตเฉลี่ยต่อปีแต่ปี 2562-2567 นั้นอยู่ที่ 5.87%

และในช่วง COVID-19 ทำให้ผู้คนอยู่บ้านและใช้บริการอีคอมเมิร์ซ ซื้อของออนไลน์กันมากขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่เคยทดลองใช้บริการได้เรียนรู้ และคุ้นชินกับการจับจ่ายออนไลน์ จึงอาจทำให้อีคอมเมิร์ซเติบโตมากกว่าที่เคยเป็น

3) ยอดผู้ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกและกระดาษเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

หากลงรายละเอียดลึกลงมาอีกหน่อย ในส่วนของการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกและกระดาษ บรรจุภัณฑ์กระดาษถือเป็นรายได้ส่วนใหญ่ของ SCGP ยอดการใช้ต่อหัวในไทยนั้นอยู่ที่ 50 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แซงหน้าจีนที่ 35 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ในส่วนของบรรจุภัณฑ์พลาสติกเองศักยภาพการเติบโตของ GDP ที่ 5.1% ณ ปี 2562 รวมกับปริมาณประชากรในอาเซียนที่ 650 ล้านคนแล้ว ก็ถือได้ว่ากลุ่มคนในภูมิภาคอาเซียนขนาดใหญ่กำลังมีการเติบโตทางฐานรายได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มกำลังการจับจ่ายใช้สอย และนำไปสู่การบริโภคสินค้า ที่จะส่งผลบวกสอดคล้องไปกับกลุ่มบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเหมือนชิ้นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในสินค้าต่าง ๆ

Circular Economy ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ไฟแรง

“SCGP ถือว่ามีศักยภาพการเติบโตในระยะยาวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน”

Circular Economy หรือหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นแนวทางที่เน้นการนำสินค้าและพลังงานกลับมาใช้ใหม่แบบไม่รู้จบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ที่ SCGP ให้ความสำคัญโดยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ จึงถือได้ว่ามีศักยภาพการเติบโตในระยะยาวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน

โอกาสลงทุนในหุ้นเติบโตหรือ Growth Stock

เป็นธรรมดาที่หากเราลงทุนในธุรกิจอะไรสักธุรกิจหนึ่ง เราย่อมต้องการโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนและเติบโตไปกับธุรกิจนั้น ซึ่ง SCGP เองก็มีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทั้งแบบ Organic คือการเพิ่มกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ และแบบ Inorganic ผ่านกลยุทธ์การควบรวมกิจการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งการเข้าระดมทุนในครั้งนี้ จะทำให้ SCGP มีเงินไปลงทุนต่อยอดธุรกิจได้อย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น จึงถือเป็นหุ้นเติบโตหรือ Growth Stock อีกหนึ่งตัวที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะสำหรับนักลงทุนสายคุณค่าหรือ Value Investor (VI)

รายได้จากการขายเติบโตต่อเนื่อง ไม่มีสะดุด

ในส่วนของรายได้จากการขายหากย้อนไปดูสัก 4 ปีก่อนหน้าตามภาพด้านบนก็ถือได้ว่าเติบโตต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางธุรกิจที่แข็งแกร่งและความสามารถของผู้บริหาร ที่สามารถผลักดันยอดขายให้เติบโตต่อเนื่องได้แบบปีต่อปีไม่มีถอย โดยสัดส่วนกว่า 69% ของรายได้จากการขายของ SCGP มาจากธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รายได้สามาถรถไปต่อได้เรื่อย ๆ ไม่ค่อยผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ

การเติบโตไม่หยุดยั้งแต่เพียงเท่านี้ SCGP พร้อมขยายธุรกิจเสริมสร้างรายได้ให้แข็งแกร่ง

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเติบโตทางรายได้ ยอดขายหรือกำไรของบริษัทเป็นสิ่งที่นักลงทุนให้ความคาดหวังกันเป็นอันดับแรก ๆ เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้ราคาหุ้นและเงินปันผลที่ได้รับเติบโตตาม ๆ กันไป

การขยายธุรกิจเป็นวิถีทางหนึ่ง ที่จะช่วยเสริมสร้างราคาหุ้นให้เติบโตยิ่ง ๆ ขึ้นไป ดังนั้นในส่วนถัดไป เราจะมาดูกันว่าหลัก ๆ แล้ว SCGP กำลังจะขยายโครงการอะไรในอนาคต

โครงการขยายกำลังการผลิต

หลัก ๆ แล้ว SCGP มีโครงการที่จะเพิ่มฐานการผลิตในอนาคต สอดคล้องกับความต้องการสินค้าบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นในอาเซียน ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้า โดยจะมีการขยายกำลังการผลิต ทั้งในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์

โดยจะมีการขยายกำลังการผลิตทั้งในส่วนของกระดาษบรรจุภัณฑ์ลูกฟูก กระดาษกล่องเคลือบขาว (Duplex Paper) และบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว

หรือสรุปรวม ๆ ได้ว่าเป็นการต่อยอดการผลิตสินค้าที่ทาง SCGP มีความชำนาญเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงเพิ่มความมั่นใจได้ว่า การขยายการผลิตดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างรายได้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในอนาคต

ขยายธุรกิจได้อย่างยืดหยุ่น SCGP มาพร้อมศักยภาพในการควบรวมกิจการ

หากเป็นธุรกิจทั่ว ๆ ไปหลาย ๆ คนคงอาจนึกถึงการปั้นธุรกิจเองขยายสาขา เพิ่มกำลังการผลิตไปเรื่อย ๆ

