SCGP Newsroom

SCGP ลงทุนในวีอีเอ็ม (ไทยแลนด์) ต่อยอดกลยุทธ์ขยายการเติบโตธุรกิจบรรจุภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์สำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการ

SCGP เข้าถือหุ้นร้อยละ 90 ในบริษัทวีอีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ “VEM-TH” เสริมความแข็งแกร่ง กลยุทธ์สร้างการเติบโตธุรกิจบรรจุภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์สำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการ เพิ่มศักยภาพและต่อยอดการผลิตสินค้าของ Deltalab S.L. และ Bicappa Lab S.r.L. รองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น

 

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ว่าบริษัทฯ ได้เข้าซื้อหุ้นร้อยละ 90 ในบริษัทวีอีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด (VEM-TH) ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนสมรรถนะสูงจากการฉีดขึ้นรูปพอลิเมอร์ โดยมีมูลค่าลงทุนไม่เกิน 4.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 146.2 ล้านบาท และจะเริ่มแสดงผลประกอบการของ VEM-TH ในงบการเงินรวมตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 

 

การลงทุนในรูปแบบการเติบโตผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร ( Merger and Partnership: M&P) นี้ เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์สำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการของ SCGP เพื่อตอบสนองความต้องการใช้สินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังจากก่อนหน้านี้ได้เข้าลงทุนใน Deltalab S.L. ผู้เชี่ยวชาญการผลิตและจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์จากประเทศสเปน และ Bicappa Lab S.r.L ผู้เชี่ยวชาญการผลิตอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ปิเปตต์ทิปจากประเทศอิตาลี โดย VEM-TH มีฐานการผลิตในจังหวัดระยอง ประกอบด้วยสายการผลิตสินค้ารวม 30 สายการผลิต ที่มีมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพสำหรับเครื่องมือแพทย์ (ISO 13485) และห้องปลอดเชื้อที่ผ่านมาตรฐานรับรองความสะอาดของอากาศ (Cleanroom) Class 8 และ Class 7 ผลิตสินค้าคุณภาพสูงกว่า 59 ล้านชิ้นต่อปี โดยในปี 2566 VEM-TH มีรายได้ประมาณ 302 ล้านบาท รวมถึงมีสินทรัพย์ 455 ล้านบาท 

 

VEM-TH มีฐานลูกค้าที่เติบโตอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมการแพทย์ การบิน ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ ซึ่งครอบคลุมตลาดหลากหลายประเทศ อาทิ ไทย สหรัฐอเมริกา และจีน VEM-TH จะช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าของ Deltalab S.L. และ Bicappa Lab S.r.L. เพื่อรองรับความต้องการและส่งเสริมให้ SCGP สามารถขยายเครือข่ายลูกค้าในต่างประเทศได้อย่างแข็งแกร่งและครอบคลุมยิ่งขึ้น
 

SCGP Recycle จับมือ กลุ่มสยามสินธรตั้งจุดรับกระดาษรีไซเคิล

          เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก  Velaa Sindhorn Village Langsuan ร่วมกับ SCGP Recycle ตั้งจุดรับกระดาษรีไซเคิล เพื่อให้ทุกคนมั่นใจว่ากระดาษที่บริจาค จะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง ส่งเสริมให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ร่วมกันสร้างความยั่งยืน

          กลุ่มสยามสินธร จัดงาน “กรีนดี อยู่ดี” วันที่ 26 – 30 มิถุนายน 2567 ที่โครงการ เวลา หลังสวน ส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและรีไซเคิล ชวนทุกคนสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกที่ดีขึ้น เปิดพื้นที่ซื้อขายใจกลางเมือง ชวนช้อปผลผลิตคุณภาพ สร้างรอยยิ้ม เพิ่มรายได้เกษตรชุมชน ทั้งผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ อาหารและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ เครื่องนุ่งห่มจากเส้นใยธรรมชาติและวัสดุรีไซเคิล และของตกแต่งบ้านจากวัสดุธรรมชาติ เช่น เส้นหวาย ไม้ไผ่ รวมถึงส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดย SCGP Recycle ร่วมตั้ง Drop Box ที่โครงการ เวลา หลังสวน ชั้น G รับกระดาษเหลือใช้ทุกชนิด เพื่อนำไปรีไซเคิลอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน 