แต่ SCGP นั้นมีศักยภาพที่เหนือไปกว่านั้น ที่ผ่านมา SCGP ได้ใช้กลยุทธ์ขยายธุรกิจผ่านการควบรวมกิจการในธุรกิจที่มีศักยภาพสูงและมีความโดดเด่น เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายฐานลูกค้า ตัวอย่างเช่น การเข้าซื้อหุ้นบริษัทผู้นำธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซีย รวมไปถึงการเข้าซื้อหุ้นบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารสุดลํ้าระดับโลก

แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นในการขยายกิจการ สร้างการเติบโตของธุรกิจในอนาคต

ความเสี่ยงที่ควรพึงระวัง

1) ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย
เนื่องจากในช่วงล่าสุดทาง SCGP มีค่าใช้จ่ายในส่วนของดอกเบี้ย ซึ่งเป็นต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นจากวิกฤติ COVID-19 อย่างไรก็ตาม ล่าสุดทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการคงอัตราดอกเบี้ยและปรับมุมมองเศรษฐกิจเป็นบวกมากขึ้น ทำให้ความผันผวนในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยนั้นลดลง

2) ความเสี่ยงทางด้านค่าเงิน
ในช่วงที่ผ่านมาเงินบาทมีการแข็งค่าค่อนข้างมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการค้ากับต่างประเทศ

3) ต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น
ตั้งแต่กลางปี 2562 ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก เนื่องจากการเข้าควบรวมกิจการ แต่การระดมทุนจาก IPO ครั้งนี้ จะทำให้ฐานะการเงินของ SCGP แข็งแกร่งขึ้น เพราะจะมีการนำเงินบางส่วนไปชำระหนี้ ทำให้มีอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง

สรุปโดยรวมแล้ว SCGP เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับจองและจับตามอง ด้วยศักยภาพทางพื้นฐานธุรกิจที่มีความมั่นคง และรายได้ที่มีการเติบโตต่อเนื่อง รวมถึงตอบโจทย์ในระยะยาวต่อคนรุ่นใหม่ด้วยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

หมายเหตุ บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำหรือแนะนำให้ซื้อ ถือหรือขายหุ้นแต่อย่างใด ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

References
https://investor.scgpackaging.com/th/financial-information/financial-highlights
https://investor.scgpackaging.com/storage/content/downloads/shareholders-meetings/2020/ar2019-th.pdf
https://marketeeronline.co/archives/145801
https://scgnewschannel.com/th/scg-news/scgp-packaging-solutions/

SCGP หุ้นน้องใหม่ที่ไม่ใหม่

ภาพรวมธุรกิจ

บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (“SCGP” หรือ “บริษัทฯ”) เป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ถือหุ้นในบริษัทที่ให้บริการโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน ทั้งบรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ (Fiber-based Packaging) วัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ (Performance and Polymer Packaging) และภาชนะบรรจุอาหาร (Food Service Products) พร้อมบริการออกแบบ การพิมพ์และโซลูชันอื่น ๆ ที่มีความหลากหลาย

จากจุดเริ่มต้นในปี 2558 ที่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างจากธุรกิจเดิมที่โฟกัสเฉพาะผลิตภัณฑ์กระดาษให้เป็นธุรกิจบรรจุภัณฑ์ที่มีการนำเสนอโซลูชันและนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรมากขึ้น ทำให้ SCGP กลายเป็นผู้ผลิตในระดับภูมิภาคและเป็นหนึ่งในธุรกิจดาวรุ่งของเอสซีจีที่มีผลการดำเนินงานเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันการดำเนินงานของ SCGP ประกอบด้วยสองธุรกิจหลัก ได้แก่ (1) สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Integrated Packaging Chain) และ (2) สายธุรกิจเยื่อและกระดาษ (Fibrous Chain)

SCGP เป็นผู้ให้บริการชั้นนำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรขนาดใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน ปัจจุบันบริษัทฯ มีลูกค้าจำนวนมาก จากกลุ่มลูกค้าที่มีตั้งแต่บรรษัทต่างชาติ บริษัทชั้นนำระดับประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) นอกจากนี้ ฐานลูกค้าของ SCGP ยังอยู่ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอีคอมเมิร์ซ ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ ธุรกิจเฮลท์แคร์ ไปจนถึงกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดย 52% ของรายได้จากการขายมาจากลูกค้าภายในประเทศ และอีก 48% เป็นรายได้จากการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2563

ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้โครงสร้างธุรกิจของ SCGP ยากที่จะลอกเลียนแบบ

ธุรกิจของ SCGP ให้บริการและจัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการ และบริษัทฯ ยังมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมให้สามารถตอบสนองทั้งความต้องการของลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการและไลฟ์สไตล์การใช้งานของผู้บริโภค โดยปัจจุบันรายได้จากการขายกว่า 70% ของ SCGP อยู่ในกลุ่มสินค้าในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค รวมถึงได้รับแรงเสริมจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภคที่มีการหันมาซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ และสั่งอาหารผ่านฟู้ดเดลิเวรีเพิ่มมากขึ้น และถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง โดยในอนาคต SCGP ก็มีโครงการที่จะนำเงินส่วนหนึ่งที่ได้จากการระดมทุน IPO ไปใช้ในการขยายธุรกิจ ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ มีศักยภาพในการเติบโตไปกับอัตราการบริโภคโดยรวมภายในประเทศ

ในส่วนของโครงการในอนาคต SCGP ได้พัฒนาแผนกลยุทธ์ในการควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition (M&A)) โดยมุ่งเน้นไปที่การขยายธุรกิจ การเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์หรือวัสดุพื้นฐานในการผลิต การเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์เดิมของบริษัทฯ การสะสมและพัฒนาเทคโนโลยี ทักษะ และความชำนาญใหม่ ๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและการเติบโตทางธุรกิจ

นอกจากนี้ จากแนวโน้ม “เมกะเทรนด์” ทางเศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยเฉพาะเทรนด์อีคอมเมิร์ซในกลุ่มประเทศที่ SCGP ประกอบธุรกิจอยู่ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม และประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งจากข้อมูลของ ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน คาดว่าความนิยมในการซื้อของออนไลน์ใน 4 ประเทศนี้จะเติบโตกว่าปีละ 14.5% ในช่วงระหว่างปี 2562-2567

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

นอกเหนือจาก “ปัจจัยเชิงคุณภาพ” อีกสิ่งหนึ่งซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กัน คือ “ปัจจัยเชิงปริมาณ” อันได้แก่ ผลประกอบการและอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทฯ

เมื่อมองผลประกอบการย้อนหลังในช่วงปี 2559-2562 พบว่า SCGP มีรายได้จากการขายที่เติบโตต่อเนื่อง โดยคิดเป็นอัตราการเติบโตประมาณ 6.1% ขณะที่กำไรสุทธิมีอัตราการเติบโตกว่า 17.0% ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนการเพิ่มประสิทธิภาพและการเติบโตของธุรกิจตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี และล่าสุด ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 SCGP มีรายได้จากการขายทั้งสิ้น 45,903 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 11 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

รายละเอียดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์

การเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกในครั้งนี้ เป็นการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 1,127,550,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.5 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ (ไม่รวมจำนวนหุ้นที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินอาจใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจากบริษัทฯ ในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน)

หาก ณ วันปิดการเสนอขายหุ้นทั้งหมดจำนวน 1,127,550,000 หุ้น มีผู้จองซื้อหุ้นเป็นจำนวนมากกว่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายดังกล่าว อาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (Over-Allotment) จำนวนไม่เกิน 169,130,000 หุ้น ซึ่งหุ้นส่วนเกินดังกล่าวจะมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 15 ของจำนวนหุ้นที่เสนอขายในครั้งนี้ อย่างไรก็ดี จำนวนหุ้นที่เสนอขายสุดท้ายจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทฯ ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย และผู้ซื้อหุ้นเบื้องต้นในต่างประเทศ (ถ้ามี)

มุมมองของ Club VI

วอร์เรน บัฟเฟตต์ สอนว่า ให้ลงทุนในบริษัทที่มี “ความได้เปรียบในการแข่งขัน” ซึ่งเป็นสิ่งที่ SCGP มีอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ในสนามแข่งขันทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน อันเกิดจากโครงสร้างธุรกิจซึ่งยากจะลอกเลียนแบบได้ มีประสิทธิภาพในการผลิตที่ดี อีกทั้งบริษัทฯ ยังเป็นที่เชื่อถือในหมู่ผู้บริโภค มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายตอบโจทย์ลูกค้าได้แทบทุกอุตสาหกรรม ตลอดจนอยู่ในเครือบริษัทที่มีรากฐานมั่นคงและทำธุรกิจมายาวนาน

อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่า บริษัทฯ ยังคงต้องใช้เม็ดเงินลงทุนเพื่อสร้างการเติบโต เพราะการขยายธุรกิจย่อมต้องใช้เงินทุนก้อนโตเพื่อแลกมา จึงควรระมัดระวังเรื่อง “หนี้สิน” หากอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ภาระดอกเบี้ยก็ย่อมเพิ่มขึ้น และบริษัทฯ ก็ต้องแบกรับความเสี่ยงมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แต่เมื่อย้อนดูผลการดำเนินงานในอดีต จะพบว่ารายได้และกำไรของ SCGP ค่อนข้างมีความสม่ำเสมอ จึงยังมีความเป็นไปได้สูงที่บริษัทฯ จะลากเส้นการเติบโตต่อไปในอนาคต อันเป็นผลจากเทรนด์ของอุปสงค์บรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคที่กำลังเป็นขาขึ้น ประกอบกับการที่ SCGP มีความพร้อมที่จะคว้าโอกาสเหล่านั้น ไม่แพ้รายอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมอีกด้วย

โดยสรุป แม้จะมีความท้าทายหลายประการ แต่ต้องถือว่า SCGP เป็นบริษัทพื้นฐานดี ธุรกิจมีความน่าสนใจลงทุนและมีศักยภาพเติบโตไปกับอุตสาหกรรมอีกหลายประเภท ทั้งนี้ นักลงทุนควรศึกษาและติตตามภาพรวมของธุรกิจที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอให้เข้าใจถ่องแท้

หมายเหตุ บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำหรือแนะนำให้ซื้อ ถือหรือขายหุ้นแต่อย่างใด ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

6 เรื่องที่ต้องรู้ ก่อนลงทุนหุ้น SCGP

บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (“SCGP” หรือ “บริษัทฯ) ถือเป็นหนึ่งใน IPO ของปี 2563 ที่น่าจับตาอย่างมาก เนื่องจากแนวโน้มการเติบโตและความแข็งแกร่งทางด้านธุรกิจที่โดดเด่น

SCGP นั้นเป็นบริษัทในบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (“SCC”) ซึ่งไม่ได้มีเพียงผลิตภัณฑ์ซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีธุรกิจเคมิคอลส์ และธุรกิจแพคเกจจิ้งอีกด้วย

ธุรกิจแพคเกจจิ้งใน SCC มีการเติบโตที่โดดเด่นมาอย่างต่อเนื่อง จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะทำความรู้จักกับ SCGP ให้มากขึ้นก่อนที่เราจะเข้าไปซื้อหุ้น

เราลองมาดูภาพรวมของธุรกิจกันก่อนครับว่ามีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง

6 เรื่องต้องรู้ก่อนลงทุนหุ้น SCGP

  1. เป็นผู้นำธุรกิจบรรจุภัณฑ์ระดับอาเซียน

    SCGP เป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์ครบวงจรขนาดใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมีการเติบโตทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดในปี 2562 มีรายได้จากการขายอยู่ที่ 89,070 ล้านบาท และสำหรับครึ่งปีแรกของปี 2563 รายได้จากการขายอยู่ที่ 45,903 ล้านบาท!