Rengo & SCGP แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ด้าน Digital Transformation ต่อยอดยกระดับการดำเนินงาน

ทีมผู้บริหารจากบริษัท Rengo นำโดย Mr.Hideyuki Kashiwagi, Executive Officer Paper Business Unit เข้าเยี่ยมชมบริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด โรงงานวังศาลาและโรงงานบ้านโป่ง โดยคุณวิชาญ เจริญกิจสุพัฒน์ Chief Operating Officer, Packaging Paper Business นำทีมผู้บริหารต้อนรับ

 

ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้าน Digital Transformation ของ Rengo และ SCGP ในการนำเทคโนโลยี Digital มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้าน Safety, Paper Manufacturing, Energy Operations, Maintenance, Logistics & Warehouse Management และ Environmental Monitoring

 

ความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นการต่อยอดเพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการดำเนินงานในหลายด้าน โดยคุณเอกราช นิโรจน์ Enterprise Marketing Director คุณสหรัฐ พัฒนวิบูลย์ Wangsala Mill Director คุณสุทธิพงษ์ ภูมิศรีสอาด Banpong Mill Director คุณธีรชัย ชวพงษ์พานิช Energy Director คุณมานิตย์ ศิริวรศิลป์ Asset Performance Management Director และทีมที่เกี่ยวข้องร่วมหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน 

BATICO คว้า 2 รางวัลจาก Vietnam Packaging Award 2024

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัท Tin Thanh Packing Joint Stock Company หรือ BATICO นำโดย คุณพยุงศักดิ์ สกุลรุจา General Director – BATICO เป็นตัวแทนเข้ารับรางวัล ในงาน Vietnam Packaging Award 2024 จัดขึ้นโดยสมาคมบรรจุภัณฑ์เวียดนาม (Vietnam Packaging Associations) ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการนานาชาติ WTC Expo International Exhibition Center, Binh Duong ประเทศเวียดนาม 

 

BATICO ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 2 รางวัล ได้แก่ รางวัล Excellence Award in Flexible Packaging จากโครงสร้าง MDO25u/LLDPE160u ของสินค้าน้ำยาล้างมือ (Washing hand liquid) และรางวัล Innovative Packaging Award for Flexible Packaging จากโครงสร้าง PET12u/LLDPE125u ของสินค้าผงรำข้าวสำหรับเป็นอาหารไก่ 

 

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดแสดงสินค้านวัตกรรมสินค้าที่โดดเด่น อย่าง Digimarc barcode เทคโนโลยีป้องกันการปลอมแปลงที่สามารถตรวจสอบได้ผ่าน Application 

SCGP มอบเกียรติบัตรให้แก่คู่ธุรกิจในงาน Business Partner Safety Recognition 2023 เสริมสร้างความร่วมมือด้านความปลอดภัยไปด้วยกัน

คณะกรรมการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของคู่ธุรกิจ และคณะกรรมการความปลอดภัยในการขนส่ง SCGP นำโดยคุณวิชาญ เจริญกิจสุพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กิจการกระดาษบรรจุภัณฑ์ มอบเกียรติบัตรแก่คู่ธุรกิจในงาน Business Partner Safety Recognition 2023 เพื่อรณรงค์ สนับสนุน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัยของคู่ธุรกิจรายสัญญา คู่ธุรกิจงานขนส่ง ที่มีผลการทำกิจกรรมด้านความปลอดภัยของคู่ธุรกิจ ตั้งแต่เดือน มกราคม – ธันวาคม 2566 ผ่านตามเกณฑ์ของโครงการ Contractor และ Transportation’s Contractor Safety Recognition และมติของคณะกรรมการด้านความปลอดภัย SCGP โดยมีคู่ธุรกิจผ่านเกณฑ์การประเมินจำนวน 77 ราย กลุ่มคู่ธุรกิจรายสัญญา 38 รางวัล กลุ่มงานขนส่ง 39 รางวัล แบ่งเป็นรางวัลระดับ Platinum 16 รางวัล ระดับ Gold 20 รางวัล ระดับ Silver 20 รางวัล และระดับ Bronze 21 รางวัล  

 

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีเวทีแลกเปลี่ยนทิศทางการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย ในสถานที่ปฏิบัติงานและงานขนส่งของ SCGP และคู่ธุรกิจ นำโดย คุณมานิตย์ ศิริวรศิลป์ Asset Performance Management Director คุณบุญชู ปัญจรัตนากร  Logistics Management Department Manager ร่วมกับตัวแทนจากคู่ธุรกิจที่ได้รับรางวัลในระดับ Platinum เพื่อเป็นแนวทางและตัวอย่างในการสร้างมาตรฐานในการทำงานด้านความปลอดภัยที่ดี  

 

ทั้งนี้ SCGP มุ่งหวังให้คู่ธุรกิจตระหนักและใส่ใจเรื่องความปลอดภัยไปด้วยกัน เพราะความปลอดภัยเป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญ และช่วยกันดูแลทุกที่ ทุกเวลา (Safety Everywhere, Every Time) เพื่อตัวเรา ครอบครัว และคนรอบข้าง ร่วมสร้างให้เป็นวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย ห่วงใยซึ่งกันและกัน หรือ “Care for All” 

SCGP ร่วมงานแถลงข่าวโครงการ “Sanofi Planet Care Upcycling Program” เพื่อการต่อยอดในการนำเม็ดพลาสติกรีไซเคิล มาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่

คุณกรัณย์ เตชะเสน Chief Operating Officer – Healthcare Supplies Business และ ดร.ทนพญ. ปริญญาณี  สุทธิบุตร  Account Manager – Healthcare Supplies Business เข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัว โครงการ “Sanofi Planet Care Upcycling Program” คืนชีวิตใหม่ให้ปากกาอินซูลิน โดย SANOFI, SCGC และ Cirplas รณรงค์ให้ผู้ป่วยเบาหวานส่งคืนปากกาอินซูลินใช้แล้ว โดย “เช็ก ถอด ทิ้ง” ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่จัดเก็บปากกาอินซูลินใช้แล้ว เพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติกด้วยเทคโนโลยี Advanced Recycling อย่างถูกวิธี ถูกสุขลักษณะ 

 

ซึ่งโครงการนี้จะมีการต่อยอดความร่วมมือกันระหว่าง SCGC และ SCGP ในการนำเม็ดพลาสติกหลังจากรีไซเคิลแล้วมาแปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า ส่งเสริมการหมุนเวียนนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างคุ้มค่า สอดคล้องกับแนวคิดด้าน ESG  

 

ทั้งนี้ ได้เริ่มนำร่องใน 6 โรงพยาบาลชั้นนำ ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่   

SCGP รุกนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ เสริมเทรนด์ความมั่นคงด้านอาหารและความยั่งยืน

SCGP รุกพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง เสริมเทรนด์โลกด้าน “ความมั่นคงทางอาหาร” ของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับอาหารปลอดภัยต่อสุขภาพ คงคุณค่าโภชนาการ ควบคู่กับการพัฒนาให้บรรจุภัณฑ์ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าปี 2573 บรรจุภัณฑ์ของ SCGP 100% สามารถใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ หรือสลายตัวได้

นายเอกราช นิโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กิจการบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูง และEnterprise Marketing Director บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนา “นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารเพื่อความยั่งยืน” มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ในการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ และมีคุณค่าทางโภชนาการ ขณะเดียวกันจะต้องสร้าง ความยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดรับเทรนด์โลกและตอบโจทย์ลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
“พฤติกรรมผู้บริโภคยุคนี้ ให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์ปลอดภัย ไม่มีสารพิษหรือสิ่งแปลกปลอม มีคุณภาพที่เหมาะสม ยืดอายุและคงคุณค่าของอาหาร รวมถึงมีความชัดเจนของข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น วันหมดอายุ วิธีเก็บรักษา สารอาหารที่ประกอบอยู่ และการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่รีไซเคิลได้ง่าย หรือทำมาจากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งเป็นสิ่งที่ SCGP พัฒนานวัตกรรมดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างประโยชน์ และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค” นายเอกราช กล่าว 

สำหรับนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืน ที่พัฒนาโดย SCGP ประกอบด้วย บรรจุภัณฑ์คุณภาพสูงและปลอดภัย เช่น OptiBreath บรรจุภัณฑ์ยืดอายุผักและผลไม้ ที่ใช้เทคโนโลยีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ด้วยวัสดุและระบบพิเศษ Modified Atmosphere Packaging (MAP) ช่วยปกป้องไม่ให้อาหารที่บรรจุภายในบรรจุภัณฑ์ปนเปื้อน ช่วยรักษาความสด สี กลิ่น และรส รวมถึงชะลอการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ช่วยลดการสูญเสียและทำให้อาหารคงคุณค่าได้นานขึ้น 

อีกทั้ง SCGP สามารถพัฒนา บรรจุภัณฑ์ R1+  นวัตกรรม Mono-material flexible packaging ที่ผลิตจากพลาสติกเพียงชนิดเดียว สามารถนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่าย  และมีคุณสมบัติในการป้องกันการซึมผ่านของอากาศและความชื้น ที่ช่วยปกป้องสินค้าประเภทอาหารได้ดี
ในส่วนของบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัย Fest by SCGP ที่สะอาด ปลอดภัย สัมผัสอาหารได้โดยตรง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีโซลูชันสินค้าทั้ง Fest Fresh Pak (Frozen) นวัตกรรมถาดกระดาษสำหรับเนื้อสัตว์แช่แข็ง สามารถใช้งานได้ในอุณหภูมิต่ำถึง -40 องศาเซลเซียส โดยที่บรรจุภัณฑ์ยังคงความแข็งแรงตลอดกระบวนการบรรจุและการขนส่งจนถึงมือผู้บริโภค ผลิตจากวัตถุดิบหมุนเวียนที่สามารถปลูกใหม่ทดแทนได้อย่างน้อย 94% และ Fest Redi Pak นวัตกรรมที่ตอบโจทย์กลุ่มอาหารแช่แข็งและแช่เย็นพร้อมทาน ช่วยรักษาความสดและรสชาติของอาหารได้ดี โดยใช้วัสดุหลัก 90% เป็นเยื่อยูคาลิปตัสที่สามารถย่อยสลายได้ภายใน 60 วัน สวยงาม แข็งแรง สะดวกในการอุ่นร้อนด้วยไมโครเวฟ ด้วยการออกแบบทำให้ความร้อนกระจายได้อย่างทั่วถึง ทำให้อาหารจะไม่ร้อนหรือสุกจนเกินไป

“SCGP ได้กำหนดงบลงทุนเพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ไว้เฉลี่ยปีละ 0.5% ของรายได้จากการขาย รวมถึงความมุ่งมั่นใจในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน โดยในปี 2566 สัดส่วนบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิล ใช้ซ้ำ หรือสลายตัวได้อยู่ที่ 99.7% และมีเป้าหมายให้บรรจุภัณฑ์ทั้งหมด 100% สามารถใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ หรือสลายตัวได้ ภายในปี 2573” นายเอกราช กล่าว
 

‘SCGP’ เสริมบรรจุภัณฑ์ครบวงจรอาเซียน เดิน 5 กลยุทธ์โตอย่างยั่งยืน

ณ เวลานี้โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตท้าทายจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง องค์กรธุรกิจ ต่าง ๆ ทั่วโลก ต่างตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นดังกล่าว จึงหันมาดำเนินธุรกิจด้วยการปรับกลยุทธ์ และแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับ หลัก ESG (Environmental, Social and Governance) หรือ สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล เตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคต นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว

เช่นเดียวกันกับ บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP บริษัทด้านโซลูชันบรรจุภัณฑ์แนวหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หนึ่งในองค์กรที่ให้ความสำคัญกับ ESG อย่างจริงจังโดย ‘วิชาญ จิตร์ภักดี’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจีแพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ฉายภาพให้เห็นถึงแผนการดำเนินงานของSCGP ว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนฟื้นตัวต่อเนื่อง เนื่องจาก ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ภาคการผลิต การส่งออกการท่องเที่ยวของไทยที่ดี ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ใช้บรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้น โดยธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร มียอดขายเติบโตทุกกลุ่มสินค้า และเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวของบรรจุภัณฑ์สินค้าคงทน เช่น เสื้อผ้า รองเท้า ขณะที่ธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ได้รับปัจจัยบวกจากความต้องการในประเทศ และการส่งออกในบางพื้นที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในเอเชียใต้ ส่วนธุรกิจเยื่อ และกระดาษ มียอดขายบรรจุภัณฑ์อาหารเพิ่มขึ้น จากปัจจัยการท่องเที่ยวฟื้นตัวเช่นกัน

‘SCGP’ ได้เดินหน้า 5 กลยุทธ์หลัก เพื่อให้ธุรกิจสามารถขับเคลื่อนได้อย่างยั่งยืน เป็นการเติบโตอย่างมีคุณภาพ (Quality Growth) ประกอบด้วย

1.การขยายกำลังการผลิต จากการเติบโตตามอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) และใช้กลยุทธ์ควบรวมกิจการ และร่วมมือกับพันธมิตร (Merger & Partnership – M&P) ในธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโต เช่น ธุรกิจบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจบรรจุภัณฑ์กระดาษ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ฯลฯ เพื่อรองรับความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากภาคการผลิตและส่งออก 2.ประสบการณ์ลูกค้าและนวัตกรรม การแก้ปัญหา Pain Point ต่าง ๆ ของลูกค้า ผู้บริโภค เช่น นำนวัตกรรม อีซี่พีลมาใช้ในฝาโยเกิร์ต เปิดฝาแล้วไม่เลอะ ให้สะดวกต่อการใช้งานของผู้บริโภคมากขึ้น 3. การนำ Operational Excellence มาใช้กับ ลูกค้า ‘B2B2C’ หรือการทำธุรกิจระหว่างเจ้าของธุรกิจสู่เจ้าของธุรกิจเชื่อมต่อธุรกิจกับลูกค้า และรวมธุรกิจแบบ B2C และ B2B เข้ามาไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างธุรกิจที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น 4. ดำเนินธุรกิจด้วย ESG เช่น การนำพลาสติก PCR (Post-Consumer Recycled Resin) ที่ผ่านการใช้งานแล้ว มาใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดคงรูป เพื่อช่วยลดการสร้างพลาสติกใหม่และเกิดเป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก หรือแม้แต่การผลิตกระดาษที่เป็น รีไซเคิลคอนเท็นต์ได้มากถึง 99.6% และ 5. People and Capability ส่งเสริมให้บุคลากรเพิ่มขีดความสามารถตลอดจนพัฒนาทักษะที่ส่งผล ต่อการมีสมรรถนะยอดเยี่ยมขึ้น

“เห็นได้ว่า สุดท้ายทุกอย่างขับเคลื่อนด้วย People and Capability ของคน เราทำธุรกิจใน 10 ประเทศให้สามารถเติบโตได้โดยใช้ 5 กลยุทธ์นี้ด้วยความตระหนักว่า หน้าที่ของเรา คือ การส่งมอบไลฟ์สไตล์ที่จะทำให้ผู้บริโภคสะดวกสบายขึ้น ถ้าถามว่า สินค้ามันว้าวไหม มันไม่ได้ว้าว แต่ของที่เขาใช้ เงินที่เขาจ่ายไป คือความคุ้มค่า คือการยกระดับประสบการณ์ที่ดีขึ้น”