    โครงสร้างรายได้ของ SCGP ประกอบไปด้วย 2 สายธุรกิจหลัก

    1. สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Integrated Packaging Chain) มีผลิตภัณฑ์หลากหลายตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ประกอบด้วย
      • บรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ (Fiber-based Packaging)
      • กระดาษบรรจุภัณฑ์ (Packaging Paper)
      • บรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ (Performance and Polymer Packaging)
    2. สายธุรกิจเยื่อและกระดาษ (Fibrous Chain) ประกอบด้วย
      • ผลิตภัณฑ์ภาชนะบรรจุอาหาร (Food Service Products)
      • ผลิตภัณฑ์เยื่อและกระดาษ (Pulp and Paper Products)

    SCGP มีกลุ่มลูกค้าที่กระจายอยู่ในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค อาหารแช่แข็งและอาหารบรรจุกระป๋อง สินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าอุตสาหกรรม

    จุดเด่นของ SCGP คือการมีสินค้าและบริการที่ครอบคลุมทุกความต้องการ นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญในการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนากว่าปีละ 500 ล้านบาทต่อปี เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

  2. กลยุทธ์ในประเทศและต่างประเทศ

    SCGP เริ่มต้นจากการทำธุรกิจเยื่อกระดาษตั้งแต่ปี 2518 ต่อมาก็ได้ขยายธุรกิจให้เติบโตมากขึ้น รวมถึงการควบรวมกิจการทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปี 2558 ได้ปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจและพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค โดยเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน)

    ปัจจุบัน SCGP มีโรงงานใน 5 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน คือ ประเทศไทย มียอดขายภายในประเทศร้อยละ 52 และอีกร้อยละ 48 เป็นรายได้จากธุรกิจในต่างประเทศ

    SCGP มุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องผ่านการขยายกำลังการผลิต (Organic Growth) และการควบรวมกิจการ (Inorganic Growth) ตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ทำให้ธุรกิจมีความแข็งแกร่งจากการผนึกกำลังร่วมกัน (Synergy) ที่มีประสิทธิภาพ

    • ขยายฐานลูกค้าออกไปได้กว้างมากขึ้น
    • เพิ่มความหลากหลายของสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองผู้บริโภคและลูกค้าทุกอุตสาหกรรม
    • ประหยัดเวลาในการสร้างธุรกิจใหม่ สามารถรับรู้รายได้และกำไรในทันที

    และในส่วนของการเติบโตผ่านการขยายกำลังการผลิตนั้น SCGP ได้เพิ่มสัดส่วนการขายในหมวดอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตสูงตาม Mega Trend ให้มากขึ้น เช่น ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจการบริการด้านอาหาร และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

  3. โอกาสเติบโตของ SCGP

    • การเติบโตของบรรจุภัณฑ์ถือเป็น Mega Trend หนึ่งของโลก ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะ E-commerce, Food Delivery และ Healthcare โดยจากข้อมูลของ Frost & Sullivan พบว่ามูลค่าตลาด E-commerce (มูลค่าสินค้าทั้งหมด) ในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 2562-2567 สามารถเติบโตได้ถึงประมาณร้อยละ 23.8 ต่อปี
    • นอกจากนี้ ประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ ยังมีแนวโน้มในการเติบโตของการบริโภคภาคครัวเรือนในอัตราที่สูงขึ้น โดยจากการคาดการณ์ของ Frost & Sullivan พบว่าประเทศทั้ง 4 จะมีจำนวนประชากรรวมกันมากถึง 570.6 ล้านคน ในปี 2567 รวมทั้งคาดการณ์การบริโภคในครัวเรือนทั้งหมดในประเทศดังกล่าวว่า จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 6.4 ในระหว่างปี 2562-2567 สอดคล้องกับอัตราการใช้บรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนที่คาดว่ามีโอกาสเพิ่มขึ้นได้อีก
    • ปัจจุบันเป็นยุคที่ผู้บริโภคมีแนวโน้มใส่ใจในผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น การที่ SCGP ยึดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ทำให้มีการใช้ทรัพยากรและวัตถุดิบได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
  4. IPO เพื่อสร้างการเติบโตให้แก่ธุรกิจ

    การเข้า IPO จะทำให้ SCGP สามารถขยายธุรกิจได้อย่างเต็มรูปแบบมากยิ่งขึ้น ผ่านการขยายกำลังการผลิต ทั้งในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศมาเลเซีย ซึ่งจะเสริมศักยภาพให้ธุรกิจของ SCGP มีความครบวงจร และสามารถเติบโตไปกับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียน

    สำหรับการ IPO นั้น หุ้นของ SCGP จะเข้ามาเป็นหุ้นจดทะเบียนในตลาด SET หมวดสินค้าอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะมีจำนวนหุ้นเพิ่มทุนคิดเป็นร้อยละ 26.5 ของจํานวนหุ้นสามัญที่ออกและชําระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ หลัง IPO (ไม่รวมจำนวนหุ้นที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินอาจใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจากบริษัทฯ ในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