นอกจากนี้ “วิชาญ” ยังกล่าวถึงนวัตกรรมต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นว่า SCGP สามารถดำเนินธุรกิจได้สอดคล้องกับ ESG ในทุกมิติ เช่น ‘โซลูชันเพื่อการลดคาร์บอน’ ธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ ที่ได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ จากองค์การบริหารจัดการ ก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งสิ้น 55 ผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มสินค้ากระดาษม้วนประเภทกระดาษผิวกล่อง กระดาษทำลอนลูกฟูก และกระดาษกล่องขาวเคลือบ มีแผนขยายผลในปี 2567 ในการขอรับการรับรองให้ครอบคลุมทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์กระดาษบรรจุภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษม้วนและแผ่นสำหรับ Sack Paper Plaster Liner Board Coated Duplex Board รวมทั้ง สินค้าประเภทถุงอุตสาหกรรมอีกด้วย ‘นวัตกรรมลดการใช้ทรัพยากร’ อย่างเส้นใยนาโนเซลลูโลส (Nanocellulose) เพื่ออุตสาหกรรมกระดาษและบรรจุภัณฑ์ ช่วยให้กระดาษแข็งแรงขึ้น น้ำหนักลดลง เพิ่มความต้านทานน้ำ น้ำมัน และ ก๊าซออกซิเจน ทำให้สามารถผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการปกป้อง สินค้าเพิ่มขึ้น จะส่งถึงมือผู้บริโภคได้ในสภาพที่สมบูรณ์แล้ว ยังช่วยลดการใช้พลังงานในการผลิต และเพิ่มมูลค่าให้เส้นใยจากพืช ทั้งยังช่วยลดคาร์บอนอีมิชชั่น ได้ถึง 700,000 kgCO2,Y จากการลดการนำเข้า วัตถุดิบจากต่างประเทศ ซึ่งมีตั้งแต่ ‘บรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก Green Carton’ ที่ผลิตจากกระดาษใช้แล้วผ่านกระบวนการจัดเก็บและนำกลับมารีไซเคิล เป็นกระดาษใหม่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดลดการใช้วัตถุดิบกระดาษ โดยยังคงคุณภาพและความแข็งแรงเทียบเท่าเดิม ช่วยลดพลังงานในการขนส่ง และลดต้นทุนการขนส่งด้วยน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ที่เบาลง ประหยัดพลังงานในการผลิต 42.38 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตัน และลดการใช้กระดาษได้มากกว่า 25 กรัมต่อตารางเมตร ในแต่ละรุ่นของสินค้าโดยที่ผ่านมา ช่วยลด CO2 193,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ และช่วยลดการตัดต้นไม้ประมาณมากถึง 5 ล้านต้น

‘บรรจุภัณฑ์ Mix in the bag spout pouch’ อำนวยความสะดวกในการใช้งาน ใช้งานง่าย และมีปริมาณพอดีกับความต้องการในการใช้ 1 ครั้ง สามารถลดขยะเหลือทิ้งได้เป็นขยะจำนวนมาก รวมถึง ‘บรรจุภัณฑ์ Light-Weight and High-Strength Paper’ ที่พัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีการบดเยื่อช่วยให้เส้นใยเกิด Fibrilization และเทคโนโลยีทาง Chemical ด้วยการปรับปรุงคุณสมบัติของกระดาษที่พัฒนาให้ยังคงคุณสมบัติด้านความแข็งแรงได้ตามมาตรฐานของสินค้าเดิม ทำให้ช่วยลดปริมาณการใช้เยื่อที่เป็นวัตถุดิบหลักในกระบวนการผลิตสินค้าลงอย่างน้อย 5% เทียบกับสินค้าเดิม

ไม่เพียงเท่านี้ ยังมี ‘นวัตกรรมจากวัสดุรีไซเคิล’ อย่างเม็ดพลาสติก รีไซเคิลจากกระบวนการผลิตกระดาษรีไซเคิล สามารถใช้ประโยชน์จากเศษพลาสติกที่เป็นวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการรีไซเคิล และเพิ่มมูลค่า ด้วยการนำมาผลิตเป็นสินค้าใหม่ ทั้งยังเป็นเม็ดพลาสติกทางเลือกของผู้ประกอบในการผลิตสินค้า ที่สามารถลดต้นทุนในการผลิต โดยเริ่มทดลองผลิตที่ Fajar member of SCGP ประเทศอินโดนีเซียเป็นที่แรกและขยายผลไปยัง Dayasa member of SCGP ประเทศอินโดนีเซียและ SCGP โรงงานวังศาลา ประเทศไทย โดยมีกำลังผลิตเม็ดพลาสติก รีไซเคิลมากถึง 26,000 ตันต่อปี