  5. ความเสี่ยง

    อุตสาหกรรมนี้ยังสามารถเติบโตตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ ทั้งนี้อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงในด้านคุณภาพของสินค้าและบริการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า ความเสี่ยงคือธุรกิจต้องมีจุดเด่นทางด้านอื่นที่เหนือคู่แข่ง ซึ่ง SCGP ได้ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งเน้น Customer-Centricity หรือการดำเนินงานโดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ด้วยการพัฒนานวัตกรรมสินค้า รวมถึงบริการและโซลูชันที่ครอบคลุมและตอบโจทย์การใช้งานบรรจุภัณฑ์ซึ่งสร้างความโดดเด่นและแตกต่างไม่เหมือนใครให้แก่ลูกค้าและผู้บริโภค นอกจากนี้ SCGP ยังมีความแข็งแกร่งเรื่องช่องทางการจัดจำหน่าย นวัตกรรมสินค้าและบริการ การกระจายความเสี่ยงไปในหลายประเทศ หลายอุตสาหกรรม และหลายประเภทสินค้า ทั้งหมดเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ความเสี่ยงเหล่านี้ลดลง

  6. ผลประกอบการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

    ผลการดำเนินที่ผ่านมาถือว่า SCGP สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องทั้งรายได้และกำไร โดยภาพรวมล่าสุดในงวดครึ่งปีแรก SCGP มีรายได้จากการขายทั้งสิ้น 45,903 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 11 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3,636 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 40 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ปัจจัยสำคัญก็มาจากการควบรวมกิจการและยอดขายบรรจุภัณฑ์ของกลุ่ม E-commerce, Food Delivery ผลิตภัณฑ์อาหารส่งออก สินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพ

สัดส่วนรายได้

  • ธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร : ร้อยละ 84.0
  • ธุรกิจเยื่อและกระดาษ : ร้อยละ 16.0

รายได้จากการขาย

  • ปี 2559 : 74,542 ลบ.
  • ปี 2560 : 81,455 ลบ.
  • ปี 2561 : 87,255 ลบ.
  • ปี 2562 : 89,070 ลบ.
  • ครึ่งปีแรก 2563 : 45,903 ลบ.

กำไรสุทธิ

  • ปี 2559 : 3,285 ลบ. (อัตรากำไรร้อยละ 4.4)
  • ปี 2560 : 4,425 ลบ. (อัตรากำไรร้อยละ 5.4)
  • ปี 2561 : 6,065 ลบ. (อัตรากำไรร้อยละ 6.9)
  • ปี 2562 : 5,269 ลบ. (อัตรากำไรร้อยละ 5.9)
  • ครึ่งปีแรก 2563 : 3,636 ลบ. (อัตรากำไรร้อยละ 7.9)

เรามารอดูวัน IPO กันครับว่าราคาหุ้นจะเป็นเท่าไหร่

หมายเหตุ บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำหรือแนะนำให้ซื้อ ถือหรือขายหุ้นแต่อย่างใด ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

รายละเอียดเพิ่มเติม
https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=282407&lang=th
https://scgp.listedcompany.com/misc/mdna/20191231-scgp-mdna-fy2019-th.pdf
https://investor.scgpackaging.com/th

SCGP จากน้องคนเล็กสู่หุ้นน่าลงทุนตัวใหม่จากค่ายเอสซีจี

ภาพของธุรกิจที่แว้บเข้ามาในความคิด เมื่อนึกถึง ‘เอสซีจี’ คือธุรกิจอะไร?

เชื่อว่าแพคเกจจิ้งคงไม่ใช่คำตอบแรกที่ติดโผเข้ามาใน Top of Mind คุณอย่างแน่นอน เพราะธุรกิจกลุ่มนี้เรียกได้ว่าเป็นน้องคนเล็กสุดของปูนซิเมนต์ไทย จากสัดส่วนรายได้ที่คิดเป็นประมาณร้อยละ 23 ของรายได้จากการขายของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (“SCC”) ขณะที่อีกร้อยละ 77 มาจากพี่ ๆ ในครอบครัวอย่างธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง รวมถึงธุรกิจเคมิคอลส์

ทว่าเมื่อพลิกดูผลประกอบการล่าสุดของ SCC ในงวดครึ่งปีแรกของปีนี้อาจสร้างความเซอร์ไพรส์ให้ใครหลายคน เพราะธุรกิจแพคเกจจิ้งที่ดำเนินการโดย บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (“SCGP” หรือ “บริษัทฯ) กลับเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีรายได้เติบโตเพิ่มขึ้น แม้จะเป็นช่วงเวลาแห่งการเกิดวิกฤตใหญ่ของโลกอย่าง COVID-19 ที่กินเวลาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา เพราะสัดส่วนรายได้กว่าร้อยละ 69 ของบริษัทฯ มาจากกลุ่มสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค

ธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรของ SCGP นั้นได้รับอานิสงส์ทั้งจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) และธุรกิจบริการรับส่งอาหาร (Food Delivery) ที่จำเป็นต้องใช้บรรจุภัณฑ์เป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญในการส่งสินค้าไปยังผู้บริโภค รวมถึงสินค้าเกี่ยวกับการดูแลสุขอนามัย (Healthcare) SCGP ก็ยังมีบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ จำพวกบรรจุภัณฑ์แบบคงรูปและบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวที่สามารถรองรับสินค้ากลุ่มดังกล่าวได้ เช่น หลอดเจลล้างมือ ขวดยา ฯลฯ

ปัจจุบัน SCGP มีโรงงานผลิตในฐานที่ตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศมาเลเซีย ธุรกิจของ SCGP ประกอบด้วย 2 สายธุรกิจหลักคือ (1) สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Integrated Packaging Chain) ที่มีผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย และ (2) สายธุรกิจเยื่อและกระดาษ (Fibrous Chain) โดยร้อยละ 52 ของรายได้จากการขายมาจากการจัดจำหน่ายภายในประเทศไทย และที่เหลือมาจากการจัดจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ SCGP ยังมีลูกค้าที่อยู่ในภูมิภาคอื่น ๆ รวมทั้งสิ้นประมาณ 20 ประเทศทั่วโลก

สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งถือเป็นเมกะเทรนด์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนวิกฤตโรคระบาดนั้น SCGP ได้เล็งเห็นศักยภาพการเติบโตของธุรกิจเหล่านี้โดยเฉพาะในประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม และประเทศฟิลิปปินส์ สอดคล้องกับข้อมูลจาก ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน ที่จัดทำ ณ สิงหาคม 2563 ที่คาดว่าตลาดอีคอมเมิร์ซ (มูลค่าสินค้าทั้งหมด) ใน 4 ประเทศนี้จะเติบโตเฉลี่ยกว่าร้อยละ 30.4 ต่อปี ในช่วงระหว่างปี 2562-2567 เป็นที่มาที่ทำให้ SCGP เข้าไปตั้งฐานการผลิตในกลุ่มประเทศดังกล่าว

และยังมีกลยุทธ์ที่ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ SCGP เป็นธุรกิจที่มองข้ามไม่ได้คือ การควบรวมกิจการและร่วมมือทางธุรกิจ (Merger and Acquisition (M&A)) โดยล่าสุดในปี 2562 บริษัทฯ มีการลงทุนขยายธุรกิจในรูปแบบนี้กว่า 25,000 ล้านบาท

ไม่เพียงแต่การขยายธุรกิจจากภายนอก (Inorganic) อย่างการควบรวมกิจการ แต่ SCGP ยังเดินหน้าขยายธุรกิจภายใน (Organic) ไปพร้อมกัน โดยปัจจุบัน SCGP อยู่ระหว่างก่อสร้างโรงงานเพื่อขยายกำลังการผลิตอีก 4 แห่ง ในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนีเซีย ด้วยเงินลงทุนประมาณ 8,200 ล้านบาท โดยคาดว่าจะทยอยแล้วเสร็จในช่วงครึ่งหลังปี 2563 – ประมาณกลางปี 2564

เมื่อมองผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของ SCGP พบว่าบริษัทฯ มีรายได้จากการขายเติบโตต่อเนื่องในปี 2559-2562 อยู่ที่ 74,542 ล้านบาท 81,455 ล้านบาท 87,255 ล้านบาท และ 89,070 ล้านบาท ตามลำดับ หรือคิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.1 ขณะที่กำไรสุทธิในช่วงปี 2559-2562 อยู่ที่ 3,285 ล้านบาท 4,425 ล้านบาท 6,065 ล้านบาท และ 5,269 ล้านบาท ตามลำดับ หรือเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 17.0

ในส่วนผลการดำเนินงานล่าสุดช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ SCGP มีรายได้จากการขายทั้งสิ้น 45,903 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 11 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3,636 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 40 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดย EBITDA ในครึ่งปีแรกเท่ากับ 9,027 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 37 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุหลักมาจากการขยายกำลังการผลิตและการควบรวมกิจการในอาเซียน

สำหรับการ IPO ที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ คงจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ SCGP สามารถสร้างการเติบโตและต่อยอดทางธุรกิจ เพื่อรักษาการเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรของภูมิภาค และน่าจะเป็นหุ้นอีกหนึ่งตัวที่อยู่ในเรดาร์ของนักลงทุนที่กำลังมองหาหุ้นเติบโตหรือ Growth Stock ที่ธุรกิจมั่นคง และมีโอกาสเติบโตควบคู่ไปกับเมกะเทรนด์ต่าง ๆ ในอนาคต

แหล่งข้อมูล
(1) รายงานการวิจัยทางการตลาดแบบอิสระของ ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน
(2) ร่างแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนฉบับเต็มของ SCGP ซึ่งได้ยื่นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ www.sec.or.th

รู้จักหุ้น IPO ตัวใหม่ SCGP ผู้นำวงการบรรจุภัณฑ์อาเซียนที่เน้นเติบโตอย่างยั่งยืน

เมื่อพูดถึง SCC หรือ ปูนซิเมนต์ไทย เชื่อว่าหลายคนจะมีภาพจำว่าเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว รายได้ของ SCC นั้นมาจากธุรกิจหลัก 3 กลุ่มธุรกิจด้วยกัน ได้แก่

  1. ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง
  2. ธุรกิจเคมิคอลส์
  3. ธุรกิจแพคเกจจิ้ง

ธุรกิจแพคเกจจิ้ง ซึ่งดำเนินงานโดยบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (“SCGP”) มีสัดส่วนรายได้คิดเป็นร้อยละ 23 ของ SCC โดยเมื่อดูแนวโน้มการเติบโตของแต่ละกลุ่มธุรกิจ ตั้งแต่ปี 2557 ถึง 2562 จะเห็นว่ากลุ่มธุรกิจแพคเกจจิ้งมีแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจและรายได้ที่น่าสนใจ

ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจแพคเกจจิ้งจะดำเนินธุรกิจผ่านบริษัทลูกของ SCC อย่าง บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง หรือ SCGP ซึ่ง SCGP ก็กำลังจะจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อระดมทุนมาใช้ในการขยายกำลังการผลิต และเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ มุ่งสู่การเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน

ทำความรู้จัก SCGP ว่าที่หุ้น IPO ตัวใหม่

SCGP หรือ บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจหลักในการให้บริการโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร ประกอบด้วย 2 สายธุรกิจหลัก คือ