รวมถึง ‘นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมารีไซเคิลได้’ มีตั้งแต่นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ฟิล์มชนิดเดียวกันมาประกบกัน (Mono-material) มีคุณสมบัติในการปกป้องสินค้าภายในได้ใกล้เคียงเดิม สามารถนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่าย และช่วยลดการกำจัดสินค้าด้วยการฝังกลบ จึงช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ , บรรจุภัณฑ์กระดาษสำหรับบรรจุอาหารที่เคลือบด้วย Water based barrier coating ช่วยป้องกันการซึมผ่านของอาหารที่บรรจุได้ดี สามารถนำไปริโซเคิลได้ง่าย เนื่องจากผลิตด้วยยื่อกระดาษที่ได้รับการรับรอง FSCTM  100 %

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 23 พฤษภาคม 2567
 

SCGP รับรางวัล Top 1% S&P Global Corporate Sustainability Assessment

SCGP ได้รับรางวัล Top 1% S&P Global Corporate Sustainability Assessment ในงาน “S&P Global Sustainability Yearbook 2024 Distinction Ceremony in Bangkok” ที่จัดทำโดย S&P Global สะท้อนความมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน จากการถือมั่นการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ใช้พลังงานจากวัสดุเหลือใช้ในกระบวนการผลิต ลดการเกิดมลภาวะในกระบวนการผลิต การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ใช้งานง่าย แข็งแรงทนทาน สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำและรีไซเคิลได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การดูแลพนักงานและชุมชนโดยรอบโรงงานให้อยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลและยั่งยืน ตลอดจนร่วมปลูกจิตสำนึกร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ จนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ให้เป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในระดับโลก 

Reclosable common footprint Carton บรรจุภัณฑ์กล่องใส่ผักและผลไม้แบบเปิด-ปิดได้ จาก SCGP

ข่าว

Reclosable common footprint Carton
บรรจุภัณฑ์กล่องใส่ผักและผลไม้แบบเปิด-ปิดได้ จาก SCGP

Loading Data...
ใน 4 เดือนแรกของปี 2023 ประเทศไทย มีภาพรวมมูลค่าการส่งออกผลไม้สูงถึง 1.03 แสนล้านบาท โดยเฉพาะ ทุเรียน ลำไย รวมถึงมังคุด ที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินิยมบริโภคเป็นอย่างมาก

ปัจจุบันต้องยอมรับว่ามีผลไม้สดจำนวนไม่น้อยที่ได้รับความเสียหายหรือเรียกง่าย ๆ ว่า “ช้ำ” ขณะอยู่ในขั้นตอนการขนส่ง ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะบรรจุภัณฑ์ที่ไม่เอื้อต่อการปกป้องผลไม้สดคุณภาพสูง ซึ่งนำมาสู่คำถามที่ว่าจะดีกว่าหรือไม่? ถ้าหากมีบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาผลไม้ไทย ให้คงคุณภาพและไม่เสียมูลค่า

ผักและผลไม้จะต้องไร้สิ่งเจือปน
จุดเริ่มต้นของโปรเจกต์นี้เกิดขึ้นเมื่อผู้จัดจำหน่ายผลไม้สดรายใหญ่อย่าง Organic Food Mart ตัดสินใจเข้าปรึกษา SCGP
ที่ผ่านมาบรรจุภัณฑ์กล่องใส่ผลไม้สดส่วนใหญ่มักจะเป็นรูปแบบที่ไม่มีฝาปิดแต่มีส่วนเชื่อมต่อสามารถวางเรียงซ้อนทับกันได้ หรืออีกรูปแบบคือมีฝาปิดแต่ต้องใช้เทปกาวเมื่อเปิดดูผลไม้ภายใน ส่งผลให้ได้รับความเสียหายหรือสิ่งเจือปนระหว่างการขนส่ง