  1. สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร
  2. สายธุรกิจเยื่อและกระดาษ

โดยรายได้จากการขายส่วนใหญ่จะมาจากธุรกิจบรรจุภัณฑ์ เฉลี่ยประมาณร้อยละ 84 จากสัดส่วนรายได้จากการขายทั้งหมด ส่วนอีกประมาณร้อยละ 16 ที่เหลือจะเป็นรายได้ที่มาจากธุรกิจเยื่อและกระดาษ และหากนับตั้งแต่ปี 2559 ถึง 2562 รายได้จากการขายของ SCGP นั้นก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี จากการที่รายได้จากการขายในธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (Compound Annual Growth Rate) จะเท่ากับ 8.50% ต่อปี โดยในครึ่งปีแรกของปี 2563 รายได้เติบโตร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา

เจาะลึกแต่ละธุรกิจของ SCGP

  1. ธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร สามารถแยกได้เป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่
    • บรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ (PPP) เป็นบรรจุภัณฑ์ชั้นในที่สัมผัสกับสินค้าอุปโภคบริโภคโดยตรง มีทั้งบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว และบรรจุภัณฑ์แบบคงรูป โดยสัดส่วนรายได้จากกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมาจากผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว

    • บรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ ซึ่งจะมีทั้งบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกและบรรจุภัณฑ์กล่องพิมพ์สีเพื่อการแสดงสินค้า โดยสัดส่วนรายได้ของกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมาจากบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูก

    • กระดาษบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะมีทั้งกระดาษบรรจุภัณฑ์ และ ผลิตภัณฑ์กระดาษอื่น ๆ โดยสัดส่วนรายได้ของกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมาจากกระดาษบรรจุภัณฑ์

    นอกจากนี้ SCGP ยังให้บริการโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์ครบวงจรในทั้งสามกลุ่ม ซึ่งจะมีศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบครบวงจร “อินสไปร์ สตูดิโอ (Inspired Studio)” คอยช่วยด้านการออกแบบ และการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย

    และหากดูสัดส่วนรายได้จากการขายของทั้งสามกลุ่ม ธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์จะมีสัดส่วนรายได้จากการขายมากที่สุด รองลงมาจะเป็นธุรกิจบรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ และสุดท้ายจะเป็นกลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 สัดส่วนรายได้จากการขายของทั้งสามกลุ่มจะเท่ากับ 51%, 25% และ 8% ตามลำดับ

  2. ธุรกิจเยื่อและกระดาษ ซึ่งสามารถแบ่งผลิตภัณฑ์ได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
    • ภาชนะบรรจุอาหาร โดย SCGP จะมีแบรนด์ Fest ที่เป็นแบรนด์หลักที่นำเสนอภาชนะบรรจุอาหารที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแบรนด์ Fest

    • ผลิตภัณฑ์เยื่อและกระดาษ ซึ่งจะมีทั้งกระดาษพิมพ์เขียน และเยื่อประเภทต่าง ๆ

    โดยสายธุรกิจเยื่อและกระดาษนี้ จะมีสัดส่วนรายได้ส่วนใหญ่มาจากผลิตภัณฑ์เยื่อและกระดาษ

นอกจากนี้ SCGP ยังได้เข้าไปลงทุนในบริษัทชั้นนำอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อเสริมจุดแข็งให้แก่ผลิตภัณฑ์ สร้างศักยภาพการเติบโต รวมถึงขยายตลาดไปยังทั่วทวีปเอเชีย โดยได้เข้าไปซื้อหุ้นของบริษัท เช่น

  • เข้าซื้อหุ้นบริษัท Interpress Printers Sendirian Berhad (IPSB) ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหารในประเทศมาเลเซีย
  • เข้าซื้อหุ้นบริษัท Tin Thanh Packing Joint Stock (BATICO) ในประเทศเวียดนาม เพื่อการขยายเข้าสู่ธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวในประเทศเวียดนาม
  • เข้าซื้อหุ้นบริษัท Fajar Surya Wisesa Tbk. ซึ่งเป็นผู้ผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์อันดับต้น ๆ ของประเทศอินโดนีเซีย
  • เข้าซื้อหุ้นบริษัท Visy Packaging Thailand ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้านบรรจุภัณฑ์แบบคงรูป

สำหรับกลุ่มลูกค้าของ SCGP นั้น ปัจจุบันมีฐานลูกค้าจำนวนมาก ตั้งแต่บริษัทชั้นนำระดับประเทศ บรรษัทข้ามชาติ ไปจนถึงผู้ค้าปลีกในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งลูกค้าของ SCGP ส่วนใหญ่จะทำธุรกิจอยู่ในตลาดที่มีโอกาสเติบโตสูง โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาหารและเครื่องดื่ม อีคอมเมิร์ซ และโลจิสติกส์

ทั้งนี้ รายได้จากการขายจะมาจากลูกค้าที่อยู่ในประเทศไทยเป็นหลัก โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 SCGP มีรายได้จากการขายให้แก่ลูกค้าที่มีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยคิดเป็นร้อยละ 52 ส่วนอีกร้อยละ 48 ที่เหลือจะเป็นรายได้จากการขายที่มาจากลูกค้าที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ เช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศมาเลเซีย

ด้านฐานะทางการเงินของ SCGP

ในปี 2562 SCGP มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 139,513 ล้านบาท แบ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน 35,383 ล้านบาท และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 104,130 ล้านบาท ด้านหนี้สิน SCGP มีหนี้สินทั้งหมด 76,697 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้สินหมุนเวียน 54,014 ล้านบาท และหนี้สินไม่หมุนเวียน 22,683 ล้านบาท และมีส่วนผู้ถือหุ้นทั้งสิ้น 62,816 ล้านบาท ในขณะที่งวดล่าสุด ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2563 SCGP มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 144,360 ล้านบาท และในส่วนหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 78,946 ล้านบาท และ 65,414 ล้านบาท ตามลำดับ

ด้านอัตราส่วนทางการเงิน ในปี 2562 SCGP มีอัตราส่วนสภาพคล่อง 0.7 เท่า และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 1.2 เท่า ทั้งนี้ อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้นในปี 2562 อยู่ที่ 0.9 เท่า

สำหรับไตรมาส 2 ของปีนี้ อัตราส่วนสภาพคล่องของ SCGP อยู่ที่ 0.6 เท่า อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 1.1 เท่า และอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อยู่ที่ 0.8 เท่า

ด้านผลการดำเนินงานของ SCGP

ในปี 2562 SCGP มีรายได้จากการขายรวม 89,070 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 คิดเป็นร้อยละ 2.1 ซึ่งเป็นผลมาจากรายได้จากการขายในกลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรที่เพิ่มขึ้นมากกว่า โดยมีสาเหตุหลักมาจากการรวมผลการดำเนินงานจากกิจการบริษัท Fajar Surya Wisesa Tbk. และ Visy Packaging Thailand ที่ SCGP ได้เข้าไปควบรวม แม้รายได้จากการขายในกลุ่มธุรกิจเยื่อและกระดาษจะลดลงก็ตาม ขณะที่ครึ่งปีแรกของปีนี้ SCGP มีรายได้จากการขายอยู่ที่ 45,903 ล้านบาท เติบโตกว่าร้อยละ 11 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ อัตราส่วนกำไรขั้นต้นสำหรับปี 2562 จะเท่ากับร้อยละ 19.6 แม้จะลดลงจากปี 2561 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 20.8 เล็กน้อย แต่หากดูตั้งแต่ปี 2559 ถึง 2562 ก็จะเห็นว่า SCGP มีการรักษาอัตรากำไรขั้นต้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็แสดงถึงความสามารถในการควบคุมต้นทุนที่ดี โดยในงวดครึ่งปีแรกของปี 2563 SCGP มีอัตราส่วนกำไรขั้นต้นอยู่ที่ร้อยละ 22.5

ด้านกำไรสำหรับปี ในปี 2562 SCGP มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 5,269 ล้านบาท ลดลงจากปี 2561 ร้อยละ 13.1 ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กำไรสุทธิในปี 2562 ลดลง ก็เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมจาก SCC เพื่อเป็นเงินทุนในการควบรวมกิจการบริษัท Fajar Surya Wisesa Tbk. และการบันทึกการรวมเงินกู้ยืมของบริษัทต่าง ๆ ที่บริษัทควบรวมกิจการมา ส่วนช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ SCGP มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3,636 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 40 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

เปิดจุดเด่น และ ส่องศักยภาพการเติบโตในอนาคต

  1. SCGP มีรูปแบบธุรกิจแบบบูรณาการในแนวตั้งจากขั้นต้นจนถึงขั้นปลาย ซึ่งเริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นต้น การผลิตบรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงการจัดส่งผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ให้แก่ลูกค้า
  2. SCGP มีการขยายฐานการดำเนินงานในภูมิภาคอาเซียนด้วยกลยุทธ์การเติบโตผ่านการควบรวมกิจการ โดยมุ่งเน้นโอกาสที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงสุด และเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับรูปแบบธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้
  3. SCGP มีฐานลูกค้าในหลายประเทศและหลายอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นบรรษัทข้ามชาติและบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน ทำให้ SCGP สามารถกระจายความเสี่ยงไปยังหลาย ๆ อุตสาหกรรม ไม่ได้กระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง
  4. SCGP ดำเนินธุรกิจอยู่ในตลาดที่มีการเติบโตด้านธุรกิจบรรจุภัณฑ์ จากเทรนด์การเติบโตของธุรกิจเดลิเวอรี่ และอีคอมเมิร์ซในอาเซียน ซึ่งจะยิ่งช่วยกระตุ้นการใช้แพคเกจจิ้งเพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์และไลฟ์สไตล์ของคนอาเซียน ที่มีทิศทางที่เอื้อให้ใช้แพคเกจจิ้งมากขึ้นอีกด้วย
  5. SCGP มีการมุ่งเน้นกระบวนการผลิตโดยยึดหลัก “เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)” ซึ่งก็คือการใช้ทรัพยากร วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านการนำกลับมาใช้ซ้ำ และการรีไซเคิล ซึ่งก็สอดรับกับเทรนด์ที่ผู้บริโภคมีแนวโน้มใส่ใจในผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของสังคมมากขึ้น

รายละเอียดการ IPO เข้าสู่ตลาดหุ้น

สำหรับเป้าหมายหลักในการเข้าระดมทุนผ่านตลาดหุ้นในครั้งนี้ ก็เพื่อต่อยอดธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ผ่านการขยายกำลังการผลิตของ SCGP ให้ครอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้าทั้งห่วงโซอุปทาน และการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อขยายโอกาสการเติบโตอย่างมั่นคง รวมทั้งเพื่อชำระคืนเงินกู้ยืม และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ โดย SCGP จะทำการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 1,127.6 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 26.5 ของทุนชำระแล้ว และอาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกินจำนวนไม่เกิน 169.1 ล้านหุ้น โดยที่หลังขายหุ้น IPO ไปแล้ว SCC ก็ยังจะคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน SCGP

ผู้ลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของการเสนอขายครั้งนี้ได้จากร่างหนังสือชี้ชวน (Filing) ที่ยื่นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ที่นี่