ด้วยจุดประสงค์ที่อยากให้บรรจุภัณฑ์ของลูกค้าสามารถปกป้องผลิตภัณฑ์ให้มากที่สุดตั้งแต่ขั้นตอนการขนส่งไปจนถึงมือผู้บริโภค ทีมผู้ออกแบบของ SCGP และ Organic Food Mart จึงลงความเห็นกันว่าบรรจุภัณฑ์กล่องใส่ผลไม้แบบเปิด-ปิดได้ คือคำตอบของโจทย์ข้อนี้

คำนึงรอบด้าน
นักออกแบบ SCGP นำโดย วันชนะ ศรีไตรรัตนะ เริ่มออกแบบด้วยการเลือกขนาดบรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ของพวกเขาซึ่งเป็นผักและผลไม้หลากหลายชนิดคละกันไป ไม่ได้เจาะจง

โดยเลือกใช้กล่องรูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสเพื่อให้การขนส่งต่อหนึ่งรอบ ทั้งในแง่ของพื้นที่ห้องขนส่งและปริมาณผลิตภัณฑ์นั้นคุ้มค่าที่สุด รวมถึงอิงจากหลักการยศาสตร์ เพื่อให้สะดวกสบายต่อการยกเคลื่อนย้าย

บรรจุภัณฑ์กล่องใส่ผักและผลไม้จาก SCGP มีจุดเด่นตรงที่สามารถเปิด-ปิดได้ โดยฝากล่องเป็นลักษณะพับเข้าหากัน แต่สิ่งที่พิเศษกว่ากล่องธรรมดาทั่วไปคือ มีส่วนยึดฝากล่อง 4 จุดทำให้ฝาไม่เปิดอ้าระหว่างการขนส่ง

และไม่ต้องกังวลเรื่องผักและผลไม้เน่าเสีย เพราะ SCGP ไม่ละเลยองค์ประกอบเล็ก ๆ อย่างรูระบายอากาศ โดยให้ทีมเชี่ยวชาญของ SCGP คำนวณระยะรูระบายอากาศที่ตัวกล่อง ให้สามารถวางเรียงต่อกันแล้ว อากาศยังสามารถถ่ายเทผ่านกล่องทุกใบได้ขณะอยู่ในระหว่างการขนส่งและกำหนดขนาดของรูลมระบายอากาศให้เหมาะสมกับสินค้าในแต่ละประเภทเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดอีกด้วย

นอกจากนี้ทีมผู้ออกแบบของ SCGP ก็ไม่ได้มองแค่เรื่องความเสียหายจากขนส่งเพียงอย่างเดียว แต่ยังคิดไกลไปถึงตอนนำบรรจุภัณฑ์กล่องใส่ผักและผลไม้ไปวางจำหน่ายหน้าร้านและจำหน่ายไม่หมด

เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่มักไม่ได้ซื้อผักหรือผลไม้ยกกล่อง บางครั้งซื้อแค่เพียงไม่กี่ชิ้น เท่ากับว่าจะเหลืออยู่ภายในบรรจุภัณฑ์

ทว่าบรรจุภัณฑ์กล่องใส่ผักและผลไม้จาก SCGP สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ เก็บรักษาคุณภาพผักและผลไม้เหล่านั้นได้เป็นอย่างดี แถมเปิด-ปิดกี่รอบก็ได้แบบไม่ต้องกลัวพัง

บรรจุได้หลากหลาย
ลวดลายรอบกล่องทีมกราฟิกอยากให้มีความเป็นกลาง บรรจุได้ทั้งผักและผลไม้ตามโจทย์ที่ลูกค้าให้มา และด้วยวัสดุที่ได้มาตรฐานจาก SCGP ทำให้กล่องใบนี้สามารถใช้บรรจุสิ่งอื่นที่มีน้ำหนักใกล้เคียงกันได้

คุณภาพของ Reclosable common footprint Carton บรรจุภัณฑ์กล่องใส่ผักและผลไม้แบบเปิด-ปิดได้ จาก SCGP ได้รับการันตีด้วยการได้รับรางวัลระดับเอเชียอย่าง Asia Star ประเภท Transport Package

หากผู้ประกอบการท่านใดต้องการที่จะพลิกโฉมบรรจุภัณฑ์ของตนเองให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ยั่งยืน นำกลับมาใช้ซ้ำได้ สามารถขอปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลได้จาก SCGP

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading Data...